งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การวัดและประเมินผลการเรียนรู้"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
Learning Measurement and Evaluation ดร. อาภาพรรณ ประทุมไทย วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

2 วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา บทที่ 8 การประเมินทักษะพิสัย
ดร.อาภาพรรณ ประทุมไทย วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา บทที่ 8 การประเมินทักษะพิสัย

3 การประเมินทักษะการปฏิบัติ Performance assessment
ความพยายามที่จะจำลองเงื่อนไขขึ้นมา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถแสดงความรู้ที่ซับซ้อนออกมาในรูปของผลงาน (Lane & Stone, 2006) Psychomotor skill Practical skill Performance การประเมินทักษะการปฏิบัติ Performance assessment

4 ธรรมชาติของการประเมินทักษะการปฏิบัติ
มองธรรมชาติของการประเมินภาคปฏิบัติว่าเป็นการวัดและและประเมินพฤติกรรมหรือการแสดงออกทางกาย โดยไม่เกี่ยวข้องกับความสามารถทางสมอง - วัดโดยการทดสอบที่ไม่ใช้ภาษา (Non-verbal test) เช่น การวัดการเคลื่อนไหวของร่างกาย แนวคิดที่ 1 Psychomotor skill

5 ธรรมชาติของการประเมินทักษะการปฏิบัติ
มองธรรมชาติของการประเมินภาคปฏิบัติว่าเป็นการวัดและและประเมินพฤติกรรมหรือการแสดงออกทางกาย ซึ่งอาจมีความเกี่ยวข้องกับความสามารถทางสมองด้วย - วัดโดยการทดสอบที่ไม่ใช้ภาษา (Non-verbal test) หรือการทดสอบที่ใช้ภาษา (Verbal test) เช่น การวัดทักษะการพูด การแสดงละคร แนวคิดที่ 2 Practical skill, Performance

6 ของการประเมินทักษะการปฏิบัติ
1. ให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมหรือสิ่งที่ต้องการวัดและประเมินออกมา ภายใต้สถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลองที่ใกล้เคียงกับความจริง 2. การวัดที่ใช้ จะเป็นการวัดที่ใช้ภาษาหรือไม่ใช้ภาษาก็ได้ 3. เน้นการวัดและประเมินกระบวนการ (process) การวัดและประเมินผลงาน (product) หรือการวัดและประเมินทั้งกระบวนการและผลงาน ธรรมชาติ ของการประเมินทักษะการปฏิบัติ

7 1. จุดมุ่งหมาย (Purpose) 3. ผลการปฏิบัติ (Response)
2. งานที่กำหนด (Task) 3. ผลการปฏิบัติ (Response) 4. วิธีการที่เป็นระบบสำหรับการให้คะแนน (Systematic methods of rating performance) องค์ประกอบ ของการประเมิน ทักษะการปฏิบัติ

8 การประเมินทักษะงานไม้ของนักเรียนช่างอาชีวศึกษา
Purpose เพื่อตัดสินความสามารถในการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์และคุณภาพของที่ผลิต Task สร้างสถานการณ์จำลอง ให้มีลูกค้ามาสั่งทำชุดโต๊ะเก้าอี้สำหรับอ่านหนังสือของเด็กประถม Response ชุดโต๊ะเก้าอี้สำหรับอ่านหนังสือของเด็กประถมที่มีขนาดเหมาะสมและมีความปราณีต สวยงาม Systematic methods of rating performance - พิจารณาความพร้อมในการจัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือที่ต้องใช้ในการผลิต - พิจารณาลำดับขั้นตอนของกระบวนการผลิต โดยใช้วิธีการสังเกต และทำการประเมินโดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนที่ได้พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพไว้แล้ว ที่มา: โชติกา ภาษีผล, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง และ กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2558)

9 ประเภทของการวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติ
เน้นกระบวนการ เน้นผลงาน และผลงาน

10 การวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติที่เน้นกระบวนการ
เป็นการวัดและประเมินคุณภาพของกระบวนการในขณะที่ปฏิบัติงานอยู่ นิยมใช้กับทักษะที่มีจุดเน้นที่ขั้นตอนของการปฏิบัติมากกว่าผลการปฏิบัติ การประเมินการพูดหรือทักษะการออกเสียง (oral assessment) การประเมินการแสดงออก (demonstration) Johnson, Penny & Gordon (2009)

11 การวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติที่เน้นผลงาน
เป็นการวัดและประเมินคุณภาพของผลการปฏิบัติ นิยมใช้กับทักษะที่ไม่ได้มีกระบวนการปฏิบัติงานเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องประเมิน นิยมใช้กับทักษะที่วัดผลงานได้ง่ายกว่าการวัดกระบวนการปฏิบัติงาน เช่น การวาดภาพ การเขียนเรียงความ

12 การวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติที่ เน้นทั้งกระบวนการและผลงาน
เป็นการวัดและประเมินคุณภาพของกระบวนการในขณะที่ปฏิบัติงานและผลจาก การปฏิบัติงาน นิยมใช้กับงานที่สามารถวัดกระบวนการและผลงานแยกออกจากกันอย่างชัดเจน เช่น ทักษะการทำอาหาร ทักษะการทดลองทางวิทยาศาสตร์

13 กระบวนการออกแบบการวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติ
1. กำหนดจุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติ 2. กำหนดกรอบของการประเมิน 3. กำหนดน้ำหนักความสำคัญของคุณลักษณะและเครื่องมือที่ใช้ 4. กำหนดประเด็นที่ต้องการประเมิน 5. กำหนดงานและสถานการณ์ให้ผู้เรียนปฏิบัติ

14 กำหนดจุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติ
กำหนดจุดมุ่งหมายและโครงสร้างของสิ่งที่ต้องการประเมิน การประเมินอาจครอบคลุมทั้งพุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัยไปพร้อมๆ กัน โดยทั่วไปจุดมุ่งหมายของการประเมินทักษะการปฏิบัติในชั้นเรียน มักครอบคลุม การตรวจสอบความสามารถของผู้เรียน ได้แก่ 1) ความรอบรู้ในเนื้อหาตามหลักสูตร: เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับผลการเรียนรู้ของ ผู้เรียน (ผู้ประเมิน/ครูควรพิจารณาว่าเนื้อหาสาระใดบ้างที่ควรประเมิน) 2) ความสามารถในด้านต่างๆ: เพื่อตรวจสอบความสามารถพื้นฐานในวิชาชีพ (ผู้ประเมิน/ครูควรพิจารณาว่าภาระงานลักษณะใดที่เหมาะสมกับการตรวจสอบ ความสามารถนั้นๆ) 3) ศักยภาพของผู้เรียนในด้านต่างๆ ในอนาคต: เพื่อตรวจสอบศักยภาพของ ผู้เรียนในด้านต่างๆ ในอนาคต (ผู้ประเมินควรคำนึงถึงเครื่องมือวัดที่สามารถทำนาย ความสามารถด้านนั้นๆ ได้ในอนาคต เช่น ข้อสอบในส่วนการเขียนของแบบสอบ ความถนัดทางวิชาการ (Scholastic Aptitude Test: SAT)

15 กำหนดกรอบของการประเมิน
เป็นการระบุถึงเนื้อหา ทักษะ กระบวนการ องค์ประกอบหรือมิติอื่นๆ ของสิ่งที่ ต้องการประเมิน ก่อนจัดการเรียนการสอน ครูควรทราบว่าทักษะการปฏิบัติที่ต้องสอนและประเมิน ผู้เรียนมีอะไรบ้าง โดยทำการศึกษาหลักสูตร สาระ และมาตรฐานการเรียนรู้ให้เข้าใจ ครูควรวิเคราะห์ทักษะการปฏิบัติที่ต้องการวัดว่ามีลักษณะอย่างไร การประเมินควร จะครอบคลุมมิติหรือด้านใดบ้าง ครูควรดำเนินการวิเคราะห์พฤติกรรมในการทำงานที่มีความซับซ้อน ผลการ วิเคราะห์งานจะทำให้ได้กิจกรรมที่นักเรียนต้องทำและลำดับขั้นของการทำงาน ซึ่งทำ ให้ครูสามารถกำหนดคุณลักษณะด้านทักษะและตัวบ่งชี้ของทักษะที่ต้องการวัดได้ อย่างเหมาะสม ครูต้องกำหนดลักษณะหรือด้านที่จะประเมินทักษะการปฏิบัติให้ครอบคลุม ประเด็นต่างๆ และเพียงพอที่จะทำให้ได้ผลการวัดที่สามารถนำไปใช้ตาม วัตถุประสงค์ของการวัดได้อย่างเหมาะสม

16 สาระการเรียนรู้แกนกลาง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ สาระที่ ๓ นาฏศิลป์ มาตรฐาน ศ ๓.๑ เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่าง สร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.๖ ๑. สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวและการแสดง โดยเน้นการถ่ายทอดลีลาหรืออารมณ์  การประดิษฐ์ท่าทางประกอบเพลงปลุกใจหรือเพลงพื้นเมืองหรือท้องถิ่น เน้นลีลา หรืออารมณ์ ๒. ออกแบบเครื่องแต่งกาย หรืออุปกรณ์ประกอบการแสดงอย่างง่าย ๆ  การออกแบบสร้างสรรค์ - เครื่องแต่งกาย - อุปกรณ์ ฉากประกอบการแสดง ๓. แสดงนาฏศิลป์และละครง่าย ๆ  การแสดงนาฏศิลป์และการแสดงละคร - รำวงมาตรฐาน - ระบำ - ฟ้อน - ละครสร้างสรรค์

17 กำหนดน้ำหนักความสำคัญของคุณลักษณะและเครื่องมือที่ใช้
คุณลักษณะที่ต้องการประเมินในการปฏิบัติงานแต่ละคุณลักษณะ อาจมี ความสำคัญไม่เท่ากัน ครูควรพิจารณาว่าจะใช้ตัวชี้วัดใดในการจัดการเรียนการสอน จะกำหนด น้ำหนักความสำคัญของคุณลักษณะแต่ละคุณลักษณะเท่าใด จะใช้เครื่องมือใด ในการวัดและประเมินคุณลักษณะแต่ละด้าน การกำหนดน้ำหนักความสำคัญอาจกำหนดเป็นร้อยละหรือคะแนนก็ได้

18 การกำหนดน้ำหนักความสำคัญของคุณลักษณะและเครื่องมือการวัดและประเมินผลความสามารถด้านกีฬาวอลเล่ย์บอล
สิ่งที่ต้องประเมิน รายละเอียด ก่อน กลางภาค หลัง ปลายภาค รวม เครื่องมือประเมิน ความรู้ 1. คำศัพท์สากลเกี่ยวกับวอลเล่ย์บอล 2. หลักการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย 3. ความรู้เกี่ยวกับทักษะวอลเล่ย์บอล 5 20 รายงาน/ แบบประเมินค่า/ แบบสอบ ทักษะ ทักษะวอลเล่ย์บอล ได้แก่ การอันเดอร์, การเซ็ท, การตบ, การเสิร์ฟ และการสกัดกั้น 10 30 การปฏิบัติ/ แบบประเมินค่า สมรรถภาพทางกาย การวิ่ง 100 เมตร วิ่งกลับตัว งิ่งซิกแซก กระโดดขึ้น-ลง จากพื้น การยกน้ำหนัก การยืดเหยียด การอ่อนตัว เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค คุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ 1. การตรงต่อเวลา 2. ความมีระเบียบวินัย 3. การมีน้ำใจนักกีฬา กิจกรรมกลุ่ม/ แบบบันทึกพฤติกรรม 100

19 กำหนดประเด็นที่ต้องการประเมิน
กระบวนการปฏิบัติงาน (process) คุณภาพ ขณะปฏิบัติงาน เวลา ผลการปฏิบัติงาน/ผลงาน (product) คุณภาพผลงาน ปริมาณงาน

20 กระบวนการปฏิบัติงาน (process)
คุณภาพขณะปฏิบัติงาน - การเลือกใช้หรือการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ - การปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน - ความคล่องแคล่วในการปฏิบัติ - ความตั้งใจในการทำงาน - การปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทำงาน - ความสิ้นเปลืองของทรัพยากร - ความร่วมมือในการทำงาน (กรณีงานกลุ่ม) เวลา - ความตรงต่อเวลาในการปฏิบัติงาน - ปริมาณเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ในการประเมินทักษะการเล่นวอลเล่ย์บอล กระบวนการปฏิบัติที่ควรพิจารณา ได้แก่ ความถูกต้องการอันเดอร์ การส่ง (เซ็ท) การตบลูก การเสิร์ฟลูก การสกัดกั้น (ป้องกันการตบ) ความร่วมมือของเพื่อนร่วมทีมขณะเล่น การรักษากติกาขณะเล่น ความตรงต่อเวลาในการฝึกซ้อม เป็นต้น

21 ผลการปฏิบัติงาน/ผลงาน (product)
คุณภาพผลงาน - คุณลักษณะหรือรูปลักษณ์ที่ปรากฏของงาน (เช่น ความสวยงาม ความปราณีต ความไพเราะ) - คุณสมบัติภายในของงาน (เช่น ความอร่อย ความหอม ความสร้างสรรค์ ความเหมาะสมในการนำไปใช้) ปริมาณงาน - จำนวนผลงานเป็นไปตามที่กำหนด ภายในเวลาที่กำหนด ในการประเมินทักษะการยิงประตูในกีฬาฟุตบอล ผลการปฏิบัติงานหรือผลงานที่ควรพิจารณา คือ จำนวนลูกที่ยิงเข้าประตูภายในระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงระยะการยิงเข้าประตู หรือในการประเมินทักษะการเสิร์ฟวอลเล่ย์บอล ผลงานที่ควรพิจารณา คือ จำนวนลูกที่เสิร์ฟได้คะแนนทั้งการเสิร์ฟลูกมือบนและมือล่าง เป็นต้น

22 กำหนดงานและสถานการณ์ให้ผู้เรียนปฏิบัติ
การวางแผนว่าจะใช้สถานการณ์ใดในการประเมินทักษะการปฏิบัติ เพื่อให้ ผู้เรียนแสดงทักษะที่ต้องการวัดออกมาได้ชัดเจนที่สุด ครู/ผู้ประเมินต้องกำหนดงานหรือสถานการณ์ให้ผู้เรียนปฏิบัติ เพื่อประเมิน ทักษะการปฏิบัติในมิติหรือองค์ประกอบต่างๆ ที่ได้วางแผนไว้ สิ่งสำคัญก็คือ ครู/ผู้ประเมินต้องมีโอกาสได้สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน อย่างใกล้ชิด Hart (1994) ได้เสนอรูปแบบของงานสำหรับการประเมินทักษะการปฏิบัติ ไว้ 3 รูปแบบ คือ 1) งานสำหรับประเมินอย่างสั้น (short assessment tasks) 2) งานที่เป็นเหตุการณ์ (event tasks) 3) งานสำหรับประเมินระยะยาว (long-term extended tasks)

23 งานสำหรับ ประเมินอย่างสั้น
มักจะใช้ในการประเมินความรอบรู้ในหลักการพื้นฐาน กระบวนการ ความสัมพันธ์ของขั้นตอนการปฏิบัติงาน รวมถึงทักษะ การคิดในเรื่องต่างๆ เป็นงานที่ใช้เวลาทำไม่นาน งานสำหรับประเมินอย่างสั้นอาจเป็นคำถามชนิดปลายเปิด คำถามชนิดเลือกตอบที่วัดความสามารถระดับสูง หรือแผนผัง มโนทัศน์ก็ได้ นิยมใช้กับการประเมินผู้เรียนรายบุคคล

24 งานที่ เป็นเหตุการณ์ เป็นงานที่สามารถวัดความสามารถของผู้เรียนได้อย่างกว้างขวาง เช่น ความคล่องแคล่วในการพูด ความคล่องแคล่วในการเขียน ทักษะการประกอบวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ทักษะการแก้ปัญหา ลักษณะของงานที่เป็นเหตุการณ์ ต้องสามารถสะท้อนถึงทักษะ และระดับความสามารถในการนำความรู้ที่ผู้เรียนมีไปประยุกต์ใช้ได้ ใช้เวลาในการปฏิบัติงานนานกว่ารูปแบบแรก นิยมใช้กับการประเมินการอ่าน การประมิน การเขียน การประเมินกระบวนการทำงาน ต่างๆ งานที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์และการ แก้ปัญหา

25 งานสำหรับ ประเมินระยะยาว
เป็นงานที่มีลักษณะเป็นโครงการที่มีเป้าหมายหลายประการ ใช้เวลาในการปฏิบัติงานนานกว่างาน 2 รูปแบบแรก ครูผู้สอนสามารถมอบหมายงานได้ ตั้งแต่ช่วงแรกหรือช่วงต้น ภาคการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถหรือทักษะด้าน ต่างๆ ที่มุ่งประเมิน เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา ให้ผู้เรียนจัดแสดงนิทรรศการนำเสนอ ผลการปฏิบัติงานต่อสาธารณะ มักเป็นโครงการระยะยาว เช่น - โครงการวิจัยต่างๆ - โครงงานวิทยาศาสตร์ งานสำหรับ ประเมินระยะยาว

26 งานที่ใช้ในการประเมิน
ตัวอย่างการกำหนดงานหรือสถานการณ์ที่ใช้ในการประเมินทักษะการปฏิบัติ ทักษะที่ต้องการวัด งานที่ใช้ในการประเมิน 1. การเขียนเรื่องสั้นตามหัวเรื่อง วางโครงเรื่องและตัวละคร เขียนเรื่องสั้น ทบทวนเรื่องสั้นที่เขียน และปรับปรุงเรื่องสั้นให้สมบูรณ์ 2. การสร้างแผนภูมินำเสนอข้อมูล ทางสถิติจากข้อมูลที่กำหนดให้ ให้ผู้เรียนไปสำรวจแปลงเกษตรในโรงเรียน และเก็บบันทึกข้อมูลจำนวนพันธุ์ไม้ที่มี พิจารณาประเภทของแผนภูมิที่จะนำเสนอให้เหมาะสมกับลักษณะของข้อมูล ให้เหตุผลที่เลือกแผนภูมิประเภทนั้น แล้วสร้างแผนภูมิจากข้อมูลจริงที่สำรวจได้ 3. การเตรียมเครื่องมือทดลองและ ดำเนินการทดลอง ให้ผู้เรียนทำโครงงานวิทยาศาสตร์หัวข้อสารจากธรรมชาติในการไล่มดแมลง และออกแบบการทดลอง โดยวางแผนเกี่ยวกับเครื่องมือทดลองที่ต้องใช้ ขั้นตอนการทดลอง แล้วดำเนินการทดลองจริง จากนั้นจึงสรุปผลและนำเสนอผลการทดลอง

27 เครื่องมือวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติ
ประเภทที่ ใช้การทดสอบ Paper & pencil test Oral test ไม่ใช้การทดสอบ Checklist Rating scale Scoring rubric ที่มา: สุวิมล ว่องวาณิช (2546)

28 เครื่องมือประเภทที่ใช้การทดสอบ
สิ่งที่ทำการวัด แบ่งได้เป็น 2 ประเภทย่อย คือ 1) แบบสอบวัดความรู้ในเนื้อหาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติ หรือวัดความรู้เกี่ยวกับกฎ หรือความรู้ทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ 2) แบบสอบที่ให้อธิบายกระบวนการทำงานหรือกระบวนการแก้ปัญหา ครูควรใช้แบบสอบข้อเขียนในการวัดก่อนที่จะทำการทดสอบในภาคปฏิบัติ ข้อดี คือ สามารถบริหารการสอบได้เป็นกลุ่ม ทำให้สะดวกและประหยัดเวลา นอกจากนี้ ยังมีความเป็นปรนัยค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับการสอบด้วยปากเปล่า ข้อจำกัด คือ อาจมีปัญหาเรื่องความตรงของเครื่องมือ เนื่องจากการใช้แบบสอบ ข้อเขียนกับการวัดทักษะการปฏิบัติ เพราะผู้เรียนที่มีความรู้ภาคทฤษฎีอาจไม่สามารถ ปฏิบัติงานได้จริงเสมอไป ควรใช้แบบสอบเฉพาะการวัดทักษะการปฏิบัติที่มีอันตรายหรือมีความเสี่ยงในการ ปฏิบัติจริงเท่านั้น แบบสอบข้อเขียน

29 เครื่องมือประเภทที่ใช้การทดสอบ
ควรใช้เมื่อต้องการวัดผู้เรียนเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะการวัดการมีส่วมร่วม ในการทำงานกลุ่ม หรือการตรวจสอบทักษะการปฏิบัติที่ผู้เรียนแต่ละคนปฏิบัติ ต่างกัน ข้อดี คือ ครูสามารถปรับข้อคำถามได้ตามความเหมาะสม ข้อจำกัด คือ เนื่องจากต้องทำการวัดผู้เรียนทีละคน จึงทำให้ใช้เวลามากกว่า การใช้แบบสอบข้อเขียน และเมื่อเทียบกับแบบสอบข้อเขียน แบบสอบปาก เปล่าจะมีความเป็นปรนัย (objectivity) น้อยกว่า เพราะครูสามารถปรับเปลี่ยน ข้อคำถามสำหรับผู้เรียนแต่ละคนได้ นอกจากนี้ ผู้เรียนที่มีลำดับการสอบท้ายๆ จะมีโอกาสเตรียมตัวสอบสูงกว่าผู้เรียนในลำดับแรกๆ และอาจจะรู้แนวคำถาม จากผู้สอบก่อนหน้าได้ แบบสอบปากเปล่า

30 เครื่องมือประเภทที่ไม่ใช้การทดสอบ
มีลักษณะเป็นรายการที่ระบุพฤติกรรมหรือลักษณะที่บ่งชี้ทักษะสำคัญที่ ต้องการวัด เพื่อให้ผู้ประเมิน/ครูระบุว่าผู้เรียนเกิดพฤติกรรมหรือลักษณะนั้นๆ หรือไม่ ข้อดี คือ สามารถสร้างได้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน ข้อจำกัด คือ เหมาะกับทักษะที่ไม่มีรายละเอียดของพฤติกรรมหรือขั้นตอน มากนัก เพราะแบบตรวจสอบรายการจะไม่แสดงระดับของคุณภาพหรือความ สมบูรณ์ของพฤติกรรมของทักษะการปฏิบัตินั้น เหมาะที่จะนำไปใช้กับนักเรียนระดับประถมศึกษา แบบตรวจสอบรายการ

31 แบบประเมินทักษะการทำแผล
ตัวอย่าง แบบประเมินทักษะการทำแผล ชื่อ-สกุล ระดับชั้น เลขที่ คำชี้แจง ให้ผู้ประเมินทำเครื่องหมาย  ลงในช่องที่ตรงกับการปฏิบัติของนักเรียน ลงชื่อ ผู้ประเมิน การเตรียมอุปกรณ์ มี/ ปฏิบัติ ไม่มี/ ไม่ปฏิบัติ การปฏิบัติการ 1. น้ำเกลือล้างแผล 1. ล้างมือ 2. แอลกอฮอลล์ 2. เช็ดรอบแผลด้วยน้ำเกลือ 3. ยาทาแผลที่ถูกต้อง 3. เช็ดรอบแผลด้วยแอลกอฮอล์ 4. สำลีพันปลายไม้ 4. ทายาทาแผล 5. ผ้าก๊อซปิดแผล 5. ปิดแผล 6. เทปปิดแผล ที่มา: โชติกา ภาษีผล, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง และ กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2558)

32 เครื่องมือประเภทที่ไม่ใช้การทดสอบ
มีลักษณะเป็นรายการที่ระบุพฤติกรรมหรือลักษณะที่บ่งชี้ทักษะสำคัญที่ ต้องการวัด ให้ผู้ประเมินระบุระดับคุณภาพหรือความสมบูรณ์ของพฤติกรรมที่มุ่งวัด ว่า ผู้เรียนมีอยู่ในระดับใด ข้อดี คือ สร้างง่ายและใช้เวลาไม่นาน ข้อจำกัด คือ อาจทำให้เกิดปัญหาการขาดความเป็นปรนัย (objectivity) และ ขาดความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินได้ (inter-rater reliability) เนื่องจากระดับ คุณภาพในแต่ละระดับของแบบประเมินนั้น ไม่มีการกำกับด้วยคำบรรยาย พฤติกรรมหรือลักษณะของทักษะ แบบประเมินค่า

33 แบบประเมินทักษะการตีลูกเหนือศีรษะในกีฬาแบดมินตัน
ชื่อ-สกุล ระดับชั้น เลขที่ คำชี้แจง ให้ผู้ประเมินทำเครื่องหมาย  ลงในช่องที่แสดงระดับการปฏิบัติที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียน ลงชื่อ ผู้ประเมิน พฤติกรรม ระดับคุณภาพ ปรับปรุง พอใช้ ดี ดีมาก 1. เคลื่อนไหวเท้าอย่างคล่องแคล่วไปยังจุดที่จะตีลูก 2. ไหล่ตั้งฉากกับเนต 3. หันไม้เพื่อเตรียมตีลูกเหนือศีรษะ 4. ไม้สัมผัสลูกขนไก่ขณะที่แขนอยู่เหนือศีรษะ 5. สะบัดข้อมือเมื่อลูกขนไก่สัมผัสไม้ ตัวอย่าง ที่มา: กมลวรรณ ตังธนกานนท์, 2559

34 เครื่องมือประเภทที่ไม่ใช้การทดสอบ
มีลักษณะเป็นระดับที่แสดงลักษณะของการปฏิบัติงาน หรือระดับที่แสดงความสำเร็จ ของผลงานของทักษะการปฏิบัตินั้นๆ จะต้องมีคำอธิบายพฤติกรรมหรือลักษณะที่สะท้อนถึงทักษะพิสัยที่ประเมินในแต่ละ ระดับผลการประเมินกำกับเอาไว้ (ตั้งแต่ปรับปรุง จนถึง ดีมาก) เหมาะกับการประเมินทักษะที่มีความซับซ้อนและมีรายละเอียดมาก ข้อดี คือ ช่วยแก้ปัญหาในเรื่องการประเมินที่ค่อนข้างมีความเป็นอัตนัย (subjectivity) ให้มีความเป็นปรนัยได้ ซึ่งจะช่วยให้การให้คะแนนมีความเที่ยงเพิ่มมากขึ้น ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าใจได้ตรงกันว่าทักษะการปฏิบัติที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับ และได้มาตรฐานเป็นอย่างไร ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน เพราะผู้เรียนได้ทราบขอบเขตของสิ่งที่ผู้สอนจะทำ การประเมิน ทั้งการประเมินกระบวนการและผลงานของทักษะนั้นๆ เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค

35 เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค
เป็นเกณฑ์ที่พิจารณาภาพรวมของสิ่งที่มุ่งประเมินว่ามีลักษณะเด่นหรือ ลักษณะที่จำเป็นอย่างไรบ้าง เกณฑ์การให้คะแนน จะบรรยายคุณภาพโดยรวมของสิ่งที่ประเมินลดหลั่น กันตามระดับคุณภาพจากสูงสุดถึงต่ำสุด ยึดหลักการพื้นฐานที่ว่า ‘‘การประเมินคุณภาพของสิ่งต่างๆ ควรต้อง พิจารณาภาพรวมทั้งหมดของสิ่งนั้น จะดีกว่าการพิจารณาเป็นมิติหรือ องค์ประกอบแต่ละด้านของสิ่งที่วัด’’ เหมาะกับ 1) การประเมินผลขนาดใหญ่ (large scale assessment) ที่มี นักเรียนจำนวนมาก และ 2) การประเมินผลสรุปรวม (summative evaluation) ในการตัดสินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน Holistic scoring rubric

36 แบบประเมินทักษะในการแข่งขันกีฬาแบดมินตัน
ชื่อ-สกุล ระดับชั้น เลขที่ วัน/เดือน/ปี ผู้ประเมิน คำชี้แจง ให้ผู้ประเมินทำเครื่องหมาย  ล้อมรอบระดับการปฏิบัติที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนมากที่สุด ตัวอย่าง ระดับ พฤติกรรมการปฏิบัติ ดีมาก ใช้วิธีการรับส่งลูกแบบต่างๆ ตามที่สอนได้เหมาะสมทั้งหมด รับส่งลูกในระดับต่างๆ ได้อย่างแม่นยำทุกลูก เสิร์ฟและตีลูกสั้น-ยาวไปในทิศทางที่สลับไปมาเพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามสามารถคาดเดาได้ ตีลูกไปในด้านตรงกันข้ามกับที่คู่ต่อสู้ยืนอยู่ คาดหมายทิศทางการตีลูกของคู่ต่อสู้ เมื่อเคลื่อนที่ไปรอบๆ คอร์ดเพื่อรับลูกจากคู่ต่อสู้แล้วเคลื่อนที่กลับมายังตำแหน่งเริ่มต้นเสมอ ถ่ายน้ำหนักระหว่างเท้าและควบคุมการทรงตัวได้อย่างสมดุลเมื่อวิ่งไปรับลูก ปฏิบัติตามกฎกติการการเล่นทั้งหมด ดี ใช้วิธีการรับส่งลูกแบบต่างๆ ตามที่สอนได้อย่างเหมาะสมเป็นส่วนใหญ่ รับส่งลูกในระดับต่างๆ ได้อย่างแม่นยำเป็นส่วนใหญ่ เสิร์ฟและตีลูกสั้น-ยาวไปในทิศทางที่สลับไปมาเพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามสามารถคาดเดาได้ ตีลูกไปในด้านตรงกันข้ามกับที่คู่ต่อสู้ยืนอยู่ คาดหมายทิศทางการตีลูกของคู่ต่อสู้เป็นบางครั้ง เมื่อเคลื่อนที่ไปรอบๆ คอร์ดเพื่อรับลูกจากคู่ต่อสู้แล้วเคลื่อนที่กลับมายังตำแหน่งเริ่มต้น ถ่ายน้ำหนักระหว่างเท้าและควบคุมการทรงตัวได้อย่างสมดุลเมื่อวิ่งไปรับลูก ปฏิบัติตามกฎกติการการเล่นทั้งหมด ที่มา: กมลวรรณ ตังธนกานนท์, 2559

37 เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค
เป็นเกณฑ์ที่พิจารณาคุณภาพของสิ่งที่ประเมินแยกรายด้าน ราย องค์ประกอบ หรือรายมิติ เกณฑ์การให้คะแนน จะบรรยายคุณภาพของสิ่งที่ประเมินแยกราย องค์ประกอบลดหลั่นกันตามระดับคุณภาพจากสูงสุดถึงต่ำสุด ถ้าองค์ประกอบ ด้าน หรือมิติที่พิจารณามีความสำคัญไม่เท่ากัน ครูสามารถ กำหนดน้ำหนักให้แก่เกณฑ์แต่ละด้านได้ตามความเหมาะสมและเป็นที่ยอมรับ เหมาะกับการประเมินความก้าวหน้าหรือกระบวนการ (formative evaluation) ที่ครูต้องให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อพัฒนาผู้เรียน ข้อจำกัด คือ การประเมินมักใช้เวลานานกว่าการให้คะแนนแบบองค์รวม เนื่องจากการต้องพิจารณาแยกแต่ละองค์ประกอบ Analytic scoring rubric

38 แบบประเมินผลงานจากกิจกรรมวิชาคณิตศาสตร์
ชื่อ-สกุล ระดับชั้น เลขที่ วัน/เดือน/ปี ผู้ประเมิน คำชี้แจง ให้ผู้ประเมินทำเครื่องหมาย ในช่องที่สอดคล้องกับระดับการปฏิบัติของผู้เรียนมากที่สุด ตัวอย่าง องค์ประกอบ ระดับคุณภาพ เกณฑ์ 1. การเขียนประโยค สัญลักษณ์  ดีมาก เขียนประโยคสัญลักษณ์ได้ถูกต้องสมบูรณ์  ดี เขียนประโยคสัญลักษณ์ได้ถูกต้อง แต่ขาดเครื่องหมายเท่ากับ  พอใช้ มีร่องรอยการเขียนตัวเลขและเครื่องหมาย การดำเนินการทางคณิตศาสตร์ แต่ยังไม่เป็นประโยคสัญลักษณ์ที่ถูกต้อง  ปรับปรุง ไม่มีร่องรอยหรือหลักฐานแสดงถึงการเขียนประดยคสัญลักษณ์ 2. การแสดงวิธีทำ แสดงวิธีคิดคำนวณโจทย์ปัญหา ได้เป็นลำดับขั้นตอนครบถ้วนสมบูรณ์ แสดงวิธีคิดคำนวณโจทย์ปัญหา ได้เป็นลำดับขั้นตอนเป็นส่วนใหญ่ แสดงวิธีคิดคำนวณโจทย์ปัญหา แต่ยังไม่เป็นลำดับขั้นตอน ไม่ได้แสดงวิธีคิดคำนวณ 3. ความถูกต้องใน การคำนวณ คำนวนตัวเลขได้ถูกต้องตั้งแต่ 76% ของทั้งหมดขึ้นไป คำนวนตัวเลขได้ถูกต้อง 51% - 75% ของทั้งหมด คำนวนตัวเลขได้ถูกต้อง 25% - 50% ของทั้งหมด คำนวนตัวเลขได้ถูกต้องต่ำกว่า 25% ของทั้งหมด

39 คุณภาพของการประเมินทักษะการปฏิบัติ
1. ความตรง (validity) โดยผู้ประเมินควรระมัดระวังไม่ให้เกิดความแปรปรวนจากการวัดและประเมิน 2 ลักษณะ คือ - ความแปรปรวนจากการวัดและประเมินสิ่งที่ไม่เป็นตัวแทนของสิ่งที่วัด ซึ่งเกิดจากการวัดและประเมินในประเด็นที่แคบเกินไป ไม่ครอบคลุมเนื้อหาหรือองค์ประกอบของทักษะที่ต้องการประเมิน - ความแปรปรวนจากการวัดและประเมินสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่วัด ซึ่งเกิดจากการวัดและประเมินในประเด็นที่กว้างเกินไป ทำให้วัดและประเมินเนื้อหาหรือองค์ประกอบอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับทักษะที่ต้องการประเมินมาด้วย

40 คุณภาพของการประเมินทักษะการปฏิบัติ
2. ความเที่ยง (reliability) เนื่องจากในการวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติ ซึ่งเครื่องมือส่วนใหญ่เป็นแบบสังเกต ที่ต้องใช้เวลาในการวัดค่อนข้างนาน จึงต้องอาศัยผู้ประเมินหลายคนมาร่วมทำการวัดและประเมิน ดังนั้น จึงอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินได้ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ผู้ประเมินต้องมีความเข้าใจถึงเกณฑ์การประเมินพฤติกรรมให้ตรงกัน และทำการตรวจสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประเมินก่อนดำเนินการวัดและประเมินผลจริง นอกจากนี้ การให้ผู้เรียนกระทำหรือปฏิบัติงานในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งผู้เรียนอาจคุ้นเคยหรือไม่คุ้นเคย ก็อาจส่งผลให้การประเมินขาดความเที่ยงได้เช่นกัน เพราะแม้ผู้เรียนจะมีทักษะในเรื่องนั้นดี แต่หากขาดความคุ้นเคยกับเนื้อหาของงานหรือสถานการณ์ที่ครูกำหนด ก็อาจทำให้ปฏิบัติงานและมีผลการประเมินไม่ดีเท่าที่ควร เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ครูจึงควรเพิ่มงานและจำนวนครั้งในการประเมินทักษะที่ต้องการวัดให้มากขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย

41 คุณภาพของการประเมินทักษะการปฏิบัติ
3. ความเป็นปรนัย (objectivity) การที่ครูจะสร้างเครื่องมือวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติให้มีความเป็นปรนัยนั้น ครูต้องสร้างรายการพฤติกรรมในการสังเกตให้มีความเด่นชัด เป็นรูปธรรม ผู้ประเมินอ่านแล้วเข้าใจได้ตรงกัน ทั้งคำสั่ง คำชี้แจง พฤติกรรมที่สังเกต รวมถึงการให้คะแนนและการแปลผล

42 แจ้งการเปลี่ยนสัดส่วนของการวัดและประเมินผลการเรียน
วิธีการประเมิน (เดิม) (ใหม่) 1. การประเมินความรู้ทางวิชาการ - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค 20 % 30 % 2. การประเมินการทำงาน, กิจกรรมในชั้นเรียน, การสอบเก็บคะแนน - การอภิปรายกลุ่ม, การตอบข้อซักถาม และการสรุปองค์ความรู้ 10 % 3. การประเมินผลงานที่ได้รับมอบหมาย งานกลุ่ม (30%) 3.1) การฝึกปฏิบัติการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลด้านพุทธิพิสัย - การนำเสนอและรายงานผลการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ 3.2) การฝึกปฏิบัติการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลด้านจิตพิสัย - การนำเสนอผลการสร้างเครื่องมือประเมินจิตพิสัย 3.3) การฝึกปฏิบัติการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลด้านทักษะพิสัย - การนำเสนอผลการสร้างเครื่องมือประเมินทักษะพิสัย 4. จิตพิสัย (การเข้าชั้นเรียน, การส่งงานตามกำหนด, บุคลิกภาพความเป็นครู) รวม 100 %

43 ภาระงานที่กำหนด การฝึกปฏิบัติการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลด้านทักษะพิสัย (10%) 1. ให้นิสิตแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน 2. นำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาที่นิสิตแต่ละคนสนใจมานำเสนอภายในกลุ่ม 3. ศึกษารูปแบบและขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย 4. ดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ในรูปแบบที่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ที่แต่ละกลุ่มสนใจ อย่างน้อยกลุ่มละ 3 รูปแบบ (ปฏิบัติการในสัปดาห์ที่ 13 วันที่ พ.ย. 2560) 5. นำเสนอชุดเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยที่แต่ละกลุ่มสร้างขึ้น (ปฏิบัติการในสัปดาห์ที่ 14 วันที่ พ.ย. 2560) พร้อมทั้งส่งเล่มรายงานชุดเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย *วันเวลาและรายละเอียดของภาระงาน สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม

44 บรรณานุกรม กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2559). การวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โชติกา ภาษีผล, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง และ กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2558). การวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2551) เอกสารประกอบการสอนวิชา การวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


ดาวน์โหลด ppt การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google