ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
Chapter 7 Acquisition of Territory and Space Law
Kanya Hirunwattanapong Faculty of Law November 2015 Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
2
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
การได้และเสียดินแดน (acquisition and loss of territory) ดินแดนของรัฐประกอบด้วย พื้นดินทั้งหลาย ใต้ดิน น้ำ แม่น้ำ ทะเลสาบ ทะเลอาณาเขต เกาะ เกาะแก่ง หิน ปะการัง ใต้ทะเลของทะเลอาณาเขต อากาศเหนือพื้นดินและทะเลอาณาเขต การได้ดินแดน (acquisition of territory) ต่างจากปัญหาอาณาเขต (boundary problems) เนื่องจากอาณาเขตกำหนดโดยสนธิสัญญา อาทิ จีนและรัสเซียยุติข้อพิพาทชายแดนที่ครอบคลุมพื้นที่ 2,700 ไมล์ ในปี 2005 การได้ดินแดนมีด้วยกัน 6 ทาง 1. การได้ดินแดนโดยการครอบครอง (acquisition by occupation) เป็นวิธีการได้ดินแดนที่เก่าแก่ที่สุด ดินแดนที่ไม่ครอบครองอาจกลายเป็นส่วนของรัฐโดยการครอบครอง ดินแดนที่ไม่มีการครอบครอง (unoccupied territory) หมายถึง ดินแดนที่ไม่มีอธิปไตย (res nullius) ดินแดนที่ถูกทอดทิ้งจากรัฐอื่น หรือดินแดนที่ไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นรัฐ อาทิ อาบอริจินในประเทศออสเตรเลีย Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
3
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
Island of Palmas Case (US v. Holland) 1928 the Permanent Court of Arbitration สหรัฐอ้างเอา Palmas (เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่าฟิลิปปินส์และ ดัชอีสต์อินดิสต์) โดยอ้างตาม 1898 Treaty of Paris ที่สเปนยกเกาะให้สหรัฐสืบเนื่องจากสงครามสเปนสหรัฐ ในปี 1898 ในสนธิสัญญานี้ได้ระบุว่าพาลมัสเป็นส่วนของฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตามปรากฏว่าเกาะนั้นอยู่ภายใต้การควบคุม ของฮอลแลนด์ ปัญหาคือ อธิปไตยเหนือเกาะพาลมัสเป็นของสเปนในเวลาที่ยกให้สหรัฐหรือไม่ คณะอนุญาโตตุลาการ วินิจฉัยว่าแม้เดิมทีสเปนมีอธิปไตยเหนือเกาะพาลมัส แต่ชาวฮอลแลนด์ได้บริหารจัดการเกาะนี้ตั้งแต่ ศตวรรษที่ 18 จึงเป็นการแทนที่สเปนในฐานะเจ้าของอธิปไตย กล่าวคือ เกาะนี้เป็นของฮอลแลนด์ ซึ่งการแสดงถึงการมี อธิปไตยเหนือดินแดนอย่างต่อเนื่องและโดยสงบก็เสมือนเป็นการแสดงอธิปไตยเหนือดินแดน กล่าวคือเพียงการค้นพบดิน แดนไม่ทำให้ได้สิทธิเหนือดินแดนนั้น จะต้องมีการแสดงออกซึ่งการมีอธิปไตยเหนือดินแดนนั้นด้วยอย่างต่อเนื่องและไม่มี การคัดค้าน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการครอบครองต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การครอบครองดินแดนนั้นสิ่งที่เป็นตัวชี้วัดการครองครองคือ Critical date คือ หลังจากวันนี้แล้วนั้นคู่กรณีไม่อาจเปลี่ยน สถานภาพตน การแสดงอธิปไตยหลังวันดังกล่าวไม่มีความหมายต่อสถานภาพการครอบครอง อาทิ ในกรณี Taba Area Boundary Arbitration (Egypt v. Israel) 1988 critical date เป็นวันที่การมีผลทางกฎหมายของอังกฤษเหนือปา เลสไตน์ ไม่ใช่วันที่มีการทำสนธิสัญญา Israel-Egypt Peace Treaty Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
4
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
2. การได้ดินแดนโดยการได้ที่งอก (acquisition by accretion) ดินแดนอาจได้มาจากการมีที่งอกด้วยเหตุการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ เช่น การเกิดเกาะขึ้นภายในทะเลอาณาเขต หรือการที่ท้องน้ำที่เป็นแนวแบ่งอาณาเขตระหว่างรัฐได้เปลี่ยนไปเป็นเหตุให้ฝั่งแม่น้ำหนึ่งรวมกับอีกฝั่ง อย่างไรก็ดีมีข้อสังเกตว่า ลักษณะเช่นนี้ต่างจาก Avulsion ซึ่งเป็นกรณีที่แม่น้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเดินอย่างฉับพลันรุนแรงซึ่งจะไม่กระทบอธิปไตยของรัฐและให้ใช้แนวแบ่งอาณาเขตเดิม กรณีเกาะช้างเผือกในแม่น้ำเมยที่เป็นที่แบ่งอาณาเขตระหว่างไทยกับพม่าบริเวณจังหวัดตาก เดือนกรกฎา-สิงหา 1994 เกิดเกาะใหญ่เมื่อแม่น้ำเมยเปลี่ยนทางเดินเนื่องจากฝนตกหนัก นายทหารไทยที่เป็นประธาน the Joint Thai-Burmese Local Border Committee และเป็นแม่ทัพภาคสามที่มีหน้าที่ดูแลแนวชายแดน ได้ปักธงไทยและประกาศความเป็นเจ้าของอธิปไตยเหนือเกาะทันที นอกจากนั้นยังถ่ายภาพและวาดแผนที่ไว้ อย่างไรก็ตามได้มีการทักท้วงทหารไทย Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
5
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
3. การได้ดินแดนโดยการโอน (acquisition by cession) การโอนดินแดนโดยรัฐหนึ่งให้อีกรัฐหนึ่งมักทำในรูปสนธิสัญญา ซึ่งอาจเป็นเรื่องของการให้เป็นของขวัญ การซื้อดินแดน อาทิ อาลาสก้า และฮ่องกง 4. การได้ดินแดนโดยถือเอา (acquisition by prescription) การที่รัฐหนึ่งเข้าครอบครองและใช้อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนที่ตนเข้าใจว่าเป็นส่วนของดินแดนของตน ลักษณะนี้คล้ายการได้ดินแดนโดยการครอบครอง แต่ต่างกันตรงที่การได้ดินแดนโดยการครอบครองนั้นต้องเป็นดินแดนที่ไม่มีเจ้าของ การได้ดินแดนโดยการถือเอานี้ต้องปรากฏว่าการแสดงการครอบครองของรัฐไม่ได้รับการประท้วงคัดค้าน ซึ่งการประท้วงนั้นก็ต้องเป็นลักษณะที่มีความจริงจัง อาทิ การตัดความสัมพันธ์ทางการฑูต การตอบโต้เพื่อได้การครอบครองกลับมา เป็นต้น การไม่แสดงการคัดค้านถือได้ว่าเป็นการยอมรับ ซึ่งก็หมายถึงการถูกปิดปากที่ไม่อาจอ้างสิทธิตนได้อีก 5. การได้ดินแดนโดยการรุกราน (acquisition by conquest) โดยทั่วไปแล้วการรุกรานดินแดนหนึ่งมักจะตามมาด้วยการผนวกดินแดนนั้นโดยมีหรือไม่มีสนธิสัญญาก็ได้ Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
6
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
6. การสร้างรัฐใหม่ (acquisition by creation of new states) เมื่อรัฐทั้งหลายตกลงที่จะสร้างรัฐใหม่จากดินแดนบางส่วนของรัฐทั้งหลายนั้น รัฐที่เกิดใหม่ก็เป็นการเกิดตามกฎหมาย อาทิ เบลเยี่ยมในปี 1839 และปาเลสไตน์ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังเป็นกรณีที่ดินแดนอาณานิคมได้รับเอกราชจาก ประเทศแม่และได้รับอธิปไตยตามการได้เอกราช การสร้างรัฐใหม่นี้ต่างจากการได้ดินแดนโดยการโอน (cession) เพราะไม่มีรัฐผู้รับโอน Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
7
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
ชั้นอากาศเพื่อการสื่อสารคมนาคมและอวกาศ (Air Space and Outer Space) ชั้นอากาศเพื่อการสื่อสารคมนาคม (Air Space) รัฐมีอธิปไตยในชั้นอากาศเหนือดินแดนของตน ในบริเวณดังกล่าวจะไม่มีสิทธิในการผ่านโดยสุจริต สืบเนื่องจากศักยภาพอากาศยานรบตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ดังนั้น อากาศยานต่างชาติจึงสามารถบินเหนือน่านฟ้าของทะเลหลวง (High Sea) เท่านั้น หลักการนี้บรรจุใน the Chicago Convention on International Civil Aviation 1944 มาตรา 1 “รัฐทุกรัฐมีอธิปไตยเด็ดขาดเหนือชั้นอากาศเหนือทะเลอาณาเขต (Territorial sea)” มีกรณีหลายกรณีที่รัฐได้ยิงทำลายอากาศยานที่ล่วงล้ำเข้ามาในน่านฟ้าอธิปไตย ทั้งอากาศยานทหารและพาณิชย์ ดังนั้น ได้มีผู้เสนอว่า รัฐต้องไม่โจมตีอากาศยานที่ล่วงล้ำน่านฟ้าถ้าไม่มีเหตุสงสัยว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นอันตรายต่อความมั่นคง กล่าวคือ การเตือนให้ลงจอดหรือการให้ออกไปจากน่านฟ้าจะต้องมีก่อนการที่จะโจมตีอากาศยานนั้น เว้นเสียแต่ว่ามีเหตุอันสงสัยยิ่งว่าเป็นอันตรายต่อรัฐ กรณีอากาศยานพลเรือน (civil aircrafts) หลายฝ่ายมองว่าแนวทางข้างต้นก็ใช้ได้ แต่ก็มีอีกหลายฝ่ายมองว่าอากาศยานพลเรือนต้องไม่ถูกโจมตีในทุกกรณี แต่อาจแจ้งเพื่อให้ออกจากน่านฟ้าหรือให้ลงจอด Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
8
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (the International Civil Aviation Organization – ICAO) ให้ข้อเสนอ แนะแก่ประเทศสมาชิกในปี 1981 ว่าจะไม่ใช้อาวุธในการสกัดอากาศยานพลเรือนในทุกกรณี อวกาศ (Outer Space) The UN General Assembly Resolution 1721 (XVI), adopted on 20 December 1961, it accepted The principle that ‘international law, including the UN Charter, applies to outer space and Celestial bodies’. Later, there was the establishment of the Legal Sub-Committee of the GS on The Peaceful Uses of Outer Space – to prepare draft agreement on liability for damage by Objects launched, and on assistance to and return of astronauts and space vehicles. Treaty on Principles Governing Exploration and Use of Outer Space, including the Moon And other Celestial Bodies 1967 (Agreement on the Rescue of Astronauts and Return of Objects 1968; Convention on International Liability for Damage Caused by Space Object 1974; And more… Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
9
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
เทคโนโลยีทางอวกาศได้พัฒนาตั้งแต่ 1957 ทั้งเพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหารและพลเรือน รวมถึงดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร วิทยุ เป็นต้น การเก็บข้อมูลระยะไกลเพื่อการจัดการทรัพยากรและการเกษตร รวมถึงการติดตามประเด็นสิ่งแวดล้อม 1958 ในทางปฏิบัติได้อิงแนวทางของ the United Nations Committee on the Peaceful Uses of Outer Space (UNCOPUOS) โดยมีหน่วยที่เป็นฝ่ายบริหารคือ the United Nations Office for Outer Space Affairs กิจกรรมในอวกาศใข้เงินและความรู้อย่างมากจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความร่วมมือระดับระหว่างประเทศ นอกจากนั้นการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับอวกาศยังมีควบคู่ไปกับการก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศต่างๆ เพื่อการใช้ชั้นอวกาศ อาทิ ระบบการสื่อสารดาวเทียม ได้แก่ INTELSAT, INMARSAT, EUTELSAT, ARABSAT เป็นต้น Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
10
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
Inspired by the great prospects opening up for mankind – in outer space; for peaceful purposes; broad international co-operation in the scientific; recalling 2 important UNGS Resolutions – Declaration of Legal Principles Governing the Activities of States in the Exploration and Use of Outer Space, adopted in 1963; Resolution No. 1884(XVIII) calling States to refrain from placing in orbit around the Earth any objects carrying nuclear weapons or the like, adopted 1963 Outer Space Treaty 1967 มีหลักการสำคัญดังนี้ (Treaty on Principles Governing Exploration and Use of Outer Space, including the Moon And other Celestial Bodies 1967) อวกาศเป็นที่ที่เปิดให้ทุกรัฐสำรวจและใช้ประโยชน์ และเป็นที่ที่ไม่อาจถูกผนวกรวมเข้ากับรัฐใด การสำรวจและใช้อวกาศต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของรัฐทั้งหลายและสอดคล้องกฎหมายระหว่างประเทศ กิจกรรมในอวกาศต้องไม่กระทบสิ่งแวดล้อมบนโลกและหรือกับดาวอื่นๆ และต้องไม่เป็นการแทรกแซงกิกรรมในอวกาศของรัฐอื่น Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
11
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
กิจกรรมในอวกาศของ non-governmental entities ต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐนั้นก่อน และรัฐที่เกี่ยวข้องมีความรับผิดชอบต่อกิจกรรมทั้งหลายที่อนุญาต รัฐต้องช่วยเหลือนักบินอวกาศเมื่อมีปัญหา ความเป็นเจ้าของวัตถุที่ส่งขึ้นไปในอวกาศไม่เปลี่ยน เมื่อพิจารณาตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุดังกล่าวในอวกาศ หรือเมื่อตกมาสู่โลก และต้องคืนวัตถุไปยังประเทศเจ้าของเดิม ดวงจันทร์และดวงดาวอื่นๆ จะต้องถูกใช้เพื่อสันติภาพเท่านั้น อย่างไรก็ตาม กรณีที่ยานอวกาศโคจรรอบโลก จะต้องไม่มีอาวุธศักยภาพการทำลายล้างสูงอยู่ในรอบวงโคจร คือวงโคจรนี้สามารถใช้เพื่อทำการสำรวจสภาพต่างๆ บนพื้นโลกรวมทั้งทางด้านการทหาร Liability Treaty 1972 มีหลักการสำคัญดังนี้ ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดแก่อวกาศเป็นความรับผิดแบบเด็ดขาด (absolute liability) คือความเสียหายจากวัตถุทีรัฐส่งขึ้นไปต่อผิวโลก หรือต่ออากาศยานที่บินอยู่ กล่าวคือ รัฐต้องจ่ายค่าเสียหายทุกกรณี องค์การระหว่างประเทศที่ดำเนินการเกี่ยวกับอวกาศมีความรับผิดเช่นดียวกับรัฐ ถ้าจำนวนรัฐสมาชกในองค์การฯ ส่วนใหญ่เป็นภาคีของทั้งสองสนธิสัญญา (Outer Space Treaty 1967 and Liability Treaty 1972) ทั้งรัฐสมาชิกและองค์การฯ รับผดชอบร่วมกัน กำหนดตั้ง คณะกกรมการพิขารณาข้อร้องเรียน (the Claims Commission) เมื่อมีการร้องขอจากคู่กรณีในข้อพิพาท Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
12
Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
ปัญหาการกำหนดเขตชั้นอากาศ (Air Space) และชั้นอวกาศ (Outer Space) ก็ยังคงเป็นปัญหา รวมทั้งเรื่อง การให้คำนิยาม วัตถุอวกาศ ปัญหาเขตอำนาจศาล นอกจากนั้นปัญหาใหม่ๆ ก็ตามมาอาทิ การแสวงประโยชน์เชิงพาณิชย์ จากการทำกิจกรรมในอวกาศ การที่เอกชนดำเนินการด้านการสื่อสารดาวเทียม แนวคิดเรื่องมรดกร่วมแห่งมนุษยชาติ (the common heritage of mankind principle) ระบบกฎหมายอวกาศมักเทียบเคียงกับระบบกฎหมายของทะเลหลวง อย่างไรก็ตามได้มีการถกเถียงกันถึงแนวคิดเรื่องการเป็นมรดกร่วมแห่งมนุษยชาติ ในอวกาศครั้งแรกเมื่อ 1962 ในข้อมติสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ 13 ธันวาคม 1963 และในที่สุดได้เข้าไปเป็นส่วนหลักการสำคัญของ Outer Space Treaty 1967 ในหลายๆ มาตราดังที่กล่าวไปข้างต้นแม้ไม่ได้ใช้ถ้อยคำเช่นว่านี้ Kanya Hirunwattanapong, Faculty of Law, CMU, November 2015
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.