งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หน่วยการเรียนที่ 4 เรื่อง การควบคุมทิศทางการทำงาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หน่วยการเรียนที่ 4 เรื่อง การควบคุมทิศทางการทำงาน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หน่วยการเรียนที่ 4 เรื่อง การควบคุมทิศทางการทำงาน
หน่วยการเรียนที่ 4 เรื่อง การควบคุมทิศทางการทำงาน

2 เมื่อกล่าวถึงการเขียนโปรแกรม ส่วนใหญ่จะนิยามถึง การตรวจสอบเงื่อนไข ในหน่วยการเรียนที่ 3 ที่ผ่านมาได้กล่าวถึง ขั้นตอนการแก้ไขปัญหา (Algorithm) ซึ่งการพัฒนาโปรแกรมในระบบงานจริงนั้น มีความจำเป็นต้องอาศัยการควบคุมทิศทางการทำงานของข้อมูล (Control Statement) ให้ตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การตรวจสอบเงื่อนไข (Decision or Selection) และการวนรอบ (Reparation or Loop) ซึ่งจะกล่าวถึงการทำงานและขั้นตอนการเขียนโปรแกรมดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเงื่อนไข (Decision or Selection) การทำงานของประโยคใดประโยคหนึ่งเมื่อต้องเลือกที่จะทำงานหรือตัดสินใจย่อมต้องมีทางเลือก ซึ่งจะใช้ในการตรวจสอบเงื่อนไขว่า จริง หรือ เท็จ แล้วค่อยเลือกว่าจะไปทิศทางใด การทำงานเพื่อเลือกเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ขั้นแรกต้องตรวจสอบตัวแปร ถ้าตัวแปรเป็นจริงตรงตามเงื่อนไข if ให้ทำตามขั้นตอนการทำงานในส่วนของ if หากเงื่อนไขไม่ตรงให้ทำในส่วนของ else เราสามารถนำแนวคิดการสร้างเงื่อนไขโดยใช้ if มาแบ่งการทำงานออกได้เป็น 3 รูปแบบและยังมีรูปแบบการทำงานแบบหลายเงื่อนไขโดยใช้คำสั่งอื่นเช่น switch()case เป็นต้น

3 การตรวจสอบเงื่อนไขแบบ 1 ทางเลือกด้วยคำสั่ง if()
การตรวจสอบเงื่อนไขว่าใช่หรือไม่โดยใช้คำสั่ง if เพียงอย่างเดียว เพื่อตรวจสอบเงื่อนไขว่าเป็นจริงหรือเท็จ ถ้าเงื่อนไขเป็นจริง (true) ให้ทำตามคำสั่งที่อยู่ภายในวงเล็บปีกกา ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จให้สิ้นสุดการทำงานของโปรแกรมหรือไปยังสคริปต์บรรทัดถัดไป แนวคิดการทำงานของโปรแกรมตรวจสอบเงื่อนไขโดยใช้ if สรุปเป็นผังงานได้ดังนี้ ตรวจสอบเงื่อนไข ทำงานหลังคำสั่ง if เท็จ จริง 02 03 04 ภาพที่ 4.1 รูปแบบผังการทำงานของคำสั่ง if() ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

4 รูปแบบการทำงานของคำสั่ง if If (เงื่อนไข) {
ชุดคำสั่งที่จะถูกประมวลผลเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง; } ภาพที่ 4.2 ตัวอย่างการใช้งานคำสั่ง if() ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

5 จากการใช้งานคำสั่ง if ตรวจสอบคะแนนว่ามีค่ามากกว่า 79 คะแนนหรือไม่ โปรแกรมจะแสดงความยินดี ว่าผ่านเกณฑ์การประเมินและรายงานผลคะแนนที่กรอกข้อมูลผ่าน input โดยมีลำดับการทำงานดังนี้ 1) สร้างฟอร์มรับค่าตัวแปรจากผู้ใช้จากภาษา html ส่งผ่านข้อมูลมาในชื่อ pretest ในรูปแบบ POST เผื่อส่งข้อมูลกลับเข้าหาตัวเอง 2) ตรวจสอบเงื่อนไขโดยใช้คำสั่ง if เมื่อตัวแปร pretest มีค่ามากกว่า 79 ถือว่าเงื่อนไขเป็นจริงโดยลักษณะการรับค่าตัวแปรจะรับค่าแบบ POST ตามรูปแบบค่าที่ส่งมา คือ $_POST['pretest'] 3) แสดงค่าที่รับค่าเข้ามาพร้อมข้อความแสดงความยินดี

6 ภาพที่ 4.3 ผลการทำงานเมื่อพิมพ์คะแนนมากกว่า 79 ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

7 ภาพที่ 4.4 ผลการทำงานเมื่อพิมพ์คะแนนน้อยกว่า 79
ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

8 การตรวจสอบเงื่อนไขแบบ 2 ทางเลือกด้วยคำสั่ง if()else
การตรวจสอบเงื่อนไขว่าใช่หรือไม่โดยใช้คำสั่ง if เพียงอย่างเดียว เพื่อตรวจสอบเงื่อนไขว่าเป็นจริงหรือเท็จ ถ้าเงื่อนไขเป็นจริง (true) ให้ทำตามคำสั่งที่อยู่ภายในวงเล็บปีกกา ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จให้ทำงานภายในส่วนของ else ภายในปีกกา แนวคิดการทำงานของโปรแกรมตรวจสอบเงื่อนไขโดยใช้ if()else สรุปเป็นผังงานได้ดังนี้ ตรวจสอบเงื่อนไข ทำงานหลังคำสั่ง if เท็จ จริง ทำงานหลังคำสั่ง else ภาพที่ 4.5 รูปแบบผังการทำงานของคำสั่ง if()else ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

9 ตารางที่ 4.2 รูปแบบการทำงานของคำสั่ง if()else
{ ชุดคำสั่งที่จะถูกประมวลผลเมื่อเงื่อนไขเป็น จริง; } else ชุดคำสั่งที่จะถูกประมวลผลเมื่อเงื่อนไขเป็น เท็จ;

10 ภาพที่ 4.6 ตัวอย่างการใช้งานคำสั่ง if()else
ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

11 3) แสดงค่าที่รับค่าเข้ามาพร้อมข้อความแสดงความยินดี
จากการใช้งานคำสั่ง if ตรวจสอบคะแนนว่ามีค่ามากกว่า 79 คะแนนหรือไม่ โปรแกรมจะแสดงความยินดี ว่าผ่านเกณฑ์การประเมินและรายงานผลคะแนนที่กรอกข้อมูลผ่าน input แต่ถ้าคะแนนน้อยกว่า 79 คะแนนจะเข้าสู่เงื่อนไข else คือเป็นเท็จ ระบบจะรายงานว่าคุณสอบไม่ผ่านเกณฑ์ โดยมีลำดับการทำงานดังนี้ 1) สร้างฟอร์มรับค่าตัวแปรจากผู้ใช้จากภาษา html ส่งผ่านข้อมูลมาในชื่อ pretest ในรูปแบบ POST เผื่อส่งข้อมูลกลับเข้าหาตัวเอง 2) ตรวจสอบเงื่อนไขโดยใช้คำสั่ง if เมื่อตัวแปร pretest มีค่ามากกว่า 79 ถือว่าเงื่อนไขเป็นจริงโดยลักษณะการรับค่าตัวแปรจะรับค่าแบบ POST ตามรูปแบบค่าที่ส่งมา คือ $_POST['pretest'] 3) แสดงค่าที่รับค่าเข้ามาพร้อมข้อความแสดงความยินดี 4) ในกรณีที่คะแนนมีค่าน้อยกว่า 79 จะเข้าสู่เงื่อนไข else คือเงื่อนไขเป็นเท็จ 5) ระบบจะแสดงค่าคุณสอบไม่ผ่าน ภาพที่ 4.7 ผลการทำงานเมื่อพิมพ์คะแนนน้อยกว่า 79 ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

12 การตรวจสอบเงื่อนไขแบบ หลายทางเลือกด้วยคำสั่ง if()else if()
การตรวจสอบเงื่อนไขว่าใช่หรือไม่โดยใช้ คำสั่ง if เพียงอย่าง เดียว เพื่อตรวจสอบเงื่อนไขว่าเป็นจริงหรือเท็จ ถ้าเงื่อนไขเป็นจริง (true) ให้ทำตามคำสั่งที่อยู่ภายในวงเล็บปีกกา ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จให้ ทำงานภายในส่วนของ else if และทำการตรวจสอบเงื่อนไขอีกครั้งทุก เงื่อนไขถ้าไม่ตรงกับเงื่อนไขใดเลยถึงทำคำสั่งด้านหลัง else แนวคิด การทำงานของโปรแกรมตรวจสอบเงื่อนไขโดยใช้ if()else if() สรุป เป็นผังงาน ได้ดังนี้

13 ภาพที่ 4.8 รูปแบบผังการทำงานของคำสั่ง if()else if()
ตรวจสอบ เงื่อนไข ทำงานหลัง คำสั่ง if เท็จ จริง ทำงานหลังคำสั่ง else ภาพที่ 4.8 รูปแบบผังการทำงานของคำสั่ง if()else if() ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

14 ตารางที่ 4.3 รูปแบบการทำงานของคำสั่ง if()else if()
{ ชุดคำสั่งที่จะถูกประมวลผลเมื่อเงื่อนไขเป็น จริง; } else if(เงื่อนไข) ชุดคำสั่งที่จะถูกประมวลผลเมื่อเงื่อนไข else if เป็น จริง; Else ชุดคำสั่งที่จะถูกประมวลผลเมื่อเงื่อนไขเป็น เท็จทั้งหมด;

15 การเขียนโปรแกรมตรวจสอบเงื่อนไขแบบหลายเงื่อนไข โดยใช้คำสั่ง if()else if() จะยกตัวอย่างการเขียนโปรแกรมตัดเกรดจากการป้อนคะแนนผ่านช่อง input เพื่อนำคะแนนมาคำนวณเกรดโดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าคะแนนตั้งแต่ 80 ขึ้นไปจะได้เกรด 4 ถ้าคะแนนตั้งแต่ 70 ขึ้นไปจนถึง 79 จะได้เกรด 3 ถ้าคะแนนตั้งแต่ 60 ขึ้นไปจนถึง 69 จะได้เกรด 2 ถ้าคะแนนตั้งแต่ 50 ขึ้นไปจนถึง 59 จะได้เกรด 1 ถ้าคะแนนน้อยกว่า 50 จะได้เกรด 0 โดยขั้นตอนการเขียนโปรแกรม เริ่มต้นจากเขียน ฟอร์มรับ ค่าตัวแบบ pretest แล้วนำผลคะแนนมาทำการตรวจสอบเงื่อนไขโดย ใช้คำสั่ง if()else if() และทำการตรวจสอบเงื่อนไขไปทีละระดับดังนี้

16 ภาพที่ 4.9 โปรแกรมตรวจสอบผลการเรียน 4 ระดับ ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

17 ขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมตรวจสอบผลการเรียน 4 ระดับมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
สร้างฟอร์มรับค่าตัวแปร pretest ผ่านการรับส่งค่าแบบ POST ตรวจสอบค่าตัวแปร ถ้าคะแนนตั้งแต่ 80 ขึ้นไปจะได้เกรด 4 ตรวจสอบค่าตัวแปร ถ้าคะแนนตั้งแต่ 70 ขึ้นไปจนถึง 79 จะได้เกรด 3 ตรวจสอบค่าตัวแปร ถ้าคะแนนตั้งแต่ 60 ขึ้นไปจนถึง 69 จะได้เกรด 2 ตรวจสอบค่าตัวแปร ถ้าคะแนนตั้งแต่ 50 ขึ้นไปจนถึง 59 จะได้เกรด 1 ตรวจสอบค่าตัวแปร ถ้าคะแนนน้อยกว่า 50 จะได้เกรด 0

18 ภาพที่ 4.10 ผลลัพธ์การเขียนโปรแกรม ตรวจสอบผลการเรียน 4 ระดับ ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

19 ไม่ตรงกับเงื่อนไขใดเลย
การตรวจสอบเงื่อนไขแบบ หลายทางเลือกด้วยคำสั่ง switch()case นอกจากการตรวจสอบเงื่อนไขแบบหลายทางเลือก เราจะใช้คำสั่ง if()else if() ไปแล้ว ยังมีคำสั่งอีกหนึ่งคำสั่งที่ออกแบบมาสำหรับการทำงานแบบหลายเงื่อนไขโดยเฉพาะนั้นก็คือ คำสั่ง switch()case โดยสามารถสรุปเป็นผังงานได้ดังนี้ ตรวจสอบเงื่อนไข ตรงกับเงื่อนไขที่ 1 ตรงกับเงื่อนไขที่ 2 ตรงกับเงื่อนไขที่3 ไม่ตรงกับเงื่อนไขใดเลย ภาพที่ 4.11 ผังการทำงานของการคำสั่ง switch()case ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

20 ตารางที่ 4.4 รูปแบบการทำงานของคำสั่ง switch()case
{ case เงื่อนไขที่ 1 ชุดคำสั่งที่จะถูกประมวลผลเมื่อเงื่อนไขที่ 1 เป็นจริง break; case เงื่อนไขที่ 2 ชุดคำสั่งที่จะถูกประมวลผลเมื่อเงื่อนไขที่ 2 เป็นจริง case เงื่อนไขที่ 3 ชุดคำสั่งที่จะถูกประมวลผลเมื่อเงื่อนไขที่ 3 เป็นจริง default: ชุดคำสั่งที่จะถูกประมวลผลเมื่อทุกเงื่อนไขไม่เป็นจริง }

21 โดยเราสามารถประยุกต์โปรแกรมเพื่อตรวจสอบเงื่อนไขตัดเกรดได้เหมือนเดิม การเขียนโปรแกรมตรวจสอบเงื่อนไขแบบหลายเงื่อนไข โดยใช้คำสั่ง switch()case จะยกตัวอย่างการเขียนโปรแกรมตัดเกรดจากการป้อนคะแนนผ่านช่อง input เพื่อนำคะแนนมาคำนวณเกรดโดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าคะแนนตั้งแต่ 80 ขึ้นไปจะได้เกรด 4 ถ้าคะแนนตั้งแต่ 70 ขึ้นไปจนถึง 79 จะได้เกรด 3 ถ้าคะแนนตั้งแต่ 60 ขึ้นไปจนถึง 69 จะได้เกรด 2 ถ้าคะแนนตั้งแต่ 50 ขึ้นไปจนถึง 59 จะได้เกรด 1 ถ้าคะแนนน้อยกว่า 50 จะได้เกรด 0

22 ภาพที่ 4.12 โปรแกรมตรวจสอบผลการเรียน โดยใช้คำสั่ง switch()case ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

23 ภาพที่ 4.13 ผลลัพธ์การเขียนโปรแกรมตรวจสอบผลการ เรียนโดยใช้คำสั่ง switch()case ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560 การวนรอบ (Reparation or Loop)  การวนรอบ (Reparation or Loop) หรือการกระทำซ้ำมีรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย โดยการทำงานจะกระทำตามเงื่อนไขวนรอบไปเรื่อยๆ จนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จ ซึ่งมีแบบที่มีเงื่อนไขที่แน่นอน และแบบไม่แน่นอน สำหรับเงื่อนไขในการกระทำซ้ำโดยแบ่งเป็นตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้ การวนรอบด้วยจำนวนที่แน่นอนด้วยคำสั่ง for() ในการทำงานที่ต้องการกระทำซ้ำเรามีความจำเป็นต้องเขียน โปรแกรมเกี่ยวกับการกระทำซ้ำ เพื่อการนำมาตัดสินใจนั้นคือ เงื่อนไขที่ ใช้ในการวนรอบสำหรับการกระทำซ้ำแบบแรกที่ควรรู้จักคือ การใช้งาน คำสั่งกระทำซ้ำแบบแน่นอน โดยมีการกำหนดเงื่อนไขลงไปและจะมีการ เพิ่มค่าตัวแปรแบบนับรอบขึ้นไปเรื่อยๆ จนเสร็จสิ้นกระบวนการ

24 ขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมกระทำซ้ำโดยใช้คำสั่ง for
1) ตั้งค่าเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการทำงานของโปรแกรม 2) เริ่มต้นการทำงานของคำสั่งโปรแกรมทีละ 1 คำสั่งโดยทำการเพิ่มค่าของตัวแปรค่าเริ่มต้นและทำการเปรียบเทียบเพื่อทำการนับรอบ 3) กลับไปตรวจสอบเงื่อนไข ว่าเงื่อนไขเป็นจริงหรือไม่ ถ้าไม่ก็ถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดการทำงานของโปรแกรมกระทำซ้ำ วนรอนตามจำนวน ทำสั่งตามเงื่อนไข คำสั่งถัดไป ครบ ไม่ครบ ภาพที่ 4.14 ผังการทำงานของการวนรอบโดยใช้คำสั่ง for() ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

25 ตารางที่ 4.5 รูปแบบการทำงานของคำสั่ง for()
{ คำสั่งที่ต้องการกระทำซ้ำ; } ภาพที่ 4.15 การใช้คำสั่ง for วนรอบเพิ่มขนาดตัวอักษร ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

26 ภาพที่ 4.16 ผลลัพธ์การใช้คำสั่ง for เพิ่มขนาดตัวอักษร
ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

27 สำหรับตัวอย่างการเขียนโปรแกรมวนรอบโดยใช้คำสั่ง for โดยใช้ตัวแปร i ทำหน้าที่นับการวนรอบ โดยแต่ละรอบจะทำการเพิ่มค่าและกำหนดขนาดให้กับ font ตัวอักษรที่แสดง ทำให้ font ตัวอักษรเพิ่มขนาดขึ้นเรื่อยๆ จนถึงระดับสูงสุดของตัวอักษร 2.2 การวนรอบจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จด้วยคำสั่ง while() ในการทำงานที่ต้องการกระทำซ้ำ เรามีความจำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเกี่ยวกับการกระทำซ้ำเพื่อการนำมาตัดสินใจนั้นคือเงื่อนไขที่ใช้ในการวนรอบสำหรับการกระทำซ้ำอีกแบบที่ควรรู้จักคือ การใช้งานคำสั่งกระทำซ้ำแบบแน่นอน โดยใช้คำสั่ง while() มีการกำหนดเงื่อนไขลงไปและจะมีการเพิ่มค่าตัวแปรแบบนับรอบขึ้นไปเรื่อยๆจนเสร็จสิ้นกระบวนการ ขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมกระทำซ้ำโดยใช้คำสั่ง while() 1) ตั้งค่าเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการทำงานของโปรแกรม 2) เริ่มต้นการทำงานของคำสั่งโปรแกรมทีละ 1 คำสั่ง 3) กลับไปตรวจสอบเงื่อนไข ว่าเงื่อนไขเป็นจริงหรือไม่ ถ้าไม่ก็ถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดการทำงานของโปรแกรมกระทำซ้ำ 4) ทำการเพิ่มค่าของตัวแปรค่าเริ่มต้นและทำการเปรียบเทียบเพื่อทำการนับรอบ

28 ภาพที่ 4.17 ผังการทำงานของการวนรอบโดยใช้คำสั่ง while()
วนรอนตามจำนวน คำสั่งที่ต้องการให้ โปรแกรมกระทำ คำสั่งถัดไป ครบ ไม่ครบ เพิ่มค่าตัวแปร ภาพที่ 4.17 ผังการทำงานของการวนรอบโดยใช้คำสั่ง while() ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

29 ตารางที่ 4.6 รูปแบบการทำงานของคำสั่ง While()
ประกาศตัวแปร; while(เงื่อนไขจุดสิ้นสุดการกระทำซ้ำ;) { คำสั่งที่ต้องการให้โปรแกรมกระทำ; การเพิ่มค่าตัวแปร; } ภาพที่ 4.18 การใช้คำสั่ง while วนรอบเพิ่มขนาดตัวอักษร ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

30 ภาพที่ 4.19 ผลลัพธ์การใช้คำสั่ง while เพิ่ม ขนาดตัวอักษร ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

31 2.3 การวนรอบจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จด้วยคำสั่ง do while()
ในการทำงานที่ต้องการกระทำซ้ำเรามีความจำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเกี่ยวกับการกระทำซ้ำเพื่อการนำมาตัดสินใจนั้นคือเงื่อนไขที่ใช้ในการวนรอบ สำหรับการกระทำซ้ำอีกแบบที่ควรรู้จักคือการใช้งานคำสั่งกระทำซ้ำแบบแน่นอน โดยรูปแบบจะคล้ายกับการใช้คำสั่ง while() แต่จะแตกต่างกันตรงคำสั่ง do while() จะไม่มีการตรวจสอบเงื่อนไขการกระทำซ้ำก่อนการทำงานในรอบแรก แต่จะตรวจสอบเงื่อนไข เมื่อกระทำตามคำสั่งไปแล้วอย่างน้อย 1 รอบ ขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมกระทำซ้ำโดยใช้คำสั่ง do while() 1) ตั้งค่าเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการทำงานของโปรแกรม 2) ทำงานตามคำสั่งที่ต้องการให้โปรแกรมกระทำ 3) เพิ่มค่าของตัวแปรค่าเริ่มต้น 4) ตรวจสอบเงื่อนไข ว่าเงื่อนไขเป็นจริงหรือไม่ ถ้าไม่ก็ถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดการทำงานของโปรแกรมกระทำซ้ำ

32 ภาพที่ 4.20 ผังการทำงานของการวนรอบโดยใช้คำสั่ง do while()
วนรอนตามจำนวน คำสั่งที่ต้องการให้ โปรแกรมกระทำ  คำสั่งถัดไป ครบ ไม่ครบ เพิ่มค่าตัวแปร ภาพที่ 4.20 ผังการทำงานของการวนรอบโดยใช้คำสั่ง do while() ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

33 ตารางที่ 4.7 รูปแบบการทำงานของคำสั่ง do while()
ประกาศตัวแปร; do { คำสั่งที่ต้องการกระทำซ้ำ; การเพิ่มค่าตัวแปร; } while(เงื่อนไขจุดสิ้นสุดการกระทำซ้ำ;)

34 ภาพที่ 4.21 การใช้คำสั่ง do while() วนรอบเพิ่มขนาดตัวอักษร ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

35 ภาพที่ 4.22 ผลลัพธ์การใช้คำสั่ง do while เพิ่มขนาดตัวอักษร
ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

36 2.4 วนรอบสมาชิกทุกตัวใน array ด้วยคำสั่ง foreach()
ในการทำงานหากต้องการดึงข้อมูลออกจากตัวแปรอาร์เรย์ จำเป็นต้องทราบว่ามีจำนวนข้อมูลอยู่ภายในตัวแปรจำนวนเท่าไร แล้วค่อยทำการวนซ้ำเพื่อดึงข้อมูลออกมาจากตัวแปร แต่วิธีดังกล่าวอาจจะไม่สะดวกต่อการนำมาใช้งาน ดังนั้นในภาษา PHP จึงมีคำสั่งเฉพาะที่ใช้ในการดึงข้อมูลออกมาจากตัวแปรประเภทอาเรย์ ด้วยคำสั่ง foreach จะทำการดึงข้อมูลมาตั้งแต่อินเด็กซ์แรกจนถึงอินเด็กซ์ตัวสุดท้าย ในแต่ละรอบการกระทำซ้ำ โดยไม่จำเป็นต้องรู้จำนวนรอบในการกระทำซ้ำ ค่าตัวแปรที่เก็บค่าข้อมูลสมาชิกจะถูกเปลี่ยนแปลงค่าไปตลอดทุกรอบการกระทำซ้ำ ขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมกระทำซ้ำสำหรับตัวแปรอาร์เรย์โดยใช้คำสั่ง foreach() 1) กำหนดค่าเริ่มต้นให้ตัวแปรนับการกระทำซ้ำ 2) ประกาศคำสั่ง foreach() กำหนดค่าตัวแปรอาร์เรย์และกำหนดค่าตัวแปรที่เก็บข้อมูลสมาชิก 3) แสดงข้อมูลจากอาร์เรย์ ผ่านตัวแปรที่เก็บข้อมูลสมาชิก 4) เพิ่มค่าของตัวแปรนับการกระทำซ้ำ 5) คำสั่ง foreach() ตรวจสอบข้อมูลในตัวแปรอาร์เรย์ว่าคงเหลือหรือไม่ ถ้าไม่ก็ถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดการทำงานของโปรแกรมกระทำซ้ำดึงข้อมูลจากตัวแปรอาร์เรย์

37 ภาพที่ 4.23 ผังการทำงานของการวนรอบโดยใช้คำสั่ง foreach()
วนรอนตาม จำนวน ข้อมูลในตัวแปร อาร์เรย์ แสดงข้อมูลตัว แปรอาร์เรย์ คำสั่งถัดไป ครบ ไม่ครบ เพิ่มค่าตัวแปร ภาพที่ 4.23 ผังการทำงานของการวนรอบโดยใช้คำสั่ง foreach() ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

38 ตารางที่ 4.8 รูปแบบการทำงานของคำสั่ง foreach()
ประกาศตัวแปร; foreach($ตัวแปรอาร์เรย์ as $ตัวแปรเก็บค่าสมาชิก) { ดึงข้อมูลจากตัวแปรอาร์เรย์; การเพิ่มค่าตัวแปร; }

39 ภาพที่ 4.24 การใช้คำสั่ง foreach ดึงข้อมูลจากตัวแปรอาร์เรย์
ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

40 ภาพที่ 4.25 ผลลัพธ์การใช้คำสั่ง foreach() ดึงข้อมูลผ่านตัวแปรอาร์เรย์
ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

41 2.5 การออกจากการทำงานด้วยคำสั่ง break, continue, exit
เมื่อมีการใช้คำสั่งตรวจสอบเงื่อนไข หรือการกระทำซ้ำ อาจจะมีความจำเป็นที่ต้องหยุดการทำงานชั่วขณะหรือต้องการหลุดออกจากคำสั่ง โดยในภาษา PHP มีกลุ่มคำสั่งที่ใช้ในการหยุดขั้นตอนหรือกระโดดข้ามเงื่อนไขการทำงานดังต่อไปนี้ 2.5.1 คำสั่ง break คำสั่งที่ใช้ในการหยุดการทำงานของโปรแกรม หรือออกจากการทำงานนั้น เช่น คำสั่งอาจจะอยู่ในส่วนการตรวจสอบเงื่อนไขโดยใช้คำสั่ง switch()case จะใช้คำสั่ง break เพื่อออกจากการทำงานของโปรแกรมเมื่อเงื่อนไขของ case เป็นจริง หรืออาจจะอยู่ในขั้นตอนการกระทำซ้ำด้วยคำสั่ง for(), while(), do while() โดยไม่สนใจเงื่อนไขการกระทำซ้ำว่าเป็นจริงหรือเท็จ 2.5.2 คำสั่ง continue คำสั่งที่ใช้งานเหมือนคำสั่ง break แต่จะใช้ในการกระทำซ้ำเท่านั้น ถ้าโปรแกรมเจอคำสั่งนี้อยู่ จะถือว่าการกระทำซ้ำนั้นสิ้นสุดและจะหลุดไปสู่การกระทำซ้ำในรอบถัดไปโดยไม่สนใจในคำสั่งที่เหลืออยู่แต่อย่างไร 2.5.3 คำสั่ง exit คำสั่งที่ใช้ในการจบการทำงานของโปรแกรม

42 ภาพที่ 4.26 การใช้คำสั่ง break, continue ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

43 ภาพที่ 4.27 ผลลัพธ์การใช้คำสั่ง break, continue
ที่มา : อิทธิพล สุขเติม, 2560

44 3. บทสรุปท้ายหน่วยเรียน
ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Algorithm) มีลำดับขั้นตอนการเขียน Flow Control เลือกทิศทางการตัดสินใจหรือวนรอบเพื่อดึงข้อมูลออกมานั้น มีส่วนสำคัญมากในการพัฒนาโปรแกรมซึ่งมีรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกันตามลักษณะการเลือกใช้งานให้เหมาะสมโดยจะมีการใช้งานให้เลือกดังนี้ คำสั่งตรวจสอบเงื่อนไขประกอบไปด้วย การตรวจเงื่อนไขแบบ 1 ทางเลือกด้วย คำสั่ง if(), การตรวจเงื่อนไขแบบ 2 ทางเลือกด้วยคำสั่ง if()else, การตรวจเงื่อนไขแบบหลายทางเลือกด้วย คำสั่ง if()else if(), การวนรอบด้วยจำนวนที่แน่นอนด้วยคำสั่ง for(), คำสั่งวนรอบ (Reparation or Loop) ประกอบไปด้วย การวนรอบจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จด้วยคำสั่ง while(), การวนรอบจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จด้วยคำสั่ง do while(), การวนรอบสมาชิกทุกตัวใน array ด้วยคำสั่ง foreach(), การออกจากการทำงานด้วยคำสั่ง break, exit และ continue


ดาวน์โหลด ppt หน่วยการเรียนที่ 4 เรื่อง การควบคุมทิศทางการทำงาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google