ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 1 ความสำคัญและประวัติของการปรับปรุงพันธุ์สัตว์
4.1 ความหมายของการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (Livestock Improvement) เป็นการเพิ่มสมรรถภาพการผลิตของสัตว์ด้วยการปรับปรุงทางด้านพันธุกรรม เพื่อให้ได้สัตว์ที่มีคุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยอาศัยขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ คือ การคัดเลือกและการผสมพันธุ์สัตว์ ทั้งนี้ต้องทำการคัดเลือกอย่างรอบคอบและมีกฎเกณฑ์ แล้วนำสัตว์ที่คัดเลือกไว้มาทำการผสมพันธุ์ตามแผนการผสมพันธุ์ที่ถูกกำหนดไว้ แผนการปรับปรุงพันธุกรรมของสัตว์จะดำเนินไปได้ต้องนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ มาใช้ ได้แก่ ชีววิทยา สรีรวิทยา ชีวเคมี พันธุศาสตร์ และสถิติ รวมทั้งความสำคัญในเชิงเศรษฐกิจของลักษณะ และกฎเกณฑ์อื่น ๆ ร่วมด้วย
2
บทที่ 1 ความสำคัญและประวัติของการปรับปรุงพันธุ์สัตว์
4.2 ความสำคัญของการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ ความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศชาติ การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ เป็นการเพิ่มจำนวนและผลผลิตของสัตว์ ช่วยลดการเสียดุลการค้า ความสำคัญต่อสังคม 1) เพิ่มอาชีพให้แก่สังคม 2) เพิ่มอาหารที่มีคุณภาพดีให้แก่สังคม ความสำคัญต่อวิชาการ เกิดผลการวิจัยใหม่ ๆ นำมาพัฒนาการผลิตสัตว์ เช่น ทำให้อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของไก่ดีขึ้น ซึ่งจากเดิมเท่ากับ 1 : 3.5 ปัจจุบันเหลือเพียง 1 : 1.9 ร่นระยะเวลาการเลี้ยงไก่กระทงจากเดิมใช้เวลา 12 สัปดาห์ ปัจจุบันใช้เวลาเพียง 6 สัปดาห์ ทำให้เกิดสัตว์พันธุ์แท้สายพันธุ์ใหม่ที่เหมาะสมกับภูมิประเทศและภูมิอากาศของประเทศไทย
3
บทที่ 1 ความสำคัญและประวัติของการปรับปรุงพันธุ์สัตว์
4.3 องค์ประกอบหลักของการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ การคัดเลือกพันธุ์สัตว์ (selection) หมายถึง ขบวนการที่สัตว์ตัวใดตัวหนึ่งในฝูงมีโอกาสสืบพันธุ์มากกว่าสัตว์ตัวอื่น สัตว์ที่ถูกคัดเลือกไว้จะถ่ายทอดพันธุกรรมสู่ลูกในรุ่นต่อไป การผสมพันธุ์สัตว์ (mating system) หมายถึง การกำหนดให้คู่สัตว์ที่จะมาผสมพันธุ์กัน เป็นไปตามแผนผัง หรือรูปแบบการผสมพันธุ์สัตว์แบบต่าง ๆ ที่มนุษย์กำหนดขึ้น เพื่อให้ได้สัตว์ที่มีลักษณะต่าง ๆ ตามกำหนด การคัดเลือกสัตว์ที่แม่นยำต้องกระทำควบคู่ไปกับการวางแผนผสมพันธุ์สัตว์ที่ดีเสมอ
4
บทที่ 1 ความสำคัญและประวัติของการปรับปรุงพันธุ์สัตว์
4.4 ประวัติการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ การปรับปรุงพันธุ์สัตว์โดยมนุษย์ เชื่อว่าเกิดขึ้นหลังจากที่ได้นำสัตว์มาเลี้ยงเมื่อประมาณ 10,000 ปีที่ผ่านมา โดยสันนิษฐานว่ามนุษย์ได้ออกไปล่าสัตว์แล้วนำลูกสัตว์อายุน้อยมาเลี้ยง หรือนำสัตว์ที่พิการมากักขังไว้และเริ่มเรียนรู้วิธีการเลี้ยงสัตว์ จนในที่สุดสามารถเลี้ยงได้ สัตว์ที่มนุษย์นำมาเลี้ยงชนิดแรก คือ สุนัข สำหรับสัตว์เลี้ยงที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ โค สุกร และไก่
5
บทที่ 1 ความสำคัญและประวัติของการปรับปรุงพันธุ์สัตว์
4.4 ประวัติการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ในยุคแรก การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ในยุคแรกเริ่มเมื่อประมาณ ปี ค.ศ นักเลี้ยงสัตว์ชาวอังกฤษชื่อ Robert Bakewell ได้ทำการผสมพันธุ์สัตว์ตัวที่มีลักษณะดีเด่นเข้าด้วยกัน และทำการคัดเลือกลักษณะที่ดีเด่นกว่าตัวอื่นไว้ผสมพันธุ์ในรุ่นต่อไป ทำให้สัตว์รุ่นต่อไปมีลักษณะดีขึ้น ซึ่งในปัจจุบันเรียกการผสมพันธุ์แบบนี้ว่าการผสมแบบเลือดชิด (inbreeding)
6
บทที่ 1 ความสำคัญและประวัติของการปรับปรุงพันธุ์สัตว์
4.4 ประวัติการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ในยุคแรก 1) ประวัติ Robert Bakewell Robert Bakewell ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของวิชาการผสมพันธุ์สัตว์ เป็นชาวอังกฤษ เกิดเมื่อปี ค.ศ ในครอบครัวเกษตรกร เมื่ออายุได้ 35 ปี ในปี ค.ศ เขาได้เริ่มงานผสมพันธุ์สัตว์ ด้วยการผสมม้า แกะ และโค โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ได้ผลผลิตคุณภาพสูงที่สุด
7
บทที่ 1 ความสำคัญและประวัติของการปรับปรุงพันธุ์สัตว์
4.4 ประวัติการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ในยุคแรก 2) หลักสำคัญในการทำงานของ Robert Bakewell -มีความคิดที่มั่นคงแน่นอน (definite ideals) -มีหลักการคัดเลือกพ่อพันธุ์ที่ถูกต้องจนได้พ่อพันธุ์ดีจริง ๆ ซึ่งวิธีการนี้ต่อมานักผสมพันธุ์สัตว์รุ่นหลัง ๆ เรียกว่าวิธีการทดสอบลูก (progeny testing) -มีระบบการผสมพันธุ์สัตว์ที่ดี (breeding systems) เมื่อ Bakewell คัดเลือกได้พ่อแม่พันธุ์ที่ดีแล้ว เขาก็ใช้หลักการผสมพันธุ์ที่ว่า “ผสมพันธุ์สัตว์ที่ดีที่สุด เข้ากับตัวที่ดีที่สุด” เพื่อให้ได้ลูกหลานออกมาเป็นตัวที่ดีต่อไป
8
บทที่ 1 ความสำคัญและประวัติของการปรับปรุงพันธุ์สัตว์
4.4 ประวัติการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ในยุคปัจจุบัน เริ่มขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ ซึ่งเป็นปีที่ 25 หลังจากกฎการถ่ายทอดลักษณะของ Gregor John Mendel ได้ถูกค้นพบ ด้วยการนำกฎการถ่ายทอดลักษณะของเมนเดลมาใช้ร่วมกับวิชาพันธุศาสตร์และวิชาสถิติ ทำให้การปรับปรุงพันธุ์สัตว์เริ่มเป็นวิทยาศาสตร์ขึ้น ซึ่งได้รับการพัฒนาครั้งแรกโดย Fisher และ Wright โดย Lush นำมาขยายความต่อเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ในทางปฏิบัติ หลักการดังกล่าวถูกใช้ตลอดครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา
9
บทที่ 1 ความสำคัญและประวัติของการปรับปรุงพันธุ์สัตว์
4.5 การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ในประเทศไทย การปรับปรุงพันธุ์สัตว์โดยหน่วยงานราชการ โดยกองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ เช่น โครงการปรับปรุงคุณภาพโคพื้นเมือง โครงการสร้างโคเนื้อพันธุ์ตาก โครงการสร้างโคเนื้อพันธุ์กบินทร์บุรี โครงการปรับปรุงพันธุ์โคนมThai - Friesian โครงการปรับปรุงพันธุ์สุกร โครงการปรับปรุงพันธุ์ไก่เนื้อไทยสายพันธุ์ตาก และโครงการปรับปรุงพันธุ์ไก่เนื้อกบินทร์บุรี การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ เช่น ม.เกษตรศาสตร์ ได้นำโคพื้นเมือง คือ โคพันธุ์ American Brahman และโคพันธุ์ Charolais มาปรับปรุงพันธุ์สร้างเป็นโคพันธุ์กำแพงแสน ซึ่งเหมาะกับสภาพการเลี้ยงดูในประเทศไทย แต่ต้องใช้เวลานาน
10
บทที่ 1 ความสำคัญและประวัติของการปรับปรุงพันธุ์สัตว์
4.5 การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ในประเทศไทย การปรับปรุงพันธุ์สัตว์โดยเอกชน นิยมนำสัตว์พันธุ์แท้จากต่างประเทศ หรือต่างฟาร์มเข้ามาเลี้ยงเป็นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ เพื่อผลิตลูกจำหน่ายหรือส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงต่อไป ซึ่งวิธีการนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณในการจัดซื้อพันธุ์สัตว์จำนวนมาก แต่ใช้ระยะเวลาสั้นสำหรับการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ในฟาร์ม
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.