งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โครงร่างองค์กร ตามแนวทางรางวัลคุณภาพแห่งชาติ EdPex

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โครงร่างองค์กร ตามแนวทางรางวัลคุณภาพแห่งชาติ EdPex"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โครงร่างองค์กร ตามแนวทางรางวัลคุณภาพแห่งชาติ EdPex
รศ นพ เรืองศักดิ์ ลีธนาภรณ์ รพ. สงขลานครินทร์ มค 2558

2 กระบวนการต่างๆ ประกอบด้วย หมวด 1-6
โครงร่างองค์กร กระบวนการต่างๆ ประกอบด้วย หมวด 1-6 คำถามเป็น How และ What ประเมินด้วย ADLI ผลลัพธ์ ของกระบวนการที่เป็นระบบ หมวดที่ 7 What ประเมินด้วย LeTCI

3 โครงร่างองค์กร โครงร่างองค์กร คือ ภาพรวมขององค์กร เป็นสิ่งสำคัญที่มีอิทธิพลต่อวิธีการดำเนินงาน และเป็นความท้าทายสำคัญที่องค์กรเผชิญอยู่เป็นบริบทที่ใช้ตอบ หมวด 1-7 เป็นจุดเริ่มต้นที่เหมาะสมที่สุดในการประเมินตนเอง และการเขียนรายงาน ช่วยในการระบุสารสนเทศสำคัญที่สำคัญขององค์กร ทำเข้าใจตัวเอง สื่อความเข้าใจในองค์กร ให้คนในองค์กรกรเข้าใจตรงกัน

4 1. ลักษณะองค์การ : คุณลักษณะที่สำคัญของสถาบันคืออะไร           ให้อธิบายถึงสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของสถาบันและความสัมพันธ์หลักกับผู้เรียน ลูกค้า กลุ่มอื่น ผู้ส่งมอบ คู่ความร่วมมือ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย           โดยตอบคำถามต่อไปนี้

5 ก. สภาพแวดล้อมขององค์กร
(1) สถาบันมี หลักสูตรและบริการ อะไรบ้าง ความสำคัญเชิงเปรียบเทียบของแต่ละหลักสูตรและบริการ ต่อความสำเร็จขององค์กรคืออะไร สถาบันใช้วิธีการอย่างไรในการจัดหลักสูตรและบริการ (2) วิสัยทัศน์ค่านิยม และพันธกิจ ของสถาบันที่ประกาศไว้คืออะไร สมรรถนะหลักของสถาบัน (core competencies) คืออะไร และมีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับพันธกิจของสถาบัน

6

7

8 สมรรถนะหลักขององค์กร(core competencies)
เรื่องที่องค์กรมี ความชำนาญที่สุด เป็นขีดความ สามารถเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ ซึ่งเป็นแกนหลักในการทำให้องค์กรบรรลุพันธกิจ หรือ ทำให้ได้เปรียบในสภาพแวดล้อมของตลาดหรือการบริการของตน เป็นเรื่องที่คู่แข่ง หรือผู้ส่งมอบและคู่ความร่วมมือลอกเลียนแบบได้ยาก สมรรถนะหลักขององค์กร(core competencies) จะช่วยคงความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์กร การไม่กำหนดสมรรถนะหลักที่ต้องการขององค์กร อาจส่งผลต่อความท้าทายเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญการเสียเปรียบในตลาด

9 บางองค์กร อาจไม่ใช้คำเหล่านี้
การใช้คำต่างๆ เช่น “เจตจำนง” “วิสัยทัศน์ “พันธกิจ” “ค่านิยม ” และ “สมรรถนะหลักขององค์กร (core competencies)” มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละองค์กร บางองค์กร อาจไม่ใช้คำเหล่านี้ องค์กรควรมีความเข้าใจที่ชัดเจนถึงสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อองค์กร เหตุผลของการคงอยู่ขององค์กร และภาพที่ผู้นำระดับสูงต้องการนำองค์กรไปให้ ถึงอนาคต ความชัดเจนนี้จะช่วยให้องค์กรตัดสินใจและดำเนินการตามกลยุทธ์ที่ส่งผล กระทบต่ออนาคตขององค์กร

10 หัวใจของความยั่งยืนและความสามารถในการแข่งขันององค์ คือการกำหนดสมรรถนะ หลักขององค์กร (core competencies) ที่ชัดเจนและมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ การนำสมรรถนะหลักขององค์กร (core competencies) ไปใช้อย่างเหมาะสม จะสร้างความโดดเด่นในตลาด การทำให้สมรรถนะหลักขององค์กร (core competencies) ทันต่อทิศทางเชิงกลยุทธ์ทำให้เกิดความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์และการปกป้องทรัพย์สินทาง ปัญญาที่เป็นส่วนประกอบในสมรรถนะหลักขององค์กร (core competencies) จะช่วย สนับสนุนความยั่งยืน

11

12 (3) ลักษณะโดยรวมของบุคลากร
ลักษณะโดยรวมของบุคลากรเป็นอย่างไร มีการจำแนกบุคลากรหรือพนักงานออกเป็นกลุ่มและประเภทอะไรบ้าง กลุ่มเหล่านี้มีการศึกษาระดับใด องค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้พวกเขาผูกพันในการบรรลุพันธกิจและวิสัยทัศน์ขององค์กรคืออะไร บุคลากรและลักษณะงานขององค์กรมีความหลากหลายอย่างไร มีกลุ่มอะไรบ้างที่จัดตั้งให้ทำหน้าที่ต่อรองกับองค์กร สิทธิประโยชน์และข้อกำหนดพิเศษด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่สำคัญของบุคลากรมีอะไรบ้าง

13

14

15

16 (4) สินทรัพย์ สถาบันมีอาคารสถานที่ เทคโนโลยี และอุปกรณ์ที่สำคัญอะไรบ้าง

17

18 (5) กฎระเบียบข้อบังคับ
สถาบันดำเนินการภายใต้สภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบข้อบังคับอะไรบ้าง กฎระเบียบข้อบังคับด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อกำหนดเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐาน/วิทยฐานะการรับรองคุณสมบัติหรือการขึ้นทะเบียน มาตรฐานการศึกษา กฎระเบียบข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อม การเงิน และด้านหลักสูตรและบริการที่บังคับใช้กับสถาบันมีอะไรบ้าง

19

20 ข. ความสัมพันธ์ระดับองค์กร
(1) โครงสร้างองค์การ โครงสร้างและระบบธรรมาภิบาลของสถาบันมีลักษณะอย่างไร และความสำพันธ์เชิงการรายงานระหว่างสภามหาวิทยาลัย/สภาสถาบัน/ คณะกรรมการกำกับดูแลองค์การ ผู้นำระดับสูง และองค์การแม่มีลักษณะเช่นใด (*) (2) ผู้เรียน ลูกค้ากลุ่มอื่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ส่วนตลาด กลุ่มผู้เรียน ลูกค้ากลุ่มอื่นและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญของสถาบันมีอะไรบ้าง (*) กลุ่มดังกล่าวมีความต้องการและความคาดหวังที่สำคัญต่อหลักสูตรและการบริการ การบริการสนับสนุนต่อผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น และการปฏิบัติการความต้องการและความคาดหวังของส่วนตลาด กลุ่มผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างไร

21 องค์กรชั้นนำมีระบบการกำกับดูแลองค์กรที่กำหนดไว้เป็นอย่างดีโดยระบุความสัมพันธ์เชิง การรายงานไว้อย่างชัดเจน มีการกำหนดหน้าที่ของผู้นำระดับสูง คณะ กรรมการกำกับดูแลองค์กรและองค์กรแม่ ความเป็นอิสระและความ รับผิดชอบของคณะกรรมการกำกับดูแลองค์กร

22 (3) ผู้ส่งมอบและคู่ความร่วมมือ
ผู้ส่งมอบและผู้ให้ความร่วมมือที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการที่สำคัญมีประเภทใดบ้าง กลุ่มต่างๆเหล่านี้มีบทบาทอะไรในระบบงานโดยเฉพาะการสร้างหลักสูตรและการดำเนินการของหลักสูตรและบริการและการบริการสนับสนุนต่อผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น กลุ่มต่างๆเหล่านี้มีบทบาทอะไรในการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของสถาบัน สถาบันมีกลไกอะไรที่สำคัญในการสื่อสาร ผู้ส่งมอบและผู้ให้ความร่วมมือที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ กลุ่มต่างๆเหล่านี้มีส่วนช่วยและร่วมทำให้เกิดนวัตกรรมของสถาบันอย่างไ สถาบันมีข้อกำหนดสำคัญของห่วงโซ่อุปทานอะไรบ้าง

23

24

25

26

27 พันธมิตร องค์กรหรือกลุ่มบุคคลกลที่ตกลงทำงานร่วมกับองค์กรเพื่อ
ให้บรรลุเป้าประสงค์ร่วมกัน ปรับปรุงผลการดำเนินการ ความร่วมมือที่เป็นทางการ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายเฉพาะ หรือเจตจำนงเฉพาะเจาะจง เช่นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ หรือเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการ มีความเข้าใจอย่างชัดเจนในบทบาทและ ผลประโยชน์ที่มีร่วมกัน

28 คู่ความร่วมมือ “หน่วยงานหรือบุคคลที่มีความร่วมมือในการดำเนิน การกับองค์กร ที่จะสนับสนุน ในการจัดงานหรือกิจกรรมบางส่วนหรือผู้ที่ร่วมดำเนินการเป็นครั้งคราว เมื่อมีเป้าหมาย ระยะสั้นที่สอดคล้องกันหรือเหมือนกัน โดยทั่วไป ความร่วมมือในลักษณะนี้มักไม่มีข้อตกลงหรือรูป แบบที่เป็นทางการ

29 ในบางกรณีผู้ส่งมอบมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการต่างๆ ที่สำคัญในการดำเนิน ธุรกิจ/กิจการ และในการรักษาไว้หรือการบรรลุความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืนของ องค์กร ข้อกำหนดของห่วงโซ่อุปทาน อาจรวมถึงการส่งมอบที่ตรงเวลาหรือทันเวลา ความ ยืดหยุ่น จำนวนพนักงานที่ไม่คงที่ ความสามารถในการวิจัยและออกแบบ นวัตกรรมด้าน กระบวนการหรือผลิตภัณฑ์รวมทั้งการผลิตหรือบริการตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะ ราย

30 2. สภาวการณ์ขององค์การ : สภาวการณ์เชิงกลยุทธ์ของสถาบันคืออะไร               ให้อธิบายถึงสภาพแวดล้อมด้านการแข่งขัน ความท้าทาย ความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ และระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการของสถาบัน          โดยตอบคำถามต่อไปนี้

31 ก. สภาพแวดล้อมด้านการแข่งขัน
(1) ลำดับในการแข่งขัน สถาบันอยู่ที่ลำดับใดในการแข่งขัน ให้อธิบายขนาดและการเติบโตของสถาบันเมื่อเปรียบเทียบกับสถาบันในภาคการศึกษาหรือตลาดการศึกษาสถาบันมีจำนวนและประเภทของคู่แข่งเป็นอย่างไร (2) การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแข่งขัน การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญซึ่งมีผลต่อสถานะการแข่งขันของสถาบัน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่สร้างโอกาสสำหรับการสร้างนวัตกรรมและความร่วมมือคืออะไร (*)

32 ความรู้ในเรื่องจุดแข็ง จุดเปราะบาง โอกาสในการปรับปรุง และการเติบโตขององค์การ มี ความจำเป็นอย่างยิ่งต่อความสำเร็จและความยั่งยืนขององค์การ (1) ผลิตภัณฑ์กระบวนการ สมรรถนะหลักขององค์การ (core competencies) และคุณลักษณะที่มีผลต่อผลการดำเนินการซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของ องค์การ (2) สิ่งที่ทำให้องค์การแตกต่างจากองค์กรอื่น (3) สิ่งที่ช่วยให้องค์การรักษาความได้ เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน (4) สิ่งที่องค์กรต้องพัฒนาเพื่อรักษาตำแหน่งในตลาด อย่างยั่งยืน

33

34

35 (3) แหล่งข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ
แหล่งข้อมูลเชิงเปรียบเทียบและเชิงแข่งขันที่สำคัญที่จะสามารถหาได้จากภายในชุมชนวิชาการมีอะไรบ้าง แหล่งข้อมูลเชิงเปรียบเทียบที่สำคัญที่มีอยู่จากภายนอกชุมชนวิชาการมีอะไรบ้าง มีข้อจำกัดอะไรบ้างในการได้มาซึ่งข้อมูลเหล่านี้ (ถ้ามี)

36 ความเข้าใจว่าคู่แข่งคือใคร มีจำนวนกี่ราย และลักษณะที่สำคัญของคู่แข่ง เป็นสิ่งจำเป็น อย่างยิ่งในการกำหนดว่าอะไรเป็นความได้เปรียบเชิงแข่งขันขององค์กรในธุรกิจและตลาด องค์กรชั้นนำมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในสภาพแวดล้อมด้านการแข่งขันในปัจจุบัน รวมถึง ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อผลการดำเนินงานประจำวันและการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เกิดขึ้น

37 แหล่งข้อมูลเชิงเปรียบเทียบและเชิงแข่งขัน อาจรวมถึงสิ่งตีพิมพ์ในธุรกิจ กระบวนการเทียบเคียง รายงานประจำปีของบริษัทมหาชนและองค์กรมหาชน การประชุม (Conference) เครือข่ายท้องถิ่นและสมาคมอุตสาหกรรมต่างๆ

38 ข. บริบทเชิงกลยุทธ์ ความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญด้านหลักสูตรและการบริการ ด้านการปฏิบัติการ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้าง และด้านทรัพยากรบุคคลขององค์กรคืออะไร

39

40 หมายเหตุ ความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์หมายถึง สิ่งที่องค์กรต้องเอาชนะเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ ตัวอย่างความท้าทายตามพันธกิจ เช่น สถาบันการศึกษามีพันธกิจเกี่ยวกับการผลิตกำลังคนให้ออกไปรับใช้สังคม ความท้าทายตามพันธกิจ อาจได้แก่ การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพมาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของสังคมของประเทศ ตัวอย่างความท้าทายด้านปฏิบัติการ เช่น การให้การโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ การลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ตัวอย่างความท้าทายด้านทรัพยากรบุคคล เช่น การขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของบุคลากรในองค์กร

41 การดำเนินงานขององค์กรในตลาดที่มีการแข่งขันสูง
องค์กร กำลังเผชิญกับความท้าทายเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อความสามารถในการรักษาระดับผลการ ดำเนินการอย่างยั่งยืน และรักษาไว้ซึ่งความได้เปรียบเชิงแข่งขันขององค์กร

42 ปัจจัยความท้าทาย อาจรวมถึงต้นทุนการดำเนินงาน (เช่นวัสดุแรงงาน หรือสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ การขยายหรือหดตัวของตลาด การควบรวมหรือครอบครองกิจการทั้งโดยองค์กรเองและ โดยคู่แข่ง สภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงความผันผวนของอุปสงค์และเศรษฐกิจขาลงทั้งระดับ ท้องถิ่นและระดับโลก วงจรธรรมชาติของธุรกิจ การนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่หรือทดแทน การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันด้านเทคโนโลยี่หรือการมีคู่แข่งใหม่เข้าสู่ตลาด นอกจาก องค์กรอาจเผชิญกับความท้าทายที่เกี่ยวกับการสรรหา ว่าจ้าง และรักษาบุคลากรที่มี คุณภาพไว้

43 การไมได้เตรียมพร้อมต่อเรื่องการปรับเปลี่ยนต่อเทคโนโลยี่
คอมพิวเตอร์ส่วน บุคคลที่มาแทนที่เครื่องพิมพ์ดีด โทรศัพท์มือถือที่กำลังมาแทนโทรศัพท์บ้านและโทรศัพท์ สาธารณะ เครื่องโทรสารจากบริการส่งเอกสาร เป็นจดหมาย อิเล็กทรอนิกและ สื่อสังคมออนไลน์(Social media)

44 ค. ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการ
ส่วนประกอบสำคัญของระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการ รวมทั้งกระบวนการประเมินผล กระบวนการเรียนรู้ระดับองค์กร และกระบวนการสร้างนวัตกรรมคืออะไร

45 กระบวนการที่สร้างคุณค่า
ตัวอย่างความเชื่อมโยงกับเกณฑ์ 6.1ก เกณฑ์ โครงร่างองค์การ กระบวนการที่สร้างคุณค่า 1. ก(1) ผลิตภัณฑ์ บริการหลักและการส่งมอบ 6.1 ก(3) การออกแบบหลักสูตรและบริการ การนำองค์กร วัฒนธรรม วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม 1. ก(2) ปัจจัยภายใน 2.1 ก(2) ปัจจัยนำเข้าสำหรับการวางแผนทรัพยากรบุคคล 4.2ก การจัดการความรู้ 5.2 ก ข การสร้างความผูกพัน 5.2 ค การพัฒนาบุคคลากรและผู้นำ 5.1 ก ข ขีดความสามารถอัตราลัง บรรยากาศการทำงาน 1. ก(3) บุคลากร 1. ก(4) สินทรัพย์ เทคโนโลยี อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก 4.2 ข้อมูล สารสนเทศ และเทคโนโลยี่สารสนเทศ 1. ก(5) กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ 1.2 ข พฤติกรรมที่ถูกกฎหมายและจริยธรรม 7.4 ก(4) ผลลัพธ์ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบและกฎหมาย 1. ข(1) โครงสร้างองค์กร 1.2 ก(1) ปัจจัยในระบบธรรมาภิบาล 1.2 ข(2) การส่งเสริมและตรวจติดตามเรื่องจริยธรรม 3.1,2 การจำแนกและการกำหนดความต้องการลูกค้า 1. ข(2) การแบ่งกลุ่มและความต้องการของ ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 7.1 ผลลัพธ์ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ 7.2 ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า 1. ข(3) บทบาทผู้ส่งมอบและจัดจำหน่าย 7.1ค ผลลัพธ์การจัดการห่วงโซ่อุปทาน

46 ตัวอย่างความเชื่อมโยงกับเกณฑ์
3.1ก (1,2) การใช้ข้อมูลและสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบ การรับฟังการกำหนดความต้องการลูกค้า 4.1ก(2) 3.1 ข(2,3) ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบในด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2. ก สภาพการแข่งขัน 2.1 ก(2) ปัจจัยประกอบการวางแผนเชิงกลยุทธ์ 2.1 ข(1) วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ 7.6 ก(1) ผลลัพธ์การบรรลุกลยุทธ์และแผนปฎิบัติการ 2. ข ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ 1.1 ก(3) การสร้างองค์กรให้มีความยั่งยืน 1.2 ก(2) การปรับปรุงวิธีการการประเมินผลการดำเนินการของผู้นำและระบบการนำ 3.1 ก(1,2) การปรับปรุงวิธีการรับฟังและเรียนรู้ความต้องการ และทิศทางของธุรกิจ 3.1 ข การปรับปรุงการวัดความพึงพอใจ 3.2 ข การปรับปรุงการสร้างความสัมพันธ์และช่องทางการติดต่อ 4.1 ก(4) ความคล่องตัวของการวัด 4.2 ข(2) ความพร้อมใช้งานของข้อมูลและสารสนเทศ 5.2 ค(2) การประเมินประสิทธิผลของการฝึกอบรม 5.1ข สุขอนามัยในสถานที่ทำงาน 6.1 ข(3) การปรับปรุงกระบวนงาน 2. ค ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการ

47 Start paying attention
2/23/2019 Start paying attention To where we are going ความเป็นเลิศ การจัดระดับเทียบเคียง กระบวนการประกันคุณภาพ TQA โครงร่าง องค์กร TQA Chiang Mai Med Sch

48 Action Plan เพื่อปรับปรุงระบบ
2/23/2019 เส้นทางสู่ความเป็นเลิศ TQA เขียนรายงาน No Self Assessment Yes Action Plan เพื่อปรับปรุงระบบ ผลประกอบการ? เพิ่มเติม รายงาน ปรับปรุงระบบ สมัครขอรับรางวัล Performance Excellence คุณภาพการศึกษา December 18, 2006 TQA Chiang Mai Med Sch. TQA Chiang Mai Med Sch

49 ขอบคุณ

50 มิติกระบวนการ - แนวทาง (Approach - A)
“กระบวนการ’’ หมายถึง วิธีที่องค์กรใช้และปรับปรุงเพื่อตอบสนองข้อกำหนดต่างๆ ของหัวข้อในหมวด 1-6 ปัจจัยทั้ง 4 ที่ใช้ประเมินกระบวนการ ได้แก่ - แนวทาง (Approach - A) - การถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติ (Deployment - D) - การเรียนรู้ (Learning - L) - การบูรณาการ (Integration - I)

51 แนวทาง (Approach) - วิธีการที่ใช้เพื่อให้บรรลุผล
- วิธีการที่ใช้เพื่อให้บรรลุผล - ความเหมาะสมของวิธีการที่ตอบสนองข้อกำหนด - ความมีประสิทธิผลของการใช้วิธีการต่างๆ ขององค์กร - นำไปใช้ซ้ำได้ และใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่เชื่อถือได้

52 ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
แนวทางที่เป็นระบบ ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. Define มีการกำหนดเป็นกระบวนการ กำหนดความต้องการที่สำคัญของกระบวนการโดยการนำข้อมูล จาก Stakeholders มาใช้ 2. Repeat - สามารถปฏิบัติซ้ำได้ 3. Measurable - สามารถวัดได้ 4. Predictable - สามารถคาดการณ์ผล

53 การถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติ (Deployment)
“การถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติ” หมายถึง ความครอบคลุมและทั่วถึงของ - การใช้แนวทางเพื่อตอบสนองข้อกำหนดต่างๆ ของหัวข้อที่มี ความเกี่ยวข้องและสำคัญต่อองค์กร - การใช้แนวทางอย่างคงเส้นคงวา (consistent) - การใช้แนวทางในทุกหน่วยงานที่ควรใช้

54 การเรียนรู้ (Learning)
“การเรียนรู้” หมายถึง - การปรับปรุงแนวทางให้ดีขึ้น โดยใช้วงจรการประเมินและการปรับปรุง - การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของแนวทาง โดยใช้นวัตกรรม - การแบ่งปันความรู้จากการปรับปรุงที่ดีขึ้นและนวัตกรรมกับ หน่วยงานและกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้องภายในองค์กร

55 การบูรณาการ (Integration)
“การบูรณาการ” หมายถึง ความครอบคลุมและทั่วถึง ของ - การใช้แนวทางที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับความต้องการขององค์กรตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดของหัวข้อต่างๆ ในเกณฑ์ - การใช้ตัววัด สารสนเทศ และระบบการปรับปรุงที่ช่วยเสริมกระบวนการและหน่วยงานทั่วทั้งองค์กร - แผนงาน กระบวนการ ผลลัพธ์ การวิเคราะห์ การเรียนรู้ และการปฏิบัติการ มีความสอดคล้องกลมกลืนกันทุกกระบวนการและหน่วยงาน เพื่อสนับสนุนเป้าประสงค์ระดับองค์กร

56 ผลผลิต และผลลัพธ์ขององค์กร ในการบรรลุตามข้อกำหนดในหัวข้อ 7.1 – 7.5
มิติผลลัพธ์ “ผลลัพธ์” หมายถึง ผลผลิต และผลลัพธ์ขององค์กร ในการบรรลุตามข้อกำหนดในหัวข้อ 7.1 – 7.5

57 การเขียนรายงาน ส่วน Process A-D-L-I

58 แนวทางการเขียนรายงาน ส่วน Process A-D-L-I
ต้องเข้าใจความหมายของคำถาม “HOW (อย่างไร)” เมื่อมีคำถาม “How (อย่างไร)” แสดงว่าอยากให้ท่านให้ข้อมูลของกระบวนการที่สำคัญ เช่น วิธีการ ตัววัด การนำไปปฏิบัติ และปัจจัยด้านการประเมินผล การปรับปรุง และการเรียนรู้ คำตอบที่ขาดข้อมูลดังกล่าว หรือ แค่เพียงยกตัวอย่างจะถูกประเมินว่า ข้อมูลหรือสารสนเทศน้อย และไม่ชัดเจน (Anecdotal Information)

59 แนวทางการเขียนรายงาน ส่วน Process A-D-L-I
ต้องเข้าใจความหมายของคำถาม “What” เมื่อมีคำถาม “What (อะไร อย่างไร ระบุ นำเสนอ..ใด)” แสดงว่าต้องการคำตอบ 2 ลักษณะ ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการหลัก และวิธีปฏิบัติงานของกระบวนการนั้น การตอบเพียงว่า “ใคร” เป็นผู้ทำงานไม่เพียงพอ ผล แผนงาน วัตถุประสงค์ เป้าประสงค์ หรือตัววัดที่สำคัญขององค์กรคืออะไร เพื่อต้องการทราบระบบการจัดการ ผลการดำเนินการมุ่งเน้นไปในแนวทางเดียวกันหรือไม่

60 แนวทางการเขียนรายงาน ส่วน Process A-D-L-I
พยายามตอบหัวข้อ ประเด็นที่ควรพิจารณา (Area to address) และดำเนินการให้ครบถ้วน สมบูรณ์ ในกรณีที่หัวข้อประเด็นที่ควรพิจารณา หรือคำถามใดไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรให้อธิบายเหตุผลด้วย (ในการตอบคำถามจะตอบแยกหรือรวมก็ได้)

61 กระบวนการ ใครทำ ทำอะไร ทำเมื่อไร ทำบ่อยแค่ไหน อะไรคือตัวชี้วัด A
Input มาจากไหน (ความเชื่อมโยง) Output มีผลอย่างไร (ความเชื่อมโยง) จัดทำเป็นมาตรฐานหรือยัง D มีการสื่อให้นำไปปฏิบัติอย่างไร ความทั่วถึง ความจริงจัง ความมีประสิทธิผล L ใครทบทวน (ทั้งแนวทางและผลลัพธ์) ทบทวนเมื่อไร / ทบทวนบ่อยแค่ไหน นำผลการทบทวนไปปรับปรุง นวัตกรรม แบ่งปันความรู้อย่างไร I ความเชื่อมโยงกับ โครงร่างองค์กร หัวข้ออื่น (ข้อมูล ข้อกำหนด แนวทาง) มีการปฏิบัติการอย่างเชื่อมโยงซึ่งกันและกันการจัดการ แสดงผลลัพธ์ที่หัวข้อใด

62 แนวทางการเขียนรายงาน ส่วน Process A-D-L-I
การอ้างอิงหัวข้ออื่นตามความเหมาะสม คำตอบในแต่ละหัวข้อควรสมบูรณ์ในตัวเองมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากคำตอบต่างหัวข้อเสริมกันได้ ควรมีการอ้างอิงในหัวข้อนั้น แทนที่จะให้ข้อมูลซ้ำกัน ต้องระวังไม่ให้เกิดการอ้างอิงที่มากเกินไปจะเกิดความสับสนกับผู้ตรวจประเมิน

63 ขั้นตอนการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ
2/23/2019 ขั้นตอนการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ตั้งรับปัญหา การปฏิบัติการมีลักษณะเป็นกิจกรรมมากกว่าเป็นกระบวนการ และตอบสนองความต้องการหรือปัญหาเฉพาะหน้าส่วนใหญ่ ขาดการกำหนดเป้าประสงค์ที่ดี TQA Chiang Mai Med Sch

64 ขั้นตอนการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ
2/23/2019 ขั้นตอนการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ แนวทางเริ่มเป็นระบบ องค์กรอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการปฏิบัติการ โดยกระบวนการที่สามารถทำซ้ำได้ มีการประเมินผล การปรับปรุง และเริ่มมีการประสานงานบ้างระหว่างหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กร มีการกำหนดกลยุทธ์และเป้าประสงค์เชิงปริมาณ December 18, 2006 TQA Chiang Mai Med Sch. TQA Chiang Mai Med Sch

65 ขั้นตอนการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ
2/23/2019 ขั้นตอนการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ แนวทางสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน การปฏิบัติการมีลักษณะเป็นกระบวนการที่สามารถทำซ้ำได้ และมีการประเมินผลอย่างสม่ำเสมอเพื่อการปรับปรุง โดยมีการแบ่งปันความรู้และการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆในองค์กร กระบวนการตอบสนองกลยุทธ์และเป้าประสงค์ที่สำคัญ ขององค์กร TQA Chiang Mai Med Sch

66 ขั้นตอนการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ
2/23/2019 ขั้นตอนการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ แนวทางที่มีบูรณาการ การปฏิบัติการมีลักษณะเป็นกระบวนการที่สามารถทำซ้ำได้ และมีการประเมินผลอย่างสม่ำเสมอเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุง โดยความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นที่ได้รับผลกระทบ การวิเคราะห์ นวัตกรรม และการแบ่งปันส่งผลให้การทำงานข้ามหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้กระบวนการและตัววัดในการติดตามความก้าวหน้าของเป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์และเป้าประสงค์ของการปฏิบัติการที่สำคัญ TQA Chiang Mai Med Sch

67 Integrated management system เพื่อบรรลุผลสำเร็จ
Requirements Meet Delight Customers Motivated People Leadership Get Results Be Valued Strategies Efficient Processes Predict Outcomes มีระบบข้อมูลที่สะท้อนสภาพที่แท้จริงของการทำงาน

68 ขอบคุณ


ดาวน์โหลด ppt โครงร่างองค์กร ตามแนวทางรางวัลคุณภาพแห่งชาติ EdPex

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google