ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยVictor Langeland ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
เกณฑ์การประเมินบุคคล เพื่อเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น สำหรับตำแหน่งประเภทวิชาการ
2
สำนักงาน ก.พ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินบุคคลและผลงาน เพื่อ เลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับสูง ขึ้น สำหรับตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับ ชำนาญการและชำนาญการพิเศษ ตาม หนังสือ ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๖/ว ๑๐ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๘ โดยที่ ก.พ. กำหนดให้ อ.ก.พ. กรม มีอำนาจหน้าที่แต่งตั้ง คณะกรรมการประเมินผลงาน รวมทั้ง พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ พิจารณาประเมินผลงานตามแนวทางที่ ก.พ. กำหนด และสามารถเพิ่มเติมจาก หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดได้ตาม เหมาะสมของส่วนราชการ
3
อ.ก.พ.กรมปศุสัตว์ จึงได้กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน ผลงาน เพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งสูงขึ้นประเภทวิชาการ ระดับ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ และการ ขอรับเงินประจำตำแหน่งตามประกาศ อ. ก.พ.กรมปศุสัตว์ ลงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ โดยปรับปรุงจากหลักเกณฑ์และ วิธีการประเมิน ผลงานตามประกาศ อ.ก.พ. กรมปศุสัตว์ ลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ได้กำหนดรายละเอียดของหลักเกณฑ์และ วิธีการประเมินผลงาน ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่ ก.พ. กำหนด
4
วัตถุประสงค์ของการปรับปรุงประกาศ อ.ก.พ. กรมปศุสัตว์
วัตถุประสงค์ของการปรับปรุงประกาศ อ.ก.พ. กรมปศุสัตว์ ๑. เพื่อให้การประเมินผลงานเป็นไปอย่างมี ระบบ มีความโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน ๒. เพื่อเป็นแนวทางให้แก่ผู้ขอรับการประเมิน จัดทำผลงานได้อย่างถูกต้อง และคุณภาพของ ผลงานมีความเหมาะสมกับระดับตำแหน่งที่ขอรับ การประเมิน ๓. เพื่อให้การพิจารณาผลงานของ คณะกรรมการประเมินผลงาน ของกรมปศุสัตว์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ๔. เพื่อให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลได้ ผู้มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน และมี ความเหมาะสมกับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งมาก ยิ่งขึ้น
5
ระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่งในสายงาน
ต้องมีระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่ง หรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงาน ที่จะแต่งตั้งตามคุณวุฒิของบุคคลและระดับตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง ดังนี้ คุณวุฒิ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ ปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ๖ ปี ๘ ปี ปริญญาโท หรือเทียบเท่า ๔ ปี ปริญญาเอก หรือเทียบเท่า ๒ ปี
6
มาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง อ้างอิงจากคุณสมบัติและประสบการณ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน กำหนดตำแหน่งของสำนักงาน ก.พ. เชี่ยวชาญ ชำนาญการพิเศษ ชำนาญการ ปฏิบัติการ ๓ ปี ๔ ปี ๒-๖ ปี ตามวุฒิการศึกษา
7
หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคล ที่จะเข้ารับการประเมินผลงาน
การคัดเลือกบุคคลเข้ารับการประเมินผล งาน ดำเนินการตามหนังสือ ก.พ. ที่ ๑๐๐๖/ว ๑๐ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๘ ประกาศ อ.ก.พ. กรมปศุสัตว์ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกบุคคลเข้ารับ การประเมินผลงาน เพื่อแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่ง ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และชำนาญการพิเศษ ประกาศเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ เห็นชอบให้ปรับปรุง องค์ประกอบ ของคณะกรรมการคัดเลือกฯ
8
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคัดเลือกฯ
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการ พิจารณาคัดเลือกบุคคล เพื่อเลื่อนตำแหน่ง ประเภทวิชาการระดับชำนาญการและชำนาญ การพิเศษ พิจารณาคุณสมบัติของบุคคลในเรื่องระยะเวลา ขั้นต่ำ ในการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรง ตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้ง หรือสายงานอื่น ที่เกี่ยวข้อง หรือเกื้อกูลกับสายงานที่จะแต่งตั้ง ตามหลักเกณฑ์วิธีการ ที่ ก.พ. กำหนด แทน อ.ก.พ. กรมปศุสัตว์ ในกรณีที่มีปัญหาไม่อาจ วินิจฉัยให้นำเสนอ อ.ก.พ. กรมปศุสัตว์ พิจารณา เป็นรายๆ ไป พิจารณาคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ารับการ ประเมินผลงาน เพื่อการรับเงินประจำตำแหน่ง และเลื่อนตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญ การและชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งละ ๑ คน
9
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคัดเลือกฯ (ต่อ)
รายงานผลงานพิจารณาคัดเลือกตามข้อ ๒ พร้อมทั้ง เหตุผลในการพิจารณาต่อ ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ ตามมาตรา ๕๗ เพื่อพิจารณาให้ ความเห็นชอบ หากมีปัญหาให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๗ เป็นผู้ชี้ขาด ให้คณะกรรมการคัดเลือกบุคคล ประกาศรายชื่อผู้ ได้รับการคัดเลือก (ตำแหน่งละ ๑ คน) รวมทั้งชื่อ ผลงานที่ส่งประเมิน เค้าโครงเรื่อง สัดส่วนผลงานใน ส่วนที่ตนเองปฏิบัติ รายชื่อผู้ร่วมจัดทำผลงาน (ถ้ามี) โดยประกาศอย่างเปิดเผย ในเว็บไซต์ของกรมปศุ สัตว์ เพื่อเปิดโอกาสให้ทักท้วงภายใน ๓๐ วัน นับแต่ วันประกาศ ตรวจสอบข้อมูลกรณีมีผู้ทักท้วง โดยให้ตรวจสอบ ข้อมูลเบื้องต้นโดยเร็ว หากพบว่าข้อทักท้วงมีมูล ให้รายงานผู้มีอำนาจสั่ง บรรจุตามมาตรา ๕๗ เพื่อดำเนินการ ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๐๗๐๗.๓/ว๕ ลงวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๔๒ ต่อไป แต่ ถ้าตรวจสอบแล้วมีหลักฐานว่าข้อทักท้วงนั้น เป็น การกลั่นแกล้งหรือไม่สุจริต ให้รายงานผู้มีอำนาจสั่ง บรรจุตามมาตรา ๕๗ ดำเนินการสอบสวนผู้ทักท้วง เพื่อหาข้อเท็จจริง แล้วดำเนินการตามที่เห็นสมควร
10
การส่งเอกสารเข้ารับการคัดเลือก (เอกสารหมายเลข ๑-๔)
อ.ก.พ. กรมปศุสัตว์ ได้กำหนดให้ผู้ขอรับการ คัดเลือก จัดส่งเอกสารหมายเลข ๑-๔ ตาม รายละเอียดดังนี้ ระดับที่ขอเข้ารับการคัดเลือก ปก และ สันปก ชำนาญการ สีชมพู ชำนาญการพิเศษ สีฟ้า ตำแหน่งว่างทุกระดับ สีเหลือง รับเงินประจำตำแหน่งทุกสายงาน สีเขียว พร้อมทั้งส่งไฟล์ข้อมูลทั้งหมด ที่ address : ภายในระยะเวลาที่กำหนด
11
การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลงาน
อ.ก.พ.กรมปศุสัตว์ ได้กำหนดรายละเอียด หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลงาน ดังนี้ ๑. วิธีการเสนอผลงานเพื่อขอรับการ ประเมิน ๒. หลักเกณฑ์ของผลงานที่ส่งประเมิน ๓. เงื่อนไขผลงานวิชาการที่ส่งประเมิน ๔. ลักษณะของผลงาน ๕. เกณฑ์การพิจารณาผลงาน ๖. การประเมินผลงานเพื่อย้าย โอน หรือบรรจุกลับ
12
วิธีการเสนอผลงานเพื่อขอรับการประเมิน
การจัดทำเอกสารผลงาน แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน แบบประเมินคุณสมบัติของบุคคล (เอกสารหมายเลข ๑-๔) เอกสารวิชาการ
13
หลักเกณฑ์ของผลงานที่ส่งประเมิน
ผลงานที่เป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นผลสำเร็จของงานที่เกิดจากการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้นั้น ข้อเสนอแนวคิด วิธีการ เพื่อการพัฒนางานหรือปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลงานที่ส่งประเมินจะต้องอยู่ในเงื่อนไข และลักษณะของผลงานของแต่ละตำแหน่ง ในแต่ละระดับและแต่ละสายงาน ให้มีการเผยแพร่ผลงานต่อสาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาหรือใช้อ้างอิงและป้องกันการลอกเลียนผลงาน เช่น นำลงในวารสาร หรือ web-site หน่วยงาน เป็นต้น
14
เงื่อนไขผลงานวิชาการที่ส่งประเมิน
เป็นผลงานที่จัดทำขึ้นในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าระดับที่ ขอประเมิน ไม่เกิน ๑ ระดับ และไม่เกิน ๕ ปี นับจากวันที่สิ้นสุดการดำเนินการ ไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา เพื่อขอรับปริญญาหรือประกาศนียบัตร หรือเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรม กรณีผลงานร่วมกันของบุคคลหลายคน ผู้เสนอผลงานประเมินได้มีส่วนร่วมในการจัดทำในส่วนใด มีสัดส่วนเท่าใด และรับรองจากผู้มีส่วนร่วมในผลงานนั้นรวมถึงผู้บังคับบัญชา ผลงานที่นำมาใช้ประเมิน เพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นแล้ว จะนำมาเสนอให้ประเมินเพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งในระดับที่สูงขึ้นอีกไม่ได้
15
เงื่อนไขผลงานวิชาการที่ส่งประเมิน (ต่อ)
จำนวนผลงานที่จะส่งเข้ารับการประเมินอย่างน้อย ๑ เรื่อง แต่ไม่เกิน ๓ เรื่อง และต้องมีผลการปฏิบัติงานรวมกันไม่น้อยกว่า ๑๐๐% ผลงานที่นำมาขอประเมินจะต้องเป็นผลงานเรื่องเดียวกันกับเรื่องที่นำเสนอในขั้นตอนการคัดเลือกบุคคล ให้ผู้ขอรับการประเมินดำเนินการแจ้งเวียนมาตรการในการป้องกันและลงโทษผู้แจ้งข้อมูลเท็จเกี่ยวกับคุณสมบัติและผลงานของบุคคลในการขอรับการประเมินบุคคล โดยมีกำหนดระยะเวลาการแจ้งเวียนผลงานไม่น้อยกว่า ๑๕ วันทำการ เงื่อนไขอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการประเมินผลงานสายงานต่างๆ เห็นสมควร
16
ชำนาญการ (รับเงินประจำตำแหน่ง)
ลักษณะของผลงาน ชำนาญการ ชำนาญการ (รับเงินประจำตำแหน่ง) ชำนาญการพิเศษ • ขอบเขตของผลงาน ผลการปฏิบัติงานและหรือผลสำเร็จของงานที่เกิดจากงานในหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่ง และแนวคิดพัฒนางานในตำแหน่งที่จะได้รับการแต่งตั้ง • คุณภาพของผลงาน เชื่อถือได้ • ความยุ่งยากซับซ้อนของผลงาน ใช้หลักวิชาการทางปฏิบัติที่มีความ “ยุ่งยากมาก” ตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่ปฏิบัติด้วยตนเองได้ • ขอบเขตของผลงาน ผลการปฏิบัติงานและหรือผลสำเร็จของงานที่เกิดจากงานในหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่ง และแนวคิดพัฒนางานในตำแหน่งที่จะได้รับการแต่งตั้ง • คุณภาพของผลงาน ดี • ความยุ่งยากซับซ้อนของผลงาน ใช้หลักวิชาการทางปฏิบัติที่มีความ “ยุ่งยากเป็นพิเศษ” ตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่ปฏิบัติ • ขอบเขตของผลงาน ผลการปฏิบัติงานและหรือผลสำเร็จของงานที่เกิดจากงานในหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่ง และแนวคิดพัฒนางานในตำแหน่งที่จะได้รับการแต่งตั้ง ดีมาก ใช้หลักวิชาการทางปฏิบัติที่มีความ “ยุ่งยากมากเป็นพิเศษ” ตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่ปฏิบัติเป็นประจำ
17
ชำนาญการ (รับเงินประจำตำแหน่ง)
ลักษณะของผลงาน (ต่อ) ชำนาญการ ชำนาญการ (รับเงินประจำตำแหน่ง) ชำนาญการพิเศษ • ประโยชน์ของผลงาน เป็นประโยชน์ต่อราชการ ประชาชน สามารถช่วยเสริมยุทธศาสตร์ ของหน่วยงานได้เป็นอย่างดี • ความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ มีความรู้ ชำนาญงาน ประสบการณ์ที่สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง เป็นที่ยอมรับในงานนั้น ๆ • ประโยชน์ของผลงาน เป็นประโยชน์ต่อราชการ ประชาชน ประเทศชาติ การพัฒนาการปฏิบัติงาน ในระดับสูง มีความรู้ ชำนาญงาน ประสบการณ์ สูงมาก เป็นที่ยอมรับในระดับกอง/สำนัก หรือวงการวิชาชีพด้านนั้น ๆ เป็นประโยชน์ต่อราชการ ประชาชน ประเทศชาติ การพัฒนาการปฏิบัติงานในระดับที่สูงมาก มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ สูงมากเป็นพิเศษ เป็นที่ยอมรับในระดับ กอง/สำนัก /กรม หรือวงการวิชาชีพ นั้น ๆ
18
เกณฑ์การพิจารณาผลงาน
องค์ประกอบการประเมินผลงานและการกำหนดคะแนน รวม ๑๐๐ คะแนน คุณภาพผลงาน (๖๐ คะแนน) แนวความคิด (๒๐ คะแนน) วิธีดำเนินการ (๒๐ คะแนน) ความยุ่งยากซับซ้อน(๒๐ คะแนน) ประสบการณ์ ในการปฏิบัติงาน (๒๐ คะแนน) ประโยชน์ผลงานนำไปใช้ (๒๐ คะแนน)
19
แก้ไขผลงานเป็นการแก้ไขในสาระสำคัญ
เกณฑ์การพิจารณาผลงาน (ต่อ) แก้ไขผลงานเป็นการแก้ไขในสาระสำคัญ ผลงานวิชาการที่ส่งมาประเมิน มีเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ผ่านการประเมิน และเรื่องที่ผ่านการประเมิน มีสัดส่วนการปฏิบัติงานรวมกันแล้ว ไม่ถึง ๑๐๐ % ผลงานที่ไม่ผ่านการประเมิน เนื่องจาก
20
เกณฑ์การพิจารณาผลงาน (ต่อ)
การแก้ไขในสาระสำคัญ เช่น วิธีการศึกษาผิดไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ แนวคิด วิธีดำเนินการ ยังไม่ถูกต้อง เป็นเพียงสรุปรายงานผลการปฏิบัติงาน ไม่มีการวิเคราะห์ถึงสาเหตุของผลที่เกิดขึ้นและแนวทางแก้ไข ผลการศึกษาไม่สอดคล้องกับเนื้อเรื่องฯลฯ
21
คณะกรรมการประเมินบุคคลและผลงาน
กรมปศุสัตว์ มีคำสั่ง ที่ ๗๙/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เรื่อง แต่งตั้ง คณะกรรมการประเมินบุคคลและผลงานเพื่อ พิจารณาการรับเงินประจำตำแหน่ง สำหรับ ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ (ตำแหน่งนายสัตวแพทย์) จำนวน ๒ คณะ ได้แก่ คณะกรรมการประเมินบุคคลและผลงาน ด้านสุขภาพสัตว์ (วิจัย) คณะกรรมการประเมินบุคคลและผลงาน ด้านสุขภาพสัตว์ (บริการ)
22
คณะกรรมการประเมินบุคคลและผลงาน (ต่อ)
กรมปศุสัตว์ มีคำสั่ง ที่ ๘๐/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เรื่อง แต่งตั้ง คณะกรรมการประเมินบุคคลและผลงานเพื่อ เลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับสูง ขึ้น สำหรับตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับ ชำนาญการ และชำนาญการพิเศษ จำนวน ๑๔ คณะ จำแนกตามสายงานของกรมปศุ สัตว์
23
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
ดำรงตำแหน่งคราวละ ๒ ปี กรณีคณะกรรมการครบวาระการดำรงตำแหน่ง แต่ยังไม่มีคณะกรรมการชุดใหม่เข้ามาปฏิบัติ หน้าที่ ให้คณะกรรมการที่ครบวาระยังคงปฏิบัติ หน้าที่ต่อไป กับให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด ไว้ จนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ เข้ามาปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้การดำเนินการ ประเมินผลงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมี ประสิทธิภาพ พิจารณาประเมินคุณภาพของผลงานว่ามีความ เหมาะสมกับระดับตำแหน่งที่ขอรับการประเมิน การวินิจฉัยกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของ ผลงาน ผลการพิจารณาของคณะกรรมการ ประเมินผลงานถือเป็นที่สุด
24
การประเมินผลงานเพื่อ ย้าย โอน หรือบรรจุกลับ
๑. กรณีบุคคลนั้นดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในระดับเดียวกัน กับตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง และอยู่ในกลุ่มตำแหน่งเดียวกันตามที่กรมปศุสัตว์ได้จัดกลุ่มตำแหน่งไว้โดยความเห็นชอบของ ก.พ. เมื่อผ่านการพิจารณาคัดเลือกจากคณะกรรมการคัดเลือกบุคคลแล้ว ไม่ต้องส่งผลงานเข้ารับการประเมิน ๒. นอกนั้นให้ดำเนินการจัดทำและส่งผลงานตามหลักเกณฑ์ที่ อ.ก.พ.กรมปศุสัตว์หรือคณะกรรมการประเมินผลงานกำหนด เช่น กรณีบุคคลนั้นดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในระดับเดียวกันกับตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง แต่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มตำแหน่งเดียวกันหรือเป็นข้าราชการตามกฎหมายอื่น
25
รายละเอียดการประเมินบุคคลและผลงาน
สามารถดูรายละเอียดต่างๆ ได้ทางเว็บไซต์กองการเจ้าหน้าที่ หัวข้อ การบริหารทรัพยากรบุคคล > การประเมินบุคคลและผลงาน URL :
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.