ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การวางแผนเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ
ดร.จรัญ น้อยพรหม (Ph.D.) Political Science Sardarpatel University India
2
ประเด็นการนำเสนอในวันนี้
1. กรอบแนวคิดในการวางแผน 2. ความตระหนักในการมีแผนของทุกองค์กร 3. แนวคิดหลักในการจัดทำแผน 4. การบริหารแผนสู่ความสำเร็จ 5. ข้อแนะนำในการวางแผนเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพองค์กร
3
1. กรอบแนวคิดในการวางแผน
4
การวางแผน แผน (Plan) หมายถึง สิ่งที่แสดงความตั้งใจล่วงหน้าที่จะดำเนินการภายในระยะ เวลาหนึ่ง เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และ เป้าหมายที่วางไว้
5
แผนงาน (Program) เป็นส่วนหนึ่งของแผน ประกอบด้วย กลุ่มของโครงการที่เป็นประเภทเดียวกัน มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยปกติแผนหนึ่งๆ จะมีแผนงานอย่างน้อย 2 แผนงาน
6
โครงการ (Project) เป็นกลุ่มของกิจกรรมที่จะดำเนินการในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของแผนงานที่ระบุไว้
7
การวางแผน (Planning) คือ กระบวนการในการคิดล่วงหน้า เพื่อควบคุมการกระทำหรือการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามที่คิดไว้ เป็นการกำหนดสิ่งที่จะทำในอนาคต โดยเชื่อว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามแผนการที่วางไว้
8
ทำไมต้องมีการวางแผน การเปลี่ยนของสภาพแวดล้อมและองค์กรอย่างรวดเร็ว : อาทิ การเพิ่มขึ้น ของประชากรสูงอายุ การเปลี่ยนแปลงในนโยบายของรัฐบาล และ การกระจายอำนาจ ความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ สถานการณ์ภายในและระหว่างประเทศ ความเชื่อมโยงของประเด็นทางด้านนโยบาย บทบาทของภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน การแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้น * ดังนั้นการพัฒนาในอนาคตภาครัฐและภาคีการพัฒนาต่างจะต้องคิดดำเนินการ และเรียนรู้ ในเชิงกลยุทธ์ โดยมีการวางแผนเชิงกลยุทธ์เป็นเครื่องมือ
9
ความหลากหลายของการเปลี่ยนแปลง
สังคมจะเข้าสู่ยุค Knowledge Society, Learning Society เทคโนโลยีจะมีบทบาทต่อชีวิตประจำวัน มากขึ้น >> ICT, BioTech. เศรษฐกิจเข้าสู่ยุค Digital Economy การวางแผนกลยุทธ์องค์การจะมองระยะยาว เรื่องงปม.ก็ขอตรงจากสำนักงบประมาณได้
10
ความหลากหลายของการเปลี่ยนแปลง
การจัดโครงสร้างองค์การจะเป็นแนวราบและเป็นเครือข่าย (Flat Organization & Networking) การกระจายอำนาจตัดสินใจสู่ผู้ปฏิบัติ จะมากขึ้น (Empowerment) เรื่องงปม.ก็ขอตรงจากสำนักงบประมาณได้
11
ความหลากหลายของการเปลี่ยนแปลง
ประชาคมจะมีส่วนร่วมมากขึ้น (Participation) การใช้ความรู้เชิงสหวิทยาการ มีความจำเป็นมากขึ้น การแก้ปัญหาจะต้องมองภาพที่เป็นลักษณะองค์รวม เรื่องงปม.ก็ขอตรงจากสำนักงบประมาณได้
12
ข้อควรระวังของการวางแผน
การวางแผนมีความสำคัญมาก แต่ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวนมากมักไม่เห็นความสำคัญของการวางแผน จึงจัดทำแผนเพียงเพื่อให้มีแผนไว้ประจำองค์กรเท่านั้น
13
ความสำคัญของการวางแผน
1. สามารถกำหนดอนาคตของตนเองได้ ทำให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ ทำให้การใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้การพัฒนางานทุกด้านสอดคล้องกัน
14
ทำให้การควบคุมงานเป็นระบบ
ทำให้เกิดการประสานงานที่ดีทั้งภายในและภายนอกองค์การ ลดความขัดแย้งในองค์กร สามารถคาดคะเนปัญหา อุปสรรคล่วงหน้าได้ และแก้ไขได้ทันเหตุการณ์
15
9. ช่วยให้หน่วยงานพัฒนาตนเองให้ทันกับสภาพการ เปลี่ยนแปลง 10
9. ช่วยให้หน่วยงานพัฒนาตนเองให้ทันกับสภาพการ เปลี่ยนแปลง 10. ช่วยให้หน่วยงานทุกระดับมีความเป็นตนเองมากขึ้น รับผิดชอบต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของตนเอง เพราะการวางแผนทุกครั้งมักเป็นการวางแผนโดยองค์กรเพื่อองค์กร ไม่ใช่ทำตามหน่วยเหนือสั่งการ
16
ประโยชน์ของการวางแผน
ส่งเสริมการคิด การทำ และการเรียนรู้ขององค์กร ส่งเสริมให้การกระบวนการตัดสินใจมีความถูกต้องและ ประสิทธิภาพ ส่งเสริมประสิทธิภาพขององค์กร ส่งเสริมประสิทธิภาพของการพัฒนาในภาพรวมและการประสาน ความร่วมมือกับภาคีการพัฒนาอื่นๆ ความยั่งยืนและการยอมรับขององค์กร (Smart Practice) * การวางแผนเป็นเพียงเครื่องมือไม่สามารถทดแทนภาวะผู้นำและการบริหาร จัดการที่เป็นปัจจัยในความสำเร็จขององค์กร
17
การวางแผนมีความสำคัญกับ การพัฒนาการศึกษาอย่างไร
การวางแผน คือการคิดอย่างมีระบบว่าจะดำเนินการอะไรบ้าง ทำอย่างไร โดยใช้ ขีดความสามารถสูงสุด และมากที่สุดที่จะ ทำได้ ทั้งในด้านแนวคิด การตัดสินใจ และการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน
18
วัตถุประสงค์ในการวางแผน
เพื่อให้ทราบสภาพการณ์ หรือสถานการณ์จริงขององค์กร กล่าวคือ การที่เก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ ศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกขององค์กร ทำให้เรารู้รายละเอียดเกี่ยวกับสภาพการณ์ หรือสถานการณ์ที่แท้จริง
19
เพื่อกำหนดพันธกิจ (mission) ขององค์กร ให้รู้ว่าพันธกิจขององค์กรคืออะไร มากน้อยแค่ไหน ยากง่ายเพียงใด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ องค์กรมีกิจการงานอะไรบ้างที่ต้องทำ ทำเพื่ออะไร ทำมากน้อยแค่ไหน ทำอย่างไร
20
เพื่อจะได้มีการวางแผนปรับปรุงกลไก และการปฏิบัติการขององค์กร เมื่อวางแผนกลยุทธ์แล้ว จะต้องนำแผนกลยุทธ์ไปดำเนินการด้วยการจัดแผนปฏิบัติการประจำปีต่อไป เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ในแผนงาน ให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย และเป็นไปตามพันธกิจที่กำหนดไว้ในแผน
21
ประเภทของแผน 1. แผนพัฒนาระยะยาว ( ปี) คือแผนที่กำหนดเค้าโครงกว้างๆ ว่าประเทศชาติของเราจะมีทิศทางพัฒนาไปอย่างไร เช่น รัฐธรรมนูญ แผนการศึกษาแห่งชาติ 2. แผนพัฒนาระยะกลาง (4 - 6 ปี) แบ่งช่วงของการพัฒนาออกเป็น 4 ปี หรือ 5 ปี หรือ 6 ปี โดยคาดคะเนว่าในช่วง ปี นี้ จะทำอะไรบ้าง จะมีโครงการพัฒนาอะไร ใช้ทรัพยากรมากน้อยเพียงไร เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ 3. แผนพัฒนาประจำปี (1 ปี) เป็นแผนของบประมาณ 4. แผนปฏิบัติการประจำปี (1 ปี) เป็นแผนใช้จ่ายงบประมาณ ให้สอดคล้องกับเงินที่ได้รับอนุมัติ
22
2. ความตระหนักในการมีแผนของทุกองค์กร
23
การบริหารการเปลี่ยนแปลง
องค์กรที่มีแผน การบริหารกระบวนการ ประสิทธิภาพ efficiency ลดรอบระยะเวลาดำเนินการ การพัฒนาขั้นตอนการทำงานให้ดีขึ้น ลดต้นทุน & ความสูญเสีย Reengineering Lean Enterprise Six Sigma TQM เพิ่มผลผลิต กระบวนการบริหารลูกค้า คุณภาพ quality การบริหารการเปลี่ยนแปลง Change Management เพิ่มคุณค่า Value Creation การดูแลผู้รับบริการ เพิ่มความพึงพอใจ เพิ่มความไว้วางใจ ความโปร่งใส มีส่วนร่วม effectiveness ขีดสมรรถนะ capacity-building การวางระบบบริหารจัดการสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ เพิ่มความพร้อมเชิง ยุทธศาสตร์ ทุนมนุษย์ ทุนข้อมูลสารสนเทศ&ทุนความรู้ ทุนองค์กร
24
3. แนวคิดหลักในการจัดทำแผน
25
กระบวนการวางแผน ประเด็นเชิงกลยุทธ์ สภาวะที่พึงปรารถนา
พันธกิจ และหน้าที่ โครงสร้างองค์กร แผนงาน/ โครงการ งบประมาณ/ บุคลากร วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย สภาวะปัจจุบัน พันธกิจและหน้าที่ โครงสร้างองค์กร แผนงาน/ โครงการ งบประมาณ/ บุคลากร ประเด็นเชิงกลยุทธ์ การปฏิบัติตาม แผน กระบวนการสู่เป้าหมาย แผนกลยุทธ แผนพัฒนาระบบสารสนเทศ และพัฒนาบุคลากร การปรับโครงสร้างองค์กร การกำหนดยุทธศาสตร์
26
องค์ประกอบของการวางแผนเชิงกลยุทธ์
วิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT) สภาพแวดล้อมภายใน จุดอ่อน จุดแข็ง สภาพแวดล้อมภายนอก โอกาส ข้อจำกัด ยุทธศาสตร์/ แนวทาง (Strategy) แผนปฏิบัติการ (Action Plan) การติดตามและประเมินผล (Monitoring & Evaluation)
27
องค์ประกอบของการวางแผนเชิงกลยุทธ์
วิสัยทัศน์ คือ สิ่งที่คาดหวังในอนาคตของผู้นำหรือผู้บริหารองค์กร วิสัยทัศน์ ไม่ใช่การสร้างฝัน แต่เป็นการประเมินสภาพแวดล้อม ความต้องการของสมาชิกในองค์กร เพื่อสร้างคุณค่า และสิ่งที่ดีแก่ องค์กรในภาพรวม พันธกิจ หมายถึง ทิศทางหรือเป้าหมายที่องค์กร มุ่งบรรลุ ซึ่งพันธกิจในที่นี้คือการปรับบทบาทขององค์กรให้สอดคล้อง กับวิสัยทัศน์
28
องค์ประกอบของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (ต่อ)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในคือ การพิจารณาจุดอ่อน จุดแข็ง ขององค์กร (ส่วนที่เป็นเรา) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก คือ การพิจารณา โอกาสและข้อจำกัด (ส่วนที่เป็นเขา) ยุทธศาสตร์ วิธีการในการบรรลุเป้าหมายขององค์กรที่ตั้งไว้
29
ความพิเศษของแผนกลยุทธ์จากแผนทั่วไป
การวางแผนกลยุทธ์ต้องมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การวางแผนกลยุทธ์จะประกอบด้วยการวางแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว การวางแผนกลยุทธ์เป็นการวางแผนอย่างมีระบบสัมพันธ์กัน ทุกส่วน การวางแผนกลยุทธ์ต้องเป็นการวางแผนที่สามารถปฏิบัติได้
30
ความสำเร็จของการวางแผนกลยุทธ์
นำไปสู่การปฏิบัติ สร้างวิสัยทัศน์ร่วมให้กับสมาชิกขององค์กร สร้างกระบวนการมีส่วนร่วม สอดคลัองกับสภาพแวดล้อมขององค์กร นำไปสู่การปรับเปลี่ยนบทบาทขององค์กร เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการตัดสินใจ และการดำเนินงานของ องค์กร
31
S W O T บุคคล/วัฒนธรรม กฎ/ระเบียบ โครงสร้าง
รูปแบบการบริหารราชการแนวใหม่ Strategy Formulation การวางแผนยุทธศาสตร์ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ( ) แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี S W O T Vision Strategic Issue Goal (KPI / target) Strategies Strategic Control การกำกับและติดตามผล Strategy Implementation การปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์ Action Plan Strategic Management Process Risk Assessment & Management การประเมินและบริหารความเสี่ยง บุคคล/วัฒนธรรม กระบวนงาน ระบบสารสนเทศ การปรับเชื่อมโยง กฎ/ระเบียบ โครงสร้าง ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง
32
1. 2. 3. 4. การทบทวนยุทธศาสตร์ Strategy Re-formulation
Effectiveness ผังเชิงยุทธศาสตร์ Strategy Map (ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุ/ผล ) ปัจจัยที่ขาดหายไป(Missing Links?) ทางออกเพื่อแก้ไขปัญหา การทบทวนยุทธศาสตร์ Strategy Re-formulation 1. แผนการบริหารการเปลี่ยนแปลง Change Management Plan อุปสรรคการดำเนินงานกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิด ทางออกเพื่อแก้ไขปัญหา Quality 2. Efficiency 3. กระบวนการบริหารลูกค้า Customer Management Processes การบริหารกระบวนการ Operations Management Processes Capacity-building การวางระบบบริหารจัดการสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้Intangible Assets Management Processes 4.
33
ทุนมนุษย์ ทุนองค์การ การวางระบบบริหารจัดการสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้
Intangible Assets Management Processes ทุนมนุษย์ Human Capital Human Capital Development Plan ทักษะ ความรู้ การสร้าง “ความพร้อม” ในการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์Strategic Readiness คุณค่า ขีดความสามารถ ทุนข้อมูลสารสนเทศและทุนความรู้ Information Capital ICT Plan ระบบ ฐานข้อมูล เครือข่าย ทุนองค์การ Organization Capital Knowledge Mgt. Individual Scorecard ภาวะผู้นำ ทำงานเป็นทีม วัฒนธรรมองค์กร การถ่ายทอดเป้าหมาย
34
การบริหารองค์กรแนวใหม่ กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์
นำยุทธศาสตร์ ไปปฏิบัติ Strategy Implementation ติดตามประเมินผล Strategic Control วางยุทธศาสตร์ Strategy Formulation วิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด/ ค่าเป้าหมาย กุลยุทธ์ Strategy Map แผนปฏิบัติการ การปรับแต่ง กระบวนงาน โครงสร้าง เทคโนโลยี คน กำกับติดตามและ ประเมินผล ทบทวนสถานการณ์เพื่อ วางยุทธศาสตร์ใหม่ กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์
35
ระบบบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Base Management ;RBM)
input process output outcome “คน” ขับเคลื่อน มิติที่ 4 “คน” ที่เป็น เป้าหมาย การพัฒนา
36
4. การบริหารแผนสู่ความสำเร็จ
37
ประเด็นการพิจารณา/ เกณฑ์การพิจารณา
ตัวอย่าง หลักเกณฑ์การพิจารณาคุณภาพแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ( ปี 2555) (ต่อ) ประเด็นการพิจารณา/ เกณฑ์การพิจารณา (กรณีแผนพัฒนา กลุ่มจังหวัด) น้ำหนัก องค์ประกอบครบถ้วน ถ้ามีครบ 8 หัวข้อ ได้เต็ม 5 คะแนน ตัด 1 คะแนน ต่อ 1 หัวข้อที่ขาดไป 5 2.ข้อมูลสภาพทั่วไปของจังหวัด มีข้อมูลเพียงพอสำหรับทำความเข้าใจสภาพพื้นฐานทั่วไป (Profile) ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 3.การวิเคราะห์สถานะ/แนวโน้มและศักยภาพ มีการนำเสนอข้อมูลเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน เชิงวิเคราะห์ให้เห็นศักยภาพและระดับความรุนแรงของปัญหา จัดทำ SWOT Analysis โดยมีความสอดคล้องกับข้อมูลที่นำเสนอ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการของจังหวัด/กลุ่มจังหวัดที่สะท้อนปัญหาเชิงพื้นที่ แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ อย่างแท้จริง 25 (10) (5)* (5) 4.วิสัยทัศน์ มีความสอดคล้องกับข้อมูลและมีความเป็นไปได้ มีจุดเน้นที่ชัดเจนสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด (3) (2) 5.ประเด็นยุทธศาสตร์ สนับสนุนการบรรลุวิสัยทัศน์ ข้อความยุทธศาสตร์สามารถสื่อทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจน สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติและกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค 10 15 มิถุนายน 2553
38
ประเด็นการพิจารณา/ เกณฑ์การพิจารณา
ตัวอย่าง หลักเกณฑ์การพิจารณาคุณภาพแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ( ปี 2555) (ต่อ) ประเด็นการพิจารณา/ เกณฑ์การพิจารณา (กรณีแผนพัฒนา กลุ่มจังหวัด) น้ำหนัก 6.เป้าประสงค์ มีความสอดคล้องและสนับสนุนกับประเด็นยุทธศาสตร์ มีความชัดเจนเป็นรูปธรรมให้เห็นว่าในช่วง 4 ปี ต้องการจะบรรลุอะไร 5 (3) (2) 7.ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายแต่ละยุทธศาสตร์ สามารถสะท้อนการบรรลุเป้าประสงค์ได้อย่างชัดเจน มีค่าเป้าหมายที่แสดงถึงความก้าวหน้าจากสภาพปัจจุบันที่เป็นอยู่ 8.กลยุทธ์ สอดคล้องกับเป้าประสงค์และประเด็นยุทธศาสตร์ แสดงแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนเพื่อการกำหนดแผนงานโครงการ 10 (5) 9.บัญชีรายการชุดโครงการ แสดงถึงการบูรณาการและได้รับประโยชน์ร่วมกันของกลุ่มจังหวัด มีโครงการทุกแหล่งงบประมาณ (จังหวัด กระทรวง/กรม ท้องถิ่น) มีโครงการครบถ้วนทั้ง 4 ปี สอดคล้องและตอบสนองกลยุทธ์อย่างครบถ้วน สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการของ ก.น.จ. 30 (12) (10) รวม 100 คะแนน 85 – 100 ดีมาก (A) คะแนน 70 – 84 ดี (B) คะแนน 50 – 69 พอใช้ (C) คะแนนต่ำกว่า 50 ควรปรับปรุง (D)
39
5. ข้อแนะนำในการวางแผนเพื่อพัฒนา ประสิทธิภาพองค์กร
40
1) มีการวางรากฐานการบริหารจัดการเชิงรุก
1) มีการวางรากฐานการบริหารจัดการเชิงรุก สนับสนุนการฝึกอบรม การทำวิจัย การสร้างวัฒนธรรมองค์กรในสังคมเป็นสังคมคุณภาพ คือ “ การเป็นคนดีและมีระบบที่ดี ” การเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ คือ “ คิดเป็นและนำไปประยุกต์ใช้ได้ ” เป็นสังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทร คือ “ มีความรักและสามัคคี โดยมีระบบคุณภาพกำกับการปฏิบัติงาน ” เน้นการทำงานเป็นทีม โดยจัดตั้งทีม BSC ทีม KM และทีมการตลาดและประชาสัมพันธ์เชิงรุก
41
1) มีการวางรากฐานการบริหารจัดการเชิงรุก(ต่อ)
การส่งเสริมให้มีการสร้างนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ การใช้งานวิจัยเป็นฐานในการตัดสินใจและเพิ่มการเรียนรู้ การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย การสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน การกำหนดคุณภาพของการบริการในระดับความพึงพอในมากกว่า 85% การจัด Workshop นอกสถานที่เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ สร้างความเข้าใจในเป้าหมายร่วมกัน การเป็นผู้นำในลักษณะของการช่วยเหลือ (Service-Minded Leader)
42
2) ใช้ Best Practice เพื่อเป็นตัวอย่างการดำเนินงาน
43
คณะทำงาน Balanced Scorecard (BSC)
3) การวัดประเมินผลและดัชนีชี้วัดผลสำเร็จของงาน (Balanced Scorecard and KPIs) ฝ่ายประกันคุณภาพ คณะทำงาน Balanced Scorecard (BSC) ที่มีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่วัดประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินงานของระบบคุณภาพ และแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร 1. KPI ที่ สพท. เขต 2 ได้ทำข้อตกลงไว้กับกระทรวง 2. KPI ตามมาตรฐานระบบประกันคุณภาพที่ สพท. เขต 2 ได้นำมาปฏิบัติ 3. ยุทธศาสตร์ที่คณะทำงานได้กำหนด KPI โดยคำนึงถึงหลัก Balanced Scorecard (BSC)
44
4) การบริหารเวลา (Effective Time Management)
การกำหนดแผนในการปฏิบัติงานในทุกๆ เรื่องของกระบวนการภายใน ได้แก่ แผนปฏิบัติงานประจำปี แผนการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพ แผนการตรวจติดตามคุณภาพภายใน การพัฒนา speed ของงาน การลดระยะเวลาปฏิบัติงานในทุกขั้นตอน การใช้แผนการตลาดและประชาสัมพันธ์เชิงรุก แผนการดำเนินงาน BSC
45
5) การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
การบริหารความเสี่ยงผ่านทางระบบประกันคุณภาพ โดยมีเป้าหมายการดำเนินงานในแต่ละกระบวนการเป็นตัวควบคุม เช่น การควบคุมให้พร้อมที่จะสนับสนุนงานอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานไม่ต่ำกว่า 92% การควบคุมระดับความพึงพอใจของลูกค้าไม่ต่ำกว่า 85%
46
6) การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)
เป็นการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงรุก คือ เน้นที่การเปลี่ยนแปลงตนเอง ก่อนที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงจากผู้อื่น ซึ่งต้องอาศัยการวิเคราะห์สถานการณ์ และแนวโน้มของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อเตรียมรองรับถ้าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีผลในเชิงลบ การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ การจัดกิจกรรม Open House การเปิดหน่วยบริการชุมชนโดยจัดการศึกษาตามอัธยาศัย การจัดทำระบบการประกันคุณภาพ การพัฒนาองค์กรสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สนับสนุนให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเอง เช่น อบรม สัมมนา On the Job training วิจัย และการศึกษาด้วนตนเอง
47
(สิ่งอำนวยความสะดวก)
7) การสร้างความผาสุกและความพึงพอใจให้กับบุคลากร สภาพแวดล้อม ที่เหมือนบ้าน (สิ่งอำนวยความสะดวก) จัดระบบ ความปลอดภัยสำหรับ การทำงาน ยามวิกาล จัดกิจกรรม นอกสถานที่ปีละ อย่างน้อย 2 ครั้ง จัดกิจกรรม ร่วมกันใน เทศกาลสำคัญๆ
48
กิจกรรม/โครงการ การให้บริการทางการศึกษา
9) มีการตลาดและประชาสัมพันธ์เชิงรุก - ทีมการตลาด ประเมินผล กิจกรรม/โครงการ การให้บริการทางการศึกษา ความ พึงพอใจ ช่องทาง การรับสื่อ ข้อมูล ความต้องการใหม่ ความต้องการ / ความคาดหวัง ประเมินผลและศึกษาข้อมูล ตลอดเวลา
49
ฝ่ายประกันฯ 10) ความร่วมมือของบุคลากรทุกคน ผู้บริหาร เชิงรุก ครูผู้สอน
คณะทำงานพิเศษ เชิงรุก สมาคมผู้ปกครอง ฝ่ายประกันฯ สำนักงานเลขานุการ
50
ขอบคุณครับ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.