งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

2 โครงสร้างการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
วัตถุดิบ วัตถุดิบธรรมชาติ วัตถุดิบสังเคราะห์ วัตถุดิบ ฝ้าย ไหม ป่าน ปอ ขนสัตว์ น้ำมัน/ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี อุตสาหกรรมต้นน้ำ เส้นใย กลุ่มสิ่งทอ อุตสาหกรรมเส้นใยธรรมชาติ อุตสาหกรรมเส้นใยสังเคราะห์ เส้นด้าย ผลิตภัณฑ์ nonwoven อุตสาหกรรมปั่นด้าย อุตสาหกรรมกลางน้ำ อุตสาหกรรมถักผ้า อุตสาหกรรมทอผ้า ผ้าผืน ฟอก ย้อม พิมพ์ ตกแต่งสำเร็จ อุตสาหกรรมปลายน้ำ เสื้อผ้า/ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป/เครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมแฟชั่น ซึ่งไม่ได้หมายความถึงการเดินแฟชั่นเพียงอย่างเดียวตามที่เราคุ้นหู แต่จะควบรวมอีก 2 อุตสาหกรรม ได้แก่อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า และอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งจะมีการผลิตครบวงจรเหมือนกันทั้ง 3 อุตสาหกรรม คืออุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และอุตสาหกรรมปลายน้ำ แต่จะกล่าวเฉพาะอุตสาหกรรมที่รับผิดชอบ คืออุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งไประกอบด้วยขั้นตอนการผลิต ดังนี้ 1.อุตสาหกรรมต้นน้ำ ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเส้นใย มีโรงงานจำนวน 12 โรงงาน คิดเป็น 0.3 % ของจำนวนทั้งหมดในอุตสาหกรรมนี้ 2.อุตสาหกรรมกลางน้ำ ได้แก่ - อุตสาหกรรมปั่นด้าย มีจำนวน โรงงาน คิดเป็น 4.1 % ของจำนวนทั้งหมด - อุตสาหกรรมทอผ้า มีจำนวน โรงงาน คิดเป็น 15.3 % ของจำนวนทั้งหมด - อุตสาหกรรมถักผ้า มีจำนวน โรงงาน คิดเป็น 17.0 % ของจำนวนทั้งหมด - อุตสาหกรรมฟอกย้อม พิมพ์ และตกแต่งสำเร็จมีจำนวน 391 โรงงาน คิดเป็น 9.2 % 3.อุตสาหกรรมปลายน้ำ ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็น เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีจำนวน 2,171 โรงงาน คิดเป็น 53.7 % ของโรงงานทั้งหมดในอุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมสิ่งทอเทคนิคใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ การเกษตร ก่อสร้าง ทางธรณี อุตสาหกรรม ทางกีฬา การแพทย์ ครัวเรือน สิ่งแวดล้อม เสื้อผ้า การบรรจุ การป้องกัน ยานยนต์ สิ่งทอเทคนิค สิ่งทอ อุตสาหกรรม ผู้บริโภค (End user) จำหน่ายในประเทศ ส่งออกในต่างประเทศ การจำหน่าย หมายเหตุ : nonwoven ผ้าชนิดหนึ่งที่ได้จากการนำเส้นใยของพืชมาปั่นรวมกัน จากนั้นแผ่ออกเป็นแผ่น แต่ไม่ได้นำมาทอจนเป็นเนื้อผ้า โดยยังเห็นเป็นก้อนของเส้นใยอยู่ เช่น เส้นใยในผ้าอ้อมสำหรับเด็ก เป็นต้น

3 อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (อุตสาหกรรมต้นน้ำ)
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (อุตสาหกรรมต้นน้ำ) วัตถุดิบ วัตถุดิบธรรมชาติ วัตถุดิบสังเคราะห์ จากพืช จากสัตว์ แร่ธาตุ น้ำมัน/ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี วัตถุดิบ ฝ้าย ป่าน ปอ ลินิน ไหม ขนสัตว์ต่าง ๆ แร่ใยหิน (Asbestos) โพลีเอสเตอร์ ไนลอน เรยอน กลุ่มสิ่งทอ อุตสาหกรรมต้นน้ำ อุตสาหกรรมเส้นใยธรรมชาติ อุตสาหกรรมเส้นใยสังเคราะห์ เริ่มจากวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับการเข้าสู่กระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งจะมาจาก 2 แหล่ง ดังนี้ 1. วัตถุดิบธรรมชาติ มาจาก จากพืช เช่น ฝ้าย ป่าน ปอ ลินิน จากสัตว์ เช่น ไหม ขนสัตว์ต่าง ๆ แร่ธาตุ เช่น แร่ (Asbestos) 2. วัตถุดิบสังเคราะห์ มาจาก น้ำมัน และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ซึ่งก็คือ โพลิเมอร์ต่าง ๆ เช่น โพลีเอสเตอร์ ไนลอน เรยอน ซึ่งขั้นตอนนี้ยังไม่มีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเท่าที่ควร แต่ในปัจจุบันมีแนวโน้มของการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม มากขึ้น จะมีการพัฒนาวัตถุดิบใหม่ๆ จากธรรมชาติ ค่อนข้างมาก เช่น สับปะรด กล้วย จากผลหมาก หรือ ไผ่ เป็นต้น จากวัตถุดิบข้างต้น วัตถุดิบธรรมชาติเมื่อผ่านกระบวนการผลิต จะได้เส้นใยจากธรรมชาติ และวัตถุดิบสังเคราะห์เมื่อผ่านกระบวนการผลิต จะได้เส้นใยสังเคราะห์ หรือ เส้นใยประดิษฐ์ เส้นใย 1. มี 12 โรงงาน (0.3%) 2. แรงงาน 12,200 คน (2.1%) 3. เป็นโรงงานขนาดใหญ่กำลังการผลิตสูง ใช้เงินลงทุนสูง 4. ผปก.ส่วนใหญ่เป็นบรรษัทข้ามชาติ หรือ ร่วมทุนไทยกับชาวต่างชาติ อุตสาหกรรมปั่นด้าย

4 ฟอก ย้อม พิมพ์ ตกแต่งสำเร็จ
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (อุตสาหกรรมกลางน้ำ) อุตสาหกรรมกลางน้ำ อุตสาหกรรมปั่นด้าย อุตสาหกรรมปั่นด้าย 1. มี 167 โรงงาน (4.1%) 2. แรงงาน 57,650 คน (10.1%) 3. มีการลงทุนสูง และใช้เทคโนโลยี ระดับปานกลาง เส้นด้าย เส้นด้ายธรรมชาติ เส้นด้ายสังเคราะห์ กลุ่มสิ่งทอ อุตสาหกรรมถักผ้า อุตสาหกรรมทอผ้า อุตสาหกรรมปั่นด้าย อุตสาหกรรมถักผ้า อุตสาหกรรมทอผ้า การผลิตเส้นด้าย แบ่งตามวัตถุดิบ คือ การผลิตเส้นด้ายธรรมชาติ และเส้นด้ายสังเคราะห์ หากเส้นใยที่นำมาปั่นเป็นเส้นใยสั้น จะได้เส้นด้ายชนิดเส้นด้ายปั่นสั้น (Yarm spun) แต่หากใช้เส้นใยยาว จะได้เส้นด้ายชนิดเส้นด้ายใยยาว (Filament yarn) - เบอร์ด้ายที่ยิ่งสูง เส้นด้ายจะยิ่งละเอียด ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกหรือกำหนดราคาและคุณภาพของเส้นด้าย - ในขั้นตอนการผลิตยังมีการตกแต่งผิวเส้นด้ายใยยาวให้มีคุณสมบัติเฉพาะ เหมาะแก่การใช้งาน เรียกว่า เส้นด้ายเท็กซ์เจอร์ (Textured yarn) มีความนุ่มนวลในการสัมผัสและดูดซึมน้ำได้ดี การถักผ้า และ การทอผ้า เป็นการนำเส้นด้ายมาถักทอให้เป็นผืนผ้า แบ่งเป็น 1. การผลิตผ้าผืนด้วยการถัก เรียกว่า ผ้าถัก 2. การผลิตผ้าผืนด้วยการทอ เรียกว่าผ้าทอ -การผลิตต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและแรงงานควบคู่กัน - เครื่องจักร เทคโนโลยียังไม่ทันสมัยมากนัก - โรงงานมีขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ 1.มี 686 โรงงาน (17.0%) 2. แรงงาน 61,900 คน (10.8%) 1.มี 617 โรงงาน (15.3%) 2. แรงงาน 52,630 คน (9.2%) ผ้าผืน ฟอก ย้อม พิมพ์ ตกแต่งสำเร็จ 3. การผลิตผ้าผืนต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและ แรงงานควบคู่ไปด้วยกัน

5 อุตสาหกรรมฟอก ย้อม พิมพ์ ตกแต่งสำเร็จ
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (อุตสาหกรรมกลางน้ำ) อุตสาหกรรมถักผ้า อุตสาหกรรมทอผ้า อุตสาหกรรมปั่นด้าย 1. มี 391 โรงงาน (9.7%) 2. แรงงาน 41,330 คน (7.2%) 3. มีการลงทุนสูง และใช้เทคโนโลยี ระดับปานกลาง อุตสาหกรรมฟอก ย้อม พิมพ์ ตกแต่งสำเร็จ ผ้าผืน ฟอก ย้อม พิมพ์ ตกแต่งสำเร็จ กลุ่มสิ่งทอ สรุป 1. อุตสาหกรรมสิ่งทอ ครอบคลุมสินค้าต้นน้ำ ถึง กลางน้ำ 2. ลักษณะอุตสาหกรรมต้องอาศัยเทคโนโลยีสูง 3. ใช้เครื่องจักรในการผลิตเป็นหลัก มากกว่า ฝีมือแรงงาน 4. ใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง พึ่งพาเทคโนโลยีระดับกลางถึงสูง 5. จำนวนโรงงานมีไม่มากนัก 6. การผลิตสิ่งทอจึงเป็นขั้นตอนที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าในระดับปานกลาง จำเป็นต้องผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปในรูปแบบต่าง ๆ กันให้กับลูกค้าต่อไป การผลิตเมื่อนำเส้นด้าย มาทำการถักหรือทอเป็นผ้าผืนแล้ว ผ้าผืนที่ได้ในขั้นนี้จะเป็นผ้าดิบ ซึ่งต้องนำไปทำการฟอก ย้อมสี และพิมพ์ตกแต่งสำเร็จ เพื่อให้ได้ผ้าผืนตามที่ต้องการหรือออกแบบไว้ ซึ่งผ้าผืนที่ผลิตจากใยธรรมชาติ จะมีจุดเด่นในด้านความสามารถในการระบายอากาศ ทำให้ผู้สวมใส่รู้สึกสบายกว่าผ้าผืนที่ทำจากเส้นด้ายสังเคราะห์ ในขณะที่ผ้าผืนที่ผลิตจากเส้นด้ายใยสังเคราะห์ มีข้อดีในการดูแลรักษา เนื้อผ้าไม่ยับง่ายและราคาถูก ในปัจจุบันมีการพัฒนาผ้าผืนที่ผลิตจากเส้นด้ายสังเคราะห์จนมีคุณสมบัติการระบายอากาศได้ดี ส่วนการผลิตผ้าผืนแบบไม่ถัก Non-woven จะมีขั้นตอนการผลิตต่างออกไป ซึ่งการผลิตผ้าผืนแบบไม่ถักจะผลิตจากเส้นด้าย/เส้นใยสังเคราะห์เท่านั้น โดยอาศัยความร้อน สารเคมี หรือเรซิน เพื่อให้เกิดการยึดเกาะกันระหว่างเส้นใยในการขึ้นรูปเป็นผ้าผืน ซึ่งกระบวนการผลิตมีหลายแบบ ขึ้นกับความเหมาะสมของกระบวนการผลิต หรือการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องนั้น ๆ

6 ฟอก ย้อม พิมพ์ ตกแต่งสำเร็จ
อุตสาหกรรมปลายน้ำ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (อุตสาหกรรมปลายน้ำ) ฟอก ย้อม พิมพ์ ตกแต่งสำเร็จ อุตสาหกรรมปั่นด้าย 1. มี 2,171 โรงงาน (53.7%) 2. แรงงาน 346,250 คน (60.5%) 3. พึ่งพาแรงงานจำนวนมาก ต้องอาศัย ฝีมือแรงงานทุกกระบวนการผลิต 4. คิดเป็นสัดส่วน 10 % ของการจ้างงาน ในภาคอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป/เครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องนุ่งห่ม เสื้อผ้า/เครื่องนุ่งห่ม กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม สรุป 1. อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ครอบคลุมสินค้าปลายน้ำ 2. ลักษณะอุตสาหกรรมใช้แรงงานเข้มข้น 3. ใช้เงินลงทุนน้อย การผลิตขึ้นอยู่กับการออกแบบ คุณภาพวัตถุดิบ 4. ปัจจุบันขาดแคลนแรงงาน ส่งผลให้เกิดการย้ายฐานการผลิตไปในกลุ่ม CLMV การผลิตเมื่อนำเส้นด้าย มาทำการถักหรือทอเป็นผ้าผืนแล้ว ผ้าผืนที่ได้ในขั้นนี้จะเป็นผ้าดิบ ซึ่งต้องนำไปทำการฟอก ย้อมสี และพิมพ์ตกแต่งสำเร็จ เพื่อให้ได้ผ้าผืนตามที่ต้องการหรือออกแบบไว้ ซึ่งผ้าผืนที่ผลิตจากใยธรรมชาติ จะมีจุดเด่นในด้านความสามารถในการระบายอากาศ ทำให้ผู้สวมใส่รู้สึกสบายกว่าผ้าผืนที่ทำจากเส้นด้ายสังเคราะห์ ในขณะที่ผ้าผืนที่ผลิตจากเส้นด้ายใยสังเคราะห์ มีข้อดีในการดูแลรักษา เนื้อผ้าไม่ยับง่ายและราคาถูก ในปัจจุบันมีการพัฒนาผ้าผืนที่ผลิตจากเส้นด้ายสังเคราะห์จนมีคุณสมบัติการระบายอากาศได้ดี การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมปี 56 มีประมาณ 5,788,000 คน อุตสาหกรรมสิ่งทอ มีจำนวน 571,000 คน คิดเป็นร้อยละ 9.9

7 อุตสาหกรรมสิ่งทอ (ผลิตภัณฑ์สิ่งทอเทคนิค)
อุตสาหกรรมเส้นใยธรรมชาติ อุตสาหกรรมเส้นใยสังเคราะห์ อุตสาหกรรมปั่นด้าย อุตสาหกรรมทอผ้า อุตสาหกรรมถักผ้า ฟอก ย้อม พิมพ์ ตกแต่งสำเร็จ เส้นใย เส้นด้าย ผ้าผืน อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป/เครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมปลายน้ำ ผลิตภัณฑ์ nonwoven เครื่องนุ่งห่ม เสื้อผ้า/ เครื่องนุ่งห่ม สิ่งทออุตสาหกรรม สิ่งทอเทคนิคใช้ในอุตสาหกรรม 12 สาขา การเกษตร ก่อสร้าง ทางธรณี อุตสาหกรรม ทางกีฬา การแพทย์ ครัวเรือน สิ่งแวดล้อม เสื้อผ้า การบรรจุ การป้องกัน ยานยนต์ สิ่งทอเทคนิค อุตสาหกรรมกลางน้ำ สิ่งทอ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เป็นการผลิตขั้นปลายน้ำ และแตกต่างจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ คือต้องพึ่งพาแรงงานจำนวนมาก ต้องอาศัยฝีมือแรงงานในการผลิตทุกกระบวนการ ใช้เทคโนโลยีต่ำ เป็นเพียงเครื่องจักรสำหรับการผลิตของแรงงานเท่านั้น จึงทำให้ประเด็นเรื่องของแรงงานมีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมค่อนข้างมาก ทั้งด้านปริมาณแรงงานที่ต้องการ ฝีมือแรงงาน และค่าจ้างแรงงานด้วย เครื่องนุ่งห่มจะครอบคลุม ในส่วนของเสื้อผ้า ชุดชั้นใน ถุงมือ ถุงเท้าและสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้กับร่างกาย รูปแบบการผลิตเครื่องนุ่งห่ม แบ่งเป็น 2 ชนิดหลัก คือ 1. การผลิตของ ผปก.เอง สามารถกำหนดราคาสินค้า มีอำนาจในการออกแบบ กำหนดรูปแบบ วัตถุดิบได้เอง ทำให้มีความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มปานกลาง 2. การเป็นผู้รับจ้างผลิต ภายใต้คำสั่งผลิตจากลูกค้า มีความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มน้อย เนื่องจากต้องผลิตตามคำสั่งของลูกค้า ซึ่ง ผปก. มีหน้าที่เป็นเพียงผู้ผลิตและได้กำไรจากค่าจ้างแรงงานเท่านั้น ปัจจุบัน ฐานการผลิตเครื่องนุ่งห่มรายใหม่ มีบทบาทเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก เช่น เวียดนาม บังคลาเทศ และตุรกี สิ่งทอที่ใช้ในอุตสาหกรรม หรือที่คุ้นหูเรียกว่า สิ่งทอเทคนิค จะเป็นสิ่งทอที่ใช้ในอุตสาหกรรม 12 สาขา วัตถุดิบสิ่งทอที่นำมาใช้ส่วนใหญ่จะเป็นผ้าไม่ถัก Non woven ที่ได้จากการนำเส้นใยของพืชมาปั่นรวมกัน จากนั้นแผ่ออกเป็นแผ่น แต่ไม่ได้นำมาทอเป็นผ้าผืน โดยยังเห็นเป็นก้อนของเส้นใยอยู่ เช่น กระดาษสา ที่นำมาห่อของขวัญ เส้นใยในผ้าอ้อมสำหรับเด็ก เป็นต้น การผลิตผ้าผืนแบบ Non-woven จะมีขั้นตอนการผลิตต่างออกไป จะผลิตจากเส้นด้าย/เส้นใยสังเคราะห์ โดยอาศัยความร้อน สารเคมี หรือเรซิน เพื่อให้เกิดการยึดเกาะกันระหว่างเส้นใยในการขึ้นรูปเป็นผ้าผืน ซึ่งกระบวนการผลิตมีหลายแบบ ขึ้นกับความเหมาะสมของกระบวนการผลิต บริษัทเสื้อผ้า เจ้าของตราสินค้า ผู้บริโภค (End user) บริษัทจำหน่ายสินค้า ในต่างประเทศ บริษัทการค้า (Trading company) การจัดจำหน่าย

8 ตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไข
กระบวนการผลิตชุดกีฬา สีสัน วัตถุดิบ แบบ การวางแผน การสร้างแบบ การจัดซื้อผ้า การตรวจสอบ การทำตัวอย่าง จุดบกพร่อง หน้าผ้า/สี การปูผ้า การย่อ-ขยาย ตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไข การยืดแบบ การตัด การอัดกลีบ แนวการเย็บ จะยกตัวอย่างขั้นตอนการผลิตชุดกีฬา ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่มีการส่งออกค่อนข้างสูงในปี 2557 ที่ผ่านมา ขั้นตอนการผลิตชุดกีฬา แตกต่างจากการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั่วไป คือ เน้นการพัฒนาผ้าผืนซึ่งเป็นผ้าถักให้มีคุณสมบัติเฉพาะตัว การพัฒนาเส้นใยและเส้นด้ายให้มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นสูง การพัฒนาโครงสร้างผ้าในกระบวนการผลิตผ้าถัก รวมถึงกระบวนการตกแต่งสำเร็จ ที่ทำให้ผืนผ้ามีคุณสมบัติตามต้องการ ได้แก่ ดูดซับน้ำได้ดี ระบายอากาศ และป้องกันกลิ่นอับชื้น มีขั้นตอนดังนี้ การวางแบบ การเตรียมงาน การรีดชิ้นงาน ติดแบรนด์,โลโก้ การเย็บ การตกแต่ง การส่งมอบ การตรวจสอบ

9 การจ้างงาน 1. อุตสาหกรรมผลิตเส้นใย มีการจ้างงานรวม 12,200 คน คิดเป็นร้อยละ 2.1 ของจำนวนแรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 2. อุตสาหกรรมปั่นด้าย มีการจ้างงาน 57,650 คน คิดเป็นร้อยละ 10.1 ของจำนวนแรงงานทั้งหมด 3. อุตสาหกรรมถักผ้า มีการจ้างงาน 61,900 คน คิดเป็นร้อยละ 10.8 ของจำนวนทั้งหมด อุตสาหกรรมทอผ้า มีการจ้างงาน 52,630 คน คิดเป็นร้อยละ 9.2 ของจำนวนทั้งหมด 4. อุตสาหกรรมฟอกย้อม มีการจำนวน 41,330 คน คิดเป็นร้อยละ 7.2 ของจำนวนทั้งหมด 5. อุตสาหกรรมผลิตเครื่องนุ่งห่ม มีการจ้างงานรวม 346,250 ร้อยละ 60.5 ของจำนวนทั้งหมด การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมปี 2556 มีประมาณ 5,788,000 คน สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีจำนวน 571,960 คน คิดเป็น 9.9 %


ดาวน์โหลด ppt อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google