ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 1 สารสนเทศ และการรู้สารสนเทศ
อาจารย์วรพจน์ พรหม จักร
2
Guideline สารสนเทศและการรู้สารสนเทศ
3
แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ
สังคมฐานความรู้ สังคมฐานความรู้ (Knowledge Based Society) ข้อมูล ข่าวสาร และสารสนเทศ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานทั้งของภาครัฐและเอกชน ข้อมูลและสารสนเทศเป็นทรัพยากรหลักที่ทุกองค์กรให้ความสำคัญ เนื่องมาจากการดำเนินงานทางธุรกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น และมีการแข่งขันกันสูง ทำให้ข่าวสารเป็นสิ่งที่ทุกคน จำเป็นต้องรับทราบและเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว
4
พีระมิดความรู้ (Knowledge pyramid)
แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ พีระมิดความรู้ (Knowledge pyramid) พีระมิดความรู้เป็นเครื่องมือที่จะทำให้เข้าใจในความแตกต่างระหว่าง Data, Information, Knowledge และ Wisdom รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างกัน
5
แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ
ข้อมูล ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์สามารถรับรู้ทั้งที่สามารถนับได้และนับไม่ได้ มีคุณลักษณะเป็นวัตถุสิ่งของ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และต้องเป็นสิ่งมีความหมายในตัวมันเองซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของรูปภาพ แสง สี เสียง รส นอกจากนี้ข้อเท็จจริงอาจจะอยู่ในรูปของคุณสมบัติเป็นน้ำหนัก แรง อุณหภูมิ จำนวน ซึ่งสามารถแทนค่าด้วยตัวเลข ตัวอักษรข้อความก็ได้
6
สารสนเทศ สารสนเทศ (Information)
แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ สารสนเทศ สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่างๆ ที่ได้รับการสรุป คำนวณ จัดเรียง หรือประมวลแล้วจากข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ จนได้เป็นข้อความรู้ เพื่อนำมาเผยแพร่และใช้ประโยชน์ในงานด้านต่าง ๆ
7
แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ
ความรู้ ความรู้ (Knowledge) คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ เป็นความรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้นอีกระดับหนึ่งเป็นความรู้ที่ได้ศึกษาจากสารสนเทศ จนเป็นความรู้ของตัวเอง รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติหรือทักษะความเข้าใจ
8
ความรู้ ความรู้ แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. ความรู้ฝังลึก (tacit knowledge) คือ ความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ การลงมือปฏิบัติ หรือเป็นพรสวรรค์ของตนเองที่มีอยู่ สิ่งเหล่านี้จัดเป็นความรู้ชนิดที่ยากต่อการถ่ายทอด หรือสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ หรือเรียกว่าความรู้แบบนามธรรม 2. ความรู้ชัดแจ้ง (explicit knowledge) คือความรู้ที่สามารถถ่ายทอด หรือสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ความรู้ประเภทนี้ คือ ความรู้ที่ถูกเขียนออกมาเป็นตำรา เป็นคู่มือ เป็นเอกสารต่างๆ หรือเรียกว่าความรู้แบบรูปธรรม
9
ความฉลาด หรือ สติปัญญา (Wisdom)
แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ ความฉลาด หรือ สติปัญญา (Wisdom) ความฉลาดหรือสติปัญญา (Wisdom) คือ การรวบรวมความรู้ วิเคราะห์สังเคราะห์ เข้ากับประสบการณ์ และเหตุผลกลายเป็น ภูมิปัญญา
10
สารสนเทศ (Information)
ความหมาย 1 วิมานพร รูปใหญ่ และคณะ (2551, 5) กล่าว ว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความรู้ ความคิด เรื่องราว ที่ รวบรวม บันทึกไว้ในสื่อใดใด เป็นลาย ลักษณ์อักษร เครื่องหมาย สัญลักษณ์ รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ ฯลฯ ซึ่งได้ผ่าน กระบวนการรวบรวม คัดเลือก ประเมินค่า และจัดเก็บไว้สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ อย่างสะดวก
11
สารสนเทศ (Information)
ความหมาย 2 อรอุมา สืบกระพัน (2552) ได้ให้ ความหมายว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสารที่ผ่านการเลือกสรร ประมวลผลอย่างเป็นระบบและจัดเก็บ ในรูปแบบต่างๆ สามารถนำไป เผยแพร่ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ทันเวลา เพื่อเกิดประโยชน์ด้านต่างๆ กับ บุคคลและสังคม
12
สารสนเทศ (Information)
สรุปความหมาย สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร เรื่องราวต่างๆ ที่นำมา ผ่านกระบวนการ การประมวลผล ให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ ประโยชน์ได้
13
สารสนเทศ (Information)
ความสำคัญ ยุคสังคมสารสนเทศ (Information Age) ข้อมูล ข่าวสารและสารสนเทศ แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ทุกเพศวัย ไปไหนก็เจอ จะนอน จะตื่น จะลุก จะนั่ง อยู่ทุกหนแห่ง
14
สารสนเทศ (Information)
ความสำคัญ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2545) มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ สาระสำคัญ คือ การจัดการเรียนรู้โดย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ(Student- centered Learning) และ เน้นการใช้ ทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Resource-based Learning) เป้าหมาย คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning)
15
สารสนเทศ (Information)
ความสำคัญต่อตนเอง พัฒนาตนเองด้าน สติปัญญา จิตใจ ร่างกายและบุคลิกภาพ เพื่อการเรียนรู้ การศึกษา ในมหาวิทยาลัย เพื่อการดำรงชีวิตประจำวัน
16
สารสนเทศ (Information)
ความสำคัญต่อประเทศชาติ พัฒนาการศึกษา การวิจัย พัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาการเมืองการปกครอง พัฒนาสังคมและวัฒนธรรม พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ
17
การรู้สารสนเทศ Literacy : - ความสามารถในการอ่านและเขียน
ความเป็นมาการรู้สารสนเทศ Literacy : - ความสามารถในการอ่านและเขียน ความสามารถอ่านออกเขียนได้, การรู้หนังสือ Literate : - สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้, มีการศึกษา, มีความรู้ดี - ผู้สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้, ผู้มีความรู้ดี
18
การรู้สารสนเทศ ความหมาย
สมาน ลอยฟ้า(2544, 2) อธิบายว่า การรู้ สารสนเทศ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความรู้ ความสามารถด้านสารสนเทศ โดยเป็น กระบวนการทางปัญญาเพื่อสร้างความ เข้าใจในความต้องการสารสนเทศ การ ค้นหา การประเมิน การใช้สารสนเทศและ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
19
การรู้สารสนเทศ ความหมาย
นันทา วิทวุฒิศักดิ์ (2550, 18-19) ให้นิยาม การรู้สารสนเทศว่าเป็น ความรู้ความสามารถ ของบุคคลในการระบุความต้องการสารสนเทศ ของตนเอง ความสามารถในการค้นหา การ ประเมินคุณค่าและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ
20
การรู้สารสนเทศ ความหมายของการรู้สารสนเทศ
การรู้สารสนเทศ (Information Literacy) หมายถึง ความรู้ความสามารถและทักษะของบุคคลในการเข้าถึงสารสนเทศ ประเมินสารสนเทศที่ค้นมาได้ และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพทุกรูปแบบ ผู้รู้สารสนเทศจะต้องมีทักษะในด้านต่างๆ เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์และ / หรือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการใช้ห้องสมุด ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
21
“เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Learn How to Learn)”
การรู้สารสนเทศ ความสำคัญ จาก ความสำคัญของสารสนเทศ สู่ ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ การรู้สารสนเทศ เป็นเครื่องมือช่วยให้ สามารถ “เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Learn How to Learn)”
22
การรู้สารสนเทศ ความจำเป็นของการรู้สารสนเทศ
สารสนเทศคืออำนาจ” (Information is Power) หมายถึง ผู้ที่มีสารสนเทศ หรือได้รับสารสนเทศที่มีคุณค่า และทันสมัย มีความต่อเนื่อง ทันเหตุการณ์ และสามารถใช้ สารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้นั้นย่อมมีพลังหรือมีอำนาจ ได้เปรียบผู้อื่นในทุกๆ ด้าน
23
การรู้สารสนเทศ ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ (สรุป)
บุคคลสามารถแสวงหาสารสนเทศตามความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับรู้โอกาสในการเลือกใช้แหล่งสารสนเทศและแยกแยะแหล่งสารสนเทศได้ ได้วิเคราะห์และเลือกใช้สารสนเทศจากเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศ เช่น จากคอมพิวเตอร์ และจากเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นๆ มีความสะดวกต่อการใช้สื่อ หรือทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลาย ที่เหมาะสมที่สุด มีความระมัดระวังต่อการใช้สารสนเทศทั้งที่เชื่อถือได้และเชื่อถือไม่ได้ สามารถถ่ายทอดสารสนเทศที่รู้ให้ผู้อื่นทราบได้
24
องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ
- ความรู้ความสามารถ ทักษะด้านการรู้หรือการ ตระหนักถึงความต้องการสารสนเทศ คือ การเข้าใจ ถึงคุณค่า ความสำคัญ ความจำเป็นของสารสนเทศ ในการช่วยพัฒนาตนเอง - ความรู้ความสามารถ ทักษะด้านการค้นหา สารสนเทศ รู้แหล่งสารสนเทศ รู้วิธีการในการ สืบค้น - ความรู้ความสามารถ ทักษะด้านการประเมิน สารสนเทศ คือ การพิจารณาเลือกสารสนเทศที่ สอดคล้องหรือตรงกับความต้องการ - ความรู้ความสามารถ ทักษะด้านการประมวล สารสนเทศ โดยการฝึกทักษะด้านการอ่าน การคิด วิเคราะห์ การรวบรวม การเรียบเรียงสารสนเทศ - ความรู้ความสามารถ ทักษะด้านการใช้และ ถ่ายทอดสารสนเทศ นำสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ ต่อตนเอง รวมทั้งเผยแพร่สารสนเทศ ถ่ายทอด สารสนเทศแก่ผู้อื่น
25
หากผู้เรียนมี ความสามารถดังกล่าว ข้างต้น จะเป็นการพัฒนา ไปสู่ “ผู้รู้สารสนเทศ” (Information literate Person)
26
ผู้รู้สารสนเทศ ผู้รู้สารสนเทศ คือ บุคคลที่มีทักษะ ความสามารถเกี่ยวกับสารสนเทศ ได้แก่ การตระหนักหรือการรู้ว่าตนมีความต้องการ สารสนเทศ ความสามารถในการค้นหา สารสนเทศ ความสามารถในการประเมิน สารสนเทศ ความสามารถในการประมวล สารสนเทศ ความสามารถในการใช้และ ถ่ายทอดสารสนเทศ ตลอดจนการใช้และ เข้าถึงสารสนเทศโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ฯลฯ “คำนึงถึงการใช้ การเข้าถึงและการ เผยแพร่อย่างถูกต้องทั้งทางจริยธรรมและ ถูกกฎหมาย”
27
ผู้รู้สารสนเทศ คุณลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
- มีความเป็นอิสระและมีศักยภาพในการ เรียนรู้ด้วยตนเอง - มีความต้องการสารสนเทศ - รู้ว่าอะไรคือสารสนเทศที่ตรงกับความ ต้องการ - สามารถใช้และมีความมั่นใจใน สารสนเทศในการแก้ปัญหาได้ - รู้จักใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อการเข้าถึงและสื่อสารสารสนเทศ
28
ผู้รู้สารสนเทศ ทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy Skill)
ทักษะการรู้สารสนเทศ มี 5 ทักษะ ทักษะที่ 1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศหรือเข้าใจปัญหาของตนเอง หมายถึง ความสามารถในการกำหนดคำถามปัญหาและหัวข้อสำคัญที่เกี่ยวข้อง ทักษะที่ 2 การใช้แหล่งและทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง ความสามารถในการใช้แหล่งและทรัพยากรสารสนเทศ ทักษะที่ 3 การสืบค้นสารสนเทศ หมายถึงความสามารถในการใช้ฐานข้อมูล รายการบรรณานุกรมทรัพยากร สารสนเทศ
29
ผู้รู้สารสนเทศ ทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy Skill) (ต่อ)
ทักษะที่ 4 การประเมินสารสนเทศ หมายถึง ความสามารถในการประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งทรัพยากรสารสนเทศ เช่น ผู้แต่ง ความถูกต้อง ความทันสมัย ทักษะที่ 5 การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการเขียนรายงาน หมายถึง ความสามารถในการวิเคราะห์และการสังเคราะห์เนื้อหาของสารสนเทศเพื่อนำเสนอ การอ้างอิงและการเขียนบรรณานุกรมได้
30
ทักษะการรู้สารสนเทศ นำมาใช้ วิเคราะห์ความต้องการ ประมวล ค้นหา ประเมิน
ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต จริยธรรมในการ ใช้สารสนเทศ นำมาใช้ วิเคราะห์ความต้องการ รูปแบบการนำเสนอ การอ้างอิง - วางแผนค้นคว้า - ระดมความคิด - แผนที่ความคิด - ลักษณะสารสนเทศ ทักษะการรู้สารสนเทศ รู้จักแหล่ง/ทรัพยากรสารสนเทศ ลักษณะสำคัญ การนำมาใช้ประโยชน์ ลิขสิทธิ์ และการใช้ที่เป็นธรรม2 ประมวล วิเคราะห์ จดบันทึก สังเคราะห์ วางโครงร่าง เรียบเรียงเนื้อหา ค้นหา ประเมิน รู้จักเครื่องมือและกลยุทธ์ ในการเข้าถึงสารสนเทศ เกณฑ์ในการประเมิน หลักการอ่านเพื่อการเลือกมาใช้
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.