ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยPosy Caroline Ray ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
สรุปกรณีศึกษา เรื่อง เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน
สรุปกรณีศึกษา เรื่อง เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน เสนอ อาจารย์ ดร. ปิติมา ดิศกุลเนติวิทย์
2
บริษัท Shakespeare ประกอบกิจการสำนักพิมพ์เป็นบริษัทเอกชนและตีพิมพ์
งบแสดงฐานะการเงินในวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ดังนี้ สินทรัพย์หมุนเวียน 6,500,000 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 28,250,000 รวม สินทรัพย์ 34,750,000 หนี้สินหมุนเวียน 4,500,000 หนี้สินไม่หมุนเวียน 13,750,000 รวม หนี้สิน 18,250,000 รวม ส่วนของผู้ถือหุ้น 16,500,000 สรุปผลการดำเนินงานสำหรับสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 มีรายได้รวม 10.7 ล้านบาทและกำไรสุทธิ 1.2 ล้านบาท บริษัท Shakespeare วางแผนที่อนุมัติให้ออกงบการเงินในวันที่ 20 มีนาคม 2555 โดยวันที่ 18 มีนาคม 2555 ผู้บริหารประเมินข้อมูลเกี่ยวกับรายการคงค้าง 1 รายการ และ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังรอบระยะเวลารายงาน 2 เหตุการณ์ เพื่อตัดสินใจว่า รายการและเหตุการณ์ดังกล่าว ควรจะรับรู้หรือเปิดเผยในงบการเงินสำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 หรือไม่
3
Subsequent events 31 ธันวาคม 2554 20 มีนาคม 2555 18 มีนาคม 2555
Accrual Medical Benefit Payable 2. Events Line of Credit Modification Acquisition
4
ประกันสุขภาพค้างจ่าย
หลายปีที่ผ่านมา บริษัท Shakespeare ได้มีการทำประกันสุขภาพให้แก่พนักงาน โดยบริษัทบันทึกต้นทุนของการประกันสุขภาพในงวดที่เกิดขึ้น รวมถึงประมาณค่าใช้จ่ายที่ดีที่สุดที่จะเกิดขึ้นแต่ยังไม่ได้รายงานในการคำนวณของประกันสุขภาพค้างจ่าย (IBNR) บริษัท Shakespeare ได้ดูมาตรฐานการบัญชี (FASB Accounting Standards Codification) ซึ่งให้คำจำกัดความของคำว่า IBNR คือความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่ได้มีการรายงานให้บริษัทประกันภัยทราบ ในการสำรองค่าสินไหมทดแทนค่าจ้าง จะต้องจัดสรรเงินสำรองสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่ได้มีการรายงานไว้ด้วย
5
ประกันสุขภาพค้างจ่าย
นอกจากนี้บริษัทยังคำนวณหนี้สินโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย การตั้งสมมติฐาน และการสังเกตการณ์จากการเบิกค่าใช้จ่ายที่ผ่านมาในอดีต บริษัทมีการควบคุม ติดตามความเหมาะสมของสมมติฐานอย่างต่อเนื่องและวิธีการที่ใช้ในการประมาณการหนี้สิน (IBNR) ในแต่ละรอบเวลารายงาน มีการเปิดเผยโยบายการบัญชีที่สำคัญเกี่ยวกับวิธีการในประมาณการหนี้สิน ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัทมีประวัติการประมาณการหนี้สิน(IBNR)ที่แม่นยำตรงกับการเคลมที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งการ เคลมจะเกิดขึ้นภายใน 2 เดือนหลังจากที่พนักงานได้เข้ารับการรักษาพยาบาล จากวิธีขั้นต้น บริษัทประมาณการหนี้สิน IBNR ไว้ $1.25 ล้าน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 โดยวันที่ 18 มีนาคม 2555 บริษัทพบว่ามีการเคลมไปแล้ว $0.75 ล้าน ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2554
6
คำถามข้อ 1. ข้อมูลเกี่ยวกับการเบิกจริงที่เกิดขึ้นภายในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งได้รับมาหลังจากวันที่ในงบการเงินควรนำมาพิจารณาในการประมาณการหรือไม่ หากนำมาพิจารณาผลกระทบจากการปรับปรุงประมาณการต้องรับรู้หรือเปิดเผยในงบการเงินอย่างไร ตอบ นำมาพิจารณาปรับปรุงประมาณการประกันสุขภาพค้างจ่าย ซึ่งกิจการได้ประมาณการไว้ 1,250,000 $ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ,000 $ ประมาณการสูงไป ,000 $ ผลกระทบจากการปรับปรุงประมาณการประกันสุขภาพค้างจ่าย 500,000$ ต้องรับรู้ในงบการเงินสำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 เพราะว่าข้อมูลการเคลมให้ หลักฐานที่แสดงว่าค่าใช้ได้เกิดขึ้นจริงก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2554
7
การปรับวงเงินกู้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 บริษัท Shakespeare ได้กู้เงินจากธนาคารจำนวน 8 ล้านบาท (วงเงินกู้สูงสุด 10 ล้านบาท ) ครบกำหนดภายใน 3 ปี นับจากวันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน โดยดอกเบี้ยค้างจ่ายอยู่ภายใต้วงเงินกู้ของอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารในตลาดลอนดอน(LIBOR) (ขั้นต่ำ 3.5%) +7.5% ต่อปี และบริษัทShakespeare ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในอัตรา 2 % ต่อปีในส่วนที่ไม่ได้ตราไว้
8
คำถามข้อ 2. จะรับรู้และเปิดเผยการปรับปรุงวงเงินกู้อย่างไร?
ณ วันที่ 1 มีนาคม 2555 บริษัทได้ขอปรับวงเงินกู้กับทางธนาคารเสร็จสิ้น เพื่อเป็นเงินทุนสำหรับการซื้อกิจการคู่แข่ง เงื่อนไขสำหรับวงเงินกู้ใหม่ เป็นดังนี้ • วงเงินกู้สูงสุดเปลี่ยนจาก 10 ล้านบาท 20 ล้านบาท • วงเงินกู้สามารถต่ออายุเงินกู้ได้จาก 3 ปี 6 ปี นับจากวันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน • อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารในตลาดลอนดอน ลดลงจาก +7.5% +3% • ค่าธรรมเนียมลดลงจาก 2% 0.5% คำถามข้อ 2. จะรับรู้และเปิดเผยการปรับปรุงวงเงินกู้อย่างไร? ตอบ ไม่รับรู้เป็นรายการในงบการเงิน แต่ต้องเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เนื่องจากการปรับปรุงวงเงินกู้เกิดขึ้นในวันที่ 1 มีนาคม 2555 ซึ่งไม่กระทบถึงข้อมูลในงบการเงินปี 2554
9
การควบรวมกิจการ บริษัท Shakespeare ใช้เงินที่กู้มาเพิ่ม 10 ล้านบาทในวันที่ 10 มีนาคม 2555 เพื่อซื้อบริษัท Hamlet ซึ่งเป็นบริษัทคู่แข่ง จากการประเมินค่าขั้นต้นด้วยหลักความระมัดระวัง(ประเมินก่อนวันสิ้นงวด ปี 2554) บริษัทได้ปันส่วนค่าใช้จ่าย 10 ล้านบาทโดยแบ่งเป็น สินทรัพย์หมุนเวียน 2 ล้านบาท และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 8 ล้านบาทโดยที่สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนแบ่งเป็น สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่มีตัวตน 5 ล้านบาท สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ไม่มีตัวตน 2 ล้านบาท และค่าความนิยมอีก 1 ล้านบาท บริษัท Hamlet มีรายได้ 3.2 ล้านบาทและกำไรก่อนหักภาษี ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) 1.1 ล้านบาท ซึ่งการปันส่วนนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์และคาดว่าจะเกิดขึ้นภายหลังวันอนุมัติงบการเงิน
10
การควบรวมกิจการ วันที่ 18 มีนาคม 2555 บริษัท Shakespeare ได้ข้อมูลที่ระบุถึงการประเมินค่าใช้จ่ายที่จะเกิดจากการควบรวมกิจการ สินทรัพย์หมุนเวียน 2 ล้านบาท สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 8 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย 10 ล้านบาท สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่มีตัวตน 5 ล้านบาท สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ไม่มีตัวตน 2 ล้านบาท ค่าความนิยมอีก 1 ล้านบาท คำถามข้อ 3. บริษัทจะรับรู้ และเปิดเผยรายการเกี่ยวกับการควบรวมกิจการอย่างไร? ตอบ ไม่รับรู้เป็นรายการในงบการเงิน แต่ต้องมีการเปิดเผย ว่ามีการควบรวมกิจการ ตามที่มาตรฐานการบัญชีฉบับที่10 กล่าวว่า การรวมธุรกิจที่สำคัญภายหลังรอบระยะเวลารายงาน (มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 (ปรับปรุง 2557) เรื่อง การรวมธุรกิจ (เมื่อมีการประกาศใช้) กำหนดให้กิจการต้อง เปิดเผยข้อมูลเป็นการเฉพาะในกรณีดังกล่าว) หรือการจำหน่ายบริษัทย่อยที่สำคัญ
11
คำถามข้อ 4. บริษัทควรจะเปิดเผยข้อมูลอย่างไร เกี่ยวกับวันที่ สำหรับเหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน?
ตอบ ถ้าบริษัทไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ อ้างอิงจาก ASC ให้ประเมินจนถึงวันที่ที่พบข้อมูลเหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน ในที่นี้ คือวันที่ 18 มีนาคม 2555 31 ธันวาคม 2554 18 มีนาคม 2555 20 มีนาคม 2555 ถ้าบริษัทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ อ้างอิงจาก ASC A ให้ประเมินจนถึงวันที่ได้รับอนุมัติให้เผยแพร่งบการเงิน ในที่นี้คือ วันที่ 20 มีนาคม 2555 18 มีนาคม 2555 20 มีนาคม 2555 31 ธันวาคม 2554
12
คำถามข้อ 5. ถ้าบริษัทวางแผนจะนำ IFRS มาใช้ในปีที่จะมาถึง บริษัทจะปฏิบัติตามมาตรฐานฉบับไหนเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ในงบการเงินแต่ก่อนวันที่ได้รับการอนุมัติให้ออกงบการเงิน? แล้วมาตรฐานฉบับนั้นกล่าวถึงแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการรับรู้ การวัดมูลค่า และการเปิดเผยอย่างไร? ตอบ IAS 10 (เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน) กล่าวว่า “เหตุการณ์หลังวันที่ในงบการเงินจะถูกประเมินค่าตั้งแต่วันสิ้นรอบเวลารายงาน จนถึงวันที่งบการเงินถูกอนุมัติเพื่อเผยแพร่ ดังนั้น หากบริษัท จะใช้ IFRS ในเหตุการณ์หลังวันที่ในงบการเงิน ควรจะมีการประเมินค่าตั้งแต่วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน(31ธันวาคม2554) จนถึงวันที่มีการอนุมัติงบการเงิน คือวันที่ 20 มีนาคม 2555” กิจการควรปรับปรุงงบการเงิน ถ้าเหตุการณ์หลังวันที่ในงบการเงินเกิดขึ้น และมีหลักฐานว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชี กิจการไม่ต้องปรับปรุงแต่ต้องเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ถ้าหากเหตุการณ์หลังวันที่ในงบการเงินเป็นเหตุการณ์ไม่ได้เกิดขึ้นรอบระยะเวลาบัญชี ไม่ต้องปรับปรุงแต่ต้องเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
13
รายชื่อสมาชิก นางสาวมินตรา พิมพ์โพธิ์ นางสาวรติมา นวเลิศเมธี นางสาวรักษิณา บุญสูง นางสาวลลิตา สมสมัย นางสาวลิปิการ์ เศรณียานนท์ นายสมัชญ์ ปัญจรงคะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.