งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การปฏิบัติงานโครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕61

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การปฏิบัติงานโครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕61"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การปฏิบัติงานโครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕61
สำนักงานเกษตรจังหวัด นครศรีธรรมราช กรมส่งเสริมการเกษตร

2 เอกสารที่ได้รับวันนี้
แผนปฎิบัติการ(Action plan) อำเภอละ ๑ เล่ม (เกษตรอำเภอ) คู่มือโครงการส่งเสริมการเกษตรอำเภอละ ๑ เล่ม (เกษตรอำเภอ) ทิศทางการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร คนละ ๑ เล่ม แผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเกษตร ระยะ ๒๐ ปี อำเภอละ ๑ เล่ม(เกษตรอำเภอ) แบบสำรวจความต้องการด้านการพัฒนาบุคลากร คนละ ๑ ฉบับ (ตอบแล้วส่งคืน) ตัวอย่างแบบรายงานแผนการการจัดซ้อจัดจ้าง คนละ ๑ ฉบับ

3 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โครงการตามเป้าหมายตัวชี้วัด
 งบประมาณที่ได้รับจัดสรรทั้งสิ้น 15,487,160 บาท (ตามแบบ คง. 2)  จำนวน 6 แผนงาน 1 ผลผลิต / 12 โครงการ 16 กิจกรรม

4 6 แผนงาน ประกอบด้วย แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศ แผนงานยุทธศาสตร์ส่งเสริมการดำเนินงานตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แผนงานยุทธศาสตร์บูรณาการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม แผนงานบูรณาการการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล แผนงานบูรณาการสร้างรายได้จากท่องเที่ยวและบริการ แผนงานบูรณาการพัฒนาศักยภาพการผลิตภาคเกษตร

5 1๒ โครงการ ประกอบด้วย ผลผลิต คือ
ผลผลิต คือ - ผลผลิตเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ 1๒ โครงการ ประกอบด้วย โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันสินค้าเกษตรแปรรูป โครงการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร โครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยววิถีเกษตร โครงการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตร โครงการตลาดเกษตร โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่

6 1๒ โครงการ (ต่อ) 7. โครงการตลาดเกษตร
8. โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ 9. โครงการส่งเสริมเกษตรกรรมทางเลือก 10. โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 11. โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) 12. โครงการเกษตรอินทรีย์

7 16 กิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมการพัฒนาเกษตรกร กิจกรรมพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตร กิจกรรมส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรมพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันสินค้าเกษตรแปรรูป กิจกรรมปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยววิถีเกษตร

8 ๑๖ กิจกรรม ประกอบด้วย (ต่อ)
7. กิจกรรมพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน 8. กิจกรรมส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน 9. กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า (ไม้ผล) 10. กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการมะพร้าว 11. กิจกรรมตลาดเกษตรกร

9 ๑๖ กิจกรรม ประกอบด้วย (ต่อ)
12. กิจกรรมระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ 13. กิจกรรมส่งเสริมเกษตรกรรมทางเลือก 14. กิจกรรมศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 15. กิจกรรมพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) 16. กิจกรรมเกษตรอินทรีย์

10 ขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ
จังหวัดจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action plan) ให้อำเภอ อำเภอจัดทำ แผนปฏิบัติการ (Action plan) ของอำเภอ อำเภอจัดทำแผนจัดซื้อจัดจ้างของแต่ละโครงการ/กิจกรรม

11 ตัวอย่างแผนการจัดซื้อจัดจ้าง

12 การจัดส่งแผนการจัดซื้อจัดจ้าง
จัดส่งโดยเร็วที่สุด หรืออย่างน้อย ๑๕ วัน ก่อนขออนุมัติดำเนินโครงการ

13 การจัดสรรโครงการและงบประมาณ ประจำปี พ.ศ.๒๕61
จัดสรรงบ ๒ งวด งวดที่ ๑ (ต.ค. 61) ** โครงการที่เกี่ยวกับการฝึกอบรม/ประชุม/สัมมนา ต้องเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ ๑ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของงบประมาณที่ได้รับ(ด้านการฝึกอบรม ประชุม สัมมนา - งวดที่ ๒ (เม.ย. 61)

14 โครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ งวดที่ 1 และ 2
1. กิจกรรมการพัฒนาเกษตรกร - อาสาสมัคร 1.1 กิจกรรมย่อย ประชุมคณะกรรมการบริหารงาน อกม. จังหวัด 1.2 กิจกรรมย่อย ประชุมคณะกรรมการ อกม. จังหวัด 1.3 กิจกรรมมย่อย จัดทำเวทีถ่ายทอดความรู้การจัดทำแผนการผลิตรายบุคคล (IFPP) - ขับเคลื่อนการดำเนิงานส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน 1.4 กิจกรรมย่อย ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัด 2. กิจกรรมพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตร 2.1 กิจกรรมย่อย พัฒนาศักยภาพการผลิตที่มีความหลากหลาย เพื่อเป็นต้นแบบตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

15 โครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ งวดที่ 1 และ 2 (ต่อ)
3. โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 3.1 กิจกรรมย่อย อบรมเกษตรกรด้านการเกษตรตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร : โรงเรียนเกษตรกรข้าว 3.2 กิจกรรมย่อย ส่งเสริมการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน : สนับสนุนการปฏิบัติงานของจังหวัดและอำเภอ 4. โครงการปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกร 4.1 กิจกรรมย่อย ตรวจสอบพื้นที่เพาะปลูก : ตรวจสอบพื้นที่เพาะปลูก วาดแปลง 5. โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 5.1 กิจกรรมย่อย สนับสนุนการให้บริการวิชาการและข้อมูลข่าวสารแก่ ศพก. 5.2 กิจกรรมย่อย จัดกระบวนการเรียนรู้ให้เกษตรกรผู้นำ

16 โครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ งวดที่ 1 และ 2 (ต่อ)
6. โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) 6.1 กิจกรรมย่อย อบรมหลักสูตรพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น Young Smart Farmer 7. โครงการเกษตรอินทรีย์ 7.1 กิจกรรมย่อย ติดตามและประเมินแปลงเบื้องต้น

17 ข้อระมัดระวังในการเบิกจ่ายงบประมาณ
1. กรณีเงินจัดสรรมา 2 งวด ใน Action plan จังหวัดจะรวมยอดเงินจัดสรรทั้งสองงวด ให้ดูรายละเอียดงวดที่สามารถเบิกได้ ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรมการพัฒนาเกษตรกร กิจกรรมย่อย จัดทำเวทีถ่ายทอดความรู้การจัดทำแผนการผลิตรายบุคคล (IFPP) จัดสรรอำเภอละ 7,200 บาท งวดที่ 1 ได้รับจัดสรรงบประมาณ อำเภอละ 3,600 บาท กำหนดให้จัด ฝึกอบรมและเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค. 60 งวดที่ 2 ได้รับจัดสรรงบประมาณ อำเภอละ 3,600 บาท กำหนดให้จัด ฝึกอบรมและเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายในเดือน มิ.ย. 61

18 ข้อระมัดระวังในการเบิกจ่ายงบประมาณ
2. กรณีเงินจัดสรรมา 2 งวด ใน Action plan จังหวัดจะรวมยอดเงินจัดสรรทั้งสองงวด ให้ดูรายละเอียดงวดที่สามารถเบิกได้ ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรมสนับสนุนให้บริการของศพก. กิจกรรมย่อย สนับสนุนการให้บริการวิชาการและข้อมูลข่าวสารแก่ศพก. จัดสรรรวม 2งวดอำเภอละ 3,800 บาท งวดที่ 1 ได้รับจัดสรรงบประมาณ อำเภอละ 1,900 บาท งวดที่ 2 ได้รับจัดสรรงบประมาณ อำเภอละ 1,900 บาท การจัดซื้อหรือจัดจ้างจะต้องดำเนินการ เป็น ๒ งวด คือ งวดละ1,900 บาท

19 ข้อระมัดระวังในการเบิกจ่ายงบประมาณ (ต่อ)
๓. กรณีเงินจัดสรรมา 2 งวด และมีการจัดฝึกอบรมหลายครั้ง ให้เบิกเงินตาม รายละเอียดใน Action plan ยกตัวอย่างเช่น การผลิตสินค้าเกษตร กิจกรรมย่อย จัดกระบวนการเรียนรู้ให้เโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพกษตรกรผู้นำ จัดสรรรวม โดยระบุใน Action plan อำเภอละ 16,200 บาท แต่การจัดสรรงบประมาณจากกรม งวดที่ 1 อำเภอละ 8,100 บาท งวดที่ 2 อำเภอละ 8,100 บาท มีการจัดฝึกอบรม 3 ครั้ง จึงเบิกเงินได้ครั้งละ 5,400 บาท โดยครั้งที่ 1 จัดฝึกอบรมและเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค. 60 เงินงวดที่ 1 จะเหลือ 2,700 บาท(8,100-5,400) นำเงินที่เหลือจากงวดที่1 ไปรวมกับเงินจัดสรรงวดที่ 2 ไปใช้จัดฝึกอบรมครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ส.ค.61

20 โครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ งวดที่ 2
1. กิจกรรมการพัฒนาเกษตรกร - ขับเคลื่อนการดำเนิงานส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน 1.1 กิจกรรมย่อย จัดทำชุดองค์ความรู้เพื่อขยายผลวิสาหกิจชุมชน 2. กิจกรรมพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตร 2.1 กิจกรรมย่อย ติดตามการดำเนินงานให้คำแนะนำ และสรุปผลโครงการผระเมินผลการประกอบอาชีพเสริมของเกษตรกรร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น กยท. ธ.ก.ส. 3. โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 3.1 จัดคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ ไตรมาส 3 (จัดในพื้นที่ที่มีปัญหาด้านการเกษตรหลากหลาย) 3.2 จัดคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ ไตรมาส 4 (จัดในพื้นที่ที่มีปัญหาด้านการเกษตรหลากหลาย)

21 โครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ งวดที่ 2
4. โครงการปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกร 4.1 กิจกรรมย่อย ปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน : แจ้งครัวเรือนเกษตรกรที่ข้อมูลไม่เป็นปัจจุบันให้ปรับปรุงข้อมูล 5. โครงการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน 5.1 กิจกรรมย่อย บริหารจัดการตามยุทธศาสตร์ผลไม้ : ติดตามคาดคะเนสถานการณ์ผลไม้ระดับจังหวัด 6. โครงการส่งเสริมเกษตรกรรมทางเลือก 6.1 กิจกรรมย่อย ติดตามประเมินผล (จังหวัด)

22 โครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ งวดที่ 2 (ต่อ)
7. โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 7.1 กิจกรรมย่อย จัดงานถ่ายทอดความรู้ (Field day) 7.2 กิจกรรมย่อย พัฒนาศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) : ประกวด ศดปช.ดีเด่น 7.3 กิจกรรมย่อย สนับสนุนการดำเนินานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน : จัดเวทีเสวนาพัฒนาเครือข่าย ศจช. 7.4 กิจกรรมย่อย พัฒนาศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) : ประกวด ศดปช.ดีเด่น

23 สามารถดาวน์โหลดแผนปฏิบัติการฯ และคู่มือการปฏิบัติงานโครงการฯ
สำนักงานเกษตรอำเภอ สามารถดาวน์โหลดแผนปฏิบัติการฯ และคู่มือการปฏิบัติงานโครงการฯ ได้ทาง

24 โครงการในความรับผิดชอบ
1 . กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ 1.1 โครงการปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกร 1.2 โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าเกษตร

25 โครงการในความรับผิดชอบ (ต่อ)
2. กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต 2.1 โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๒.๒ โครงการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน ๒.๓ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตร ๒.๔ โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่

26 โครงการในความรับผิดชอบ (ต่อ)
2. กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต (ต่อ) 2.๕ โครงการส่งเสริมเกษตรกรรมทางเลือก ๒.๖ โครงการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน ๒.๗ โครงการเกษตรอินทรีย์

27 โครงการในความรับผิดชอบ (ต่อ)
3. กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร 3.1 กิจกรรมพัฒนาเกษตรกร ๓.๒ โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : สนับสนุนโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน 3.๓ โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันสินค้าเกษตรแปรรูป

28 โครงการในความรับผิดชอบ (ต่อ)
3. กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร (ต่อ) 3.๔ โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ : - กิจกรรม พัฒนาเกษตรกรเป็น Smart Farmer - กิจกรรมพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรและเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ ๓.5 โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร : กิจกรรมพัฒนาเกษตรกรผู้นำ ๓.6 โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)

29 โครงการในความรับผิดชอบ (ต่อ)
4. กลุ่มอารักขาพืช 4.1 โครงการตลาดเกษตรกร 4.2 โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สินค้าเกษตร - กิจกรรมการพัฒนาศูนย์เครือข่าย

30 โครงการในความรับผิดชอบ
กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ

31 โครงการปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกร
1.หลักการและเหตุผล กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการรับขึ้นทะเบียนทะเบียนเกษตรกรในกลุ่มผู้ปลูกพืช ทำไร่นาสวนผสม ทำนาเกลือและเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ จากเกษตรกรที่ทำการเกษตรในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์และไม่มีเอกสารสิทธิ์ เพื่อต้องการทราบสถานการณ์การเพาะปลูกของเกษตรกร ประมาณการผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดในช่วงเวลาต่างๆได้อย่างถูกต้อง ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ เป็นต้นมา ได้กำหนดให้เกษตรกรที่แจ้งขึ้น/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรในพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์หรือพื้นที่แปลงเช่าที่ไม่สามารถนำเอกสารสิทธิ์จากผู้ให้เช่ามาแสดงได้ ต้องได้รับการตรวจพื้นที่

32 1.หลักการและเหตุผล (ต่อ)
ทำการวัดพิกัดแปลงทุกแปลงด้วยเครื่อง GPS จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริม การเกษตรผู้รับผิดชอบหรืออาสาสมัครเกษตรกรที่ได้รับมอบหมาย แล้ว ทำการบันทึกข้อมูลลงในระบบ ต่อมาได้มีการปรับปรุงวิธีการขึ้นทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรและการ ตรวจสอบพื้นที่ประกอบกับได้มีความร่วมมือกับ NECTEC ออกแบบ นวัตกรรมการขึ้นทะเบียนพร้อมกับการตรวจสอบวาดแผนผังแปลงผ่าน เครื่องมือสื่อสารไร้สาย (Tablet) และร่วมมือกับ GISTDA ใน การดึงภาพแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมมาค้นหาพิกัดและวาดผังแปลงโดย โปรแกรม GISagro ซึ่ง การใช้โปรแกรมทั้งสองจะช่วยลดขั้นตอน การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและลดรายจ่ายในการ ดำเนินการของเจ้าหน้าที่ได้อย่างยั่งยืน

33 2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรให้มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน เป็นเอกภาพ และมีมาตรฐานเดียวกัน 2. เพื่อจัดเก็บข้อมูลพื้นที่ทำการเกษตรในรูปแบบ Shape file ให้สามารถเชื่อมโยงกับแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมได้ในอนาคต 3. เพื่อพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรกลาง สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายมิติ 3. เป้าหมาย มีการปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกร จำนวน 171,000 ครัวเรือน และตรวจสอบพื้นที่ปลูก วาดแปลง 62,000 แปลง ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการเชื่อมกับฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรกลางร่วมกับหน่วยงานอื่น

34 4. กิจกรรมและวิธีการดำเนินงาน
กิจกรรมที่ 1 ปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน (171,000 ครัวเรือน) กิจกรรมที่ 2 ตรวจสอบพื้นที่เพาะปลูก (62,000 แปลง วาดแปลงด้วย Gisgro/Qgis และ FAARMis) กิจกรรมที่ 3 เชื่อมโยงข้อมูลฐานทะเบียนเกษตรกร เข้าสู่ฐานทะเบียนเกษตรกรกลางของกรมส่งเสริมการเกษตร แล้วบันทึกข้อมูลลงในสมุดทะเบียนเกษตรกร และทำการเชื่อมต่อกับหน่วยงานภายนอกตามมาตรการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชน ซึ่งมีสำนักทะเบียนราษฎร กระทรวงมหาดไทยเป็นแกนกลาง เชื่อมต่อฐานข้อมูลทุกกระทรวงเพื่อให้ใช้ประโยชน์ร่วมกันได้

35 ๖.ผลผลิต ผลลัพธ์ ตัวชี้วัด
6.1 ผลผลิต (Output) - จำนวนระบบฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรกลางของประเทศ 1 ระบบ - ข้อมูลทะเบียนเกษตรกรที่ได้รับการปรับปรุง 171,000 ครัวเรือน - มีข้อมูลแผนที่ Shape file แปลงปลูกของเกษตรกร จำนวน 62,000 แปลง 6.2 ผลลัพธ์ (Outcome) - ระบบฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรที่ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน เอื้อประโยชน์ ในการดำเนินการวางแผนพัฒนาการเกษตร และพัฒนาเกษตรกร - มีข้อมูลประกอบการขอตรวจรับรองสิทธิ์ของเกษตรกร กรณีที่ภาครัฐมีโครงการช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งจะทำให้การสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ

36 ๖.ผลผลิต ผลลัพธ์ ตัวชี้วัด
6.2 ผลลัพธ์ (Outcome) - สมุดทะเบียนเกษตรกรที่บันทึกข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรสามารถทราบข้อมูลของตนเองได้ตลอดเวลา และมีความสะดวกในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง 6.3 ตัวชี้วัด (KPI) - ข้อมูลทะเบียนเกษตรกรที่ได้รับการปรับปรุง 176,000ครัวเรือน - มีข้อมูล Shape file แปลงปลูกของเพิ่มขึ้น จำนวน 66,000 แปลง

37 ๗. ผู้รับผิดชอบ นางสาวธนกาญจน์ สุวรรณรัตน์
ตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เบอร์โทรศัพท์ ๐

38 การส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่
ประจำปีงบประมาณ ๒๕61 1.หลักการและเหตุผล กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งมีภารกิจในการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรกรให้มีคุณภาพได้มาตรฐานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตร และเพิ่มรายได้ของเกษตรกร ตลอดจนดูแลคุณภาพชีวิตของเกษตรกร จึงได้จัดทำโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ที่มีการบริหารจัดการร่วมกัน ให้เกษตรกรเป็นศูนย์กลางในการดำเนินงาน ผลักดันให้เกษตรกรรวมกลุ่มในการผลิตเพื่อร่วมกันจัดหาปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพดี ราคาถูก อาทิ พันธุ์ ปุ๋ย และการใช้เทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสม เช่น เครื่องจักรกลการเกษตร (Motor Pool) เพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตการผลิตสินค้าเกษตร ตลอดจนการจัดการด้านการตลาดโดยหน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวก

39 ๒.วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มทำการผลิต มีการบริหารจัดการร่วมกัน เพื่อให้เกิดการรวมกันผลิตและรวมกันจำหน่ายโดยมีตลาดรองรับที่แน่นอน 2.2 เพื่อให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตและมีผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้น รวมทั้งผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน ภายใต้การบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

40 ๓. เป้าหมาย/สถานที่ดำเนินงาน
3.1 แปลงใหญ่เดิม ปี 2559 จำนวน 3 แปลง 3.2 แปลงใหญ่ ปี 2560 จำนวน 26 แปลง 3.3 แปลงใหญ่ ปี 2561 จำนวน 9 แปลง แปลงใหญ่เดิม ปี 2559 หมายถึง แปลงใหญ่ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด และเริ่มดำเนินการ ในปีงบประมาณ 2559 แปลงใหญ่ ปี 2560 หมายถึง แปลงใหญ่ที่เริ่มดำเนินการในปี 2560 โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด และได้แจ้งให้กรมส่งเสริมการเกษตรทราบก่อนวันที่ 22 สิงหาคม 2560 แปลงใหญ่ ปี 2561 หมายถึง แปลงที่สำนักงานเกษตรอำเภอ เสนอตามความต้องการ และจะต้องผ่าน SC ภายในเดือนธันวาคม 2560

41 4. กิจกรรม /วิธีดำเนินงาน
4.1 การบริหารจัดการ 4.1.1 การประชาสัมพันธ์ ชี้แจงเกษตรกรให้เห็นถึงประโยชน์ ความสำคัญและวิธีการดำเนินงานของโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ 4.1.2 การจัดทำทะเบียนสมาชิกและบันทึกข้อมูลระบบ bigfarm60.doae.go.th 1) การจัดทำทะเบียนสมาชิก/ปรับปรุงข้อมูล 1.1) แปลงใหญ่ปี 2559 ร่วมกับทีมงานผู้จัดการและเกษตรกรสมาชิก ร่วมกัน - ทบทวนบัญชีรายชื่อและข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกให้เป็นปัจจุบัน - ประเมินผล และจัดเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานของกลุ่ม/ สมาชิกในปีที่ผ่านมา ในประเด็นต่างๆ ได้แก่ ผลผลิตที่ได้ ต้นทุนการการผลิต คุณภาพ มาตรฐานการผลิต ตลาด - ปรับปรุงข้อมูลในระบบ

42 4. กิจกรรม /วิธีดำเนินงาน (ต่อ)
1.2) แปลงใหญ่ปี 2560 ร่วมกับทีมงานผู้จัดการและเกษตรกรสมาชิก - ทบทวนบัญชีรายชื่อและข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกให้เป็นปัจจุบัน - ประเมินผล และจัดเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานของกลุ่ม/ สมาชิกในปีที่ผ่านมา ในประเด็นต่างๆ ได้แก่ ผลผลิตที่ได้ ต้นทุนการการผลิต คุณภาพ มาตรฐานการผลิต ตลาด - ปรับปรุงข้อมูลในระบบ 1.3) แปลงใหญ่ปี 2561 - จัดทำบัญชีรายชื่อสมาชิก รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขในการดำเนินงานในรูปแบบแปลงใหญ่ - เปิดแปลงและเมื่อผ่านการรับรองแล้ว ให้บันทึกข้อมูลสมาชิกในระบบให้ครบถ้วน

43 4. กิจกรรม /วิธีดำเนินงาน (ต่อ)
หมายเหตุ 1. การจัดทำข้อมูลพื้นฐานของสมาชิก ให้ใช้ข้อมูลทะเบียนเกษตรกร (ทบก.) ข้อมูลการผลิต-การตลาดของเกษตรกร และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ผ่านกระบวนการจัดเวทีวิเคราะห์และวางแผนร่วมกันของสมาชิก โดยใช้เครื่องมือ Individual Farm Production Plan: IFPP ในการวิเคราะห์และวางแผนการผลิต ผลิตรายบุคคล และแผนบริหารจัดการกลุ่ม ในการลดต้นทุน และยกระดับรายได้ และนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานตามแบบจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานรายบุคคลสมาชิกแปลงใหญ่ เพื่อบันทึกไว้ในระบบ bigfarm60.doae.go.th ให้สามารถเปรียบเทียบผลการดำเนินงานจากการเข้าร่วมโครงการต่อไป

44 4. กิจกรรม /วิธีดำเนินงาน (ต่อ)
2. การบันทึกข้อมูล : บันทึกข้อมูลในระบบออนไลน์ bigfarm60.doae.go.th 3.การรายงานผลการรับรองและขึ้นทะเบียนเป็นแปลงใหญ่ ตลอดจนการแก้ไขปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูลโครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ให้ผู้รับผิดชอบแปลงในระดับจังหวัดดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ bigfarm60.doae.go.th เท่านั้น ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรจะยึดข้อมูลในระบบเป็นหลักฐานในการดำเนินงานโครงการ

45 4. กิจกรรม /วิธีดำเนินงาน (ต่อ)
4.2 การพัฒนาแปลง ยึดหลักการดำเนินการแบบบูรณาการ ที่สำคัญ คือ ให้มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันของทุก หน่วยงานภายในกระทรวง เกษตร และสหกรณ์ ภายใต้การบริหารจัดการ ของ SC และสอดดคล้องกับ ระบบส่งเสริมการเกษตร (T&V System) โดยมี กิจกรรมหลักดังนี้

46 4. กิจกรรม /วิธีดำเนินงาน (ต่อ)
4.2.1 แปลงใหญ่ปี 2559 จำนวน 3 แปลง ปี จำนวน 26 แปลง 1. การถ่ายทอดความรู้ (เน้นงานวิจัย/นวัตกรรม) 1) การวิเคราะห์จัดทำแผนรายแปลงและจัดทำแผนธุรกิจ จัด เวทีวิเคราะห์ เพื่อทบทวนและปรับปรุงแผนและเป้าหมายการ พัฒนาของกลุ่ม โดยใช้ข้อมูลแผนการผลิตรายบุคคล (IFPP) ประกอบการวิเคราะห์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 5 ด้าน ได้แก่ การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิต การ พัฒนาคุณภาพ การตลาด และการบริหารจัดการ 2) การถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรเน้นการพัฒนาคุณภาพ การตลาด การบริหารจัดการกลุ่ม เทคโนโลยีการลดต้นทุน และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งในการจัดเวทีการ ถ่ายทอดความรู้ อาจบูรณาการกับกิจกรรมต่างๆ จาก หน่วยงานภายในกรมส่งเสริมการเกษตร เช่น การจัดการ ศัตรูพืช การจัดการดินและปุ๋ย การจัดอาชีพเสริม เป็นต้น รวมทั้งกิจกรรมที่ที่ได้รับสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก (หน่วยงานอื่นๆ ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือกระทรวง อื่นๆ และภาคเอกชน) ทั้งนี้ ต้องมีการบูรณาการจัดทำหลักสูตรการจัดทำแผนธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับกลุ่มให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน หรือสินเชื่อต่างๆ ได้

47 4.2.2 แปลงใหญ่ ปี 2561 จำนวน 9 แปลง 1. การเตรียมการ
4.2.2 แปลงใหญ่ ปี จำนวน 9 แปลง 1. การเตรียมการ 1.1 รับรองแปลงผ่าน SC (รับรองภายใน 31 ธันวาคม 2560) 1.2 จัดเวทีวิเคราะห์ จัดทำแผนและเป้าหมายการพัฒนาของกลุ่มตามการบริหารจัดการรูปแบบแปลงใหญ่ใน 5 ด้าน ได้แก่ การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิต การพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐาน GAP การตลาด และการบริหารจัดการ 1.3 ถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรด้านการบริหารจัดการ/การทำบัญชีกลุ่ม 2. การถ่ายทอดความรู้ (เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต) 2.1 ถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรด้านการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 2.2 ส่งเสริมการจัดทำแปลงเรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อเป็นการทดสอบหรือสาธิตเทคโนโลยีในประเด็นที่เกษตรกรต้องการทราบหรือเทคโนโลยีที่ต้องการชักชวนให้เกษตรกรพัฒนา ภายใต้ความเห็นชอบของสมาชิก และบูรณาการกับหน่วยงานวิชาการในพื้นที่ (กรมวิชาการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน มหาวิทยาลัย เป็นต้น) หมายเหตุ ประเด็นการเรียนรู้ให้เป็นไปตามข้อแนะนำในภาคผนวกรายสินค้า

48 5.ผลผลิต ผลลัพธ์ ตัวชี้วัด
5.1 ผลผลิต (Output) 1. ดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรตามระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ จำนวน 38 แปลง แปลงเก่าปี 2559 จำนวน 3 แปลง แปลงปี 2560 จำนวน 26 แปลง และแปลงใหม่ ปี 2561 จำนวน 9 แปลง 2. เกษตรกรได้รับการพัฒนา จำนวน 2,020 ราย 3. แปลงใหญ่ได้รับการพัฒนา จำนวน 38 แปลง 5.2 ผลลัพธ์ (Outcome) เกษตรกรในพื้นที่แปลงใหญ่มีการรวมกลุ่มผลิตสินค้าเกษตรตามแนวทางระบบส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่โดยมีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนินงานที่เน้นการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิต การพัฒนาคุณภาพ มีตลาดรองรับ ภายใต้การบริหารจัดการที่ดี สามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันสินค้าเกษตรและสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร

49 6. ผู้รับผิดชอบ นายอนุวัตร จำปาทอง
5.3 ตัวชี้วัด 1. เกษตรกรได้รับการพัฒนาในประเด็นการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิต การพัฒนาคุณภาพ การตลาด และการบริหาร จำนวน 2,020 ราย 2. แปลงเรียนรู้ที่เกษตรกรสามารถฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ จำนวน 38 แปลง 6. ผู้รับผิดชอบ นายอนุวัตร จำปาทอง ตำแหน่ง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ

50 จะต้องศึกษาคู่มือและรายละเอียดแปลงใหญ่แต่ละชนิดพืชให้ชัดเจน
สำคัญมาก จะต้องศึกษาคู่มือและรายละเอียดแปลงใหญ่แต่ละชนิดพืชให้ชัดเจน

51

52

53 โครงการ/กิจกรรม ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ
การผลิตสินค้าเกษตร ๑. หลักการและเหตุผล การพัฒนา ศพก. ภายใต้หลักคิด “เกษตรกรพัฒนาเกษตรกรด้วยกันเองจึงจะเกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน” ดังนั้น ศพก. จึงเป็นศูนย์ของเกษตรกรและชุมชนในระดับอำเภอ มีการดำเนินงานที่สำคัญคือ

54 1) การพัฒนาศักยภาพของ ศพก
1) การพัฒนาศักยภาพของ ศพก. ให้พร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 2) การให้บริการต่างๆ รวมถึงการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรแก่ เกษตรกรและชุมชน 3) การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของ เกษตรกรตามแนวทาง การพัฒนาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ ความต้องการและสถานการณ์ในพื้นที่ โดยมี ศพก. เป็นหลัก ในการดำเนินงาน และมีศูนย์เรียนรู้หรือจุดเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็น จุดเรียนรู้เฉพาะทาง

55 2.วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อพัฒนาศักยภาพของ ศพก. 23 ศูนย์ และศูนย์เครือข่าย ให้มีความพร้อมในการให้บริการการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตการบริหารจัดการ และการตลาด แก่เกษตรกร รวมทั้งการให้บริการทางการเกษตรด้านต่าง ๆ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในพื้นที่ 2.2 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรของชุมชนโดยมีเกษตรกรต้นแบบเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ 2.3 เพื่อเป็นกลไกในการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาและพัฒนา การเกษตรในพื้นที่

56 3. เป้าหมาย ดำเนินการ 23 อำเภอ 23 ศพก. ศูนย์เครือข่าย ทุกอำเภอ
ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน 1 ศูนย์ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน 2 ศูนย์ อื่น ๆ

57 4. กิจกรรม และวิธีการดำเนินงาน
กิจกรรมการดำเนินงานของ ศพก. ประกอบด้วย 6 กิจกรรมหลัก คือ 4.1 การพัฒนาศักยภาพของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) 4.2 การบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4.3 การสนับสนุนการให้บริการของ ศพก. 4.4 การพัฒนาเกษตรกรผู้นำ 4.5 การพัฒนาศูนย์เครือข่าย 4.6 การติดตาม ประเมินผล และรายงาน

58 4.1 การพัฒนาศักยภาพของศูนย์เรียนรู้การ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)
เป้าหมาย เป็นการพัฒนาศักยภาพ ศพก.ให้มีความพร้อมในการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรของชุมชน เป็นสถานที่ให้บริการข่าวสาร บริการด้านการเกษตร รวมทั้งเป็นสถานที่รับเรื่องร้องเรียนของเกษตรกรในชุมชน โดย 4.1.1 วิเคราะห์ศักยภาพ ศพก. และจัดทำแผนและแนวทางการพัฒนา 4.1.2 พัฒนาฐานเรียนรู้ 4.1.3 พัฒนาแปลงเรียนรู้ 4.1.4 กำหนดหลักสูตรการเรียนรู้ ดังนี้ - หลักสูตรหลัก ได้แก่ การลดต้นทุน มาตรฐานเกษตร Zoning บัญชีครัวเรือน การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าเกษตรหลักของ ศพก. ทางเลือกในการผลิตตามความต้องการ ของชุมชน และการผลิตตามกิจกรรมแปลงใหญ่ - หลักสูตรภาคบังคับ ได้แก่ เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรผสมผสาน - หลักสูตรเสริม เช่น การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า องค์กรเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน แผนธุรกิจ หรือหลักสูตรอื่นๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการและบริบทของชุมชน 4.1.5 พัฒนาพื้นที่บริเวณศูนย์ และ เชื่อมโยงศูนย์เครือข่าย และจุดเรียนรู้ต่าง ๆ ในอำเภอ

59 4.2 การบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน
4.2.1 การประชุมคณะกรรมการและคณะทำงาน 4.2.2 เวทีเชื่อมโยงเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 4.2.3 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับจังหวัดเพื่อขับเคลื่อน ศพก. 4.3 การสนับสนุนการให้บริการของ ศพก. 4.3.1 การจัดงานวันถ่ายทอดความรู้ (Field day) 4.3.2 การสนับสนุนการให้บริการวิชาการและข้อมูลข่าวสารแก่ ศพก.

60 5. แผนปฏิบัติงาน

61 5. แผนปฏิบัติงาน (ต่อ)

62 6. ผลผลิต ผลลัพธ์ ตัวชี้วัด
6.1 ผลผลิต (output) 6.1.1 มีการพัฒนาศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และเครือข่าย ในพื้นที่ทุกอำเภอ 6.1.2 เกษตรกรต้นแบบสามารถถ่ายทอดความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตรให้กับเกษตรกร 6.1.3 เกษตรกรมาเรียนรู้เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ตลอดฤดูกาลผลิต เช่น กระบวนการโรงเรียนเกษตรกรที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ฯ 6.1.4 มีการดำเนินการเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตสินค้าเกษตรและการตลาดของเกษตรกรในพื้นที่

63 6.2 ผลลัพธ์ (outcome) 6.2.1 เกษตรกร ที่มาเรียนรู้ที่ ศพก. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน 6.2.2 เกษตรกร องค์กรเกษตรกรสามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเพื่อปรับเปลี่ยนระบบการผลิตสินค้าเกษตร ส่งผลให้มีความเข้มแข็ง และพึ่งพาตนเองได้

64 6.3 ตัวชี้วัด 6.3.1 มีการพัฒนา ศพก. ให้มีความพร้อมในการให้บริการถ่ายทอดความรู้ บริการข้อมูลข่าวสาร บริการด้านการเกษตรต่าง ๆ และบริการรับเรื่องร้องเรียน ในพื้นที่ทุกอำเภอ จำนวน 23 ศูนย์ 6.3.2 เกษตรกรผู้นำสามารถถ่ายทอดความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตรให้กับเกษตรกร 6.3.3 เกษตรกรมีความรู้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร การลดต้นทุนการผลิต การจัดการศัตรูพืช การจัดการดินปุ๋ย 6.3.4 มีการเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตสินค้าเกษตรและการตลาดของเกษตรกรในพื้นที่

65

66

67

68 นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนุวัตร จำปาทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ

69 และการกำหนดค่าเป้าหมาย ลงรายละเอียดช่วงแบ่งกลุ่มย่อย
การจัดทำตัวชี้วัด และการกำหนดค่าเป้าหมาย ลงรายละเอียดช่วงแบ่งกลุ่มย่อย

70 ขอให้ทุกท่านตอบแบบสำรวจ ความต้องการด้านการพัฒนาบุคลากร


ดาวน์โหลด ppt การปฏิบัติงานโครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕61

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google