ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยἨλίας Τρικούπης ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
เซต (SET) ประวัติย่อของวิชาเซต ความหมายของเซต การเขียนแทนเซต
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เซต (SET) ประวัติย่อของวิชาเซต ความหมายของเซต การเขียนแทนเซต เซตที่เท่ากัน ชนิดของเซต เซตจำกัด เซตอนันต์ เซตว่าง สับเซต และ เพาเวอร์เซต เอกภพสัมพัทธ์ แผนภาพเวนน์ - ออยเลอร์ การดำเนินการของเซต ยูเนียน อินเตอร์เซกชัน ผลต่าง คอมพลีเมนต์ การหาจำนวนสมาชิกของเซตจำกัด การแก้ปัญหาเกี่ยวกับเซต รายวิชา ค คณิตศาสตร์พื้นฐาน (Foundation of Mathematics)
2
ประวัติย่อของวิชาเซต
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ประวัติย่อของวิชาเซต ในทางคณิตศาสตร์ จะถือว่า “เซต” เป็น “มูลฐาน” (fundamental) ทั้งนี้เพราะว่าทฤษฎีบทต่าง ๆ ของคณิตศาสตร์ ล้วนมีเซตเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นพื้นฐานแทบทั้งสิ้น เซตเริ่มมีที่มามาจากนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ เกออร์ก คันทอร์ (Georg Cantor) ค.ศ เป็นผู้ริเริ่มใช้คำว่าเซต ต่อจากนั้นนัก คณิตศาสตร์จึงใช้คำนี้อย่างแพร่หลาย รายวิชา ค คณิตศาสตร์พื้นฐาน (Foundation of Mathematics)
3
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ความหมายของเซต “เซต” เป็นคำ “อนิยาม” (undefined term) หมายถึง คำที่ต้องยอมรับ กันในเบื้องต้นว่าไม่สามารถให้ความหมายที่รัดกุมได้ Cantor เคยอธิบายอย่างง่าย ๆ เพื่อความเข้าใจเบื้องต้นว่า “เซต” คือ กลุ่มของสิ่งของหรือจินตนาการ ซึ่งมีสมบัติบางประการคล้ายกัน และสิ่งของ ดังกล่าวนั้นเรียกว่า สมาชิกของเซต รายวิชา ค คณิตศาสตร์พื้นฐาน (Foundation of Mathematics)
4
ในภาษาไทย มีคำที่ใช้เรียกกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ หลายคำ เราเรียกว่า
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ในภาษาไทย มีคำที่ใช้เรียกกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ หลายคำ เราเรียกว่า “สมุหนาม” (คำนามรวมหมู่) เช่น กลุ่ม ชุด ฝูง พวก ในทางคณิตศาสตร์ เราจะใช้คำว่า เซต (SET) เพียงคำเดียวเท่านั้น ดังนั้น คำว่าเซตในทางคณิตศาสตร์ จึงหมายถึง กลุ่มของสิ่งของต่าง ๆ และเมื่อกล่าวถึงกลุ่มใดแล้วจะสามารถทราบได้แน่นอนว่าสิ่งใดอยู่ในกลุ่ม และสิ่งใดอยู่นอกกลุ่ม เราเรียกสิ่งที่อยู่ในเซตว่า สมาชิก (Elements / Members) สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในเซต ต้องเป็นสิ่งที่สามารถระบุได้อย่างแจ่มชัด (Well-Defined) เพื่อที่เราสามารถระบุได้ว่า สิ่งนั้นเป็นสมาชิกในเซตหรือไม่ รายวิชา ค คณิตศาสตร์พื้นฐาน (Foundation of Mathematics)
5
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ตัวอย่างของเซต เซตของวันในหนึ่งสัปดาห์ หมายถึง กลุ่มของวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ วันเสาร์ และวันอาทิตย์ เซตของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก หมายถึง กลุ่มของรูปสี่เหลี่ยมซึ่งประกอบ ด้วย สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า เซตของพยัญชนะไทย เซตของนักเรียนหญิงที่เรียนในโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เซตของจำนวนนับทั้งหมด รายวิชา ค คณิตศาสตร์พื้นฐาน (Foundation of Mathematics)
6
ตัวอย่างของเซต เซตของคนเก่ง ? เซตของคนสวย ?
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ตัวอย่างของเซต เซตของคนเก่ง ? เซตของคนสวย ? เซตของจำนวนที่เป็นตัวประกอบของ 3 เซตของจำนวนคู่ เซตของจำนวนคี่ เซตของเดือนที่มี 30 วัน เซตของจำนวนจริงที่สอดคล้องกับสมการ เซตของอักษรภาษาอังกฤษ ที่ปรากฏในคำ “ MISSISSIPPI ” เซตของจำนวนเฉพาะที่น้อยกว่า 100 และลงท้ายด้วย 3 รายวิชา ค คณิตศาสตร์พื้นฐาน (Foundation of Mathematics)
7
การเขียนแทนเซต ในการเขียนเซต เราสามารถเขียนเซตได้ถึง 3 รูปแบบ คือ
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ การเขียนแทนเซต ในการเขียนเซต เราสามารถเขียนเซตได้ถึง 3 รูปแบบ คือ การเขียนเป็นข้อความ (Statement Form) ตัวอย่าง เซตของนักเรียนห้อง ม.4/2 เซตของจำนวนเฉพาะที่ไม่เกิน 50 เซตของจำนวนเต็มบวกที่คูณกับ 5 แลัวได้ไม่เกิน 8 รายวิชา ค คณิตศาสตร์พื้นฐาน (Foundation of Mathematics)
8
การเขียนแจกแจงสมาชิก (Tabular Form / Roaster Method)
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ การเขียนแจกแจงสมาชิก (Tabular Form / Roaster Method) เป็นการเขียนแจกแจงสมาชิกทุกตัวลงในเครื่องหมายวงเล็บปีกกา ที่มีลักษณะ { } และใช้เครื่องหมายจุลภาค ( , ) คั่นสมาชิกแต่ละตัว ตัวอย่าง เซตของจำนวนนับที่น้อยกว่า 5 เขียนแทนด้วย {1, 2, 3, 4} กำหนดให้ A แทนเซตของพยัญชนะ 3 ตัวแรกในภาษาอังกฤษ A = {a, b, c} อ่านว่า A เป็นเซตที่มี a, b และ c เป็นสมาชิก กำหนดให้ B แทนเซตของจำนวนเต็มบวกทีเป็นคู่ B = {2, 4, 6, 8, …} รายวิชา ค คณิตศาสตร์พื้นฐาน (Foundation of Mathematics)
9
“...” บอกว่า มีจำนวนอื่น ๆ อยู่ในเซตด้วย เช่น
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ “...” บอกว่า มีจำนวนอื่น ๆ อยู่ในเซตด้วย เช่น {มกราคม, กุมภาพันธ์, ..., ธันวาคม} “...” บอกว่า มีเดือนอื่น ๆ อยู่ในเซตนี้ด้วย ข้อพึงระวัง : จะใช้ “ ...” ในกรณีที่ทราบแน่ชัดว่าสมาชิกที่ตามมานั้น คืออะไรเท่านั้น เช่นไม่เขียน รายวิชา ค คณิตศาสตร์พื้นฐาน (Foundation of Mathematics)
10
จงเขียนเซตต่อไปนี้ ในรูปของการแจกแจงสมาชิก
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จงเขียนเซตต่อไปนี้ ในรูปของการแจกแจงสมาชิก 1. เซตของวันใน 1 สัปดาห์ 2. เซตของเดือนที่ลงท้ายด้วย “ยน” 3. เซตของสระในภาษาอังกฤษ 4. เซตของจำนวนเต็มลบที่มากกว่า –20 5. เซตของจำนวนเต็มบวกที่มีค่ามากกว่า 100 6. เซตของจำนวนเต็มบวก 7. เซตของจำนวนเต็มลบ 8. เซตของจำนวนเต็ม 9. เซตของจำนวนจริงที่สอดคล้องกับสมการ 10. เซตของจำนวนเต็มบวกที่สอดคล้องกับสมการ รายวิชา ค คณิตศาสตร์พื้นฐาน (Foundation of Mathematics)
11
การแจกแจงเงื่อนไข (Set Builder Form/ Rule Method)
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ การแจกแจงเงื่อนไข (Set Builder Form/ Rule Method) เป็นการใช้ตัวแปรเขียนแทนสมาชิกแล้วทำการบรรยายสมบัติ ของสมาชิกที่อยู่ในรูปตัวแปร เช่น A = { x | x เป็นพยัญชนะสามตัวแรกในภาษาอังกฤษ} อ่านว่า A เป็นเซตซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิก x โดยที่ x เป็นพยัญชนะ สามตัวแรกในภาษาอังกฤษ เครื่องหมาย “|” แทนคำว่า โดยที่ เราสามารถเขียนรูปแบบการแจกแจงเงื่อนไขให้อยู่ในรูปแจกแจงสมาชิกได้ ทุกเซต แต่ในบางเซตเราไม่สามารถเขียนรูปแบบการแจกแจงสมาชิกให้อยู่ ในรูปเงื่อนไข รายวิชา ค คณิตศาสตร์พื้นฐาน (Foundation of Mathematics)
12
จงเขียนเซตต่อไปนี้ ในรูปของการแจกแจงสมาชิก
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จงเขียนเซตต่อไปนี้ ในรูปของการแจกแจงสมาชิก 1. 2. 3. 4. 5. 6. รายวิชา ค คณิตศาสตร์พื้นฐาน (Foundation of Mathematics)
13
จงเขียนเซตในรูปแบบบอกเงื่อนไข
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จงเขียนเซตในรูปแบบบอกเงื่อนไข 1. A = { ดาวอังคาร, ดาวพุธ, ดาวพฤหัสบดี, ดาวศุกร์, ดาวเสาร์, ดาวยูเรนัส, ดาวเนปจูน, ดาวพลูโต,} 2. B = {1, 2, 3, 4, ..., 10} 3. C = {-10, -9, -8, -7, ..., -1} 4. D = {b, c, d, f, ..., z} 5. E = {1, 3, 5, 7, ..., 99} 6. F = {5, 10, 15} 7. G = {4, 9, 25, 49, 121, 169} 8. H = {-2, -5} 9. I = {...,-2, -1, 0, 1, 2 , ... } 10. J = {1, 4, 9, 16, ..., 100} รายวิชา ค คณิตศาสตร์พื้นฐาน (Foundation of Mathematics)
14
เซตต่าง ๆ ที่ควรทราบ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เซตต่าง ๆ ที่ควรทราบ รายวิชา ค คณิตศาสตร์พื้นฐาน (Foundation of Mathematics)
15
การเป็นสมาชิกของเซต กำหนดให้ A = {1, 2, 3} 1 เป็นสมาชิกของ A
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ การเป็นสมาชิกของเซต กำหนดให้ A = {1, 2, 3} 1 เป็นสมาชิกของ A เขียนแทนได้ว่า 1 A (อ่านว่า 1 เป็นสมาชิกของ A) 4 ไม่เป็นสมาชิกของ A เขียนแทนได้ว่า 4 A (อ่านว่า 4 ไม่เป็นสมาชิกของ A) รายวิชา ค คณิตศาสตร์พื้นฐาน (Foundation of Mathematics)
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.