งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 7. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 7. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 7. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร
บุคลิกภาพ บทที่ 7. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร

2 บุคลิกภาพ บุคลิกภาพ  คือ  ลักษณะท่าทางซึ่งสามารถแสดงออกมาได้ทั้งทางร่างกาย  จิตใจ  และความรู้สึกนึกคิด  ที่สะท้อนออกมาให้ผู้อื่นเห็นและเกิดความประทับใจ การที่บุคคลจะได้รับการยอมรับนับถือ การสนับสนุน  ความไว้วางใจ  และความประทับใจ จากผู้อื่นก็ควรที่จะแสดงบุคลิกภาพที่ดีและเหมาะสมให้ผู้อื่นเห็น  เพราะบุคลิกภาพมีอิทธิพลต่อความรู้สึกและอารมณ์ของผู้ที่พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง

3 ความสำคัญของบุคลิกภาพ
1.ความมั่นใจ ผู้ที่มีบุคลิกภาพดีย่อมภาคภูมิใจและมั่นใจ 2. สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมบุคคลได้ 3. ยอมรับข้อแตกต่างระหว่างบุคคล 4. ตระหนักในเอกลักษณ์ของบุคคล 5. การปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น 6. ความสำเร็จ ของการเป็นผู้มีบุคลิกภาพดี 7. การยอมรับของกลุ่ม

4 แสดงองค์ประกอบที่สร้างบุคลิกภาพ
วัฒนธรรม บุคลิกภาพบุคคล พันธุกรรม ลักษณะกลุ่มคนที่ เป็นสมาชิก ความสัมพันธ์

5 สิ่งที่ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพ
องค์ประกอบด้านพันธุกรรม เช่น สติปัญญา ลักษณะทางร่างกาย อารมณ์ นิสัย ด้านสุขภาพ เช่น โรคประจำตัว หอบ หืด ความดันโลหิตสูง องค์ประกอบด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว การเลี้ยงดู สติปัญญา ไอคิวต่ำ ภาวะจิตใจ อารมย์ องค์ประกอบด้านกลุ่มคนที่เป็นสมาชิก กลุ่มเพื่อนของเด็กในชุมชนและในสถานศึกษามีอิทธิพลสูงที่จะชักจูงความคิด ความเชื่อ อารมย์ ความรู้สึก นิสัย องค์ประกอบด้านวัฒนธรรม รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณี คุณธรรมทางศาสนา คตินิยมในสังคม

6 ทฤษฎีเกี่ยวกับบุคลิกภาพ
ทฤษฎี จุง (Jung) ได้จำแนกประเภทบุคลิกภาพของคนตามลักษณะการดำเนินชีวิตเป็น 3 ประเภท คือ บุคลิกภาพแบบเก็บตัว (Introvert) บุคลิกภาพแบบเปิดเผยหรือชอบสังคม (Extravert) พวกลักษณะผสม (Ambivert)

7 ทฤษฎี จุง (Jung) ประเภทเก็บตัว (Introvert) 1. ชอบทำงานเงียบ ๆ คนเดียวถ้าผิดพลาดจะโทษตัวเองไปจนถึงสิ่งแวดล้อม 2. วิตกกังวลกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง 3. สนใจข่าวลือ 4. ชอบวิพากษ์วิจารณ์คนอื่น 5. ชอบเขียนมากกว่าพูด 6. ชอบนั่งเฉย ๆ คนเดียว

8 ทฤษฎี จุง (Jung) ประเภทเปิดเผย /แสดงตัว(Extravert) 1. ถือคนส่วนใหญ่เป็นศูนย์กลาง ไปไหนไปกัน 2. ชอบทำงานเป็นกลุ่ม 3. คิดและทำตามหลักความจริง 4. ไม่สนใจตัวเองมากนัก 5. เป็นคนทันสมัย พร้อมจะเปลี่ยนตัวเอง 6. อารมณ์ดี สนุกสนาน ไม่เกลียด ไม่รักใครง่าย ๆ

9 กิบสัน (Gibson) กิบสันและคณะ (Gibson, Ivanceich, and Donnelly :1988) สรุปว่า ปัจจุบันมีทฤษฎีเกี่ยวกับบุคลิกภาพ 3 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีลักษณะนิสัย (Trait Theories) ทฤษฎีแรงขับในจิต ( Psychodynamic Theories) ทฤษฎีมานุษยนิยม ( Humanistic Theories)

10 ทฤษฎีเกี่ยวกับบุคลิกภาพ
ทฤษฎีลักษณะนิสัย ออลพอร์ท (Gordon Allport) เป็นนักจิตวิทยาและผู้นำความคิดทฤษฎีลักษณะนิสัยให้แนวคิดว่า บุคลิกภาพของบุคคล เช่น เก็บกด - ปล่อยวาง แจ่มใสร่าเริง – เครียด ถ่อมตน - โอ้อวด ยอมรับความจริง-เพ้อฝัน

11 ทฤษฎีเกี่ยวกับบุคลิกภาพ
ทฤษฎีแรงขับในจิต แนวคิดของฟรอยด์ (Sigmund Freud) ฟรอยด์มีความเชื่อว่า ลักษณะจิตใจของบุคคลสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ อิด (Id) เป็นเสมือนแรงจูงใจที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นความต้องการของร่างกาย อีโก้ (Ego ) เป็นสิ่งที่จะทำห้อิดบรรลุตามจุดมุ่งหมาย ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนที่เป็นมโนธรรมและศีลธรรม

12 ทฤษฎีเกี่ยวกับบุคลิกภาพ
ทฤษฎีมานุษยนิยม ทฤษฎีเกี่ยวกับตนของคาร์ลโรเจอร์ (Roger’s self theory) เน้นเกี่ยวกับบุคลิกภาพ คือ “ตน” (self) ประกอบด้วย ความคิด การรับรู้ และคุณค่า ที่อยู่ในบุคคล เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนย่อมรู้ว่าตัวเองมีความสามารถอย่างไร ซึ่งมีอิทธิพลต่อการรับรู้บุคคลอื่นและการรับรู้พฤติกรรมของตนเอง

13 ทฤษฎีเกี่ยวกับบุคลิกภาพ
โรเจอร์ ได้ให้ความสนใจตนอีกชนิดหนึ่ง คือ “ตนในอุดมคติ” (ideal self หมายถึง การคิดถึงลักษณะของบุคคลที่เราปรารถนาจะเป็นที่ใกล้เคียงกับตัวตนของตนเอง เป็นแรงจูงใจที่จะพยายามเป็นให้ได้เหมือนคนๆนั้นให้ได้ เช่น เล่นกีฬาเทนนิสเก่งเหมือนพี่บอล เป็นต้น

14 คุณลักษณะด้านสติปัญญา
ความหมายของสติปัญญา ความสามารถในการรับรู้เข้าใจเกี่ยวกับนามธรรมและความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถใน 3 มิติ คือ ความสามารถในการเรียนรู้ความสามารถในการคิดและใช้เหตุผลเชิงนามธรรมและความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถทางสมองที่ใช้ในการรับรู้ จดจำ และใช้ความรู้

15 ความคิดเกี่ยวกับสติปัญญา
สติปัญญาในลักษณะองค์ประกอบเดียว แนวคิดระยะแรกของนักจิตวิทยา เป็นการวัดสติปัญญา เช่น ความจำ ความเข้าใจคำศัพท์ การแก้ปัญญา ที่เรียกว่า ไอคิว สติปัญญาในลักษณะหลายองค์ประกอบ จากการศึกษาวิจัยพบว่าบุคคลอาจมีความแตกต่างกันในลักษณะเฉพาะของความสามารถทางสติปัญญา

16 แคทเทล สติปัญญาเชิงปรับเปลี่ยนเป็นความสามารถในการปรับโครงสร้างทางปัญญาหรือทางความคิด แก้ปัญหาใหม่ที่ไม่เคบพบมาก่อน โดยใช้วัดแบบแมทริกซ์ (Matrices) สติปัญญาที่ตกผลึก เป็นความสามารถที่สะสมจากประสบการณ์เดิมของบุคคล วัดโดยสอบทางภาษา การคิดคำนวณ

17 ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์
ศาสตราจารย์โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) นักจิตวิทยา มหาวิทยาลัยฮาวาร์ดเสนอแนวคิดว่า สติปัญญาของมนุษย์มีหลายด้านที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดดเด่นในด้านไหนบ้าง แล้วแต่ละด้านผสมผสานกัน แสดงออกมาเป็นความสามารถในเรื่องใด เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนไปจึงสรุปได้ว่า พหุปัญญา ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน ดังนี้

18 1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence) คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น กวี นักเขียน นักพูด นักหนังสือพิมพ์ ครู ทนายความ หรือนักการเมือง 2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence) คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผลการคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์ และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น นักบัญชี นักสถิติ นักคณิตศาสตร์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักเขียนโปรแกรม หรือวิศวกร

19 3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence) คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น 4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence) คือ ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส

20 5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence) คือ ความสามารถในการซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้ การจดจำ และการแต่งเพลง สามารถจดจำจังหวะ ทำนอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี และถ่ายทอดออกมาโดยการฮัมเพลง เคาะจังหวะ เล่นดนตรี และร้องเพลง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง หรือนักร้อง 6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence) คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน มีความไวในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง สามารถจูงใจผู้อื่นได้ดี

21 7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence) คือ ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ และสถานการณ์ รู้ว่าเมื่อไหร่ควรเผชิญหน้า เมื่อไหร่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อไหร่ต้องขอความช่วยเหลือ มองภาพตนเองตามความเป็นจริง รู้ถึงจุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของตนเอง ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าตนมีจุดแข็ง หรือความสามารถในเรื่องใด 8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence) คือ ความสามารถในการรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่างๆ ของธรรมชาติ มีความไวในการสังเกต เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปของธรรมชาติ มีความสามารถในการจัดจำแนก แยกแยะประเภทของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์

22 ประโยชน์ในการทำความเข้าใจพฤติกรรมขงบุคคล
บุคลิกภาพหรือนิสัยอุปนิสัยช่วยให้คาดการณ์ การแสดงพฤติกรรม ควบคุมและให้ความรู้ความคิด ให้โอกาสเขาได้ทบทวนความเชื่อ ความคิด ความรู้สึก ให้เขาได้ปรับตัวให้มีนิสัยที่พงปรารถณา

23 บุคลิกภาพของผู้ริหารกับประสิทธิภาพขององค์การ
ผู้บริหารทุกระดับในองค์การเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การเป็นอย่างมาก คือ ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งที่รับผิดชอบต่อการจัดการให้บุคลากรทุกฝ่ายดำเนินการปฏิบัติต่างๆ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของการผลิต บทบาทของผู้บริหารในองค์การครอลคลุมกว้างขวางต่อภารกิจต่อไปนี้ การร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ดังคำกล่าวว่า “ การปฏิบัติที่ไร้วิสัยทัศน์ จะเป็นการปฏิบัติที่ย่ำอยู่กับที่ไร้ทิศทาง ในขณะเดียวกันวิสัยทัศน์ที่ไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติจะเป็นเพียงความเพ้อฝัน”

24 บุคลิกภาพของผู้ริหารกับประสิทธิภาพขององค์การ
การแปลวิสัยทัศน์สู่พันธกิจ (Mission) ขององค์การเพื่อครอบคลุวัตถุประสงค์ของการผลิตและการบริการ การเป็นผู้นำในการร่วมวางแผน โครงการงานและกิจกรรมต่างๆ ในลักษณะแผนระยะยาว การมีบทบาทติดตามการดำเนินงานกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามแผนและประเมินผลสามารถรับรู้ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงาน สร้างความเชื่อมั่นที่มีประสิทธิภาพในการบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย

25 ลักษณะบุคลิกภาพที่สำคัญของผู้บริหาร
สามารถจำแนกเป็น 3 หมวดคือ คุณลักษณะบุคลิกภาพที่เกี่ยวกับการครองตน อาจมีบุคลิกภาพที่เป็นลักษณะเด่นเฉพาะตนเอง คือ มีประสิทธิภาพ ด้อยประสิทธิภาพ อดทน ใจเย็น ไม่อดทน ใจร้อน เชื่อมั่นในตนเอง ไม่เชื่อมั่นในตนเอง ซื่อสัตย์ ไม่ซื่อสัตย์ เห็นแก่ส่วนรวมมากกว่าตนเอง เห็นแก่ตัว กระตือรือร้น เฉื่อยชา

26 ลักษณะบุคลิกภาพที่สำคัญของผู้บริหาร
คุณลักษณะบุคลิกภาพของผู้บริหารที่เกี่ยวกับการครองตน มีประสิทธิภาพ ด้อยประสิทธิภาพ รับรู้ความรู้สึกของคนอื่นได้ไว ไม่รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น มีความสามารถในการสื่อสาร ด้อยความสามารถในการสื่อสาร ใจกว้างให้ผู้อื่นมีส่วนร่วม ใจแคบยึดความคิดของตน มีความจริงใจ ไม่จริงใจ มนุษย์สัมพันธ์สูง ไม่มีมนุษย์สัมพันธ์

27 ลักษณะบุคลิกภาพที่สำคัญของผู้บริหาร
คุณลักษณะบุคลิกภาพของผู้บริหารที่เกี่ยวกับการครองตน มีประสิทธิภาพ ด้อยประสิทธิภาพ มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน ไม่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รับผิดชอบต่อผลการตัดสินใจ ไม่รับผิดชอบต่อผลการตัดสินใจ ทำงานโปร่งใส ทำงานไม่โปร่งใส มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีทักษะการจัดการที่ดี ขาดทักษะการจัดการที่ดี

28 สรุป บุคลิกภาพเป็นคุณลักษณะประจำตัวของบุคคลที่ได้รับการปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็กผ่านครอบครัว ประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม จากการศึกษา ความคิด ความเชื่อ อารมณ์ความรู้สึก การศึกษาเกี่ยวกับบุคลิกภาพศึกษาจากทฤษฎีลักษณะนิสัย ทฤษฎีแรงขับในจิต ทฤษฎีมานุษยนิยม องค์การเป็นแหล่งรวมของบุคคลที่มีปฏิสัมพันธ์กันดำเนินกิจกรรมร่วมกันเพื่อนำไปสู่วัตถุประสงค์ขององค์การ คุรประโยชน์ต่อการส่งเสริมผู้มีบุคลิกภาพที่ดีมีโอกาสก้าวหน้า


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 7. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google