งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลักคำสอนสำคัญ ของศาสนาคริสต์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลักคำสอนสำคัญ ของศาสนาคริสต์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักคำสอนสำคัญ ของศาสนาคริสต์
หลังจากถูกตรึงที่กางเขนแล้ว 3 วัน พระเยซูก็ฟื้นขึ้นจากความตาย หลักคำสอนสำคัญ ของศาสนาคริสต์ อาจารย์สอง : Satit UP

2 หลักคำสอนที่สำคัญของศาสนาคริสต์
พระเจ้าผู้เป็นอันติมสัจจ์ หลักตรีเอกานุภาพ (Trinity) หลักความรัก อาณาจักรของพระเจ้า ( Kingdom of God ) คำเทศนาบนภูเขา (ปฐมเทศนา)

3 หลักพระเจ้าผู้เป็นอันติมสัจจ์
หลังจากถูกตรึงที่กางเขนแล้ว 3 วัน พระเยซูก็ฟื้นขึ้นจากความตาย หลักพระเจ้าผู้เป็นอันติมสัจจ์

4 ธรรมชาติของพระผู้เป็นเจ้า
1. มีลักษณะที่เป็น เป็น อนันตภาวะ มีภาวะที่เป็นอยู่โดยไม่รู้จักสลายไป เป็น นิรันตรภาวะ เป็นอยู่ตลอดไป เป็น สัมปุณณภาวะ สมบูรณ์ยิ่ง 2. มีลักษณะเป็นจิต คือ มีความนึกคิด เป็นวิญญาณ คือ รู้แจ้งในสรรพสิ่งทั้งปวง มีความรู้สึกตัวเสมอ ความนึกคิด ความรู้เช่นนี้หาที่สุดมิได้ 3. มีลักษณะเป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรม คือ มีรูปร่าง และเป็นนามธรรม คือ ไม่มีรูปร่างปรากฏ เพราะฉะนั้น พระเป็นเจ้าจึงเป็นทุก ๆ สิ่งในโลก

5 พระผู้เป็นเจ้า (GOD) ในศาสนาคริสต์
1. พระผู้ทรงอานุภาพยิ่งใหญ่ ทรงเป็นจิตบริสุทธิ์ ไม่มีรูปร่าง มีอยู่นิรันดร์ จึงไม่มีการเกิด ไม่มีการตาย ทรงสถิตอยู่ในทุกหนทุกแห่ง ทรงรอบรู้ทุกสิ่ง ทรงสามารถทุกอย่าง 2. ไม่มีใครสร้างพระองค์ แต่พระองค์เป็นผู้สร้างสรรพสิ่งทั้งหลายในสากลพิภพนี้

6 สรรพสิ่ง จะเป็นวัตถุหรือจิต หยาบหรือละเอียด ดีหรือชั่ว หากมีปัจจัยก่อให้เกิด ย่อมแปรเปลี่ยนดับสลายไปตามกาล สิ่งใด ดำรงอยู่เอง ไร้ปัจจัย ไม่เป็นของบุคคล ไม่เป็นบุคคล พ้นกาลเวลา ย่อมดำรงอยู่นิรันดร

7 หลักตรีเอกภาพ (ตรีเอกานุภาพ) TRINITY
หลังจากถูกตรึงที่กางเขนแล้ว 3 วัน พระเยซูก็ฟื้นขึ้นจากความตาย หลักตรีเอกภาพ (ตรีเอกานุภาพ) TRINITY

8 ตรีเอกภาพ หรือ ตรีเอกานุภาพ ( Trinity ) คือ พระบิดา พระบุตร และ พระจิต คือ สามภาคของพระเจ้าที่เป็นหนึ่งเดียวกัน

9 ตรีเอกภาพ หรือ ตรีเอกานุภาพ ( Trinity ) ตรีเอกานุภาพ คือภาวะที่พระเป็นเจ้ามีพระองค์เดียวเป็นเอกภาพ แต่แบ่งเป็นสามพระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร(พระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 นักเทววิทยาศาสนาคริสต์ทั้งทางตะวันออกและตะวันตกยอมรับว่า “ สามพระบุคคลในพระเจ้าองค์เดียว ” สามสิ่งนี้ต่างบุคคลกันแต่มีธรรมชาติเดียวคือความเป็นพระเจ้า ทางปรัชญายังกล่าวต่อไปว่าพระบุตรหรือพระเยซูมีสองธรรมชาติรวมอยู่ในบุคคลเดียวกัน คือความเป็นพระเจ้าและขณะเดียวกันก็เป็นมนุษย์

10 พระจิต Holy spirit พระบิดาThe Father
ตรีเอกานุภาพ พระจิต Holy spirit พระบิดาThe Father พระบุตร The Son

11 พระบิดา พระบุตร(พระเยซู) พระจิต(พระวิญญาณบริสุทธิ์) คือ องค์เดียวกัน สาระถะเดียวกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ( เหมือนกับ น้ำ(ของเหลว) น้ำแข็ง ไอน้ำ(ก๊าซ) แต่มีองค์ประกอบที่เป็นสาระเดียวกันคือ H2O )

12 ตรีเอกภาพ หรือ ตรีเอกานุภาพ ( Trinity ) คือ พระบิดา พระบุตร และ พระจิต คือ . 3 = = 3 .  พระตรีเอกภาพที่เป็นนามธรรมนี้ได้รับการอธิบายแบบที่มองเห็นได้ด้วยสัญลักษณ์ทางเรขาคณิตที่เป็นรูป สามเหลี่ยมด้านเท่า หรือสามเหลี่ยมสองอันซ้อนกัน , ดอกจิก

13

14

15 Trinity

16 พระบิดา ( God , The Father ) คือ พระเจ้าที่สถิตในสวรรค์ หรือสมัยก่อนรู้จักกันในนาม พระเยโฮวาห์ ( Yehovah ) ผู้สร้างโลกมีตั้งแต่ปฐมกาล

17 ในคัมภีร์ไบเบิ้ล พระเยซูทรงกล่าวถึงพระเจ้าในฐานะพระบิดาว่า
พระบิดา ( God , The Father ) ในคัมภีร์ไบเบิ้ล พระเยซูทรงกล่าวถึงพระเจ้าในฐานะพระบิดาว่า “ ในพวกท่านมีใครบ้างที่จะเอาก้อนหินให้บุตรเมื่อเขาต้องการขนมปัง หรือให้งูเมื่อบุตรขอปลา เหตุนั้น ถ้าท่านทั้งหลายเองผู้เป็นคนบาปยังรู้จักให้ของดีแก่บุตรของตน ยิ่งกว่านั้นสักเท่าใด พระบิดาของท่านผู้ทรงสถิตในสวรรค์จงประทานของดีแก่ผู้ที่ขอต่อพระองค์ ” มัทธิว 7 : 9

18 สัญลักษณ์ที่ใช้สื่อถึง พระบิดา ( The father )
ภาพพระบิดาและพระบุตรจะเป็นปรากฏเป็นชายที่มีอายุต่างกัน และต่อมาก็จะแตกต่างกันจากการแต่งกายด้วยแต่ก็ไม่เสมอไป โดยทั่วไปพระบิดาจะเป็นชายสูงอายุมีหนวดขาวซึ่งอาจจะนำมาจากตำนานไบเบิ้ล Ancient of Days บางครั้งเมื่อแสดงภาพของพระบิดาในงานศิลปะศิลปินจะใช้รัศมีเหนือพระเศียรที่เป็นสามเหลี่ยมแทนที่จะกลมเช่นรัศมีทั่วไป พระบุตรมักจะอยู่ทางขวาของพระบิดา บางครั้งก็จะใช้สัญลักษณ์เป็นลูกแกะ หรือ กางเขน แทนพระบุตร หรือพระบุตรบนกางเขน ฉะนั้นพระบิดาจะแสดงเป็นมนุษย์ขนาดเต็มตัว ในสมัยยุคกลางตอนต้นพระเจ้าพระบิดาจะเป็นเพียงมือที่ยื่นออกมาจากก้อนเมฆคล้ายประทานพรเช่นในการให้พรเมื่อ “พระเยซูทรงรับบัพติศมา” ต่อมาก็มีการสร้างศิลปะที่เรียกว่า “บัลลังก์แห่งความกรุณา” (Throne of Mercy ) ซึ่งเป็นที่นิยมกัน ในศิลปะแบบนี้พระบิดาบางครั้งจะนั่งบนบัลลังก์ประคองร่างพระบุตร(พระเยซู) ซึ่งโครงการจัดภาพหรือรูปปั้นจะคล้ายคลึงกับรูปรูปทรงรูปปั้นปิเอต้า(Pieta) ในขณะที่นกพิราบ(แทนพระจิต)จะกางปีกอยู่เหนือพระเศียรหรืออยู่ระหว่างพระบิดาและพระบุตร ทรงนี้เป็นที่นิยมทำกันจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18

19 พระบุตร (พระเยซูคริสต์) ( Son of God )
คือ พระเจ้าในสภาพมนุษย์ การที่พระเจ้าปรารถนาจะช่วยมนุษย์ให้พ้นจากบาปกำเนิด ( Original Sin ) ที่สืบกันมาแต่บรรพบุรุษคู่แรก คือ อาดัมและอีวา(อีฟ) และบาปที่มนุษย์ได้ก่อขึ้น พระองค์จึงส่งพระบุตร(พระเยซู)มาเกิดในโลกมนุษย์ เพื่อช่วยให้มนุษย์เข้าถึงทางแห่งความรอด ( พระบุตรมาไถ่บาปของมนุษย์ )

20 สัญลักษณ์ที่ใช้สื่อถึง พระบุตร ( Son , Son of God )
ไม้กางเขน (หมายถึงสัญลักษณ์ของการไถ่บาปเพื่อช่วยเหลือมนุษย์) พระเยซู , มงกุฎหนาม (หมายถึงพระเยซูซึ่งถูกตรึงกางเขนเพื่อไถ่บาป) แกะ หรือ ลูกแกะ (หมายถึงพระเยซูซึ่งถูกตรึงกางเขนเพื่อไถ่บาปรับโทษบาปของมนุษย์)

21 ไถ่บาปมนุษย์ สวรรค์ โลก
พระบุตร = พระเยซูคริสต์ (พระเมสสิอาห์ หรือ เมสสิยาห์ (Messiah) พระผู้ไถ่บาปมนุษย์ ไถ่บาปมนุษย์ มนุษย์ทุกคนมีบาป และทำบาป จะพ้นบาปก็ต่อเมื่อได้รับการไถ่บาปจากพระบุตรเท่านั้น สวรรค์ โลก

22 พระจิต หรือ พระวิญญาณบริสุทธิ์ ( Holy Spirit )
เมื่อพระเยซูได้จากสาวกไปแล้ว (เสด็จขึ้นสวรรค์) พระองค์ก็ยังทรงเมตตาต่อมนุษย์ จึงได้ส่งพระจิตของพระองค์มายังโลกเพื่อมนุษย์จะได้รู้ถึงสิ่งต่าง ๆ ที่พระเจ้าได้ประทานมาให้แก่มนุษย์ พั

23 พระจิต หรือ พระวิญญาณบริสุทธิ์ ( Holy Spirit )
ในประเทศไทย นิกายโรมันคาทอลิก มัก จะใช้คำเรียกว่า พระจิต หรือ พระจิตเจ้า นิกายโปรเตสแตนท์ มัก จะใช้คำเรียกว่า พระวิญญาณบริสุทธิ์

24 นกพิราบสีขาว / นกเขาสีขาว
สัญลักษณ์ที่ใช้สื่อถึง พระจิต(พระวิญญาณบริสุทธิ์) ( The Holy Spirit ) นกพิราบสีขาว / นกเขาสีขาว

25 สัญลักษณ์ที่ใช้สื่อถึง พระจิต(พระวิญญาณบริสุทธิ์) ( The Holy Spirit )
ในทางศิลปะศาสนาคริสต์ที่ใช้นกพิราบสื่อถึงพระจิต(พระวิญญาณบริสุทธิ์) นั้นเนื่องมาจาก ตามที่กล่าวในคัมภีร์ไบเบิ้ลในส่วนที่กล่าวถึงชีวประวัติของพระเยซูนั้น ในเหตุการณ์ที่ “พระเยซูทรงรับศีลบัพติศมา(ศีลล้างบาป/ศีลจุ่ม) ที่เรียกว่า Baptism of Christ นั้น ในคัมภีร์กล่าวไว้ว่า “และพระเยซูเมื่อพระองค์ทรงรับศีลบัพติศมาแล้ว ในทันใดนั้นก็เสด็จขึ้นจากน้ำ และดูเถิด ท้องฟ้าก็แหวกออก และพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นพระวิญญาณของพระเจ้าเสด็จลงมาดุจนกพิราบและสถิตอยู่บนพระองค์” (มัทธิว 3 : 16) และรูปนกพิราบส่วนใหญ่ที่วาดนั้น จะกางปีก

26 พระบิดา ( Father ) พระบุตร ( Son )
ตรีเอกภาพ หรือ ตรีเอกานุภาพ ( Trinity ) พระจิต / พระวิญญาณบริสุทธิ์ ( Holy Spirit ) พระบิดา ( Father ) พระบุตร ( Son )

27 พระบิดา ( Father ) พระบุตร ( Son )
ตรีเอกภาพ หรือ ตรีเอกานุภาพ ( Trinity ) พระจิต / พระวิญญาณบริสุทธิ์ ( Holy Spirit ) พระบิดา ( Father ) พระบุตร ( Son )

28 พระบิดา ( Father ) พระบุตร ( Son )
ตรีเอกภาพ หรือ ตรีเอกานุภาพ ( Trinity ) พระจิต / พระวิญญาณบริสุทธิ์ ( Holy Spirit ) พระบิดา ( Father ) พระบุตร ( Son )

29 พระบิดา ( Father ) พระบุตร ( Son )
ตรีเอกภาพ หรือ ตรีเอกานุภาพ ( Trinity ) พระจิต / พระวิญญาณบริสุทธิ์ ( Holy Spirit ) พระบิดา ( Father ) พระบุตร ( Son )

30 ตรีเอกภาพ หรือ ตรีเอกานุภาพ ( Trinity )
พระจิต / พระวิญญาณบริสุทธิ์ ( Holy Spirit ) พระบิดา ( Father ) พระบุตร ( Son )

31 ตรีเอกภาพ หรือ ตรีเอกานุภาพ ( Trinity )
พระบิดา ( Father ) พระจิต / พระวิญญาณบริสุทธิ์ ( Holy Spirit ) พระบุตร ( Son )

32 พระบิดา ( Father ) พระบุตร ( Son )
ตรีเอกภาพ หรือ ตรีเอกานุภาพ ( Trinity ) พระจิต / พระวิญญาณบริสุทธิ์ ( Holy Spirit ) พระบิดา ( Father ) พระบุตร ( Son )

33 พระบิดา ( Father ) พระบุตร ( Son )
ตรีเอกภาพ หรือ ตรีเอกานุภาพ ( Trinity ) พระบิดา ( Father ) พระจิต / พระวิญญาณบริสุทธิ์ ( Holy Spirit ) พระบุตร ( Son )

34 ตรีเอกภาพ หรือ ตรีเอกานุภาพ ( Trinity )
พระบิดา ( Father ) พระจิต / พระวิญญาณบริสุทธิ์ ( Holy Spirit ) พระบุตร ( Son )

35 ตรีเอกภาพ หรือ ตรีเอกานุภาพ ( Trinity )
พระจิต / พระวิญญาณบริสุทธิ์ ( Holy Spirit ) พระบิดา ( Father ) พระบุตร ( Son )

36 ตรีเอกภาพ หรือ ตรีเอกานุภาพ ( Trinity )
พระจิต / พระวิญญาณบริสุทธิ์ ( Holy Spirit ) พระบิดา ( Father ) พระบุตร ( Son )

37 ตรีเอกภาพ หรือ ตรีเอกานุภาพ ( Trinity )
พระจิต / พระวิญญาณบริสุทธิ์ ( Holy Spirit ) พระบิดา ( Father ) พระบุตร ( Son )

38 ตรีเอกภาพ หรือ ตรีเอกานุภาพ ( Trinity )
พระบิดา ( Father ) พระจิต / พระวิญญาณบริสุทธิ์ ( Holy Spirit ) พระบุตร ( Son )

39 ตรีเอกภาพ หรือ ตรีเอกานุภาพ ( Trinity )
พระจิต / พระวิญญาณบริสุทธิ์ ( Holy Spirit ) พระบิดา ( Father ) พระบุตร ( Son )

40 ตรีเอกภาพ หรือ ตรีเอกานุภาพ ( Trinity )
พระจิต / พระวิญญาณบริสุทธิ์ ( Holy Spirit ) พระบิดา ( Father ) พระบุตร ( Son )

41 ตรีเอกภาพ หรือ ตรีเอกานุภาพ ( Trinity )
พระจิต / พระวิญญาณบริสุทธิ์ ( Holy Spirit ) พระบิดา ( Father ) พระบุตร ( Son )

42 ตรีเอกภาพ หรือ ตรีเอกานุภาพ ( Trinity )
พระบิดา ( Father ) พระจิต / พระวิญญาณบริสุทธิ์ ( Holy Spirit ) พระบุตร ( Son )

43 หลังจากถูกตรึงที่กางเขนแล้ว 3 วัน พระเยซูก็ฟื้นขึ้นจากความตาย
หลักความรัก

44 หลักความรัก ของศาสนาคริสต์
ศาสนาคริสต์ ถือเป็น “ ศาสนาแห่งความรัก ” คำสอนของพระเยซูที่ได้วางรากฐานคำสอนนี้ กล่าวว่า “ รักพระเจ้าด้วยสุดใจ และ รักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง ” กล่าวโดยสรุป เป็นความรักที่สัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์ กับ พระเจ้า และ มนุษย์ กับ มนุษย์ด้วยกัน

45 บัญญัติสิบประการ 1. จงนมัสการพระเจ้าแต่ผู้เดียว
2. อย่าออกพระนามพระเจ้าโดยไม่สมควร 3. วันซะบาโตให้ถือเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ 4. จงนับถือบิดามารดา 5. อย่าฆ่าคน 6. อย่าล่วงประเวณี 7. อย่าลักทรัพย์ 8. อย่านินทาว่าร้ายผู้อื่น 9. อย่าคิดโลภในประเวณี 10. อย่าคิดโลภในสิ่งของของผู้อื่น

46 บัญญัติความรักของศาสนาคริสต์
บัญญัติ 10 ประการ บัญญัติความรักของศาสนาคริสต์ 1. จงนมัสการพระเจ้าแต่ผู้เดียว 2. อย่าออกพระนามพระเจ้าโดยไม่สมควร 3. วันซะบาโตให้ถือเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ รักพระเจ้า 4. จงนับถือบิดามารดา 5. อย่าฆ่าคน 6. อย่าล่วงประเวณี 7. อย่าลักทรัพย์ 8. อย่านินทาว่าร้ายผู้อื่น 9. อย่าคิดโลภในประเวณี 10. อย่าคิดโลภในสิ่งของของผู้อื่น รักเพื่อนมนุษย์ หลักความรัก ของศาสนาคริสต์ ศาสนาคริสต์ถือเป็นศาสนาแห่งความรักเพราะว่าพระเยซูได้วางรากฐานคำสอนนี้โดย “ รักพระเจ้าด้วยสุดใจ และ รักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง ” สรุปแล้ว เป็นความรักที่สัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์ กับ พระเจ้า และ มนุษย์ กับ มนุษย์ ด้วยกัน บัญญัติสิบประการบัญญัติความรักของศาสนาคริสต์1.จงนมัสการพระเจ้าแต่ผู้เดียว2. อย่าออกพระนามพระเจ้าโดยไม่สมควร3.วันพระเจ้าให้ถือเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ รักพระเจ้า4.จงนับถือบิดามารดา5.อย่าฆ่าคน6.อย่าล่วงประเวณี7.อย่าลักทรัพย์8.อย่านินทาว่าร้ายผู้อื่น9.อย่าคิดโลภในประเวณี10.อย่าคิดโลภในสิ่งของของผู้อื่น รักเพื่อนมนุษย์

47 หลักความรัก ของศาสนาคริสต์
ศาสนาคริสต์ได้ชื่อว่าเป็น “ศาสนาแห่งความรัก” ดังมีคำอธิบายว่าศาสนาคริสต์เป็นศาสนาแห่งความรักของพระเจ้า ศาสนาแห่งความรักของมนุษย์ อันพระเยซูคริสต์ได้ทรงเป็นผู้นำมาเผยแพร่แก่โลก ปรัชญาในคำสอนของพระเยซู คือ ปรัชญาแห่งความรัก ความรักเป็นหลักธรรมสำคัญที่สุดที่พระเยซูทรงสั่งสอนเริ่มต้นตั้งแต่ทรงสอนว่า พระเจ้าทรงรักโลก จนได้ทรงส่งพระบุตรของพระองค์มาสู่โลกนี้ เพื่อทรงใช้หนี้บาปแทนมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์รอดพ้นบาป สอนให้มนุษย์รักพระเจ้า รักครอบครัว รักเพื่อนบ้าน และรักเพื่อนมนุษย์ทั้งหลายทั่วไป เมื่อมีผู้ถามว่า ข้อบัญญัติอันใดของพระองค์ที่ทรงถือเป็นข้อสำคัญยิ่งใหญ่ที่สุด พระเยซูทรงตอบว่า ความรัก และทรงอธิบายต่อไปว่าให้รักพระเจ้าและรักเพื่อนมนุษย์

48 หลักความรัก ของศาสนาคริสต์
คำว่า “ ความรัก ” ในคริสต์ศาสนา มิได้หมายถึงความรักใคร่หรือความรักที่ประกอบด้วยตัณหา แต่เป็นความรักอันบริสุทธิ์ ซึ่งในภาษากรีกอันเป็นภาษาที่จารึกพระคัมภีร์พระคริสต์ธรรมภาคพันธสัญญาใหม่(คัมภีร์ใหม่) ใช้คำว่า Agape (อกาเป) คือ ความปรารถนาที่จะเห็นผู้อื่นมีความสุข ความเสียสละเพื่อช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ และความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ความรักชนิดนี้ตรงกับคำว่า เมตตา กรุณา และมุทิตา ในทางพระพุทธศาสนา คำสอนของพระเยซูที่สอนให้มีความรักความปรารถนาดีต่อกันนั้นมีมาก

49 หลักความรัก ของศาสนาคริสต์
“ เพราะว่าพระเจ้าทรงรักโลก จึงได้ทรงประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่วางใจในพระบุตรนั้นจะไม่พินาศ แต่มีชีวิตนิรันดร” ยอห์น 3:16 “ จงรักพระองค์ผู้เป็นพระเจ้าของเจ้าด้วยสุดจิตสุดใจของเจ้าด้วยสุดกำลังและสิ้นสุดความคิดของเจ้า และจงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง” “ จงรักศัตรูของท่าน และจงอธิษฐานเพื่อผู้ที่ข่มเหงท่าน ทำดังนี้แล้วท่านทั้งหลายจะเป็นบุตรของพระบิดาของท่านผู้ทรง “สถิตในสวรรค์” แต่พระเจ้าทรงสำแดงความรักของพระองค์แก่เราทั้งหลาย คือขณะที่เรา ยังเป็นคนบาปอยู่นั้น พระคริสต์ได้ทรงสิ้นพระชนม์เพื่อเรา (โรม 5:8)   "พระเจ้าทรงเป็นความรัก และผู้ใดที่อยู่ในความรัก ก็อยู่ในพระเจ้า และพระเจ้าก็ทรงสถิตอยู่ในผู้นั้น“ (1 ยอห์น 4:16)

50 หลักความรัก ของศาสนาคริสต์
“แต่ผู้ใดที่ประพฤติตามพระวจนะของ พระองค์ ความรักของพระเจ้าก็ถึงความบริบูรณ์ในผู้นั้นแล้วอย่างแน่แท้ ด้วยอาการอย่างนี้แหละเราทั้งหลายจึงรู้ว่าเราอยู่ในพระองค์” (1 ยอห์น 2:5) “ผู้ที่รักพี่น้องของตนก็อยู่ในความ สว่าง และในความสว่างนั้นไม่มีอะไรที่ทำให้สะดุด” (1 ยอห์น 2:10)  "พระเจ้าทรงเป็นความรัก และผู้ใดที่อยู่ในความรัก ก็อยู่ในพระเจ้า และพระเจ้าก็ทรงสถิตอยู่ในผู้นั้น“ (1 ยอห์น 4:16)  "ฝ่ายเราบอกท่านว่า จงรักศัตรูของท่าน และจงอธิษฐานเพื่อผู้ที่ข่มเหงท่าน“ (มัทธิว 5:44)  เราให้บัญญัติใหม่ไว้แก่เจ้าทั้งหลาย คือให้เจ้ารักซึ่งกันและกัน เรารักเจ้าทั้งหลายมาแล้วอย่างไร เจ้าจงรักกันและกันด้วยอย่างนั้น (ยอห์น 13:34)  ถ้าผู้ใดว่า "ข้าพเจ้ารักพระเจ้า" และใจยังเกลียดชังพี่น้องของตน ผู้นั้นก็เป็นคนพูดมุสา เพราะว่า ผู้ที่ไม่รักพี่น้องของตน ที่แลเห็นแล้ว จะรักพระเจ้าที่ไม่เคยเห็นไม่ได้ พระบัญญัตินี้ เราทั้งหลาย ก็ได้มาจากพระองค์ คือว่าให้คนที่รักพระเจ้านั้น รักพี่น้องของตนด้วย (ยอห์น 4:20-21)

51 หลักความรัก ของศาสนาคริสต์ ความรัก 4 แบบของศาสนาคริสต์
ความรัก 4 แบบของศาสนาคริสต์ 1. ฟิเลียส (Philios) 2. สตอรเก้ (Storge) 3. อีรอส (Eros) อีรอส 4. อกาเป้ (Agape)

52 หลักความรัก ของศาสนาคริสต์
ความรัก 4 แบบของศาสนาคริสต์ 1. ฟิเลียส (Philios) เป็นความรักอย่างแรกของความรัก 4 แบบ ฟีเลียสเป็นรักง่ายๆ เป็นความรักกึ่งๆ ระหว่าง อีรอส และอากาเป้ เป็นมิตรภาพที่มีต่อเพื่อนฝูง เป็นรากฐานของความจำเป็นในสังคมมนุษย์ เราเกิดมา โดยสันดาน มนุษย์ต้องการความรักและการยอมรับ เป็นความรักใคร่และผูกพัน รู้สึกอบอุ่น ใช้ได้กับทั้งความรักระหว่างเพื่อน ความเป็นมิตรภาพ และความรักของสามีภรรยา เป็นลักษณะ “รักอย่างทะนุถนอม” หรือ “รักอย่างดูแลเอาใจใส่” จึงเป็นคำที่แสดงถึงความสัมพันธ์ที่งดงาม

53 หลักความรัก ของศาสนาคริสต์
ความรัก 4 แบบของศาสนาคริสต์ 2. สตอร์เก้ (Storge)   สตอร์เก้ เป็นความรักญาติพี่น้อง“ความรักความผูกพันฉันท์ญาติ” โดยอาจใช้บรรยายถึงความรักที่ประชาชนมีต่อผู้ปกครองหรือความรักของชนชาติด้วย แต่โดยทั่วไป คำนี้มักจะใช้อธิบายความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูกและความรักที่ลูกมีต่อพ่อแม่ เป็นความรักที่เกิดขึ้นในคนทุกคน สตอรเก้ เป็นรักที่พัฒนาขึ้นมา ตามกระบวนการบางอย่าง ชีวิตของคนเรา มีความเกี่ยวพันกันในการเลี้ยงดู พ่อแม่ ดูแลลูกที่เกิดมา ในสัตว์ประเภทเดียวกัน เกิดมาก็รวมกลุ่มกันเพื่อความอยู่รอด คือ รักกันตามสัญชาตญาณ ไม่ต้องบอกผู้เป็นแม่ ว่าให้ปกป้องลูกน้อย เพราะมันเป็นไปโดยอัตโนมัติ แม่รักลูกตัวเอง ได้อย่างง่ายดาย เพราะนั่นเป็นลูกของแม่ แต่ความรักแบบ สตอรเก้ก็ยังเป็นความรักที่เห็นแก่ตัว เพราะมีเรื่องการหวัง ผลตอบแทนทางอารมณ์ มาเกี่ยวข้อง การแสดงออกแบบ สตอรเก้ พ่อแม่เรียนรู้ความรักแบบนี้ได้ พอเด็กโต เด็กก็จะ เรียนรู้ความรักนี้โดยอัตโนมัติ

54 หลักความรัก ของศาสนาคริสต์
ความรัก 4 แบบของศาสนาคริสต์ 3. อีรอส (Eros)   อีรอส เป็นความรักที่ต้องการให้ได้มา (Acquisitive) บนพื้นฐานความเห็นแก่ตัว (Egocentric/Selfish) เป็นรักที่ไม่แน่นแฟ้น หรือ ถาวร เป็นความรักที่เกี่ยวข้องกับความใคร่ เกี่ยวพันกับเรื่องทางเพศ อีรอส เป็นความรัก ที่ตอบสนองความงามของวัตถุ และการใช้อีรอส ในทางที่ผิดจะนำไปสู่ความเสื่อม สำหรับเพลโต อีรอสเป็นความรัก ในความงาม และรักในวัตถุแห่งความงาม ซึ่งสะท้อนให้เราเห็น ถึงความงามที่สมบูรณ์แบบ ที่มีอยู่ในโลกแห่งแบบ เพลโตจึงกล่าวว่า คนรัก (Lover) หมายถึง คนที่รักในความสวยงาม

55 หลักความรัก ของศาสนาคริสต์
ความรัก 4 แบบของศาสนาคริสต์ 4. อกาเป้ (Agape)    อกาเป้ คือความ รักในระดับสูงสุด รักที่ให้แก่กัน ไม่คิดถึงตัวเอง และสละได้ทุกสิ่งเพื่อสิ่งที่รัก ไม่มีเปลี่ยนแปลง และให้ได้เสมอ แม้เป็นศัตรู ความรักแบบอกาเป้อาจหมายถึง การรักในอะไรก็ตาม ที่คนเรายอมตายถวายชีวิตให้ การที่พระเยซูคริสต์ยอมตายไถ่บาปมนุษย์ เรียกได้ว่า เป็นความรักแบบอกาเป้ จนกระทั่งมีคำพูดเขียนไว้ว่า “ Not that God is Eros or Stroge or Philia, but Agape “ อกาเป้ เป็นความรักแบบไม่มีเงื่อนไข อาจกล่าวได้ว่า ในบรรดาความรักทั้งหมด อกาเป้สำคัญที่สุด เพราะความรัก สามแบบแรก Eros, Storge และ Philia ล้วนแต่เกิดขึ้นในใจคนเราได้ โดยไม่ต้องพยายาม เราย่อมจะรักพ่อแม่ของเรา และย่อมรักเพื่อนฝูงเพราะเขาดีกับเรา และบ้างก็คิดเหมือนเรา แต่อกาเป้ เป็นความรักชนิดเดียว ที่สิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผล จะสร้างไว้ในใจตัวเองได้ เพราะเป็นความรัก ที่ต้องมีให้ แม้แต่คนที่เกลียดชัง

56 หลักความรัก ของศาสนาคริสต์
คำว่า “ ความรัก ” ในคริสต์ศาสนา มิได้หมายถึงความรักใคร่หรือความรักที่ประกอบด้วยตัณหา แต่เป็นความรักอันบริสุทธิ์ ซึ่งในภาษากรีกอันเป็นภาษาที่จารึกพระคัมภีร์พระคริสต์ธรรมภาคพันธสัญญาใหม่(คัมภีร์ใหม่) ใช้คำว่า Agape (อกาเป) Agape (อกาเป) คือ ความปรารถนาที่จะเห็นผู้อื่นมีความสุข ความเสียสละเพื่อช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ และความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ภาษากรีก agape,หรือ agapao (อากาเพ,อากาพาโอ) เป็นความรักที่ยิ่งใหญ่สูงสุด ความรักที่สะอาดบริสุทธิ์(ความรักสีขาว) เป็นความรักของพระเจ้าที่ไม่มีเงื่อนไข (ไม่มีข้อแม้)และไม่หวังสิ่งตอบแทน ยอมให้ เสียสละทุกอย่างแม้กระทั่งชีวิตของตนเอง ความรักชนิดนี้ตรงกับคำว่า เมตตา กรุณา และมุทิตา ในทางพระพุทธศาสนา คำสอนของพระเยซูที่สอนให้มีความรักความรารถนาดีต่อกันนั้นมีมาก ดังจะยกตัวอย่างมาดังนี้

57 หลักความรัก ของศาสนาคริสต์
ความรักนั้นก็อดทนนานและกระทำคุณให้ ความรักไม่อิจฉา ไม่อวดตัว ไม่หยิ่งผยอง ไม่หยาบคาย ไม่คิดเห็นแก่ตนเองฝ่ายเดียว ไม่ฉุนเฉียว ไม่ช่างจดจำความผิด ไม่ชื่นชมยินดีเมื่อมีการประพฤติผิดแต่ชื่นชมยินดีเมื่อประพฤติชอบ ความรักทนได้ทุกอย่างแม้ความผิดของคนอื่นและเชื่อในส่วนดีของเขาอยู่เสมอ และมีความหวังอยู่เสมอ และทนต่อทุกอย่าง 1 โครินธ์ 13:4-7

58 หลักอาณาจักรพระเจ้า ( Kingdom of God )
หลังจากถูกตรึงที่กางเขนแล้ว 3 วัน พระเยซูก็ฟื้นขึ้นจากความตาย หลักอาณาจักรพระเจ้า ( Kingdom of God )

59 หลักอาณาจักรพระเจ้า ( Kingdom of God )
ความหมายที่ 1 อาณาจักรพระเจ้าที่อยู่บนสวรรค์(แผ่นดินสรรค์) ผู้มีศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า ความหมายที่ 2 อาณาจักรพระเจ้าบนโลก มีอยู่ 2 นัย ด้วยกันคือ อาณาจักรของพระเจ้า คือ ศาสนาจักร หรือดินแดนที่เต็มไปด้วยความรักความเมตตาต่อกันหรือความสุข(บนโลกนี้) อาณาจักรของพระเจ้า คือ อาณาจักรแห่งความรักและสันติสุข (พระศาสนจักรหรือชุมชนของคริสตชน) ตามเอกสารการสังคายนา วาติกันที่ 2 ของนิกายโรมันคามอลิก

60 หลักอาณาจักรพระเจ้า ( Kingdom of God )
คำสอนของพระเยซู ในคัมภีร์ไบเบิล กล่าวว่า “ อย่าสะสมทรัพย์สมบัติไว้สำหรับตัวในโลกนี้ ที่ตัวหนอนและสนิมอาจทำลายได้ ขโมยอาจลักไปได้ แต่จงสะสมทรัพย์สมบัติไว้ในสวรรค์ ที่หนอนหรือสนิมไม่อาจทำลายได้ และที่ขโมยไม่ลักเอาไปได้ ” “ แต่ท่านทั้งหลายจงแสวงหาแผ่นดินของพระเจ้าและความชอบธรรมของพระองค์ท่าน ” มัทธิว 6 : 19-20

61 หลักอาณาจักรพระเจ้า ( Kingdom of God )
ตามธรรมนูญของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ที่กรุงโรม ปี ค.ศ ประกาศว่า อาณาจักรของพระเจ้าแบ่งเป็น 2 ขั้น คือ อาณาจักรแห่งพระเจ้าบนโลก อั้นนี้เป็นรากฐาน ส่วนขั้นสุดท้ายคือ อาณาจักรแห่งพระเจ้าที่สมบูรณ์บนสวรรค์

62 คำเทศนาบนภูเขา(ปฐมเทศนา) The Sermon On The Mount
หลังจากถูกตรึงที่กางเขนแล้ว 3 วัน พระเยซูก็ฟื้นขึ้นจากความตาย คำเทศนาบนภูเขา(ปฐมเทศนา)  The Sermon On The Mount

63 คำเทศนาบนภูเขา(ปฐมเทศนา)
“ คำเทศนาบนภูเขา “ การเทศนาของพระเยซูคริสต์ เมื่อประมาณปี ค.ศ. 30 บนภูเขาต่อหน้าสาวก 12 คนและผู้มาเฝ้าชุมนุมจำนวนมาก เป็นการเทศนาที่ประมวลคำสอนของพระเยซูที่เคยสั่งสอนตลอดช่วงเวลาสามปีในปาเลสไตน์ไว้อย่างเป็นระบบที่สุด นับเป็นบทเทศนาที่ท้าทายสภาพสังคมในยุคสมัยนั้น และแสดงถึงความแตกต่างในแนวทางคำสอนของพระเยซูกับแนวทางของศาสนายิวดั้งเดิมอย่างชัดเจน แสดงให้เห็นถึงจุดประสงค์ของพระเยซูที่ต้องการปฏิรูปชีวิตมนุษย์ไปสู่หนทางที่ถูกต้องอีกระดับหนึ่งตามแนวทางของพระองค์ อีกทั้งยังเป็นหลักจริยธรรมที่ทรงมอบให้แก่มนุษย์ทุกคนได้ถือปฏิบัติเพื่อความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

64 คำเทศนาบนภูเขา(ปฐมเทศนา)
คำเทศนาบนภูเขา เริ่มต้นด้วยคำสอนเกี่ยวกับผู้เหมาะสมกับแผ่นดินสวรรค์ คือ 1. คนที่ยอมรับว่าตนเองมีความบกพร่องฝ่ายจิตวิญญาณ คือ คือคนที่รู้สึกได้ถึงความผิดบาปในตัวเอง ต้องการกลับใจใหม่อยู่เสมอๆ เพราะตราบใดที่เขายังรู้สำนึกผิดบาปในตัวเองอยู่ แสดงว่าจิตวิญญาณลึกๆของเขายังคงดำเนินอยู่ในทางของพระเจ้า แต่เมื่อไรที่จิตวิญญาณของเขาผู้นั้นเพิกเฉยต่อการกระทำบาป และไม่รู้สึกละอายต่อบาปแล้ว จิตวิญญาณเขาก็จะตกนรก คนที่เสียใจอย่างสุดซึ้งกับความบกพร่องในข้อแรก เป็นความเสียใจที่นำไปสู่ความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะแก้ไข 3. คนที่ยอมรับคำสอนและการฝึกฝนอย่างหนัก คนที่ปรารถนาจะมีชีวิตอย่างถูกต้องชอบธรรม

65 คำเทศนาบนภูเขา(ปฐมเทศนา)
5. คนที่รักและปรารถนาดีต่อผู้อื่นอยู่เสมอ ความรักนี้แสดงออกมาเป็นการกระทำที่ไม่มีเงื่อนไขของการตอบแทน 6. คนที่มีท่าทีส่วนลึกในจิตใจบริสุทธิ์ คนที่สร้างสันดิ 8. คนที่ถูกข่มเหงเพราะการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง หรือมีชีวิตอย่างลำบากเพื่อรักษาความถูกต้อง 9. คนที่ถูกข่มเหงเพราะเป็นคริสตชน คำสอนทั้ง 9 ข้อนี้เกี่ยวข้องกัน และจะมีพื้นฐานมาจากข้อแรก พระเยซูสอนคำสอนนี้แก่สาวกของพระองค์โดยตรงแต่มีประชาชนจำนวนมากได้รับฟังด้วย ในไบเบิ้ลเรียกหัวข้อคำสอนนี้ว่า "ผู้เป็นสุข ”

66 "มหาบุญลาภ 8 ประการ" (The Eight Beatitudes Of Jesus) เป็นตอนต้นใน 10 บรรทัดแรกของ คำเทศนาบนภูเขา 
1. "เป็นบุญของผู้สมัครใจในความยากจน เหตุว่าอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา“ คำว่า "ยากจน" คือ การไม่ยึดติดกับวัตถุสิ่งของแต่มีใจยึดมั่นอยู่กับพระเจ้าเท่านั้น  "เป็นบุญของผู้เศร้าโศก เหตุว่าเขาจะได้รับการปลอบโยนบรรเทา“ พระเยซูเจ้าสอนไม่ให้เราหนีความทุกข์แต่เผชิญหน้ากับมันและหาความหมายในความทุกข์เหล่านั้น ราควรเผชิญหน้ากับอุปสรรคที่คนอื่นเห็นว่าเป็นความทุกข์ ด้วยการยอมรับและเข้าใจ และเมื่อเติมความรักเข้าไปความทุกข์นั้นก็จะเบาบางลง "เป็นบุญของผู้มีใจอ่อนโยน เหตุว่าเขาจะได้ครอบครองแผ่นดิน“ ความมีใจอ่อนโยนนั้นหมายถึงการเป็นผู้ที่ใส่ใจรับเอาพระธรรมคำสอนมาปฏิบัติ และสุภาพถ่อมตน  "เป็นบุญของผู้กระหายโหยหาความชอบธรรม เหตุว่าเขาจะได้รับความอิ่มหนำสมบูรณ์“ ผู้ที่ศรัทธาในความชอบธรรมอย่างแรงกล้า ย่อมดำเนินชีวิตตามพระธรรมคำสอนอย่างมั่นคง

67 "มหาบุญลาภ 8 ประการ" (The Eight Beatitudes Of Jesus) เป็นตอนต้นใน 10 บรรทัดแรกของ คำเทศนาบนภูเขา 
5. "เป็นบุญของผู้มีใจเมตตากรุณา เหตุว่าเขาจะได้รับพระเมตตาดุจเดียวกัน“ คือ ความสามารถในการเข้าถึงจิตใจของผู้อื่น แล้วมองด้วยสายตาของผู้อื่น คิดด้วยความคิดของผู้อื่น และรู้สึกด้วยความรู้สึกของผู้อื่น "เป็นบุญของผู้มีจิตใจบริสุทธิ์ เหตุว่าเขาจะได้เห็นพระผู้เป็นเจ้า“ การทำทุกอย่างโดยบริสุทธิ์ใจในความดี ทุกคนควรมีใจบริสุทธิ์ทั้งต่อพระเจ้าและต่อเพื่อนมนุษย์  "เป็นบุญของผู้สร้างสันติ เหตุว่าเขาจะได้ชื่อว่าเป็นบุตรของพระเจ้า“ ผู้สร้างสันติหมายถึงผู้ที่มีส่วนทำให้โลกนี้ดีขึ้น น่าอยู่ขึ้น จนในที่สุดทำให้ทุกคนที่อาศัยอยู่ในโลกนี้สามารถบรรลุถึงความดีขั้นสูงสุดได้ "เป็นบุญของผู้ถูกข่มเหงด้วยเหตุแห่งความชอบธรรม เหตุว่าแผ่นดินสวรรค์เป็นของเขา“ อดทนต่อการปฏิบัติตามความเชื่อ และ สิ่งดีงาม

68 ตัวอย่างคำสอน : คำเทศนาบนภูเขา(ปฐมเทศนา)
สอนเรื่อง : อย่าตอบโต้ความชั่วด้วยความชั่ว “ ท่านทั้งหลายได้ยินคำซึ่งกล่าวไว้ว่า ตาแทนตา และฟันแทนฟัน ” “ ฝ่ายเราบอกท่านว่า อย่าต่อสู้คนชั่ว ถ้าผู้ใดตบแก้มขวาของท่าน ก็จงหันแก้มซ้ายให้เขาด้วย ” สอนเรื่อง : รักศัตรู “ ท่านทั้งหลายได้ยินคำซึ่งกล่าวไว้ว่า จงรักคนสนิท และเกลียดชังศัตรู ” “ ฝ่ายเราบอกท่านว่า จงรักศัตรูของท่าน และจงอธิษฐานเพื่อผู้ที่ข่มเหงท่าน ”

69 ตัวอย่างคำสอน : คำเทศนาบนภูเขา(ปฐมเทศนา)
สอนเรื่อง : ทรัพย์สมบัติในสวรรค์ “ อย่าสั่งสมทรัพย์สมบัติไว้สำหรับตัวในโลกที่อาจเป็นสนิม และที่แมลงกินเสียได้ และที่ขโมยอาจขุดช่องลักเอาไปได้ ” “ แต่จงสั่งสมทรัพย์สมบัติไว้ในสวรรค์ ที่ไม่มีแมลงจะกิน และไม่มีสนิมจะกัดและที่ไม่มีขโมยขุดช่องลักเอาไปได้ ” สอนเรื่อง : การกล่าวโทษผู้อื่น “ เหตุไฉนท่านจะกล่าวแก่พี่น้องว่า ให้เราเขี่ยผงออกจากตาของเธอ แต่ที่จริงไม้ทั้งท่อนมีอยู่ในตาของท่านเอง ” สอนเรื่อง : การปฏิบัติตน “จงปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างที่ท่านปรารถนาให้เขาปฏิบัติต่อท่าน” 

70 หลักความเชื่อและจุดหมายสูงสุด
ไม่มีความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด (เกิดครั้งเดียวตายครั้งเดียว) วันที่พระเจ้าสร้างโลก วันสิ้นโลก เส้นประวัติศาสตร์ เมื่อตายแล้ว จะถูกพิพากษาในวันพิพากษา เกิด ตาย ศาสนาคริสต์ไม่มีความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดแบบศาสนาพุทธ หรือ ศาสนาฮินดู

71 หลักความเชื่อและจุดหมายสูงสุด
ชาวคริสต์เชื่อว่า โลกนี้มีเพียงครั้งเดียว ตายไปแล้วก็จะไปอยู่ในสวรรค์ หรือ นรกชั่วนิรันดร สวรรค์ (อยู่กับพระเจ้าในอาณาจักรพระเจ้านิรันดร) เกิด ตาย ชีวิต วันพิพากษา ตกนรก นิรันดร ไม่มีความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดแบบศาสนาพุทธ หรือ ฮินดู

72 หลักความเชื่อและจุดหมายสูงสุด
ศาสนาคริสต์มีจุดหมายปลายทางที่เป็นความสุขนิรันดร คือ สวรรค์อันเป็นอาณาจักรของพระเจ้า ( ได้อยู่กับพระเจ้าในอาณาจักรสวรรค์ ) วิธีปฏิบัติที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายปลายทางนั้น คือ การปฏิบัติตามพระบัญญัติให้ครบถ้วน คือ “ รักพระเจ้าอย่างสุดจิตสุดใจและเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง “


ดาวน์โหลด ppt หลักคำสอนสำคัญ ของศาสนาคริสต์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google