ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยIstván Adrián Boros ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
เพลี้ยไฟมะม่วง ข่าวเตือนการระบาดศัตรูพืช Plant Protection Sakaeo
กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้ว Plant Protection Sakaeo ฉบับที่ ๓ ประจำเดือนมกราคม ๒๕๖๑ เพลี้ยไฟมะม่วง นายประจักร์ ประสงค์สุข เกษตรจังหวัดสระแก้ว แจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว เฝ้าระวังการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟในมะม่วงเนื่องจากเป็นช่วงที่มะม่วงออกดอกเพลี้ยไฟจะเข้าดูดกิน น้ำเลี้ยงดอกมะม่วง และถ่ายมูลเป็นของเหลวรสหวาน ประกอบกับสภาพอากาศมีหมอกในตอนเช้า ทำให้เกิด ราดำทำลายช่อดอกบริเวณขั้วผล เชื้อราดำส่วนใหญ่ไม่ได้ทำลายเนื้อเยื่อของพืชโดยตรง แต่การเจริญของราดำ บนช่อดอกจะเป็นอุปสรรคต่อการผสมเกสร ทำให้มะม่วงไม่ติดผล หากเข้าทำลายในช่วงมะม่วงติดผลจะทำให้ เสียรูปทรง และผิวผลไม่สวยราคาผลผลิตตกต่ำ โดยเพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ตัวอ่อนมีสีเหลือง ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเหลือง เคลื่อนไหวรวดเร็ว เพศเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ บริเวณ ใบอ่อน ดอก ก้านช่อดอก และผลอ่อน ระยะไข่ 4–7 วัน ตัวอ่อนวัยที่หนึ่งมีสีขาวใส ส่วนตัวอ่อนระยะที่สอง สีเหลืองเข้ม การป้องกันกำจัด 1. ควรหมั่นสำรวจแปลงมะม่วง หากพบเพลี้ยไฟในปริมาณน้อยให้ใช้กาวกับดักกาวเหนียวเพื่อดูว่า มีการระบาดของเพลี้ยไฟหรือไม่ ๒. ถ้ามีการระบาดมาก และจำเป็นต้องใช้สารเคมีให้ใช้ชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยใช้สารเคมีชนิดดูดซึม เช่น อิมิดาโครพิด เนื่องจากเพลี้ยไฟมีวงจรชีวิตสั้น ในระยะที่มีการระบาดควรพ่นสารเคมี 4-5 วัน/ครั้ง ติดต่อกัน 2-3 ครั้ง หรือจนกว่าการระบาดจะลดลง ๓. ใช้ศัตรูธรรมชาติในการป้องกันกำจัด เช่น ไรตัวห้ำ แมลงช้างปีกใส ด้วงเต่าตัวห้ำ ใช้วิธีการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน ๔. ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย ผสมน้ำฉีดพ่น อัตราการใช้เชื้อราบิวเวอเรีย 1 กิโลกรัม/น้ำ 20 ลิตร ร่วมกับสารจับใบ ฉีดพ่นช่วงเย็น ลักษณะของผลมะม่วงที่ถูกเพลี้ยไฟทำลาย ลักษณะของช่อดอกมะม่วงที่ถูกเพลี้ยไฟทำลาย ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้ว เลขที่ 116 ม.21 ต.สระขวัญ อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว 27000 โทรศัพท์ :
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.