งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Standard and Regulation in Environmental Law

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Standard and Regulation in Environmental Law"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 213712 Standard and Regulation in Environmental Law
นัทมน คงเจริญ – คณะนิติศาสตร์ Facebook: Nuthamon Kongcharoen

2 Outline เนื้อหา 3 ครั้ง ครั้งที่ หัวข้อ 1
การจัดการสิ่งแวดล้อม ความหมายและขอบเขต แนะนำกลไกของกฎหมาย – ระบบกฎหมาย 2 พัฒนาการของการจัดการสิ่งแวดล้อม และ หลักการที่สำคัญในกฎหมายสิ่งแวดล้อม 3 กรณีศึกษาคดีสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจ และ ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม มาตรการในการบังคับใช้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของสากลและของประเทศไทย การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เชิงนโยบาย 213712: Introduction

3 Resources เอกสารประกอบการเรียน
E-document for Students – power point, บทความ Website: 213712: Introduction

4 Reading หนังสือ ตำราหลัก – อำนาจ วงศ์บัณฑิต, กฎหมายสิ่งแวดล้อม (วิญญูชน, 2557) กอบกุล รายะนาคร, กฎหมายกับสิ่งแวดล้อม (วิญญูชน, 2550) อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์, กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (วิญญูชน, 2554) มาตรการทางกฎหมายในการจัดการความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม สุนีย์ มัลลิกะมาลย์, การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม (นิติธรรม, 2542) จุมพต สายสุนทร, กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ (วิญญูชน, 2550) 213712: Introduction

5 การมองระบบการผลิตทั้งหมดในสังคม
Story of stuff คำถาม – ดูแล้ว เห็นอะไรบ้าง และคิดว่าจะนำมาปรับใช้กับการกำหนดกฎเกณฑ์ในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างไร 213712: Introduction

6 มิติต่างๆ ของสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา
เมื่อเราตื่นเช้ามา เปิดหน้าต่าง แล้วสูดหายใจลึกๆ – เราพบอะไร? อากาศ น้ำ แสง เสียง กลิ่น มลพิษทางแสง Clean food > ทำไมต้องกินด้วย? ทุกวันนี้เรากินอย่างไร? เพื่อสุขภาพ? นอกจากกินแล้ว เราใช้ชีวิตอย่างไร? Dirty Electricity > คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า วิถีชีวิตในโลกสมัยใหม่ การใช้ชีวิตของเรา ต้องใช้พลังงานเท่าไร? พลังงานมาจากไหน? ระบบการผลิตในสังคมปัจจุบัน ยาอันตราย prescription drugs > ระบบการจัดการน้ำ และที่อยู่อาศัย ความปลอดภัยในการดำรงชีวิต ปัจจัยต่อการมีชีวิต สู่ปัจจัยต่อการใช้ชีวิต 213712: Introduction

7 ความหมายของสิ่งแวดล้อม
23/02/2019 ความหมายของสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมใน 2 แนวทาง ได้แก่ สิ่งรอบตัวเรา - อากาศ น้ำ แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน รวมไปถึงสุขภาพ และการใช้ชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติ – สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ภูมิสภาพทางกายภาพ และสัตว์ พืช – ระบบนิเวศ กรณีกฎหมายสิ่งแวดล้อมอยู่ในขอบเขตของการคุ้มครองสิทธิในสิ่งแวดล้อม – “สิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี” อาจแบ่งได้เป็น 2 ด้าน คือ การจัดการทรัพยากร การจัดการมลพิษ 213712: Introduction

8

9 ข้อพิจารณา การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพแก่คนในการใช้ชีวิตอยู่
เราต้องแลกกับอะไร เพื่อให้ได้ความสะดวกสบายนี้ !!! 213712: Introduction

10 ข้อพิจารณา Dirty Electricity
213712: Introduction

11 มิติต่างๆ ของสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา
23/02/2019 มิติต่างๆ ของสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา เมื่อเราตื่นเช้ามา เปิดหน้าต่าง แล้วสูดหายใจลึกๆ – เราพบอะไร? อากาศ น้ำ แสง เสียง กลิ่น มลพิษทางแสง Clean food > ทำไมต้องกินด้วย? ทุกวันนี้เรากินอย่างไร? เพื่อสุขภาพ? นอกจากกินแล้ว เราใช้ชีวิตอย่างไร? Dirty Electricity > คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า วิถีชีวิตในโลกสมัยใหม่ การใช้ชีวิตของเรา ต้องใช้พลังงานเท่าไร? พลังงานมาจากไหน? ระบบการผลิตในสังคมปัจจุบัน ยาอันตราย prescription drugs > ระบบการจัดการน้ำ และที่อยู่อาศัย ความปลอดภัยในการดำรงชีวิต 213712: Introduction

12 มิติต่างๆ ของสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา
23/02/2019 มิติต่างๆ ของสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา ปัจจัยต่อการมีชีวิต from basic needs to live สู่ปัจจัยต่อการใช้ชีวิต to life style คนเราสามารถใช้เทคโนโลยี เอาชนะธรรมชาติได้ จริงหรือ? ไม่มีน้ำ ฝนแล้ง เราทำอย่างไร? ทำฝนเทียม! สกัดน้ำจืดจากน้ำทะเล! 213712: Introduction

13 What have we got from “the Story of Stuff”?
23/02/2019 ระบบการผลิตในสังคม – สิ่งของต่างๆ มาจากไหน และไปไหนต่อ ในสังคม มีวงจรของสิ่งของต่างๆ อยู่ 5 ประการ 1 การสกัดเอาวัตถุดิบจากธรรมชาติ 2 การผลิต 3 การจำหน่าย กระจายสินค้า 4 การบริโภค 5 การกำจัดของเสีย 213712: Introduction

14 What have we got from “the Story of Stuff”?
23/02/2019 ทั้งหมดนี้เรียกว่า Material Economy > linear system – in a finite world! ระบบการผลิตที่เป็นเส้นตรง (เชิงเดี่ยว) บนโลกที่มีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด เราใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลื้อง เมื่อวัตถุดิบ/ทรัพยากรธรรมชาติในแหล่งหนึ่งหมดไป ก็ย้ายฐานการผลิตไปที่แห่งใหม่ ในภาพของระบบการผลิต มีผู้คน ระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมืองอยู่ในระบบทางสังคมที่ซับซ้อน ที่ระบบรัฐบาลต้องจัดการให้เป็นธรรม แต่ในความจริงรัฐบาลรับใช้ใคร? 213712: Introduction

15 1 การสกัดเอาวัตถุดิบจากธรรมชาติ
23/02/2019 1 การสกัดเอาวัตถุดิบจากธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การจัดสรรและกระจายการใช้ทรัพยากรของโลกอย่างไร ใครคือเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ และในระบบของสังคมมีการเข้าไปใช้ประโยชน์ในทรัพยากรนั้นๆอย่างไร เจ้าของพื้นที่ ดั้งเดิม เช่น ชนเผ่าพื้นเมือง ที่มีระบบการยังชีพแบบพอเพียง ไม่ถูกนับรวมอยู่ในระบบทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ที่เน้นการผลิต การบริโภค ดังนั้นเมื่อไม่มีการบริโภค ไม่มีการจับจ่ายใช้สอย ในระบบพาณิชยนิยม จึงไม่มีความหมายในระบบเศรษฐกิจ จึงถูกเอาเปรียบ และละเลย โดยระบบเศรษฐกิจ และการจัดการทรัพยากร 213712: Introduction

16 1 การสกัดเอาวัตถุดิบจากธรรมชาติ
23/02/2019 1 การสกัดเอาวัตถุดิบจากธรรมชาติ เมื่อเจ้าของพื้นที่ดั้งเดิมถูกแย่งทรัพยากรไป จึงต้องเข้าเมืองไปทำงาน เป็นลูกจ้าง ที่ขาดอำนาจต่อรอง และถูกเอาเปรียบ ในระบบการผลิต ในขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมลง ความหลากหลายทางชีวภาพหมดไป Renewable resource! ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น พีชและสัตว์ สามารถสร้างขึ้นได้ใหม่ แต่ในภาวะหนึ่งเท่านั้น Inbreeding ภาวะการผสมพันธุ์ของสัตว์ที่ต้องผสมข้ามสายเลือด ไม่เช่นนั้นสายพันธุ์จะอ่อนแอลง Extinction of wildlife ศักยภาพของการสืบพันธุ์ของพืชและสัตว์ จะอยู่ในระดับที่ไม่อาจดำรงสายพันธุ์ได้ตามธรรมชาติอีกต่อไป - กฎของดาร์วิน 213712: Introduction

17 2 การผลิต การผลิตที่ต้องลดต้นทุน และคุ้มทุน
23/02/2019 2 การผลิต การผลิตที่ต้องลดต้นทุน และคุ้มทุน กดขี่ค่าแรง ลดสวัสดิการ ใช้แรงงานถูก ทรัพยากรราคาถูก กฎหมายอ่อน-ดึงดูดการ “พัฒนา” การลดต้นทุน อย่างหนึ่งคือการผลักภาระต้นทุนสู่ภายนอก externalized cost! เช่น ทิ้งน้ำเสียโดยไม่ต้องบำบัด ใครจ่ายต้นทุนที่แท้จริง? สังคม คนที่ไม่มีอำนาจต่อรอง ถ้าคนมีทางเลือก หรือมีอำนาจต่อรองก็ไม่ต้องตกอยู่ในภาวะเสียเปรียบแบบนี้ ระบบการผลิต ล้วนแต่ผลาญทรัพยากร ก่อมลพิษในกระบวนการผลิต และสร้างขยะ/ของเสีย การผลักภาระการจัดการมลพิษไปที่อื่น – ท้ายสุดก็วนกลับมาถึงตัวเอง มลพิษไร้พรมแดน 213712: Introduction

18 3 การจำหน่าย กระจายสินค้า
23/02/2019 3 การจำหน่าย กระจายสินค้า การกระจายสินค้า การกระตุ้นการจับจ่าย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการผลิดสินค้า ต้องกระตุ้นการบริโภค ทำอย่างไรให้คนซื้อมากขึ้น – ทำให้สินค้าราคาถูก การโฆษณา ทำให้คนซื้อของ การขายสินค้าราคาถูกได้ คือไม่ใช่การขายสินค้าตามต้นทุนการผลิดอย่างแท้จริง ผลักภาระให้แก่คนในระบบการผลิต โดยการกดขี่ค่าแรง เอาทรัพยากรธรรมชาติจากประเทศโลกที่สาม เอาเปรียบคนงาน เช่นกรณี Walmart 213712: Introduction

19 23/02/2019 4 การบริโภค เศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลก นโยบายของรัฐในการกระตุ้นการบริโภค เพื่อส่งเสริมการผลิต การผลิตที่ตกต่ำ คนตกงาน ทำให้รัฐบาลอยู่ไม่ได้ ในการกระตุ้นการผลิต ใครได้ประโยชน์ที่แท้จริง? การกระตุ้นการบริโภคโดยตั้งใจ – วางแผน/นโยบาย การผลิตสินค้า ให้เสียในอัตราที่ผู้บริโภคยังไว้วางใจซื้อสินค้านั้นอยู่ Designed for the dump การตลาดที่ทำให้เกิดแฟชั่น ทำให้คนต้องซื้อของเพื่อความทันสมัย กระตุ้นความอยากบริโภค ทั้งที่ไม่จำเป็น Perceived obsolescence 213712: Introduction

20 5 การกำจัดของเสีย การผลิตและการบริโภค ล้วนแต่ก่อขยะ
23/02/2019 5 การกำจัดของเสีย การผลิตและการบริโภค ล้วนแต่ก่อขยะ การกำจัดขยะโดยการฝังกลบ หรือเผา ล้วนแต่ก่อมลพิษ โดยเฉพาะขยะพิษ ขยะอีเลคโทรนิค วิธีการลดขยะ reduce reuse recycle ` การรีไซเคิลมีข้อจำกัด วัฒนธรรมการจัดการกับขยะ 213712: Introduction

21 วิธีคิดแบบใหม่ การผลิตแบบเชิงซ้อน ระบบนิเวศและคนไม่อาจแยกจากการผลิต
23/02/2019 วิธีคิดแบบใหม่ การผลิตแบบเชิงซ้อน ระบบนิเวศและคนไม่อาจแยกจากการผลิต การนำความคิดแบบวัฎจักรมาใช้ การทำแบบปัจเจก การผลักดันเชิงระบบ 213712: Introduction

22 ประเภทของกลุ่มต่างๆที่จัดการสิ่งแวดล้อม
23/02/2019 Anthropo-centric Anthropology – มานุษยวิทยา มนุษย์คือศูนย์กลาง จากนิยามของการอนุรักษ์ – การใช้อย่างฉลาด the wise use เพื่อให้เรามีทรัพยากรไว้ใช้อย่างไม่รู้จบ และจะได้มีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข Eco-centric Ecology – นิเวศวิทยา มองว่าคนเป็นตัวการของการทำลายโลก ดังนั้นหากหยุดกิจกรรมที่ผลาญโลกได้ โลกจะฟื้นตัว ระบบนิเวศจะสามารถจัดการให้คืนสู่สภาพที่สมดุล ดังนั้นคนต้องออกไป – คนอยู่กับป่าได้หรือไม่? Chapter I In213712: Introductiontroduction

23 ประเภทของกลุ่มต่างๆที่จัดการสิ่งแวดล้อม
23/02/2019 Techno-centric Technology พวกที่เชื่อว่าวิทยาการสามารถจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ เช่น ระบบการบำบัดน้ำเสีย ใช้กังหัน ตีน้ำเพิ่มออกซิเจน เติมสารอีเอ็มลงในคลอง เพื่อให้จุลลินทรีย์ บำบัดน้ำเสีย (โดยไม่ต้องปรับแก้ชุมชนริมคลอง) เพิ่มแหล่งพลังงาน (โดยไม่ต้องทบทวนการใช้พลังงานอย่างประหยัด) สร้างเขื่อน (โดยมีระบบไฮโดรลิค ยกเรือขนสินค้าขึ้น/ล่องลำน้ำได้ มีกระไดปลาโจน) ทั้งสามแนวคิดนี้ หากกระทำแบบสุดขั้ว ย่อมเกิดผลร้ายมากกว่าผลดี ต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม 213712: Introduction

24 213712: Introduction

25 Introduction to Legal Mechanism
กฎหมาย คืออะไร? กฎหมายที่ตราขึ้นโดยผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติ – รัฐสภา (รวมถึงกฎหมายท้องถิ่น เช่น สภาท้องถิ่น เช่น เทศบาล) Source of Law ที่มาของกฎเกณฑ์ทางกฎหมาย (Rule of law) กฎหมายลายลักษณ์อักษร กฎหมายจารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป การใช้กฎหมายขึ้นอยู่กับระบบกฎหมายในสังคมนั้นๆ แต่ละประเทศมีระบบกฎหมายไม่เหมือนกัน ทำให้การใช้กฎหมายจากที่มาต่างๆ มีลำดับความสำคัญต่างกัน 213712: Introduction

26 ระบบกฎหมาย ระบบกฎหมาย แบ่งได้คร่าวๆ เป็น 2 ระบบ ได้แก่
ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร Civil Law System/ Code Law System ระบบกฎหมายจารีตประเพณี Common Law System/ Customary Law/ Case Law System 213712: Introduction

27 ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร Civil Law System/ Code Law System
เป็นระบบกฎหมายที่ให้ความสำคัญกับกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร (ส่วนมากแล้ว เป็นการผ่านกระบวนการตรากฎหมายจากสภา – นิติบัญญัติ) การจะใช้จารีตประเพณี ต่อเมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เท่านั้น (ซึ่งในปัจจุบัน มีกฎหมายตราขึ้นมากมาย การใช้จารีตประเพณีจึงเหลืออยู่น้อยมาก) กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร จึงถือเป็นหลักทั่วไปในการใช้บังคับกฎหมายในเรื่องต่างๆ 213712: Introduction

28 ระบบกฎหมายจารีตประเพณี Common Law System/ Customary Law/ Case Law System
ที่ให้ความสำคัญกับกฎหมายจารีตประเพณี Customary Law คือกฎเกณฑ์ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา โดยผู้ปฎิบัติยึดถือกฎเกณฑ์นั้น ว่าเป็นกฎหมายของชุมชน – the commons สามัญชน มีหลักการของสังคมที่เชื่อว่าอะไรคือความเป็นธรรม (Equity) ก็กำหนดบรรทัดฐานไว้ มีผู้พิพากษาตัดสินคดี โดยการนำเอาหลักการที่สังคมยึดถือมาวางเป็นบรรทัดฐาน ซึ่งแนวทางการตัดสินนี้จะถือเป็นหลักการของกฎหมายที่ศาลที่ตัดสินคดีในภายหลัง ที่มีข้อเท็จจริงอย่างเดียวกัน ต้องผูกพันให้ตัดสินตามคดีก่อน (Precedent Principle) จึงเรียกว่า Case Law System 213712: Introduction

29 ระบบกฎหมาย 213712: Introduction

30 ระบบสกุลกฎหมาย Romano-Germanic Legal Family เป็นต้นกำเนิดจากโรมัน และแพร่หลายในภาคพื้นยุโรป เช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี สวิสฯ ใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร Anglo-Saxon Legal Family เป็นต้นกำเนิดอยู่ในอังกฤษ และแพร่ขยายไปยังกลุ่มประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ Islamic / Religious Legal Family เป็นการใช้กฎหมายที่มีพื้นฐานมาจากหลักทางศาสนา และในกลุ่มประเทศมุสลิม มีกฎหมายสูงสุดคือคัมภีร์กุรอ่าน และมีคณะผู้พิพากษาคือผู้สอนศาสนาในระดับสูง เรียกว่า Sharia Court ศาลของศาสนาอิสลาม Traditional Legal Family เป็นระบบสังคมที่ยังยึดถือแนวทางปฏิบัติอย่างดั้งเดิมอยู่ เช่น ชุมชนในแอฟริกา 213712: Introduction

31 ระบบศาล กับเครื่องมือทางกฎหมาย
กฎหมายก็เปรียบเหมือนเครื่องมือที่จะจัดการเรื่องราวข้อขัดแย้งในสังคม เป็นอาวุธอย่างหนึ่ง เราเลือกใช้อาวุธต่างๆ กัน เช่น มีด ก็มีหลายประเภท กฎหมายก็มีหลายประเภท ให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีเกณฑ์หลากหลาย หากพิจารณาจากมาตรการบังคับใช้กฎหมาย อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท กฎหมายอาญา – ใช้มาตรการทางอาญา (จำคุก ปรับ กักขัง ริบทรัพย์สิน ประหารชีวิต) กฎหมายแพ่ง – ใช้มาตรการทางแพ่ง คือเรียกค่าเสียหาย กฎหมายปกครอง – ใช้มาตรการทางปกครอง เช่น การกำหนดให้อนุญาต การให้สัมปทาน รวมถึงการเพิกถอน 213712: Introduction

32 หลักกฎหมายอาญา เป็นความผิดเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยของสังคม เช่น การทำร้ายร่างกาย ลักทรัพย์ กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากมีโทษต่อเนื้อตัวร่างกาย และเสรีภาพของบุคคล ดังนั้นกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จึงต้องพิจารณาอย่างเคร่งครัด – วิธีพิจารณาคดีอาญา โทษทางอาญาต้องไม่มีผลย้อนหลัง และต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นความผิด และมีการกำหนดโทษไว้ ณ เวลาที่กระทำความผิดด้วย กฎหมายในการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ กฎหมายในการคุ้มครองสวัสดิภาพของสังคม มีการกำหนดโทษในทางอาญาไว้ 213712: Introduction

33 กฎหมายแพ่ง ส่วนใหญ่กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ทางกฎหมายของบุคคลในสังคม อยู่บนพื้นฐานของเจตนาของบุคคลต่างๆนั้น ที่ต้องการเข้ามาทำนิติกรรมต่อกัน เช่น สัญญา ซื้อขาย เมื่อบุคคลกระทำการที่เป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น ต้องรับผิด ชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น ความเสียหายต่อชีวิต สุขภาพอนามัย ทรัพย์สิน ชื่อเสียง บุคคลทุกคนเท่าเทียมกัน จึงต้องอาศัยอำนาจของศาลในการตัดสินคดี และหน่วยงานของรัฐในการบังคับคดี เรียกว่ากระบวนการพิจารณาคดีแพ่ง ให้กระทำการ, งดเว้นกระทำการ, หรือส่งมอบทรัพย์สิน ปัจจุบัน มีการกำหนดค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมด้วย 213712: Introduction

34 กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายมหาชน ซึ่งมีฝ่ายปกครอง เข้ามากระทำการทางปกครอง (เช่น การให้บริการสาธารณะ) เป็นการใช้อำนาจรัฐในการจัดการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ จึงมีอำนาจมหาชน ที่จะดำเนินการ เช่น การอนุญาตให้ดำเนินการต่างๆ เช่น การจดทะเบียน, การให้สัมปทาน รวมถึงการเพิกถอนด้วย การดำเนินการของรัฐ/ ฝ่ายปกครองนี้ บางครั้งกระทบต่อสิทธิของประชาชน จึงต้องมีหลักการว่า การกระทำทางปกครอง ต้องอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายเสมอ (คือต้องมีกฎหมายรองรับ ว่าให้อำนาจดำเนินการได้) หน่วยงานรัฐทั้งหมด (รวมทั้งหน่วยงานที่จัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม) อยู่ภายใต้กฎหมายปกครอง กระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) เป็นขั้นตอนหนึ่งที่กฎหมายกำหนดให้เป็นเงื่อนไขก่อนดำเนินโครงการของรัฐ 213712: Introduction

35 ระบบศาล กับเครื่องมือทางกฎหมาย
กฎหมายแต่ละประเภท ขึ้นศาลต่างกันไป ศาลในประเทศไทยมี 4 ประเภท ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ – ตัดสินคดีที่ กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญ (เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิของประชาชน) ศาลยุติธรรม – ตัดสินคดี แพ่งและคดีอาญา เป็นหลักทั่วไป ศาลปกครอง – ตัดสินคดีที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายปกครอง ที่ใช้อำนาจในการให้บริการ การออกคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายปกครอง หรือการที่ฝ่ายปกครองละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ ศาลทหาร – ไว้ตัดสินผู้ที่ใช้อำนาจทางทหาร 213712: Introduction

36 Anatomy of Law บททั่วไป – ชื่อกฎหมาย เวลาในการประกาศใช้ บทนิยาม และผู้รักษาการตามกฎหมาย (เพื่อออกกฎหมายลำดับรองลงไป – ข้อสังเกต ปกติจะเป็นรัฐมนตรีประจำกระทรวงต่างๆ แต่หากผู้รักษาการตามกฎหมายเป็น นายกรัฐมนตรี แสดงว่ากฎหมายนั้นจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆกระทรวง) ส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ – ส่วนใหญ่จะเป็นการกำหนดว่ากฎหมายนั้นต้องการจะทำอะไร เช่น การกำหนดว่ามีคณะกรรมการ เพื่อดำเนินการบางอย่าง – ที่มาของคณะกรรมการ อำนาจหน้าที่ของกรรมการนั้น รวมถึงการกำหนดว่าห้ามทำ/ให้ทำอะไร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายนั้น ส่วนที่เป็นสภาพบังคับ – การกำหนดโทษทางอาญา/แพ่ง/มาตรการทางปกครอง เพื่อให้การละเมิดกฎหมายนั้นมีผลทางกฎหมาย บทเฉพาะกาล – เป็นการกำหนดระยะเปลี่ยนผ่านของกฎหมายว่าจำเป็นต้องสร้างอำนาจเฉพาะกิจ เช่นให้องค์กรเดิมยังมีหน้าที่อยู่ การกำหนดให้มีการออกกฎหมายลำดับรองในการกำหนดขั้นตอนรายละเอียดต่างๆ หรือการกำหนดให้มีบัญชีแนบท้ายกฎหมาย ในการกำหนดชนิดประเภทสิ่งต่างๆที่กฎหมายคุ้มครอง/ควบคุม (กฎหมายบางฉบับอาจไม่มีระยะเปลี่ยนผ่านก็ได้) กฎหมายในรูปแบบของพระราชบัญญัติ มักจะประกอบด้วยโครงสร้างเช่นนี้ 213712: Introduction

37 Techniques of Environmental Law
1 Direct or "Command and Control" 2 Self-Regulation 3 Provision of Environmental Information & Education 4 Judicial Review & Citizen Suit 5 Environmental Protection through Property Rights 213712: Introduction

38 1 Direct or "Command and Control"
รัฐเป็นผู้ดูแล หรือ อำนวยการ ในการรักษา เช่น การรักษาความสะอาด การกำจัดของเสีย การออกระเบียบในการควบคุม และมีสภาพบังคับ เช่น พรบ.อุทยานแห่งชาติ ห้ามกระทำการที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิต พรบ.โรงงานอุตสาหกรรม ในการควบคุมมาตรฐานการปล่อยของเสียจากโรงงาน พรบ.อาหาร, พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค การมีฉลาก และควบคุมส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ พรบ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 213712: Introduction

39 2 Self-Regulation การกำหนดกฎเกณฑ์ ในสภาพแวดล้อมในชุมชน เช่น การรักษาแม่น้ำ ลำคลอง การกำหนดกติกาขึ้นมาใช้ในชุมชน – ตามแนวคิดของสัญญา (ข้อตกลงร่วมกัน – แนวคิด ถ้าไม่มีกฎหมายห้ามไว้ ประชาชนย่อมมีอำนาจกระทำการได้) Self-Regulation (การกำหนดกติกาที่ใช้ในชุมชน) & Self-Monitoring (การตรวจสอบดูแล) ปัญหาคือ เมื่อระเบียบของชุมชน ขัดต่อกฎหมายในระดับที่สูงขึ้นไป ทำอย่างไร? ตัวอย่างกติกาในการจัดการป่าชุมชน หลักการใช้บังคับกฎหมาย ระดับกฎหมายสูง-ต่ำกว่า สิทธิชุมชน พหุนิยมทางกฎหมาย legal pluralism ISO กับการกำหนดมาตรฐานการผลิต – เพื่ออะไร? 213712: Introduction

40 การจัดการทรัพยกรของชุมชน Elinor Ostrom – Governing the Commons
ระดับสากล ตัวบทบัญญัติ กฎหมายระหว่างประเทศ การบังคับใช้ เช่น การร้องเรียน การบอยคอต การค้า อย่างไม่เป็นทางการ - การเจรจาต่อรอง ระดับชาติ รัฐธรรมนูญ พรบ.ป่าไม้/อุทยาน การจับ ปรับ ย้ายออกจากพื้นที่ อย่างไม่เป็นทางการ – มติครม. การร่วมมือระหว่างรัฐกับชาวบ้าน ระดับชุมชน กติกาป่าชุมชน การไล่ออกจากพื้นที่ อย่างไม่เป็นทางการ – การซุบซิบนินทา การไม่คบหาสมาคม 213712: Introduction

41 3 Provision of Environmental Information & Education
การประกาศกฎเกณฑ์ทางสิ่งแวดล้อม การให้ความรู้ เกี่ยวกับสุขภาพ สุขภาวะ สิ่งแวดล้อม อาหาร/ของใช้ต่างๆ เช่นคลื่นจากโทรศัทพ์มือถือ สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค การอบรม รณรงค์และเผยแพร่การแยกขยะ การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม ต้องการข้อมูลข่าวสาร และความรู้เกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และต่อตัวคน 213712: Introduction

42 4 Judicial Review & Citizen Suit
ระวังเรื่องนิติวิธี ของระบบกฎหมาย – การใช้กฎหมายในระบบกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร (ที่คำพิพากษาเป็นเพียงการตีความ และการบังคับใช้กฎหมายขององค์กรตุลาการ) กับระบบกฎหมายแบบ Common Law/ Case Law (ที่คำพิพากษาของศาลถือว่าเป็นที่มาหลักของกฎหมาย) การฟ้องคดี เพื่อสร้างบรรทัดฐาน ในการใช้กฎหมาย ข้อสังเกตสำคัญ – ในระบบกฎหมายไทย คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกองค์กร 213712: Introduction

43 การจัดประเภทของศาลเป็น 3 ศาล (ไม่รวมศาลทหาร)
1 ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของประชาชน (รวมถึงสิทธิในสิ่งแวดล้อม การฟ้องหน่วยงานของรัฐ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม) 2 ศาลปกครอง เพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ในการดูแล รักษา ฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมให้ดำเนินการตามหน้าที่ซึ่งกฎหมายกำหนด 3 ศาลยุติธรรม ในการดำเนินคดีอาญา สำหรับผู้ละเมิดกฎหมายที่จัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และสำหรับการเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง รวมถึงการงดเว้นกระทำการที่ละเมิดสิทธิในสิ่งแวดล้อม 213712: Introduction

44 5 Environmental Protection through Property Rights
การใช้สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในทรัพย์สิน มองได้ทั้งสองทาง เจ้าของกรรมสิทธิ์ มีอำนาจจะกระทำอย่างใดๆก็ได้ในทรัพย์สินของตนเอง (ตราบเท่าที่ไม่กระทบสิทธิของผู้อื่น) ในขณะเดียวกัน ก็มีข้อจำกัดกรรมสิทธิ์ – เรื่องเดือดร้อนรำคาญ Nuisance Zoning ผังเมือง Individual rights & collective rights 213712: Introduction

45 พัฒนาการของกฎหมายสิ่งแวดล้อม
คราวหน้าเรื่อง พัฒนาการของกฎหมายสิ่งแวดล้อม The End 213712: Introduction


ดาวน์โหลด ppt Standard and Regulation in Environmental Law

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google