ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การซ่อมบำรุงรักษาหนังสือ
2
ความหมาย การบำรุงรักษาหนังสือของห้องสมุด หมายถึง การทำหนังสือให้มีสภาพเรียบร้อยแน่นหนา และสามารถให้บริการได้ทนทาน อาจทำก่อนนำออกบริการหรือภายหลังบริการก็ได้ จำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ 1. การป้องกัน หมายถึง การปรับปรุงหนังสือที่จัดหามาใหม่ให้มีสภาพแน่นหนา คงทนก่อนจะนำออกบริการ 2. การซ่อมแซม หมายถึง การซ่อมแซมหนังสือที่ห้องสมุดนำออกบริการและถูกใช้จนชำรุด จึงนำกลับเข้ามาซ่อมเพื่อให้มีสภาพเรียบร้อยพร้อมที่จะนำออกบริการต่อไปได้อีก
3
การปรับปรุงหนังสือก่อนนำออกบริการ
ข้อดี ซ่อมได้สะดวกเสียเวลาน้อย ประหยัดวัสดุซ่อมได้ หนังสือจะคงสภาพอยู่ได้ทนทาน สภาพเรียบร้อยสะอาดตาน่าใช้ ประหยัดค่าซ่อมในระยะยาว
4
ข้อเสีย นำหนังสือออกบริการได้ช้ากว่า เนื่องจากต้องเสียเวลาในการปรับปรุงรูปเล่มเพื่อความแน่นหนาคงทน อาจทำให้ลักษณะเฉพาะอันเป็นเอกลักษณ์ของหนังสือบางชุดเสียหายไป เนื่องจากกรรมวิธีในการปรับปรุง
5
การซ่อมเมื่อหนังสือชำรุดแล้ว
ข้อดี นำออกใช้ได้รวดเร็วกว่า เพราะเตรียมเสร็จก็นำออกใช้ได้ ไม่ต้องเสียเวลาปรับปรุงรูปเล่มก่อน ไม่ทำให้ลักษณะจำเพาะของหนังสือบางชุดเสียไปในระยะที่หนังสือยังไม่ชำรุด
6
ข้อเสีย หนังสือชำรุดเสียหายเร็วเกินสมควร การซ่อมยากขึ้น
เสียเวลาและแรงงานมาก สิ้นเปลืองวัสดุและค่าใช้จ่ายมากกว่า เป็นการไม่ประหยัดในระยะยาว
7
ส่วนต่างๆ ของปก ด้านใน ด้านนอก
8
ส่วนต่างๆ ของหนังสือปกแข็ง
9
หน้าที่ของชิ้นส่วนของปก
แผ่นปกนอก มีหน้าที่ปกป้องหนังสือมิให้ยับหรือช้ำ กระดาษรองสัน มีหน้าที่เสริมสันปกให้คงรูป ไม่ยับย่น และช่วยให้พิมพ์ปกสะดวก ผ้าหุ้มสันปกและกระดาษหุ้มปก ใช้สำหรับประกอบปกให้เต็มรูปสมบูรณ์และสวยงาม กระดาษปิดปกใน มีหน้าที่ยึดหนังสือให้ติดกับปก และช่วยบังความไม่เรียบร้อยทางด้านในของปกนอกด้วย ผ้ายึดสัน มีหน้าที่ยึดหนังสือให้ติดกับปกและเป็นแกนกลางของบานพับปกนอก คิ้ว ช่วยปิดหัวท้ายของสันหนังสือ เพื่อทำให้ดูเรียบร้อยงามตา
10
ลักษณะการชำรุดของหนังสือ
รูปเล่ม สันปกขาด ปกหลุดจากเล่ม สันหลวม สันหลุด
11
เนื้อหนังสือ กระดาษช้ำ กระดาษกรอบ เพราะวัสดุคุณภาพต่ำ
ถูกฉีกและขีดเขียน
12
สาเหตุการชำรุดของหนังสือ
ชำรุดตามสภาพและอายุขัย - วัสดุคุณภาพต่ำ - ความบอบบางของหนังสือ ชำรุดจากการใช้งาน - หนังสือถูกใช้งานมาก - การใช้ไม่ถูกวิธี 3. ชำรุดจากการละเลยการดูแลรักษา
13
หลักการซ่อมแซมปรับปรุงหนังสือ
การซ่อมแซมหนังสือมีหลักสำคัญอยู่ 4 ประการ เรียกว่า หลัก 4 ประ ได้แก่ ประสิทธิภาพ ประหยัด ประณีต ประโยชน์
14
ประสิทธิภาพ - คุณภาพของวัสดุที่ใช้ - วิธีการซ่อม
1.1 ผลงานมีความคงทน - คุณภาพของวัสดุที่ใช้ - วิธีการซ่อม 1.2 มีความรวดเร็วทันความต้องการ - บุคลากรมีคุณภาพ - เครื่องมือ - การวางขั้นตอนปฏิบัติการอย่างมีระบบ
15
2. ประหยัด - เลือกวัสดุที่ได้มาตรฐานและใช้ทน
2.1 การประหยัดวัสดุ - เลือกวัสดุที่ได้มาตรฐานและใช้ทน - รู้จักเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมแก่งาน 2.2 การประหยัดเวลาและแรงงาน - จัดวิธีทำงานให้เป็นระบบ - รู้จักวิธีใช้เครื่องมือ
16
3. ประณีต 3.1 ความเป็นระเบียบ 3.2 ความเรียบร้อย 3.3 ความสะอาด
17
4. ประโยชน์ 4.2 ความสะดวกในการเก็บและใช้
4.1 ความคงทนถาวรของหนังสือ 4.2 ความสะดวกในการเก็บและใช้ 4.3 ช่วยส่งเสริมด้านการควบคุมดูแล
18
การเตรียมการซ่อมหนังสือ
19
ข้อควรคำนึง ประเภทการซ่อม เอกภาพของการซ่อม ความคุ้มค่า
20
ความคุ้มค่า ไม่เปื้อนเปรอะหรือถูกขีดเขียนจนสกปรก น่ารังเกียจ
สภาพกระดาษไม่เหลืองกรอบ หรือช้ำและฉีกขาดจนหมด สภาพ ไม่เปื้อนเปรอะหรือถูกขีดเขียนจนสกปรก น่ารังเกียจ ไม่ถูกตัด ถูกฉีก หรือถูกแมลงกัดกินจนเสียหาย เนื้อหายังไม่พ้นสมัย เป็นหนังสือที่มีคุณค่าและไม่มีหนังสือใหม่ที่จะทดแทนได้
21
วิธีการ ตกแต่งและปรับปรุงสภาพหนังสือ ตรวจสภาพการเย็บเล่ม
การเตรียม ตกแต่งและปรับปรุงสภาพหนังสือ ตรวจสภาพการเย็บเล่ม เตรียมเล่มสำหรับทำปกแข็ง
22
การเตรียม รวบรวมหนังสือที่ชำรุด
คัดเลือกหนังสือที่หมดสภาพหรือหมดคุณค่าที่จะซ่อมออก เพื่อจำหน่ายจากทะเบียน ลงสมุดสถิติซ่อม เขียนสลิปบอกจำนวนของหนังสือแต่ละเรื่องสอดไว้ในเล่ม จำแนกลักษณะการชำรุด
23
การตกแต่งและปรับปรุงสภาพหนังสือ
เลาะปกเดิมออกและตกแต่งรูปเล่มให้เรียบร้อยเกลี้ยงเกลา ตรวจสภาพเนื้อหนังสือและแก้ไข ดังนี้ 2.1 หน้ากระดาษฉีกขาด ซ่อมด้วยกระดาษลอกลายและกาวลาเท็กซ์เหลว จับชายกระดาษที่ตัดได้ขนาดแล้ว รูดไปบนกาวที่ทาไว้บนแผ่นกระจกแล้วปิดตามรอยขาด ระวังอย่าให้ย่นหรือรั้ง อย่าให้กาวเปื้อนไปนอกแนวและต้องรอให้กาวแห้งสนิทก่อนจึงจะปิดหนังสือได้
25
2.2 หนังสือถูกตัดหรือฉีก ให้ดำเนินการตามความเหมาะสมอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ถ่ายเอกสารมาเสริมแทน หรือจำหน่ายจากทะเบียน เป็นต้น 2.3 รอยขีดเขียนให้ลบออก แต่ถ้าสกปรกมากก็ควรจำหน่ายจากทะเบียน
26
3. ตรวจสภาพการเย็บเล่ม ถ้าพบความบกพร่อง เช่น หน้ากระดาษหลุด ด้ายเย็บขาด สันหลวม เป็นต้น ก็ให้เย็บเล่มเสียใหม่ให้เรียบร้อยแน่นหนา 4. เตรียมเล่มสำหรับทำปกแข็ง เช่น ตัดและผนึกกระดาษยึดปก เจียนริม ตัดและผนึกผ้ายึดสัน ติดคิ้ว เป็นต้น
27
5. ทบทวนการจัดหมู่หนังสือที่ให้ไว้เดิม
หากพบว่าผิดพลาดหรือไม่เหมาะสมให้แก้ไข ดังนี้ 5.1 ถอนบัตรรายการของหนังสือนั้นทั้งชุดมาแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง ส่วนห้องสมุดที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารจัดการ ให้แก้ไขที่ฐานข้อมูลทรัพยากรสารนิเทศ 5.2 แก้เลขเรียกหนังสือที่บันทึกไว้ 3 แห่ง ได้แก่ ในหนังสือ 2 แห่ง คือที่กรอบทะเบียนกับที่หน้าเฉพาะ และที่สมุดทะเบียน 1 แห่ง
28
6. ทำปก หมายถึง การทำปกแข็ง
1. ตัดชิ้นส่วนปกแข็ง 2. ประกอบปกแข็ง 3. พิมพ์ปก 4. เข้าปก
29
7. เตรียมหนังสือเพื่อการบริการ
ห้องสมุดที่บริหารจัดการรูปแบบเดิม 1. พิมพ์ซองบัตรและบัตรหนังสือ 2. ผนึกซองบัตรและบัตรวันครบกำหนด 3. ประทับตราห้องสมุดตามตำแหน่งที่ ขาดหายไปเนื่องจากการซ่อม
30
1. ผนึกบาร์โคดประจำเล่ม 2. ผนึกบัตรวันครบกำหนด
ห้องสมุดที่บริหารจัดการด้วยระบบคอมพิวเตอร์ 1. ผนึกบาร์โคดประจำเล่ม 2. ผนึกบัตรวันครบกำหนด 3. ประทับตราห้องสมุดตามตำแหน่งที่ ขาดหายไปเนื่องจากการซ่อม
31
อุปกรณ์การซ่อมหนังสือ
เครื่องมือ วัสดุ
32
เครื่องมือ เครื่องเย็บสัน เครื่องอัด อุปกรณ์ผนึกกาวและทำความสะอาด
เครื่องตัด เครื่องเย็บสัน เครื่องอัด อุปกรณ์ผนึกกาวและทำความสะอาด
33
เครื่องตัด
34
เครื่องมือเย็บสัน
35
เครื่องมือเย็บสัน
36
เครื่องอัด
37
อุปกรณ์ผนึกกาว
38
วัสดุ กระดาษ ผ้า ด้ายเย็บและสิ่งประกอบ กาวลาเท็กซ์ ผ้าเทปหุ้มสัน
39
สวัสดีค่ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.