งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้าง ที่ผู้บริหารควรรู้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้าง ที่ผู้บริหารควรรู้"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้าง ที่ผู้บริหารควรรู้
บรรยายโดย อธิวัฒน์ โย อาศรี นักวิชาการพัสดุ ชำนาญการ กองพัสดุ กรม ชลประทาน บรรยายเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2557 ณ โรงแรมปริ้นพาเลช งานสัมมนาวิชาการกรมตรวจบัญชีสหกรณ์

2 หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ
ความหมาย “พัสดุ” และ “การพัสดุ” พัสดุ หมายความว่า วัสดุ ครุภัณฑ์ สิ่งก่อสร้าง หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ ของสำนักงบประมาณ

3 การพัสดุ ความหมาย “พัสดุ” และ “การพัสดุ” การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง
การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน การแลกเปลี่ยน การเช่า การควบคุม การจำหน่าย การพัสดุ

4 ผู้เกี่ยวข้องในการจัดหาพัสดุ
เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าส่วนราชการ โดยตำแหน่ง โดยแต่งตั้ง (ข้าราชการ ลูกจ้างชั่วคราว พนักงานราชการ พนักงานของรัฐ) อธิบดี (ส่วนกลาง) ผู้ว่าราชการจังหวัด (ภูมิภาค) ผู้มีอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้าง หัวหน้าส่วนราชการ ปลัดกระทรวง รัฐมนตรีเจ้าสังกัด หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ โดยตำแหน่ง โดยแต่งตั้ง (ข้าราชการ) คณะกรรมการต่างๆ/ ผู้ควบคุมงาน

5 ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
คณะกรรมการตามระเบียบ เตรียมการ คณะกรรมการกำหนดร่างขอบเขตของงาน (TOR) และร่างเอกสารประกวดราคา คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ ตรวจรับ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ คณะกรรมการตรวจการจ้าง + ผู้ควบคุมงาน

6 หลักการแต่งตั้งคณะกรรมการ
2 ห้าม 3 ไม่ควร ใช้หลัก ห้ามแต่งตั้งคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา เป็นคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ห้ามแต่งตั้งคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา หรือคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา หรือคณะกรรมการประกวดราคา เป็นคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ไม่ควรตั้งหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ เป็นคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา หรือคณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา ไม่ควรตั้งผู้ควบคุมงานเป็นคณะกรรมการตรวจการจ้าง ไม่ควรตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน เป็นคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง

7 การบริหารงานพัสดุประกอบด้วย
การบริหารด้านการเงิน/งบประมาณ การบริหารด้านบุคลากร การบริหารด้านการจัดซื้อจัดจ้าง

8 กฎ ระเบียบ ด้านพัสดุ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 กฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ และ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง

9

10 1 การเตรียมการจัดหาพัสดุ    จัดทำแผน จัดเตรียมความพร้อม
ศึกษา กฎหมาย ระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ด้านการเงิน การพัสดุ การงบประมาณ ตรวจสอบงบประมาณ สำรวจความต้องการ จัดทำแผน จัดซื้อจัดจ้าง จัดเตรียมความพร้อม ก่อนการจัดหา ขอบเขตของงาน (TOR) รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ (SPEC.) แบบรูปรายการละเอียด ราคากลาง เอกสารการจัดซื้อจัดจ้าง จัดทำร่างคำสั่งแต่งตั้งกรรมการ จัดทำร่างขอความเห็นชอบ ระเบียบ คตง. เรื่อง แผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ.2546 -ครุภัณฑ์ ราคาเกิน 1 แสนบาท -ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง ราคาเกิน 2 ล้านบาท

11 วิธีการซื้อการจ้าง ตกลงราคา สอบราคา ประกวดราคา พิเศษ กรณีพิเศษ
ไม่เกิน 1 แสน (ข้อ 19 , 39) สอบราคา เกิน 1 แสน แต่ไม่เกิน 2 ล้าน (ข้อ 20 , 40-43) ประกวดราคา เกิน 2 ล้าน (ข้อ 21 , 44-56) พิเศษ เกิน 1 แสน + เงื่อนไข (ข้อ , 57-58) กรณีพิเศษ ไม่กำหนดวงเงิน แต่มีเงื่อนไข (ข้อ 26 , 59) e-Auction ตั้งแต่ 2 ล้าน (ระเบียบ 2549)

12 มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
หลักการบริหารพัสดุ โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ความคุ้มค่าในการใช้จ่ายเงิน

13 ? ? แบบแข่งขัน แบบไม่แข่งขัน ต้องตรวจสอบได้
ต้องเปิดเผย ประกาศทราบทั่วกัน ต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ ต้องเป็นธรรม เงื่อนไข เสมอภาค ไม่ขัดขวาง ผ่อนปรน ไม่ก่อให้เกิดการ ได้เปรียบเสียเปรียบ ตรวจสอบผู้มีผลประโยชน์ ร่วมกัน ?

14 2 การขอความเห็นชอบ เจ้าหน้าที่พัสดุ จัดทำรายงาน ขอซื้อขอจ้าง
รายละเอียด (ระเบียบฯ ข้อ 27) เหตุผลงานความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรืองานที่จะจ้าง ราคามาตรฐาน หรือราคากลางของทางราชการ หรือราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้น หรือให้งานแล้วเสร็จ วิธีที่จะซื้อหรือจ้าง ข้อเสนออื่นๆ เจ้าหน้าที่พัสดุ จัดทำรายงาน ขอซื้อขอจ้าง

15 3 การให้ความเห็นชอบ และแต่งตั้งคณะกรรมการ หัวหน้า หัวหน้าส่วนราชการ
หัวหน้าส่วนราชการ หรือผู้ได้รับมอบอำนาจ ให้ความเห็นชอบรายงาน หัวหน้า เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าส่วนราชการ หรือ ผู้ได้รับมอบอำนาจ ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ เปิดซองสอบราคา รับและเปิดซองประกวดราคา พิจารณาผลการประกวดราคา จัดซื้อ/จัดจ้างโดยวิธีพิเศษ ประกวดราคาตามโครงการ ตรวจรับพัสดุ ตรวจการจ้าง

16 เจ้าหน้าที่พัสดุหรือ
4 การดำเนินการจัดหา วิธีตกลงราคา ข้อ 39 วิธีสอบราคา ข้อ 40 – 43 วิธีประกวดราคา ข้อ 44 – 56 วิธีพิเศษ ข้อ 57 – 58 วิธีกรณีพิเศษ ข้อ 59 วิธี e-Auction ระเบียบฯ 2549 เจ้าหน้าที่พัสดุหรือ คณะกรรมการดำเนินการ ตามวิธีต่างๆ

17 ขออนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ
5 การขออนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง เจ้าหน้าที่พัสดุ หรือคณะกรรมการ จัดทำรายงานเสนอ ขออนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ สรุปเสนอ

18 รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ตกลงราคา/สอบราคา/ประกวดราคา/e-Auction
6 การอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง อำนาจอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง ดำเนินการโดยวิธี หัวหน้าส่วนราชการ ปลัดกระทรวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ตกลงราคา/สอบราคา/ประกวดราคา/e-Auction ไม่เกิน 50 ล้านบาท เกิน 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท เกิน 100 ล้านบาท พิเศษ ไม่เกิน 25 ล้านบาท เกิน 25 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 50 ล้านบาท กรณีพิเศษ ไม่จำกัดวงเงิน - จ้างออกแบบและ ควบคุมงาน ไม่เกิน 10 ล้านบาท เกิน 10 ล้านบาท

19 7 การทำสัญญา แบบสัญญา ถ้าต้องเพิ่มเติมข้อความ
ให้ทำสัญญา ตามแบบที่กำหนด แบบสัญญา ถ้าต้องเพิ่มเติมข้อความ หรือรายการแตกต่างในสาระสำคัญ ถ้าเห็นว่าไม่เสียเปรียบก็ให้ทำได้ ถ้าเพิ่มเติมข้อความในสาระสำคัญแล้วอาจเสียเปรียบ หรือต้องการยกร่างสัญญาใหม่ ต้องให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจร่างก่อน

20 7 การทำสัญญา การซื้อจ้างโดยวิธีตกลงราคา
กรณียกเว้นไม่ทำสัญญา โดยทำเป็นหนังสือข้อตกลง การซื้อจ้างโดยวิธีตกลงราคา การซื้อจ้างที่คู่สัญญาส่งมอบพัสดุได้ภายใน 5 วันทำการ การซื้อจ้างบางกรณีตามที่กำหนด การเช่า ซึ่งผู้เช่าไม่ต้องเสียเงินอื่นใดนอกจากค่าเช่า การซื้อจ้างมีราคาไม่เกิน 10,000 บาท หรือการซื้อจ้างโดยวิธีตกลงราคาตามข้อ 39 วรรคสอง

21 8 การดำเนินการตามสัญญา การบริหารสัญญา
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลง การงด หรือลดค่าปรับ หรือขยายระยะเวลา การบอกเลิกสัญญา การสั่งทิ้งงาน

22 9 การตรวจรับพัสดุ คู่สัญญาซื้อขาย แจ้งกำหนดส่งมอบล่วงหน้าตามเวลาที่กำหนด แจ้งกรรมการ เจ้าหน้าที่พัสดุ คณะกรรมการ ตรวจรับ ส่งพัสดุให้เจ้าหน้าที่พัสดุ ถูกต้องรับไว้ ทำใบตรวจรับ ทำการตรวจรับ ในวันนัดหมาย ไม่ถูกต้อง คืนส่งมอบใหม่ ผู้ขาย

23 ไม่ถูกต้อง รายงานหัวหน้าส่วนราชการ
9 การตรวจรับพัสดุ งานจ้างก่อสร้าง ผู้ควบคุม งานก่อสร้าง คณะกรรมการ ตรวจการจ้าง รายงานกรรมการ ตรวจผลงานที่ส่งมอบ ถูกต้องรับงาน ทำใบตรวจรับ ทำการตรวจรับ ภายใน 3 วัน ไม่ถูกต้อง รายงานหัวหน้าส่วนราชการ

24 10 การเบิกจ่าย เจ้าหน้าที่พัสดุรวบรวมหลักฐานอันเป็นเอกสาร แห่งหนี้ที่เกี่ยวกับการจัดหาพัสดุ ส่งหน่วยงานการเงินเบิกจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน

25 ข้อควรรู้ และ พึงระวัง

26 ปัญหาในการบริหารจัดการพัสดุ เกิดจาก
ความไม่รู้ กฎ ระเบียบในการจัดหาพัสดุ ไม่มีการวางแผนการจัดหาพัสดุ ไว้ก่อนล่วงหน้า ไม่กำกับ ดูแล ติดตามผล งบประมาณ มีไม่เพียงพอ บุคลากรมีไม่เพียงพอ หรือขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง

27 อย่างไรเรียกว่า “ล็อคสเป็ค”
มีผู้มีคุณสมบัติตามเงื่อนไข อย่างน้อย 3 รายขึ้นไป เกณฑ์การ พิจารณา เป็นสิ่งของที่ควรจะมีหรือ จัดให้มี เพื่อใช้งานตามปกติของการประกอบธุรกิจ เป็นประโยชน์ แก่ทางราชการ

28 การแบ่งซื้อแบ่งจ้าง การแบ่งซื้อแบ่งจ้าง หมายถึง การลดวงเงินที่จะซื้อ
หรือจ้างในครั้งเดียวกัน ออกเป็นหลายครั้ง โดยไม่มีเหตุผลความจำเป็น และมีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยง 1) แบ่งวงเงิน ให้ลดลงเพื่อเปลี่ยนวิธีจัดหาพัสดุ 2) ให้ผู้มีอำนาจสั่งซื้อ สั่งจ้าง เปลี่ยนไปๆ

29 แนวทางการพิจารณาเรื่องแบ่งซื้อแบ่งจ้าง
การจัดซื้อพัสดุประเภทชนิดเดียวกัน แม้ต่างขนาดและราคา เมื่อมีการประมาณการความต้องการในการใช้งานของทั้งปีแล้ว จะต้องจัดซื้อรวมในครั้งเดียวกัน เว้นแต่มีเหตุผลที่ชัดเจนที่จำเป็นต้องแยกซื้อที่ไม่ใช่เป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง เพื่อประโยชน์ในการบริหารการพัสดุ จะต้องกำหนดเงื่อนไขในการดำเนินการจัดซื้อโดยใช้สัญญาจะซื้อจะขายแบบราคาคงที่ไม่จำกัดปริมาณ เพื่อออกใบสั่งซื้อเป็นคราว ๆ ให้สอดคล้องกับการใช้งานจริง วงเงินที่ได้รับมาพร้อมกันหรือไม่ พัสดุที่จะจัดหาเป็นประเภทเดียวกันหรือไม่ พิจารณาจากความต้องการของผู้ใช้ พัสดุว่าต้องการใช้พร้อมกันหรือไม่

30 ความเสี่ยงการทำสัญญา

31 ความเสี่ยงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลง

32 ความเสี่ยงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลง

33 ความเสี่ยงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลง

34 (ตัวอย่าง) คู่สัญญาขอแก้ไขสัญญา เพื่อเปลี่ยนพัสดุใหม่ เนื่องจากบริษัทเลิกผลิตแล้ว
ปัญหา บริษัทแจ้งขอแก้ไขสัญญาโดยเปลี่ยนพัสดุใหม่ จากรุ่นที่ทำสัญญาไว้ เป็น รุ่นใหม่ที่มีคุณภาพเท่าเดิม หรือดีกว่าเดิม ราคา และเงื่อนไขเดิม หรือดีกว่าเดิม แนวทางแก้ไข หากส่วนราชการพิจารณาเห็นควรแก้ไขสัญญาเพื่อประโยชน์ราชการ และมิได้ทำให้ทางราชการเสียประโยชน์ ก็สามารถกระทำได้

35 (๑) จะต้องระบุการสงวนสิทธิ์เรียกค่าปรับจากผู้ขาย/ผู้รับจ้าง
(ตัวอย่าง) คู่สัญญาขอแก้ไขสัญญา เพื่อเปลี่ยนพัสดุใหม่ เนื่องจากบริษัทเลิกผลิตแล้ว แต่การแก้ไขสัญญา (๑) จะต้องระบุการสงวนสิทธิ์เรียกค่าปรับจากผู้ขาย/ผู้รับจ้าง (๒) ต้องกำหนดระยะเวลาการส่งมอบใหม่ให้ชัดเจนในสัญญาที่แก้ไขใหม่ด้วย (หากไม่เขียน จะเรียกค่าปรับไม่ได้ เพราะไม่มีวันส่งมอบที่จะนำมาคำนวณค่าปรับได้ เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ ถือว่าเป็นการยกเลิกสัญญาเดิมหรือแปลงหนี้ใหม่ สัญญาเดิมย่อมระงับไป แม้จะสงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับไว้ก็ตาม แต่ขณะที่บริษัทขอแก้ไขสัญญานั้น ค่าปรับยังไม่เกิดขึ้น)

36 (ตัวอย่าง) การแก้ไขสัญญาหลังจากผิดสัญญาแล้ว เมื่อไม่กำหนดวันส่งมอบไว้ในสัญญาที่แก้ไขใหม่ จึงไม่อาจคิดค่าปรับได้ กรมฯ แก้ไข/เปลี่ยนแปลงสัญญาในส่วนขั้นตอนที่ผู้รับจ้างต้องดำเนินการกับแบบแสดงรายการภาษีบางประการ -ภายหลังจากครบกำหนดส่งมอบงานตามสัญญาแล้ว -โดยไม่ได้กำหนดเวลาส่งมอบกันใหม่ ถือได้ว่า  สัญญาจ้างดังกล่าวไม่มีกำหนดวันส่งมอบเมื่อใดไว้ด้วย อันมีผลทำให้ ยังถือไม่ได้ว่าผู้รับจ้างผิดนัดชำระหนี้ในการส่งมอบงาน ประกอบกับตามสัญญาที่แก้ไขเพิ่มเติม กรมฯ ก็มิได้มีการตกลงในการสงวนสิทธิ์เรียกค่าปรับจากผู้รับจ้างไว้ในสัญญาที่แก้ไขใหม่ด้วย กรณีนี้กรมฯ จึงไม่อาจเรียกค่าปรับในส่วนของการที่ส่งมอบงานล่าช้าจากผู้รับจ้างได้

37 (ตัวอย่าง) การแก้ไขสัญญา เพื่อเปลี่ยนหลักประกันสัญญา
คู่สัญญาขอเปลี่ยนหลักประกันสัญญาเป็นอย่างใดตามข้อ ๑๔๑(๑)-(๕)ย่อมแก้ไขสัญญาได้ ทางราชการมิได้เสียประโยชน์ เนื่องจากระเบียบข้อ ๑๔๑ กำหนดว่า “หลักประกันซองหรือหลักประกันสัญญาให้ใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เงินสด เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่ายซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ใช้เช็คนั้น ชำระต่อเจ้าหน้าที่ หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน ๓ วันทำการ หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศตามตัวอย่างที่ กวพ.กำหนด หนังสือค้ำประกันของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ตามรายชื่อที่ธปท.แจ้งเวียน พันธบัตรรัฐบาล

38 (ตัวอย่าง) กรณีงานก่อสร้างที่คู่สัญญาทำสัญญาหรือข้อตกลง โดยถือราคาแบบเหมารวมเป็นเกณฑ์
ระหว่างสัญญาจะคิดค่างานที่เพิ่ม-ลด เกินกว่าวงเงินที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงไม่ได้ เว้นแต่ คู่สัญญามีข้อตกลงกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

39 ความเสี่ยงการขยายระยะเวลา งดหรือลดค่าปรับ

40

41 (ตัวอย่าง) ผู้รับจ้างของดค่าปรับ อ้างว่า ส่วนราชการใช้เวลาพิจารณาอนุมัติขยายเวลาทำการตามสัญญา ล่าช้า
ปัญหา กรมฯ ใช้เวลาพิจารณาอนุมัติให้ขยายเวลาสัญญา ล่าช้า แต่ในระหว่างที่ กรมฯ ใช้เวลาพิจารณาคำขอ ขยายเวลา กรมมิได้สั่งให้บริษัทหยุดงานแต่อย่างใด บริษัท ยังคงสามารถทำงานตามสัญญาได้ตามปกติ การใช้เวลาพิจารณาขยายเวลา มิได้มีส่วน สัมพันธ์ หรือส่งผลกระทบต่อการดำเนินการตาม สัญญาแต่อย่างใด ดังนั้น กรณีนี้จึงมิไช่เหตุที่จะนำมาอ้างให้งด ลด ค่าปรับ ตามระเบียบฯ ข้อ 139 (1) แต่อย่างใด

42 (ตัวอย่าง) ส่วนราชการจ่ายเงินล่าช้า ทำให้บริษัทขาดสภาพคล่องทางการเงิน จะอ้างเป็นเหตุที่จะงด ลดค่าปรับ ขยายเวลาสัญญาไม่ได้ เหตุที่กรม ส. จ่ายเงินล่าช้า มิไช่ผลกระทบ โดยตรงต่อการปฏิบัติงานตามสัญญาที่ทำให้ผู้รับ จ้างต้องหยุดการทำงาน เนื่องจาก ในระหว่างการปฏิบัติงานตามสัญญา ผู้รับจ้างมีหน้าที่จะต้องเตรียมความพร้อมในการ จัดหาเงินทุนหมุนเวียนมาใช้ในการทำงานให้ เพียงพอ ดังนั้น ปัญหาที่ผู้รับจ้างขาดสภาพคล่องทาง การเงิน ในกรณีนี้ จึงไม่อาจนำมาอ้างเป็นเหตุที่ จะงด หรือลดค่าปรับ ตามระเบียบฯ ข้อ 139(1)

43 (ตัวอย่าง) คู่สัญญาส่งมอบไม่ตรงงวดงาน ในสัญญา ยังไม่ถือว่าผิดสัญญา จึงปรับระหว่างงวดงานไม่ได้
สัญญากำหนดเงื่อนไขการปรับว่า “หากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามที่ กำหนดไว้ในสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ ผู้รับจ้างนับถัดจากวันที่กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญา” คำวินิจฉัย การแบ่งงวดงานแต่ละงวดในสัญญา เป็นเงื่อนไขที่คู่สัญญาตกลงแบ่งงวดงาน เพื่อ ประโยชน์ในการจ่ายเงินค่าจ้างเป็นงวด ตามผลงานที่ ดำเนินการไปแล้ว มิใช่เป็นการกำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานตาม สัญญา ►เมื่อผู้รับจ้างส่งงานไม่เป็นไปตามงวด จึงไม่อาจนำมาคิด ค่าปรับตามสัญญาได้

44 (ตัวอย่าง) คู่สัญญาส่งมอบหลังจากผิดสัญญาแล้ว ต้องแจ้งสงวนสิทธิ์การปรับ
(ตัวอย่าง) คู่สัญญาส่งมอบหลังจากผิดสัญญาแล้ว ต้องแจ้งสงวนสิทธิ์การปรับ เมื่อคู่สัญญาส่งมอบพัสดุ ตามสัญญา ภายหลัง ผิดสัญญาแล้ว โดยส่วนราชการมิได้ บอกเลิกสัญญา ต้องแจ้งสงวนสิทธิ์ การ ปรับไว้ด้วย ให้คิดค่าปรับนับถัด จากวันครบกำหนด สัญญา/ข้อตกลง การปรับต้องเป็นไป ตามเงื่อนไขที่กำหนด ไว้ในสัญญา เช่น -สัญญาซื้อขายเป็น ชุด ให้ปรับทั้งชุด -สิ่งของที่ซื้อรวม ติดตั้ง/ทดลอง/ให้ ปรับตามราคาของ ทั้งหมด

45 วิธีคิดค่าปรับงานซื้อและจ้างทำของ
ตัวอย่าง สัญญามูลค่า ๑ ล้านบาท อัตราค่าปรับร้อยละ ๐.๑๐ กำหนดส่งมอบพัสดุ/งาน ไว้ ๓ งวด งวด๑, ๒ งวดละ ๒.๕ แสน งวดสุดท้าย ๕ แสน คิดค่าปรับตาม จำนวนสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ ผู้ขาย/ผู้รับจ้างส่งมอบทั้ง ๓ งวด หลังจากผิดสัญญาแล้ว งวดที่๑ ๑ ล.X ๐.๑๐X จำนวนวันนับถัดจากครบกำหนด สัญญาถึงวันส่งมอบ ๑๐๐ งวดที่๒ ๗.๕แสน X๐.๑๐Xจำนวนวันนับถัดจากส่งมอบงวด ๑ถึงวันส่งมอบงวด ๒ ๑๐๐ งวดที่๓ ๕แสนX๐.๑๐X จำนวนวันนับถัดจากส่งมอบงวด ๒ ถึงวันส่งมอบงวด ๓

46 วิธีคิดค่าปรับงานจ้างก่อสร้าง
ตัวอย่าง สัญญามูลค่า ๑ ล้านบาท อัตราค่าปรับวันละ๑,๐๐๐ บาท กำหนดส่งมอบไว้ ๓ งวด งวด ๑, ๒ งวดละ ๒.๕ แสน งวดสุดท้าย ๕ แสน ผู้รับจ้างส่งมอบทั้ง ๓ งวด หลังจากที่มีการผิดสัญญา แล้ว งวดที่ ๑ ๑,๐๐๐ X จำนวนวันนับถัดจากครบ กำหนดสัญญาถึงวันส่งมอบ งวดที่ ๒ ๑,๐๐๐ X จำนวนวันนับถัดจากส่งมอบ งวด ๑ ถึงวันส่งมอบ งวด ๒ งวดที่ ๓ ๑,๐๐๐ X จำนวนวันนับถัดจากส่ง มอบงวด ๒ ถึงวันส่งมอบงวด ๓

47 ความเสี่ยงการขยายระยะเวลา งดหรือลดค่าปรับ
ความเสี่ยงการขยายระยะเวลา งดหรือลดค่าปรับ อนุมัติให้ขยายเวลา/ต่อสัญญาโดยไม่มีเหตุผลสมควรตามความเป็นจริง สั่งให้หยุดงานโดยไม่มีเหตุผล เช่น ขยายเวลาให้มากกว่าที่ทำงานจริง ไม่ขยายระยะเวลาตามสัญญาให้ผู้รับจ้าง เมื่อมีการร้องขอทั้งที่ทางราชการปฏิบัติไม่ถูกต้อง ล่าช้า การก่อสร้างล่าช้ากว่าสัญญา ไม่มีการแจ้งการปรับและเร่งรัดการก่อสร้าง

48 ความเสี่ยงการตรวจรับพัสดุ
หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ สถานที่ตรวจรับ : ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุ สถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง สถานที่อื่น ในกรณีที่ไม่มีสัญญาหรือข้อตกลง * ต้องได้รับอนุมัติจาก หัวหน้าส่วนราชการก่อน

49 ความเสี่ยงการตรวจรับพัสดุ
หลักเกณฑ์การตรวจรับ :- ตรวจให้ถูกต้องครบถ้วน ตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้ กรณีที่มีการทดลองหรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์ จะเชิญผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิมาให้คำปรึกษา หรือส่งพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิก็ได้ กรณีจำเป็นที่ไม่สามารถตรวจนับเป็นจำนวนหน่วยทั้งหมดได้ ให้ตรวจรับตามหลักวิชาการสถิติ

50 ความเสี่ยงการตรวจรับพัสดุ
ระยะเวลาตรวจรับ โดยปกติ ให้ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่ง และให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด กรณีตรวจรับถูกต้องครบถ้วน รับพัสดุไว้ และถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ได้ส่งมอบถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่นำพัสดุนั้นมาส่ง แล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พัสดุ ทำใบตรวจรับอย่างน้อย 2 ฉบับ โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน (มอบแก่ผู้ขาย 1 เจ้าหน้าที่พัสดุ 1 เพื่อประกอบการเบิกจ่ายเงิน ) รายงานผลให้หัวหน้าส่วนราชการทราบ

51 ความเสี่ยงการตรวจรับพัสดุ
กรณีตรวจรับไม่ถูกต้อง ไม่ถูกต้องในรายละเอียด ให้รายงานหัวหน้าส่วนราชการเพื่อ สั่งการทันที กรณีถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวน/ หรือครบแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด * ให้รับเฉพาะที่ถูกต้อง มอบของให้เจ้าหน้าที่พัสดุ ทำใบตรวจรับ 2 ฉบับ ส่งผู้ขาย & จนท.พัสดุ รีบรายงาน หน.ส่วนราชการ เพื่อแจ้งผู้ขาย/ ผู้รับจ้าง ทราบภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันตรวจพบ

52 ความเสี่ยงการตรวจรับพัสดุ
กรณีพัสดุเป็นชุด / หน่วย ให้ดูว่า ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่ง จะใช้การไม่ได้อย่างสมบูรณ์ * ถือว่ายังไม่ได้ส่งมอบ * รีบรายงาน หัวหน้าส่วนราชการทราบ ภายใน 3 วันทำการ นับแต่ตรวจพบ

53 ความเสี่ยงการตรวจรับพัสดุ
ตรวจรับพัสดุ ไม่เป็นไปตามสัญญาหรือข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ไม่ตรวจความแท้จริงของพัสดุ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการตรวจรับ เรื่องมีความเป็นเทคนิคสูง ซับซ้อนมาก ไม่ใช้บริการผู้เชี่ยวชาญ ผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้า ไม่ได้แจ้งสงวนสิทธิการปรับตามสัญญา ไม่ตรวจสอบคุณภาพและปริมาณ ไม่จัดทำเกณฑ์การตรวจรับ พิจารณาไปก่อน ตรวจรับมากหรือน้อยกว่าสัญญาและเอกสารประกอบสัญญา ตรวจรับล่าช้ามาก กรรมการติดภารกิจราชการมาก ตรวจรับพัสดุที่มีความซับซ้อนมาก มีเอกสารมาก

54 ความเสี่ยงการตรวจการจ้าง
หน้าที่คณะกรรมการตรวจการจ้าง ดูการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง ตรวจตามแบบรูป รายการละเอียดตามที่ระบุในสัญญาทุกสัปดาห์ รับทราบการสั่งการของผู้ควบคุมงาน กรณีสั่งผู้รับจ้างหยุด/ พักงาน แต่ต้องรายงาน หัวหน้าส่วนราชการสั่งการ

55 ความเสี่ยงการตรวจการจ้าง
กรณีมีข้อสงสัยเห็นว่าไม่น่าจะเป็นตามหลักวิชาการ ให้ออกตรวจสถานที่ที่จ้าง ให้มีอำนาจ - สั่งเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติม ตัดทอน งานจ้างได้ เพื่อให้เป็นไปตามรูปแบบ /รายการ / ข้อตกลง)

56 ความเสี่ยงการตรวจการจ้าง
หน้าที่ผู้ควบคุมงาน จดบันทึกเป็นรายวัน ดังนี้ สภาพการปฏิบัติงาน / เหตุการณ์แวดล้อม / ผลการปฏิบัติงาน /การหยุดงาน/ สาเหตุหยุดงาน / วัสดุที่ผู้รับจ้างใช้ - รายงาน คกก. ตรวจงานจ้างทุกสัปดาห์ - เก็บรายงานไว้ เพื่อมอบให้ จนท.พัสดุ เมื่อเสร็จงาน แต่ละงวด - ถือเป็นเอกสารสำคัญ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ

57 ความเสี่ยงการตรวจการจ้าง
หน้าที่ผู้ควบคุมงาน เมื่อถึงวันกำหนดลงมือทำงานของผู้รับจ้าง หรือ วันกำหนดส่งมอบงานแต่ละงวด - ให้รายงานผลการทำงานของผู้รับจ้าง ว่าเป็นไปตามสัญญา หรือไม่ (ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันถึงกำหนดนั้นๆ)

58 การบอกเลิกสัญญา

59 (ตัวอย่าง) การตกลงกัน บอกเลิกสัญญา
ทำสัญญาจ้างก่อสร้างอาคาร กำหนดให้เริ่มทำงาน ภายในวันที่ ๓๐ ต.ค.๔๖ ครบกำหนดสัญญา ๒๒ พ.ค.๔๘ กรมฯ ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ได้ เนื่องจากมีอาคารและสิ่งก่อสร้างของผู้บุกรุก เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ไม่อาจทราบได้ว่า ศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด และสามารถมอบพื้นที่ให้ได้เมื่อใด เมื่อผู้รับจ้าง มีหนังสือขอเลิกสัญญา และกรมฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ราชการโดยตรง ยิ่งกว่าให้สัญญามีผลต่อไป หรือเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของทางราชการตามข้อ ๑๓๗ว.สอง ย่อมบอกเลิกสัญญาได้ และเมื่อตกลงเลิกสัญญากันแล้ว ผู้รับจ้างย่อมพ้นข้อผูกพันตามสัญญา กรมฯ ผู้ว่าจ้างมีหน้าที่ต้องคืนหลักประกันสัญญาให้แก่ผู้รับจ้าง ตามสัญญาข้อ ๓ วรรคสอง ประกอบระเบียบฯ ข้อ ๑๔๔ (๒)

60 ข้อ ๑๓๘ การผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญา/ข้อตกลง หลักการ ข้อยกเว้น
ข้อ ๑๓๘ การผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญา/ข้อตกลง หลักการ กรณีคู่สัญญาปฏิบัติผิดสัญญา/ข้อตกลง หากจำนวนเงินค่าปรับจะเกินร้อยละ ๑๐ ของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้าง ให้ส่วนราชการบอกเลิกสัญญา/ข้อตกลง นั้น ข้อยกเว้น เว้นแต่ คู่สัญญายินยอมเสียค่าปรับให้โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ให้หัวหน้าส่วนราชการผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จำเป็น

61 การบอกเลิกสัญญาเมื่อมีค่าปรับเกิน ๑๐ % ไปแล้ว
ตามปพพ. ม.๓๙๑ สรุปว่าเมื่อคู่สัญญาใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่จะให้เสื่อมสิทธิบุคคลภายนอกหาได้ไม่ ประกอบ ระเบียบฯพัสดุปี ๓๕ ข้อ ๑๓๘ สรุปว่า คู่สัญญาที่ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญา/หรือข้อตกลงได้ และจะต้องปรับ หากค่าปรับจะเกินร้อยละ ๑๐ ของวงเงินค่าพัสดุ/ค่าจ้างนั้น ให้บอกเลิกสัญญาฯ เว้นแต่ คู่สัญญาจะยอมเสียค่าปรับโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ดังนั้น เมื่อค่าปรับสูงเกิน ๑๐% หากส่วนราชการมิได้มี หนังสือแจ้งคิดค่าปรับ/ผู้รับ จ้างก็มิได้ยินยอมเสียค่าปรับ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ส่วน ราชการจึงคิดค่าปรับได้ไม่ เกิน ๑๐% ตามระเบียบฯ ๓๕ ข้อ ๑๓๘ หากส่วนราชการจะคิด ค่าปรับเกินกว่า หรือเท่ากับ ๑๐% โดยไม่คำนึงถึงคำสั่ง ศาลปกครองสูงสุด ที่ ๓๙๕/๒๕๕๑ที่กำหนด ให้ บอกเลิกสัญญาเมื่อเห็นว่า ค่าปรับจะเกิน๑๐% เพื่อมิให้ คู่สัญญาเสียหายมากขึ้น หากไม่บอกเลิกก่อน จะคิด ค่าปรับได้เพียงไม่เกิน๑๐%

62 ผลของการบอกเลิกสัญญา/ข้อตกลง
ปัญหา ถ้าส่วนราชการคู่สัญญา มีหนังสือแสดงเจตนาใช้สิทธิบอกสัญญาไปยังผู้ขาย หรือผู้รับจ้างแล้ว ย่อมมีผลให้สัญญาสิ้นสุดลงทันที และไม่อาจถอนการบอกเลิกสัญญาได้ (ปพพ.ม.๓๘๖) แนวทางปฏิบัติ คู่สัญญาที่เป็นผู้ขาย/ผู้รับจ้าง จะขอผ่อนปรนการปฏิบัติตามสัญญาอีกไม่ได้ หากส่วนราชการประสงค์จะซื้อ/จ้าง รายเดิม ต้องดำเนินการจัดหาใหม่ จะแก้ไขสัญญามิได้

63 สิทธิในการบังคับตามสัญญาภายหลังการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง

64 การใช้สิทธิตามสัญญา ภายหลังบอกเลิกสัญญาแล้ว
มติ กวพ. กรม ว. ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ตามเงื่อนไขของสัญญาซื้อเครื่องตรวจวิเคราะห์ทางอิมมูโนเอสเสย์ แบบอัตโนมัติไปแล้ว ย่อมมีสิทธิดังนี้ ๑. ริบหลักประกันสัญญา หรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ค้ำประกัน ๒. กรณีมีค่าปรับ ให้เรียกร้องจากคู่สัญญาให้ชำระค่าปรับโดยคิดตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญา จนถึงวันบอกเลิกสัญญาหักด้วยจำนวนวันที่ส่วนราชการใช้ไปในการตรวจรับ ๓. หากต้องซื้อใหม่ และมีราคาเพิ่มขึ้นจากวงเงินตามสัญญาเดิม ย่อมเรียกให้ชดใช้ราคาส่วนที่เพิ่มขึ้นได้ด้วย ๔. ค่าเสียหายอื่น ๆ (ถ้ามี) ได้แก่ ค่าขาดรายได้ หรือขาดประโยชน์จากการรับจ้างวิเคราะห์

65 การใช้สิทธิตามสัญญา ภายหลังบอกเลิกสัญญาแล้ว
ทั้งนี้ ให้นำค่าเสียหายข้างต้นทั้งหมดมาหักจากเงินประกันสัญญา ถ้าเหลือให้คืนบริษัทฯ คู่สัญญา หากมีค่าเสียหายท่วมจำนวนหลักประกันให้ยึดไว้ ทั้งหมดโดยไม่ต้องคืนหลักประกันสัญญา และใช้สิทธิเรียกร้องเพิ่มจนครบจำนวนด้วย

66 รายงานแผน-ผลปฏิบัติการการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง การจัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ.2546 การจัดซื้อจัดจ้างโดยเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ เงินรายได้ เงินกู้หรือเงินอุดหนุน ครุภัณฑ์ที่มีราคาเกิน 100,000 บาท ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง ที่มีราคาเกิน 2,000,000 บาท

67 รายงานแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง
จัดทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 ตุลาคม ของทุกปี ส่งสำเนาให้ สตง. ภายใน 31 ตุลาคม ของทุกปี

68 รายงานผลการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง

69 รายงานแผน รายงานผล ส่งสำเนาให้ สตง. ภายใน 31 ตุลาคม ของทุกปี
จัดทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 ตุลาคม ของทุกปี รายงาน สตง. ทราบ ประจำทุกไตรมาส ภายใน 30 วัน นับแต่วันทำการสุดท้ายของไตรมาส แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือตัดทอนรายละเอียด หรือระยะเวลาในแผน ส่ง สตง. ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่อนุมัติ

70 การเปิดเผยราคากลาง (ราคาอ้างอิง)
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 งานจ้างก่อสร้าง มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 55 ผลสูงหรือต่ำกว่า 15% จัดทำชี้แจงส่ง สตง. การจัดซื้อจัดจ้างเกินกว่า 100,000 บาท เผยแพร่ เว็บไซต์หน่วยงาน เว็บไซต์ระบบจัดซื้อจัดจ้าง งานซื้อหรือจ้างที่มิใช่งานจ้างก่อสร้าง ราคามาตรฐาน ราคาที่เคยซื้อ ราคาจากการสืบราคา

71 สร้างความเข้มแข็งด้านงานพัสดุ
Man Management คน M การ สร้างความเข้มแข็งด้านงานพัสดุ การจัดการ Money Material การเงิน/งบประมาณ เครื่องมือ


ดาวน์โหลด ppt หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้าง ที่ผู้บริหารควรรู้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google