งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน
การขยายโอกาสด้านปศุสัตว์ ศูนย์คุณธรรมนำชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลดงยาง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

2 สาระสำคัญ การขยายโอกาสด้านปศุสัตว์ เพื่อให้ประชาชน มีเนื้อ นม และไข่บริโภคที่พอเพียง เพื่อลดต้นทุน เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส ในการประกอบอาชีพด้านการปศุสัตว์

3 สารบัญ สาระสำคัญ ก สารบัญ ข การขุนโคสำหรับเกษตรกร 1 การสร้างคอก 2
สาระสำคัญ ก สารบัญ ข การขุนโคสำหรับเกษตรกร 1 การสร้างคอก 2 การเลี้ยงขุน 9 การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ 12 การเตรียมดิน 17 การปลูก 19 ประวัติผู้จัดทำ

4 ด้านปศุสัตว์ (การขุนโค / และการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์)
1 ด้านปศุสัตว์ (การขุนโค / และการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์) การขุนโคสำหรับเกษตรกรรายย่อย ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตาก ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการโคพันธุ์ นำลูกโคเพศผู้ที่เกษตรกรผลิตได้มาเลี้ยงขุนเพื่อเป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการขุนโคของเกษตรกรรายย่อย เป็นข้อมูลในการทดสอบพ่อพันธุ์ และสร้างรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกร โดยให้เกษตรกรใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ต้นข้าวโพด ฟางข้าว ยอดอ้อย เป็นต้น มาใช้เลี้ยงโคเสริมกับหญ้า

5 ด้านปศุสัตว์ การสร้างคอกขุน
2 ด้านปศุสัตว์ การสร้างคอกขุน คอกขุนควรสร้างในที่ดอน น้ำไม่ท่วมถึง สามารถระบายน้ำได้ดี และควรมีทางให้รถบรรทุกโคเข้าออกได้เพื่อความสะดวกในการนโคเข้าขุนและขนโคที่ขุนแล้วส่งตลาด

6 ด้านปศุสัตว์ การคัดเลือกโคเข้าขุน
3 ด้านปศุสัตว์ การคัดเลือกโคเข้าขุน โคขุนที่ดีควรมีโครงสร้างใหญ่ กระดูกใหญ่โดยดูที่กระดูกแข้ง หน้าอกกว้าง โดยดูจากระยะห่างระหว่างโคนขาหน้า โคนขาหน้ามีกล้ามเนื้อนูนเด่น ไหล่กว้าง แนวหลังตรง ท้ายไม่ตก สะโพกกว้างและใหญ่ เอวลึกและใหญ่ซึ่งแสดงว่ากระเพาะใหญ่กินอาหารได้มาก ขาสั้นและแข็งแรงสมส่วนกับลำตัว ขาตรงตั้งฉากกับพื้นและอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกันพอสมควร กระดูกเชิงกรานและปลายกระดูกก้นกบด้านซ้ายและขวาควรห่างกันมากซึ่งแสดงว่าโคมีสะโพกหนาและยาวลำตัวยาวเพราะมีผลให้เนื้อสันมาก แต่ลำตัวไม่ลึกมากนักเพราะส่วนล่างของลำตัวจะมีเนื้อน้อย หน้าสั้น ดวงตานูนแจ่มใส รูจมูกกว้าง ปากกว้าง และใหญ่ 

7 ด้านปศุสัตว์ การเตรียมโคก่อนขุน
4 ด้านปศุสัตว์ การเตรียมโคก่อนขุน       ทำความสะอาดคอกที่จะขุน เตรียมให้น้ำ และรางอาหารให้พร้อมนำโคเข้าคอกขุน ถ่ายพยาธิทั้งภายใน-นอก ฉีดวัคซีนตามที่กรมปศุสัตว์กำหนดให้ทำในพื้นที่นั้น ๆ ระยะ 21 วันแรกเป็นระยะให้โคปรับตัวกับการกินอาหารข้น (Pretest) โดยให้อาหารดังนี้       วันที่ 1 ให้โคกินอาหารข้น 1 กก. ร่วมกับหญ้าสดหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร      

8 ด้านปศุสัตว์ การเตรียมโคก่อนขุน
5 ด้านปศุสัตว์ การเตรียมโคก่อนขุน        วันที่ 2 ให้โคกินอาหารข้น 2 กก. ร่วมกับหญ้าสด หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร       วันที่ 3 ให้โคกินอาหารข้น 3 กก. ร่วมกับหญ้าสด หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร              วันที่ 4 ให้โคกินอาหารข้น 4 กก. ร่วมกับหญ้าสด หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร   

9 ด้านปศุสัตว์ การเตรียมโคก่อนขุน
6 ด้านปศุสัตว์ การเตรียมโคก่อนขุน       วันที่ 5 จนถึงวันที่ 21 ให้กินวันละ 4 กก. ร่วมกับหญ้าสดหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร       วันที่ 22 เป็นวันเริ่มต้นขุน ให้โคกินเต็มที่ ทั้งอาหารข้นและอาหารหยาบ 

10 ด้านปศุสัตว์ การวัดรอบอกเพื่อประมาณน้ำหนัก
7 ด้านปศุสัตว์ การวัดรอบอกเพื่อประมาณน้ำหนัก ผู้ขุนควรทราบน้ำหนักโคที่ขุนเป็นระยะ ๆ เพื่อที่จะประมาณการใช้อาหารข้นและทราบความเจริญเติบโตในระยะต่าง ๆ ผู้เลี้ยงรายย่อยส่วนใหญ่ไม่มีตาชั่งขนาดใหญ่ที่สามารถใช้ชั่งโคได้ ให้วัดความยาวรอบอกโดยใช้เชือกวัดที่หลังซอกขาหน้าติดกับหลังหนอก ดึงเชือกให้ตึง นำเชือกไปวัดหาความยาวจากตลับเมตร หรือสายวัด อ่านหน่วยความยาวเป็นเซนติเมตร จากความยาวดังกล่าวสามารถนำไปหาน้ำหนักโคโดยประมาณ

11 ด้านปศุสัตว์ การประเมินน้ำหนักโคมีชีวิต สำหรับโคลูกผสมเพศผู้ไม่ตอน 8
การประเมินน้ำหนักโคมีชีวิต สำหรับโคลูกผสมเพศผู้ไม่ตอน รอบอก น้ำหนัก (ซม.) (กก.) 90 61 109 104 128 162 147 248 166 347 91 63 110 106 129 148 252 167 353 92 66 111 108 130 169 257 168 359 93 68 112 131 172 262 365 94 70 113 132 176 267 170 371 95 72 114 115 133 179 272 171 377 96 75 117 134 183 277 383 97 77 116 119 135 186 282 173 389 98 79 121 136 190 287 174 395 99 81 118 126 137 198 292 175 402 100 84 138 202 408 101 86 120 139 206 302 177 414 102 88 140 210 308 178 421 103 122 141 221 313 427 123 145 142 225 319 180 434 105 124 143 229 324 181 125 151 144 234 330 182 448 107 155 238 335 455 127 159 146 243 341 184 462

12 การขุนโคพันธุ์ตากด้วยอาหารข้นร่วมกับฟางข้าว
9 ด้านปศุสัตว์ การเลี้ยงขุน การขุนโคพันธุ์ตากด้วยอาหารข้นร่วมกับฟางข้าว สัปดาห์ที่ วันที น้ำหนักโค (กก.) อาหารข้น กก./ตัว/วัน ฟางข้าว 250.0 1 7 257.6 6.0 0.5 2 14 265.0 3 21 272.2 4 28 279.4 5 35 287.5

13 ด้านปศุสัตว์ การสิ้นสุดการขุน
10 ด้านปศุสัตว์ การสิ้นสุดการขุน ศูนย์ ฯ ต้องการให้เกษตรกรขุนเพียงแค่ระยะที่โคสร้างกล้ามเนื้อเต็มที่แล้ว (store condition) ซึ่งเป็นระยะที่โคกำลังจะเริ่มสะสมไขมันเท่านั้น ไม่ต้องการให้ขุนโคให้อ้วนเกินไป เพราะถ้าขุนเกินระยะนี้แล้วอัตราการเจริญเติบโตจะเริ่มลดลง ทำให้ต้นทุนการขุนสูงขึ้น

14 11 ด้านปศุสัตว์       ผู้เลี้ยงขุนสามารถประเมินการสร้างกล้ามเนื้อจากโคมีชีวิตได้เอง โดยดูจาก 3 จุด จากด้านท้ายโค ได้แก่ มองจากด้านท้าย แนวเส้นด้านบนที่โค้งมน แสดงว่ามีกล้ามเนื้ออยู่มากที่สุดแล้ว ไม่ควรมองเห็นท้อง กระดูกขาหน้า ควรเป็นรูปกระบอก มีกล้ามเนื้อเกาะนูน ท่ายืน ความห่างของช่วงขาหน้า และขาหลังแสดงให้เห็นว่ามีกล้ามเนื้อซึ่งจะแยกขาแต่ละข้างให้ห่างจากลำตัว

15 การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
12 ด้านปศุสัตว์ การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ 1. เลือกพันธุ์หญ้าให้เหมาะกับสภาพพื้นที่ เช่น ในที่ดอน อาจใช้หญ้าต่างๆ ได้หลายพันธุ์ เช่น กินนี รูซี ซิกแนล ถั่วลาย หรือพันธุ์อื่นๆ ที่สังเกตได้ว่าขึ้นงามในที่ดอน ในพื้นที่ลุ่ม การระบายน้ำไม่ดี อาจใช้พันธุ์ปุลิแคตูลัม หรือหญ้าขน ในที่เนินสูง อาจใช้หญ้าซิกแนล เซตาเรีย และกัวเตมาลา ในพื้นที่สวนไม้ผล ซึ่งมีร่มเงา แสงแดดน้อย เช่น สวนมะพร้าว อาจใช้หญ้า กรีนแพนิค กินนี ถั่วลาย และหญ้าซิกแนล การเลือกพันธุ์หญ้า

16 การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
13 ด้านปศุสัตว์ การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ การเลือกพันธุ์หญ้า 2. เลือกพันธุ์ให้เหมาะกับวิธีการเลี้ยงสัตว์ เช่น การเลี้ยงโคกระบือแบบปล่อยทุ่งให้สัตว์แทะเล็มไปเรื่อยๆ ควรใช้หาที่ทนต่อการเหยียบย่ำแทะเล็ม เช่น ซิกแนล รูซี กินนี และถั่วฮามาตา เป็นต้น ถ้าเลี้ยงโดยวิธีตัดหญ้าให้กิน แบบหญ้าสวนครัว ควรเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะเป็นกอ ไม่เลื้อย เพื่อสะดวกแก่การตัดหรือเกี่ยวด้วยมือ เช่น หญ้าเนเปียร์ เฮมิล และเซตาเรีย เป็นต้น

17 การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
14 ด้านปศุสัตว์ การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ 3. เลือกพันธุ์หญ้าที่มีคุณค่าอาหารสูง พันธุ์หญ้าที่กล่าวมาแล้วในข้อ 1 และ 2 ล้วนเป็นพันธุ์ที่ได้ผ่านการคัดเลือกแล้วว่ามีคุณภาพดีและให้คุณค่าอาหารสูง เพียงเลือกให้เหมาะกับพื้นที่ที่ต้องการปลูก และควรใช้พืชในกลุ่มถั่วปลูกปนด้วยเสมอ เพราะมีสารอาหารประเภทโปรตีนสูง การเลือกพันธุ์หญ้า

18 การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
15 ด้านปศุสัตว์ การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ 4. เลือกพันธุ์หญ้าให้เหมาะกับการใช้ประโยชน์ ควรคำนึงว่าจะต้องการหญ้าไปทำอะไร เช่น ใช้ปลูกเพื่อการแทะเล็ม หรือทำหญ้าหมัก หญ้าแห้ง ถ้าต้องการทำหญ้าหมักควรใช้ต้นข้าวโพด ข้าวฟ่าง หญ้าเนเปียร์ อย่างไรก็ตาม การทำหญ้าหมักอาจใช้หญ้าอื่น ๆ ก็ได้ แต่อาจต้องมีวิธีการทำเป็นพิเศษ เช่น เติมสารบางอย่างลงไปผสม การเลือกพันธุ์หญ้า

19 การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
16 ด้านปศุสัตว์ การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ 5. เลือกพันธุ์ให้เหมาะกับชนิดสัตว์เลี้ยง เช่น การเลี้ยงโค กระบือ ควรเลือกพันธุ์ที่ทนต่อการเหยียบย่ำ เพราะโคกระบือแทะเล็มและเหยียบย่ำทำลายทุ่งหญ้าเป็นรุนแรงควรปลูกหญ้าซิกแนล กินนี และฮามาตา จะเหมาะสม ในกรณีการเลี้ยงแกะไม่ควรใช้หญ้ารูซี เพราะมีสารพิษจากเชื้อราบางชนิดซึ่งแกะแพ้มาก หรือการเลี้ยงสุกรไม่ควรใช้ใบกระถินเลี้ยง เพราะจะทำให้การผสมพันธุ์ผลิตลูกไม่ได้เท่าที่ควร การเลือกพันธุ์หญ้า

20 ด้านปศุสัตว์ การเตรียมดิน
17 ด้านปศุสัตว์ การเตรียมดิน เนื่องจากพืชอาหารสัตว์ต้องการแสงแดดในการเจริญเติบโต ดังนั้นในแปลงปลูกหญ้าจำเป็นต้องโค่นตัดต้นไม้ออกให้มากที่สุด แต่ควรเหลือต้นไม้ใหญ่ไว้เป็นร่มเงาแก่สัตว์ด้วยประมาณ ๑ ต้น ต่อพื้นที่ ๕ ไร่ เมื่อโค่นแล้วจะต้องเก็บเผาเศษไม้ให้หมด มิฉะนั้นเศษไม้จะทำให้อุปกรณ์การไถปลูกหญ้าเสียหาย จะต้องไถและพรวนย่อยดินให้ละเอียด เพื่อให้เมล็ดหญ้าฝังตัวลงในดินได้สะดวก

21 ด้านปศุสัตว์ การเตรียมเมล็ดพันธุ์ 18
มาตรฐานของคุณภาพเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์ พันธุ์ ความงอกไม่น้อยกว่าร้อยละ ความบริสุทธิ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ หญ้ารูซี ๓๐ ๗๐ หญ้าเฮมิล หญ้ากินนี ๒๐ ถั่วฮามาตา ๒๕ กระถิน ๕๐ ๙๕ หญ้าโรด ๔๐ หญ้าปลิแคตูลัม ๖๐

22 19 ด้านปศุสัตว์ การปลูก การปลูกมี ๒ วิธี คือ ปลูกด้วยเมล็ด และปลูกด้วยหน่อ หญ้าบางพันธุ์ เช่น แพนโกลา ไม่ติดเมล็ด จำเป็นต้องใช้เถา หรือลำต้นปลูก ในกรณีเช่นนี้จะต้องปลูกเมื่อดินมีความชื้นเพียงพอ มิฉะนั้นหน่อหรือท่อนหญ้าจะเหี่ยวตาย ในกรณีปลูกด้วยเมล็ดควรหว่านเมล็ดทันทีเมื่อเตรียมดินเสร็จ หว่านเมล็ดรอฝนได้ ถ้าไถพรวนดินทิ้งไว้นานเกินไปวัชพืชจะงอกขึ้นคลุมพื้นที่ก่อนที่เมล็ดหญ้าจะงอก เมื่อหว่านเมล็ดแล้วควรใช้คราดเกลี่ยดินกลบบางๆ ช่วยให้เมล็ดหญ้าฝังในดินเหมาะต่อการงอก และป้องกันนกจิกกิน ในที่ดินแปลงใหญ่ ๆ อาจปลูกโดยใช้เครื่องหยอดเมล็ด เครื่องจะหยอดเมล็ดและเกลี่ยดินกลบโดยอัตโนมัติ

23 20 ด้านปศุสัตว์ การปลูก การปลูกทุ่งหญ้าสำหรับแทะเล็ม ควรปลูกหญ้าผสมถั่วเสมอ ถั่วใช้เป็นแหล่งอาหารโปรตีน ช่วยทำให้คุณภาพแปลงหญ้าดีขึ้น และช่วยบำรุงดิน ควรใช้เมล็ดหญ้ากิโลกรัมต่อถั่ว 1 กิโลกรัมต่อไร่

24 21 ด้านปศุสัตว์ การปลูก การใส่ปุ๋ย ในระยะเริ่มปลูกใช้ปุ๋ยผสมไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมโดยเลือกสูตรให้เหมาะกับสภาพดิน ดินบางแห่งอาจต้องการธาตุฟอสฟอรัสมาก ดินบางแห่งอาจต้องการโพแทสเซียมาก แต่หลังจากการตัดหรือปล่อยโคแทะเล็ม ๑-๒ ครั้ง ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ยูเรีย เพื่อบำรุงใบ ดินในภาคอีสานบางชุด (ในประเทศไทย จัดแบ่งออกเป็นประมาณ 200 ชุด โดยแบ่งออกตามลักษณะความเป็นกรด-เบส สีและปริมาณแร่ธาตุ เป็นต้น) มีธาตุกำมะถันค่อนข้างต่ำ การปลูกพืชถั่วอาหารสัตว์บางชนิด เช่น ถั่วฮามาตา สไตโล ควรใส่ปุ๋ยชนิดนี้ด้วย โดยใช้ปูนยิปซัม กิโลกรัมต่อไร่ หญ้าประเภทอายุหลายปี เมื่อถูกตัดหรือแทะเล็มครั้งหนึ่งก็จะแตกหน่อใหม่อีก และต้องการปุ๋ยบำรุงอยู่เสมอ

25 ผู้จัดทำ ชื่อ-สกุล นางสาวขนิษฐา เทือกทอง
22 ผู้จัดทำ ชื่อ-สกุล นางสาวขนิษฐา เทือกทอง ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 โทรศัพท์ 08 – 4452 – 4508

26


ดาวน์โหลด ppt ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google