ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยIvan Oesman ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment; EIA)
2
1. ความหมายและแนวความคิดเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมคืออะไร? การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือเรียกกันทั่วไปว่า อีไอเอ (Environmental Impact Assessment; EIA) เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อจำแนกและคาดคะเนผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากโครงการ/กิจกรรม ตลอดจนการเสนอแนะมาตรการในการแก้ไขผลกระทบ (Mitigation Measure) และแผนการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Monitoring Plan) ทั้งในระหว่างการก่อสร้างและดำเนินโครงการ
3
1. ความหมายและแนวความคิดเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบ
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การใช้หลักวิชาการในการทำนายหรือคาดการณ์เกี่ยวกับผลกระทบทั้งในทางบวกและทางลบ ของการดำเนินโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อมทุกๆ ด้าน ทั้งทางทรัพยากรธรรมชาติและทางเศรษฐกิจสังคม เพื่อหาทางป้องกันผลกระทบในทางลบที่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถฟื้นกลับมาได้อย่างมีประโยชน์ มีประสิทธิภาพสูงสุดและคุ้มค่าที่สุด ตลอดจนการเสนอแนะมาตรการในการแก้ไขผลกระทบ (Mitigation Measure) และแผนการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Monitoring Plan) ทั้งในระหว่างการก่อสร้างและดำเนินการโครงการ
4
1. ความหมายและแนวความคิดเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบ
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินการของโครงการ อีกทั้งเสนอแนะวิธีลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการ เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการอย่างเหมาะสมโดยไม่ทำลายทรัพยากรสิ่งแวดล้อม (องค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ; UNEP)
5
2. ประวัติความเป็นมาของการทำ EIA
นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของเมืองไทย เริ่มมีในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 มาตรา 77 “รัฐพึงบำรุงรักษาความสมดุลของสภาพแวดล้อม และความงามทางธรรมชาติ รวมทั้งป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร และน่านน้ำ” มาตรา 97 “รัฐพึงบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมให้สะอาด และพึงขจัดสิ่งเป็นพิษ ซึ่งทำลายสุขภาพและอนามัยของประชาชน” แต่กฎหมายดังกล่าว เป็นเพียงแนวทางให้ฝ่ายบริหารกำหนดนโยบายและให้ฝ่ายนิติบัญญัติที่จะตรากฏหมายออกมาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เท่านั้น สมัยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประกาศใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นทางการฉบับแรก คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ (พ.ร.บ. สิ่งแวดล้อม 2518) และได้กำหนดให้มีการจัดทำรายงาน EIA แต่ได้ดำเนินการจัดทำรายงาน EIA กันอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2524
6
2. ประวัติความเป็นมาของการทำ EIA
7
วัตถุประสงค์ของการศึกษา EIA
เพื่อจำแนก ทำนาย และประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อมจากโครงการ โดยเปรียบเทียบกับ สภาวะที่ไม่มีโครงการ เพื่อป้องกันผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ขั้น วางแผนโครงการ เพื่อให้มีการนำปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมาช่วยในการ วางแผนโครงการและตัดสินใจดำเนินโครงการ
8
องค์ประกอบของ EIA 1) ทรัพยากรกายภาพ เป็นการศึกษาถึงผลกระทบ เช่น ดิน น้ำ อากาศ เสียง ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง 2)ทรัพยากรชีวภาพ หมายถึงการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ที่ มีต่อระบบนิเวศน์ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ ปะการัง เป็นต้น 3) คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เป็นการศึกษาถึงการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรทั้งทางกายภาพและชีวภาพของมนุษย์ เช่น การใช้ ประโยชน์ที่ดิน การเกษตรกรรม ระบบสาธารณูปโภค เป็นต้น ว่าได้รับ ผลกระทบมากน้อยเพียงใด 4) คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต ซึ่งจะเป็นการศึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อ มนุษย์ ชุมชน ระบบเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม รวมถึงทัศนียภาพ คุณค่าความสวยงาม สำหรับการศึกษาในด้านคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์และคุณค่าต่อคุณภาพชีวิตถือว่าเป็นเรื่องของการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคม (Social Impact Assessment : SIA)
9
ความสำคัญของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจของผู้บริหาร เป็นการคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของทั้ง โครงการในอนาคต เป็นแนวทาง/กรอบในการวางแผนป้องกันไม่ให้เกิดผล กระทบสิ่งแวดล้อม เป็นแนวทาง/กรอบในการวางแผนแก้ไขผลกระทบที่ เกิดขึ้นให้เหลือน้อยที่สุดหรืออยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เป็นแนวทาง/กรอบในการวางแผนติดตามตรวจสอบ แผนป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ได้ กำหนดไว้
10
ประโยชน์ของการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
1. ช่วยในการวางแผนการใช้ประโยชน์ทรัพยากรเพื่อพัฒนาอย่างมี ประสิทธิภาพ นอกจากการมองผลประโยชน์ทางด้าน เศรษฐกิจ 2. ช่วยพิจารณาว่าโครงการที่จะเกิดขึ้น เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในระดับใด และผู้ประกอบการจะได้มีมาตรการในการป้องกันและ แก้ไขผลกระทบอย่างเหมาะสม 3. เพื่อคาดการณ์ประเด็นปัญหาสำคัญที่อาจเกิดขึ้นอย่างถูกหลัก วิชาการ ซึ่งจะได้เตรียมป้องกันและแก้ไขไว้ตั้งแต่ขั้นเตรียม โครงการ 4. ช่วยในการเลือกมาตรการที่มีประสิทธิผล มีค่าใช้จ่ายน้อย และ เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ 5. เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการลงทุนหรือพัฒนาโครงการ การเตรียมแผนงานและการเงินในการจัดการสิ่งแวดล้อม 6. เป็นแนวทางในการกำหนดแผนการติดตามตรวจสอบผลกระทบ ต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นหลังจากได้มีการก่อสร้างและดำเนินการ
11
เป็นการทำนาย (Prediction) อนาคต/สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
4. ความคิดรวบยอดในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการทำนาย (Prediction) อนาคต/สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ใช้การศึกษาอย่างเป็นระบบ (System) โดยอาศัยหลักการ การวางแผนการใช้ที่ดิน (Land Use Planning) การใช้ทรัพยากรและการอนุรักษ์ (Resource Utilization and Conservation) การควบคุมมลภาวะที่จะเกิดขึ้น (Pollution Control) เพื่อให้ได้มาทั้ง 3 แนวทาง ผลผลิตยั่งยืน (Sustained yield) เศรษฐศาสตร์ ความต้องการในการพัฒนา/สังคม สังคม/การเมือง นิเวศ/ความหลากหลายยั่งยืน สิ่งแวดล้อม ดังนั้น ต้องทำความเข้าใจ ระบบสิ่งแวดล้อมบริเวณที่จะมีโครงการ ต้องทำการวิเคราะห์ระบบ ภาพรวมและรายละเอียดของโครงการ ที่จะนำเข้ามาในระบบสิ่งแวดล้อมในที่นั้น ๆ เพื่อให้โครงการที่จะนำเข้ามาในระบบสิ่งแวดล้อมสามารถอยู่ร่วมกัน/กลมกลืนกันหรือมีผลกระทบน้อยที่สุด
12
5. ลักษณะการเกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
1) ผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีมากมายหลายประเด็น ขึ้นอยู่กับผู้ศึกษาแต่ ละสาขา ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทั้ง ขนาด (magnitude) และทิศทาง (direction) 2) ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น อุทกภัย วาตภัย แผ่นดินไหว ความแห้งแล้ง ไฟไหม้และอื่น ๆ มักเป็น เหตุการณ์ที่นาน ๆ เกิดขึ้น และเกิดเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ และมี ความรุนแรงเป็นบางพื้นที่ 3) โครงการพัฒนาต่าง ๆ ก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมมากกว่าและ นานกว่า (ถาวร) 4) การวัดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต้องวัดจากผลรวมผลกระทบทั้งหมด ของโครงการ ซึ่งหาได้จาก ผลต่างระหว่างผลกระทบที่ไม่มี โครงการกับผลกระทบที่มีโครงการ หรือเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
13
ลักษณะการเกิดผลกระทบ อาจเกิดได้ทั้ง 3 กรณี
1) บางที่บางส่วน (spatial impact) : ภาวะเตือนภัย : ภาวะเสี่ยงภัย 2) กระจายทั่วไป 3) ผลกระทบแบบลูกโซ่ คือ เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและ ส่งผลกระทบทางอ้อม ตามมาเป็นลูกโซ่
14
การใช้น้ำของมนุษย์ ตัวอย่าง :-
** โครงการตัดถนนผ่านพื้นที่ภูเขา ก่อให้เกิดผลกระทบลูกโซ่ ดังนี้ การใช้น้ำของมนุษย์ คุณภาพน้ำผิวดิน การพังทลายของดิน ตัดต้นไม้ (เปิดหน้าดิน) ข้อสังเกต เกี่ยวกับลักษณะผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น - อาจไม่เป็นไปในลักษณะเรียงลำดับ - อาจสร้างปัญหาลูกโซ่ได้เสมอ - อาจแสดงผลให้เห็นในระยะสั้นหรือระยะยาวก็ได้ - มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ - ต้องวัดได้ว่ามีขนาดใหญ่มากน้อยเท่าไหร่ และมี ลักษณะบวกหรือลบ
15
6. ข้อดีข้อเสียของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
6. ข้อดีข้อเสียของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ข้อดี >ช่วยให้ตัดสินใจได้ถูกต้อง >ประหยัดเงินและเวลาในการแก้ไขผลกระทบ >เก็บรักษา/อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม >ช่วยป้องกันมลพิษ >ลดปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ข้อเสีย ทำให้การพัฒนาล่าช้า ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดอาจไม่เกิดขึ้นหรือรุนแรงกว่าที่ประเมินไว้ มีความลำเอียงในการประเมิน วิธีการศึกษาตามใจผู้วิเคราะห์ เป็นเพียงการคาดคะเน อาจไม่ถูกต้องทั้งหมด
16
7.1 เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน
7. การประเมินสถานภาพของระบบสิ่งแวดล้อม 7.1 เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน องค์ประกอบ/โครงสร้าง (Structure) ของระบบ ได้แก่ ชนิด (Species) ปริมาณ (Quantity) * มาก (Abundant) * ปริมาณในธรรมชาติ * หายาก (Rare) * ความหนาแน่น * ใกล้สูญพันธุ์ (Endaner) * จำนวน * สูญพันธุ์ (Extinct) สัดส่วน (Proportion) การกระจาย (Distribution) * พืช * ทั่วพื้นที่ (Disperse) * สัตว์ * บางจุด (Spot) * มนุษย์ มนุษย์ สัตว์ พืช
17
7. การประเมินสถานภาพของระบบสิ่งแวดล้อม (ต่อ)
7. การประเมินสถานภาพของระบบสิ่งแวดล้อม (ต่อ) 7.1 เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน (ต่อ) หน้าที่/การทำงาน (Function) ของระบบ ปกติ (Normal) เปลี่ยนแปลงไปอย่างเฉียบพลัน (Acute Effect) ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลง (Chronically Effect)
18
7.2 สถานภาพของระบบสิ่งแวดล้อม :-แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ
1) สมดุลธรรมชาติ (Nature) หมายถึง องค์ประกอบมีความหลากหลายชนิดและมีปริมาณในแต่ละชนิดในอัตราส่วนที่เหมาะสม และทำหน้าที่ได้เหมือนปกติตามสภาพธรรมชาติ 2) เตือนภัย (Warning) หมายถึง องค์ประกอบบางส่วนของระบบถูกรบกวน ทำให้การทำหน้าที่ของระบบไม่สมบูรณ์ สามารถฟื้นตัวกลับสู่สภาพเดิมได้ในเวลาไม่นาน 3) เสี่ยงภัย (Risky) หมายถึง มีการรบกวนองค์ประกอบของระบบทำให้บางส่วนมีจำนวนลดลง และมีชนิดอื่นเพิ่มขึ้นมาทดแทนหรือบางอย่างมีจำนวนมากเกินไป ทำให้การทำงาน/หน้าที่ของระบบเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ต้องใช้เวลานานกว่าจะกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ 4) วิกฤต (Crisis) หมายถึง ระบบนั้น ๆ ถูกรบกวน ทำให้องค์ประกอบบางชนิดเหลือน้อยหรือสูญพันธุ์ไปจากระบบหรือไม่ทำหน้าที่ของตนได้ ทำให้การทำงาน/หน้าที่ของระบบไม่ครบวงจรหรือมีประสิทธิภาพลดลง และไม่สามารถฟื้นคืนสู่สภาพธรรมชาติดังเดิมได้และต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย จึงจะฟื้นคืนสภาพเดิมได้บ้าง
19
7.3 ประเภทและขนาดของโครงการที่ต้องทำการประเมิน
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามบัญชีประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ประกาศวันที่ บังคับใช้ ฉบับที่ 1 24 สิงหาคม ตุลาคม 2535 ฉบับที่ 2 9 กันยายน ตุลาคม2535 ฉบับที่ 3 22 มกราคม กุมภาพันธุ์ 2539 โครงการอยู่ในเขตพื้นที่ ป่าอนุรักษ์ (C) ลุ่มน้ำชั้น 1B, 2 ป่าชายเลน เขตอนุรักษ์ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ/เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตาม พ.ร.บ.
20
8. ปัญหาการทำรายงาน EIA ความหลากหลายทางชีวภาพ พืชสมุนไพร
ข้อมูลที่ศึกษาไม่พอเพียง ข้อมูลสิ่งแวดล้อมบางประเด็นไม่ชัดเจน ไม่ได้ครอบคลุมในการศึกษา ไม่มีการเสนอทางเลือกของโครงการ งบประมาณที่ได้รับน้อย ทำให้ไม่เพียงพอในการศึกษาประเด็นต่าง ๆ ได้ครบถ้วน เวลาการจัดทำรายงานมีน้อย ทุกโครงการต้องใช้ระยะเวลาสั้นในการจัดทำรายงาน ทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลตามฤดูกาลได้ ไม่มีกฏเกณฑ์/มาตรฐานที่ชัดเจนในการประเมินมูลค่าของระบบนิเวศ เช่น ประโยชน์ทางอ้อมของป่าในด้าน ความหลากหลายทางชีวภาพ พืชสมุนไพร การเป็นพื้นที่อนุรักษ์ : ต้นน้ำลำธาร/อุทยานแห่งชาติ
21
EIA 8. ปัญหาการทำรายงาน EIA (ต่อ)
ประชาชนไม่มีส่วนร่วมต่อโครงการพัฒนาต่าง ๆ ปัจจุบันมีมติ ครม. สำหรับโครงการที่คาดว่าจะมีผลกระทบสูง ให้จัดทำ ประชาพิจารณ์ ก่อน ผู้ชำนาญการขาดความเป็นกลาง ประเมินผลกระทบเข้าข้างเจ้าของโครงการ ไม่ได้ให้ข้อมูลที่แท้จริง เก็บตัวอย่างน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ยกเมฆข้อมูล ดำเนินโครงการก่อนจัดทำรายงาน EIA ไม่ทราบระเบียบขั้นตอน หลีกเลี่ยง เปลืองเงิน โครงการเร่งด่วน ผู้พิจารณารายงาน EIA ไม่มีมาตรฐาน/กฎระเบียบที่ชัดเจน แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล EIA
22
9. ประโยชน์ของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
สามารถใช้ในการวางแผนการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและจะช่วยในการมองปัญหาต่างๆ ได้กว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิมที่มองเพียงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นประเด็นหลัก อันก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมแก่ทรัพยากรธรรมชาติตามมา ช่วยพิจารณาผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความรุนแรงจากการพัฒนาโครงการ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถหามาตรการในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นนั้นอย่างเหมาะสมก่อนดำเนินการ
23
9. ประโยชน์ของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
สามารถแน่ใจว่าได้คาดการณ์ประเด็นปัญหาสำคัญอันเกิดขึ้นอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการโดยเลือกมาตรการที่เป็นไปได้ในทางปฎิบัติและค่าใช้จ่ายน้อย ช่วยเป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในการลงทุนหรือพัฒนาโครงการ การเตรียมแผนงาน แผนการเงินในการจัดการสิ่งแวดล้อมและสามารถใช้ผลการ ศึกษาเป็นข้อมูลที่จะให้ความ กระจ่างต่อสาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันความขัดแย้งของการใช้ทรัพยากรได้ แนวทางกำหนดแผนการติดตามตรวจสอบผลกระทบต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นภายหลังได้ เป็นหลักประกันในการใช้ทรัพยากรที่ยาวนาน ( long - term sustainable development )
24
กฎหมายและหลักเกณฑ์ใน การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA)
25
รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 67 สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน
ในการอนุรักษ์ บำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครองส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม
26
รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 67 (วรรค 2)
รัฐธรรมนูญ มาตรา 67 (วรรค 2) “การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิด ผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม หรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว”
27
รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 67 (วรรค 3)
รัฐธรรมนูญ มาตรา 67 (วรรค 3) “สิทธิของบุคคลที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ย่อมได้รับความคุ้มครอง”
28
รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 67 วรรค 2
รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 67 วรรค 2 ศาลปกครอง สั่งชะลอโครงการ (ร่าง)พรบ.องค์การอิสระฯ คณะกรรมการ 4 ฝ่าย ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ - กำหนดหลักเกณฑ์ EHIA - กำหนดประเภทโครงการรุนแรง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประสานงานการให้ความเห็นฯ คณะกรรมการประสานงานการให้ความเห็นฯ คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.) (ชุดเฉพาะกาล) = 13 คน
29
สรุปขั้นตอนของการดำเนินการ โครงการ/กิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบรุนแรง
1. ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) 2. จัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็น 3. ต้องให้องค์การอิสระฯ ให้ความเห็น ก่อน มีการดำเนินการโครงการ
30
พรบ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มาตรา 10
บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิได้รับรู้ข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐ ก่อนการอนุญาต หรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของตนหรือของชุมชนและแสดงความเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว
31
พรบ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มาตรา 11
บุคคลหรือคณะบุคคล มีสิทธิร้องขอให้มีการประเมินและมีสิทธิร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ
32
พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
ประเภทและขนาดโครงการที่ต้องทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม EIA ปกติ (ในปัจจุบันมี 35 ประเภทโครงการ) EIA รุนแรง (ในปัจจุบันมี 11 ประเภทโครงการ)
33
ตัวอย่างประเภทและขนาดโครงการที่ต้องทำรายงาน EIA (ปกติ)
โรงไฟฟ้าพลังความร้อน ขนาด 10 เมกกะวัตต์ขึ้นไป อุตสาหกรรมปิโตรเคมี, เคมี, กลั่นน้ำมัน, แปรสภาพก๊าซธรรมชาติ การพัฒนาปิโตรเลียมและระบบท่อขนส่งปิโตรเลียมและน้ำมันเชื้อเพลิง เหมืองแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ทุกขนาด ท่าเทียบเรือพาณิชย์ รับเรือ ขนาด 500 ตันกรอสขึ้นไป เขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ ขนาด 100,000,000 ลบ.ม. หรือ 15 ตร.กม. การชลประทาน พื้นที่ขนาด 80,000 ไร่ขึ้นไป สนามบินพาณิชย์ ทุกขนาด โรงแรมหรือสถานที่พักตากอากาศ ขนาด 80 ห้องขึ้นไป ทางพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการทางพิเศษ ฯลฯ
34
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทาง ในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 29 ธ.ค.2552)
35
หลักการในการทำ EHIA หลักประชาธิปไตย (สิทธิ การมีส่วนร่วม)
หลักความเป็นธรรมและเสมอภาค (ข้อมูลจากทุกกลุ่ม) หลักการใช้ข้อมูลหลักฐานอย่างเหมาะสม (ปริมาณ+คุณภาพ) หลักเปิดเผยและโปร่งใส (บันทึกข้อมูล เพื่อตรวจสอบได้) หลักความเหมาะสมในทางปฏิบัติ (เวลา, ทรัพยากร, บริบท) หลักการองค์รวม (สัมพันธ์ เชื่อมโยง บูรณาการ) หลักความยั่งยืน(หลักการป้องกันไว้ก่อน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)
36
กระบวนการกลั่นกรองโครงการ เข้าข่ายทำรายงาน EHIA
(Screening)
37
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดประเภทและขนาดโครงการและกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ จะต้องจัดทำรายงาน EIA (ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2) = 11 ประเภทและขนาดโครงการ (ประกาศราชกิจจานุเบกษา 31 ส.ค พ.ย.53)
38
โครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง
ตามมาตรา 67 แห่งรัฐธรรมนูญฯ 2550 ประเภทโครงการ ขนาดโครงการ การถมทะเล หรือทะเลสาบ นอกแนวเขตชายฝั่งเดิม ยกเว้นการถมทะเล ที่เป็นการฟื้นฟูสภาพชายหาด ตั้งแต่ 300 ไร่ ขึ้นไป
39
2. เหมืองแร่ ประเภทโครงการ ขนาดโครงการ
2.1 เหมืองแร่ใต้ดิน เฉพาะที่ออกแบบให้โครงสร้างมีการยุบตัวภายหลัง การทำเหมืองโดยไม่มีค้ำยัน และไม่มีการใส่คืนวัสดุทดแทน เพื่อป้องกันการ ยุบตัว ทุกขนาด 2.2 เหมืองแร่ตะกั่ว / เหมืองแร่สังกะสี / เหมืองแร่โลหะอื่นที่ใช้ ไซยาไนด์หรือปรอทหรือตะกั่วไนเตรต ในกระบวนการผลิตหรือเหมืองแร่ โลหะอื่นที่มีอาร์เซโนไพไรต์ เป็นแร่ประกอบ
40
ประเภทโครงการ ขนาดโครงการ
2.3 เหมืองแร่ถ่านหิน เฉพาะที่มีการ ลำเลียงแร่ถ่านหินออกนอกพื้นที่โครงการด้วย รถยนต์ ขนาดตั้งแต่ 200,000 ตัน/เดือน หรือ 2,400,000 ตัน/ปี ขึ้นไป 2.4 เหมืองแร่ในทะเล ทุกขนาด
41
ประเภทโครงการ ขนาดโครงการ 3. นิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการ นิคมอุตสาหกรรม หรือโครงการที่มีลักษณะ เช่นเดียวกับนิคมอุตสาหกรรม ดังต่อไปนี้ 3.1 ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ตาม 4 หรืออุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก ตาม หรือ 5.2 แล้วแต่กรณี มากกว่า 1 โรงงานขึ้นไป ทุกขนาด 3.2 ที่มีการขยายพื้นที่เพื่อรองรับอุตสาหกรรม ปิโตรเคมีตาม 4 หรืออุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก ตาม หรือ 5.2
42
ประเภทโครงการ ขนาดโครงการ
4. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี 4.1 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น ทุกขนาด หรือที่มีการขยายกำลังการผลิตตั้งแต่ร้อยละ 35 ของกำลังการผลิตเดิมขึ้นไป 4.2.1 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง ที่ผลิตสารเคมี หรือใช้วัตถุดิบที่เป็นสารเคมี ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง กลุ่ม 1 ขนาดกำลังการผลิต 100 ตัน/วัน ขึ้นไป หรือที่มีการ ขยายขนาดกำลังการผลิตรวมกันแล้วมากกว่า 100 ตัน/ วัน ขึ้นไป 4.2.2 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง ที่ผลิตสารเคมี หรือใช้วัตถุดิบที่เป็นสารเคมี ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 2 A ขนาดกำลังการผลิต ตัน/วัน ขึ้นไป หรือที่มีการขยายขนาดกำลังการผลิต รวมกันแล้วมากกว่า 700 ตัน/วัน ขึ้นไป
43
5. อุตสาหกรรมถลุงแร่ / หลอมโลหะ
ประเภทโครงการ ขนาดโครงการ 5. อุตสาหกรรมถลุงแร่ / หลอมโลหะ 5.1 อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต ตั้งแต่ 5,000 ตัน/วันขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวน การผลิตรวมกันตั้งแต่ 5,000 ตัน/วัน ขึ้นไป 5.2 อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก ที่มีการผลิตถ่าน coke/มี กระบวนการ sintering ทุกขนาด 5.3 อุตสาหกรรมถลุงแร่ ทองแดง ทองคำ หรือ สังกะสี ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต ตั้งแต่ 1,000 ตัน /วันขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน(input) เข้าสู่ กระบวนการผลิตรวมกันตั้งแต่ 1,000 ตัน/วันขึ้นไป 5.1 อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก 5.2 อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็กที่มีการผลิตถ่าน coke หรือ ที่มีกระบวนการ sintering ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต ตั้งแต่ 5,000 ตัน / วัน ขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวน การผลิตรวมกันตั้งแต่ 5,000 ตัน/วัน ขึ้นไป 5.3 อุตสาหกรรมถลุงแร่ ทองแดง ทองคำ หรือ สังกะสี ทุกขนาด 5.4 อุตสาหกรรมถลุงแร่ตะกั่ว ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต ตั้งแต่ 1,000 ตัน / วัน ขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน(input) เข้าสู่กระบวนการผลิตรวมกันตั้งแต่ 1,000 ตัน / วัน ขึ้นไป 5.5 อุตสาหกรรมหลอมโลหะ (ยกเว้นเหล็ก และอลูมิเนียม) 5.6 อุตสาหกรรมหลอมตะกั่ว ขนาดกำลังการผลิต (output) ตั้งแต่ 50 ตัน/วัน ขึ้นไป หรือมีกำลังการ ผลิตรวมกันตั้งแต่ 50 ตัน/วัน ขึ้นไป
44
ประเภทโครงการ ขนาดโครงการ 5.4 อุตสาหกรรมถลุงแร่ตะกั่ว ทุกขนาด 5.5 อุตสาหกรรมหลอมโลหะ(ยกเว้นเหล็ก และอลูมิเนียม) ขนาดกำลังการผลิต (output) ตั้งแต่ 50 ตัน/ วัน ขึ้นไป หรือมีกำลังการผลิตรวมกันตั้งแต่ 50 ตัน/วัน ขึ้นไป 5.6 อุตสาหกรรมหลอมตะกั่ว ขนาดกำลังการผลิต (output) ตั้งแต่ 10 ตัน/วัน ขึ้นไป หรือมีกำลัง การผลิต รวมกันตั้งแต่10 ตัน/วัน ขึ้นไป 5.1 อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก 5.2 อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็กที่มีการผลิตถ่าน coke หรือ ที่มีกระบวนการ sintering ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต ตั้งแต่ 5,000 ตัน / วัน ขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวน การผลิตรวมกันตั้งแต่ 5,000 ตัน/วัน ขึ้นไป 5.3 อุตสาหกรรมถลุงแร่ ทองแดง ทองคำ หรือ สังกะสี ทุกขนาด 5.4 อุตสาหกรรมถลุงแร่ตะกั่ว ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต ตั้งแต่ 1,000 ตัน / วัน ขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน(input) เข้าสู่กระบวนการผลิตรวมกันตั้งแต่ 1,000 ตัน / วัน ขึ้นไป 5.5 อุตสาหกรรมหลอมโลหะ (ยกเว้นเหล็ก และอลูมิเนียม) 5.6 อุตสาหกรรมหลอมตะกั่ว ขนาดกำลังการผลิต (output) ตั้งแต่ 50 ตัน/วัน ขึ้นไป หรือมีกำลังการ ผลิตรวมกันตั้งแต่ 50 ตัน/วัน ขึ้นไป
45
ประเภทโครงการ ขนาดโครงการ 6.การผลิต กำจัด หรือปรับแต่งสารกัมมันตรังสี ทุกขนาด 7. โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวมหรือโรงงาน ประกอบกิจการเกี่ยวกับการฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ ใช้แล้ว ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานที่มีการเผาหรือฝังกลบ ของเสียอันตราย ตาม กม.ว่าด้วยโรงงาน ยกเว้นการเผาใน หม้อเผาซีเมนต์ที่ใช้ของเสียอันตรายเป็นเชื้อเพลิงทดแทน หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงเสริม 5.1 อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก 5.2 อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็กที่มีการผลิตถ่าน coke หรือ ที่มีกระบวนการ sintering ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต ตั้งแต่ 5,000 ตัน / วัน ขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวน การผลิตรวมกันตั้งแต่ 5,000 ตัน/วัน ขึ้นไป 5.3 อุตสาหกรรมถลุงแร่ ทองแดง ทองคำ หรือ สังกะสี ทุกขนาด 5.4 อุตสาหกรรมถลุงแร่ตะกั่ว ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต ตั้งแต่ 1,000 ตัน / วัน ขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน(input) เข้าสู่กระบวนการผลิตรวมกันตั้งแต่ 1,000 ตัน / วัน ขึ้นไป 5.5 อุตสาหกรรมหลอมโลหะ (ยกเว้นเหล็ก และอลูมิเนียม) 5.6 อุตสาหกรรมหลอมตะกั่ว ขนาดกำลังการผลิต (output) ตั้งแต่ 50 ตัน/วัน ขึ้นไป หรือมีกำลังการ ผลิตรวมกันตั้งแต่ 50 ตัน/วัน ขึ้นไป
46
ประเภทโครงการ ขนาดโครงการ
8. โครงการระบบขนส่งทางอากาศ ที่มีการก่อสร้าง ขยาย หรือเพิ่ม ทางวิ่งของอากาศยาน ตั้งแต่ 3,000 เมตรขึ้นไป 5.1 อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก 5.2 อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็กที่มีการผลิตถ่าน coke หรือ ที่มีกระบวนการ sintering ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต ตั้งแต่ 5,000 ตัน / วัน ขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวน การผลิตรวมกันตั้งแต่ 5,000 ตัน/วัน ขึ้นไป 5.3 อุตสาหกรรมถลุงแร่ ทองแดง ทองคำ หรือ สังกะสี ทุกขนาด 5.4 อุตสาหกรรมถลุงแร่ตะกั่ว ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต ตั้งแต่ 1,000 ตัน / วัน ขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน(input) เข้าสู่กระบวนการผลิตรวมกันตั้งแต่ 1,000 ตัน / วัน ขึ้นไป 5.5 อุตสาหกรรมหลอมโลหะ (ยกเว้นเหล็ก และอลูมิเนียม) 5.6 อุตสาหกรรมหลอมตะกั่ว ขนาดกำลังการผลิต (output) ตั้งแต่ 50 ตัน/วัน ขึ้นไป หรือมีกำลังการ ผลิตรวมกันตั้งแต่ 50 ตัน/วัน ขึ้นไป
47
ประเภทโครงการ ขนาดโครงการ
9.ท่าเทียบเรือ 1) ที่มีความยาวหน้าท่า (berth length) ตั้งแต่ เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ท่าเทียบเรือตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป ยกเว้น ท่าเทียบเรือโดยสารหรือ ท่าเทียบเรือเรือสินค้าเพื่อการอุปโภค และบริโภคหรือท่าเทียบเรือสำราญและกีฬา 2) ที่มีการขุดลอกร่องน้ำ ตั้งแต่ 100,000 ตารางเมตรขึ้นไป ยกเว้น ท่าเทียบเรือโดยสารหรือ ท่าเทียบเรือสินค้าเพื่อการอุปโภคและ บริโภค หรือ ท่าเทียบเรือสำราญและกีฬา 3) ที่มีการขนถ่ายวัตถุอันตรายหรือกากของเสียอันตรายซึ่งเป็น สารก่อมะเร็งกลุ่ม 1 มีปริมาณรวมกันตั้งแต่ 25,000 ตัน/เดือนขึ้น ไป หรือมีปริมาณรวมกันทั้งปีตั้งแต่ 250,000 ตัน/ปี ขึ้นไป 5.1 อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก 5.2 อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็กที่มีการผลิตถ่าน coke หรือ ที่มีกระบวนการ sintering ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต ตั้งแต่ 5,000 ตัน / วัน ขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวน การผลิตรวมกันตั้งแต่ 5,000 ตัน/วัน ขึ้นไป 5.3 อุตสาหกรรมถลุงแร่ ทองแดง ทองคำ หรือ สังกะสี ทุกขนาด 5.4 อุตสาหกรรมถลุงแร่ตะกั่ว ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต ตั้งแต่ 1,000 ตัน / วัน ขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน(input) เข้าสู่กระบวนการผลิตรวมกันตั้งแต่ 1,000 ตัน / วัน ขึ้นไป 5.5 อุตสาหกรรมหลอมโลหะ (ยกเว้นเหล็ก และอลูมิเนียม) 5.6 อุตสาหกรรมหลอมตะกั่ว ขนาดกำลังการผลิต (output) ตั้งแต่ 50 ตัน/วัน ขึ้นไป หรือมีกำลังการ ผลิตรวมกันตั้งแต่ 50 ตัน/วัน ขึ้นไป
48
ประเภทโครงการ ขนาดโครงการ
10. เขื่อนเก็บกักน้ำ หรืออ่างเก็บน้ำ ที่มีปริมาตรเก็บกักน้ำ ตั้งแต่ 100 ล้าน ลูกบาศก์เมตรขึ้นไป หรือ ที่มีพื้นที่เก็บกักน้ำ ตั้งแต่ 15 ตารางกิโลเมตร ขึ้นไป 5.1 อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก 5.2 อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็กที่มีการผลิตถ่าน coke หรือ ที่มีกระบวนการ sintering ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต ตั้งแต่ 5,000 ตัน / วัน ขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวน การผลิตรวมกันตั้งแต่ 5,000 ตัน/วัน ขึ้นไป 5.3 อุตสาหกรรมถลุงแร่ ทองแดง ทองคำ หรือ สังกะสี ทุกขนาด 5.4 อุตสาหกรรมถลุงแร่ตะกั่ว ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต ตั้งแต่ 1,000 ตัน / วัน ขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน(input) เข้าสู่กระบวนการผลิตรวมกันตั้งแต่ 1,000 ตัน / วัน ขึ้นไป 5.5 อุตสาหกรรมหลอมโลหะ (ยกเว้นเหล็ก และอลูมิเนียม) 5.6 อุตสาหกรรมหลอมตะกั่ว ขนาดกำลังการผลิต (output) ตั้งแต่ 50 ตัน/วัน ขึ้นไป หรือมีกำลังการ ผลิตรวมกันตั้งแต่ 50 ตัน/วัน ขึ้นไป
49
11. โรงไฟฟ้าพลังความร้อน
11.1 โรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิง ขนาดกำลังผลิตกระแสไฟฟ้ารวม ตั้งแต่ 100 เมกกะวัตต์ ขึ้นไป 11.2 โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล ขนาดกำลังผลิตกระแสไฟฟ้ารวม ตั้งแต่ เมกกะวัตต์ ขึ้นไป 11.3 โรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นระบบพลังความร้อนร่วมชนิดcombined cycle หรือ cogeneration ขนาดกำลังผลิตกระแสไฟฟ้ารวม ตั้งแต่ 3,000 เมกะวัตต์ขึ้นไป 11.4 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทุกขนาด 5.1 อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก 5.2 อุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็กที่มีการผลิตถ่าน coke หรือ ที่มีกระบวนการ sintering ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต ตั้งแต่ 5,000 ตัน / วัน ขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวน การผลิตรวมกันตั้งแต่ 5,000 ตัน/วัน ขึ้นไป 5.3 อุตสาหกรรมถลุงแร่ ทองแดง ทองคำ หรือ สังกะสี ทุกขนาด 5.4 อุตสาหกรรมถลุงแร่ตะกั่ว ที่มีปริมาณแร่ป้อน (input) เข้าสู่กระบวนการผลิต ตั้งแต่ 1,000 ตัน / วัน ขึ้นไป หรือที่มีปริมาณแร่ป้อน(input) เข้าสู่กระบวนการผลิตรวมกันตั้งแต่ 1,000 ตัน / วัน ขึ้นไป 5.5 อุตสาหกรรมหลอมโลหะ (ยกเว้นเหล็ก และอลูมิเนียม) 5.6 อุตสาหกรรมหลอมตะกั่ว ขนาดกำลังการผลิต (output) ตั้งแต่ 50 ตัน/วัน ขึ้นไป หรือมีกำลังการ ผลิตรวมกันตั้งแต่ 50 ตัน/วัน ขึ้นไป
50
กระบวนการกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบ
(Public Scoping)
51
ขอบเขตการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA)
(Public Scoping) ระบุปัจจัยกำหนดสุขภาพ 9 ปัจจัย ระบุผลกระทบต่อสุขภาพที่มีศักยภาพและนัยสำคัญ ระบุข้อห่วงกังวลจากผู้มีส่วนได้เสีย กำหนดขอบเขตเชิงพื้นที่(รัศมีจากโครงการ 5 กิโลเมตร) ประชากรกลุ่มเสี่ยง(คนงานก่อสร้าง,ประชาชน,พนักงาน) กำหนดระยะเวลา
52
ปัจจัยกำหนดสุขภาพ 1. การเปลี่ยนแปลงสภาพและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ + ระบบนิเวศ 2. การผลิต ขนส่ง และการจัดเก็บวัตถุอันตราย (ชนิด ปริมาณ วิธีดำเนินการ) 3. การกำเนิดและการปล่อยของเสียและสิ่งคุกคามสุขภาพ 4. การรับสัมผัสต่อมลพิษและสิ่งคุกคามต่อสุขภาพ 5. การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่ออาชีพ การจ้างงาน และสภาพการทำงาน 6. การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของประชาชนและชุมชน 7. การเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ที่มีความสำคัญ/มรดกศิลปวัฒนธรรม 8. ผลกระทบเฉพาะ/รุนแรงต่อประชาชนกลุ่มที่มีความเปราะบาง 9. ทรัพยากรและความพร้อมของภาคสาธารณสุข (สร้างเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู)
53
การกำหนดขอบเขตผลกระทบสุขภาพ
สิ่งคุกคามสุขภาพ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัจจัยต่อการรับสัมผัส ลักษณะผลกระทบต่อสุขภาพ ผลกระทบต่อระบบสุขภาพ ผลกระทบต่อสังคมและชีวิตความเป็นอยู่
54
การจำแนกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 7 กลุ่ม
การจำแนกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 7 กลุ่ม ผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งผู้ที่อยู่ในและนอก รัศมี 5 กิโลเมตร หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดทำรายงาน EHIA หน่วยงานพิจารณารายงาน EHIA หน่วยงานราชการในระดับ ต่างๆ และรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง เอกชน/องค์กรพัฒนาเอกชน/สถาบันการศึกษา/นักวิชาการอิสระ สื่อมวลชน ประชาชนทั่วไป
55
กระบวนการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ในขั้นตอน Public Scoping
ก่อนจัด วันจัด หลังจัด
56
ค1. การกำหนดขอบเขตการประเมินฯ (Public Scoping)
ใครทำ : เจ้าของโครงการ (consult) ทำอะไร : จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ทำอย่างไร : กำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมิน จัดให้ใคร : ประชาชน+ผู้มีส่วนได้เสีย+หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่ออะไร : เพื่อให้การประเมินผลกระทบฯ มีความครบถ้วน
57
การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น (Public Scoping)
ค1.ก่อน การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น (Public Scoping) ภารกิจ แจ้งล่วงหน้าให้ สผ./สช./ปชช. ผ่านสื่อ เงื่อนไข ไม่น้อยกว่า 1 เดือน ไม่น้อยกว่า 3 ช่องทาง ไม่น้อยกว่า 15 วัน ไม่น้อยกว่า 3 ช่องทาง เปิดเผยข้อมูลโครงการ + ปัจจัยกำหนดสิ่งแวดล้อม/สุขภาพ + ร่างขอบเขต/แนวทางการประเมิน จัดลงทะเบียนล่วงหน้า ได้โดยสะดวก จัดระบบการลงทะเบียน ให้ผู้ที่จะเข้าร่วมการให้ความเห็น
58
การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น Public Scoping
ค1.ระหว่าง การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น Public Scoping ภารกิจ จัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ต้องจัดช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้นำเสนอประเด็นห่วงกังวลและข้อมูล เงื่อนไข ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ไม่น้อยกว่า ครึ่งหนึ่งของเวลาในการจัดเวทีทั้งหมด
59
การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น Public Scoping
ค1. หลัง การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น Public Scoping ภารกิจ เปิดช่องทางในการรับฟังความคิดเห็น อย่างต่อเนื่อง เงื่อนไข ไม่น้อยกว่า 15วัน อย่างน้อย 2 ช่องทาง
60
สื่อประชาสัมพันธ์ที่ใช้ในการเผยแพร่ / เชิญเข้าร่วมเวที
จดหมายเชิญ เว็ปไซต์โครงการ ป้ายบอร์ดประชาสัมพันธ์ ที่เป็นจุดสังเกตได้ง่าย+ชัดเจน สถานีวิทยุ / วิทยุชุมชน สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น (เคเบิล) หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อบต. / เทศบาล ฯลฯ
61
ช่องทางที่ใช้ในการรับฟังความคิดเห็น
เวทีการจัดรับฟังความคิดเห็น กล่องรับความคิดเห็น แบบสอบถาม โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล ไปรษณียบัตร ฯลฯ
62
กระบวนการประเมินผลกระทบ + จัดทำรายงาน EHIA (Assessment + Reporting)
63
ค2. การประเมินผลกระทบและจัดทำรายงานฯ (Assessment+Reporting)
ใครทำ : เจ้าของโครงการ consult ทำอะไร : เปิดเผยข้อมูล + รับฟังความคิดเห็น ทำอย่างไร : ตามแนวทางการมีส่วนร่วม+HIAใน EIA จัดให้ใคร : ประชาชน + ผู้มีส่วนได้เสีย เพื่ออะไร : เพื่อเปิดการมีส่วนร่วมอย่างรอบด้าน
64
การมีส่วนร่วมในการประเมินและจัดทำรายงานฯ
ค2.ก่อน การมีส่วนร่วมในการประเมินและจัดทำรายงานฯ ภารกิจ เปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการที่กำลังทำ EHIA โดยทำป้ายแสดงข้อมูล ติดตั้งในสถานที่ และขนาดที่สามารถเข้าถึงและอ่านได้สะดวก เงื่อนไข ข้อมูลโครงการ พื้นที่ ข้อมูลมลพิษ แหล่งน้ำ ที่ดิน/ที่รองรับของเสีย ปัจจัยกำหนดสุขภาพ แนวทางการทำ EHIA ระยะเวลาเริ่มดำเนินโครงการ วัน เวลาสถานที่รับฟังความเห็น
65
การมีส่วนร่วมในการประเมินและจัดทำรายงาน
ค2.ระหว่าง การมีส่วนร่วมในการประเมินและจัดทำรายงาน ภารกิจ สำรวจและรับฟังความคิดเห็น ให้ความสำคัญกับการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำความเข้าใจวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมของชุมชน เงื่อนไข แสดงชื่อโครงการ+ วัตถุประสงค์+ เป้าหมาย + ประเด็นที่จะสำรวจ/รับฟังความคิดเห็น
66
วิธีการสำรวจและรับฟังความคิดเห็น
การสัมภาษณ์รายบุคคล ผ่านทางไปรษณีย์/ Tel. /Fax/ระบบเครือข่ายสารสนเทศ เปิดโอกาสให้มารับข้อมูล + แสดงความคิดเห็นต่อหน่วยงานรัฐ การสนทนากลุ่มย่อย (Focus group) การประชุมเชิงปฏิบัติการ การประชุมตัวแทนกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
67
การมีส่วนร่วมในการประเมินและจัดทำรายงาน
ค2. หลัง การมีส่วนร่วมในการประเมินและจัดทำรายงาน ภารกิจ สรุปผลการสำรวจความคิดเห็น ทั้งในแง่ + , - แสดงรายงานผลฯ ที่ ทสจ. สสจ. อปท. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สถานีอนามัย (ที่ประชาชนเข้าถึง + เห็นได้ง่าย) เงื่อนไข ภายใน 15 วัน ไม่น้อยกว่า 15 วัน
68
กระบวนการทบทวนร่างรายงาน EHIA
(Public Review)
69
ค3. การทบทวนร่างรายงานการประเมินฯ (Public Review)
ใคร : เจ้าของโครงการ ทำอะไร : จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ทำอย่างไร : ทบทวนร่างรายงานการประเมินผลกระทบฯ จัดให้ใคร : ประชาชน+ผู้มีส่วนได้เสีย+หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่ออะไร : เพื่อให้การประเมินผลกระทบฯ ครบถ้วน
70
การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น Public Review
ค3. ก่อน การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น Public Review ภารกิจ แจ้งล่วงหน้าให้ สผ./สช./ปชช. ผ่านสื่อ เงื่อนไข ไม่น้อยกว่า 1 เดือน ไม่น้อยกว่า 3 ช่องทาง ไม่น้อยกว่า 15 วัน ไม่น้อยกว่า 3 ช่องทาง เปิดเผย (ร่าง) รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ฉบับสมบูรณ์
71
การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น Public Review
ค3.ระหว่าง การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น Public Review ภารกิจ จัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ต้องจัดช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้แสดงความคิดเห็นต่อ(ร่าง)รายงานฯ เงื่อนไข ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง ไม่น้อยกว่า ครึ่งหนึ่งของเวลาในการจัดเวทีทั้งหมด
72
การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น Public Review
ค3. หลัง การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น Public Review ภารกิจ เปิดช่องทางในการรับฟังความคิดเห็น อย่างต่อเนื่อง เงื่อนไข ไม่น้อยกว่า 15วัน อย่างน้อย 2 ช่องทาง จัดทำรายงานสรุปความคิดเห็น+ความเห็นและคำชี้แจงของหน่วยงาน ส่งให้ สผ. + สช. เผยแพร่สาธารณชน
73
กระบวนการให้ความเห็น
ของคณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.)
74
ตั้งคณะอนุกรรมการฯ / คณะทำงาน องค์การอิสระฯ สรุปการให้ความเห็น
ขั้นตอนการดำเนินงานขององค์การอิสระฯ (กอสส.) สผ.ส่งรายงาน EHIA+ ความเห็น คชก.+ มาตรการป้องกันลดผลกระทบ องค์การอิสระฯ (กอสส.) ตั้งคณะอนุกรรมการฯ / คณะทำงาน ศึกษาข้อมูล สำรวจ ลงพื้นที่ รับฟังความคิดเห็น+วิเคราะห์ข้อมูล องค์การอิสระฯ สรุปการให้ความเห็น เผยแพร่ผ่านสื่อ เสนอความเห็น ภายใน 60 วัน (โครงการเอกชน) หน่วยงานอนุมัติ/ อนุญาตพิจารณา (โครงการรัฐ/รัฐวิสาหกิจ/ร่วมเอกชน) เสนอความเห็นต่อ สผ. คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี
75
กระบวนการจัดรับฟังความคิดเห็น ของหน่วยงานอนุมัติ / อนุญาต
76
ง. การรับฟังความคิดเห็นของ หน่วยงานอนุมัติ/อนุญาต
ใครทำ : หน่วยงานอนุมัติ/อนุญาตตั้งคณะกรรมการฯ ทำอะไร : จัดรับฟังความคิดเห็น ทำอย่างไร : ประมวลความคิดเห็น ข้อโต้แย้งจากทุกฝ่าย จัดให้ใคร : ประชาชน + ผู้มีส่วนได้เสีย เพื่ออะไร : เพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจอนุมัติ/อนุญาต ที่ชัดเจน ถูกต้องตามหลักวิชาการและความเป็นจริง
77
การจัดรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานอนุมัติ
ง. ก่อน การจัดรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานอนุมัติ ภารกิจ แต่งตั้งคณะกรรมการรับฟังความ คิดเห็น (ประธาน+ กก. 2-4 คน) ประกาศ นสพ.(ในพื้นที่) อย่างน้อย 1 ฉบับ ไม่น้อยกว่า 3 วัน ลงประกาศก่อนวันจัด ไม่น้อยกว่า 15 วัน เงื่อนไข ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างน้อย 1 ใน 3 ไม่ใช่ข้าราชการ,ข้าราชการการเมือง) เปิดรับลงทะเบียน ไม่น้อยกว่า 5 วัน เผยแพร่ข้อมูลโครงการ ไม่น้อยกว่า 15 วัน (หน่วยงานอนุมัติ+อปท.ที่โครงการตั้งอยู่+Website ของหน่วยงานอนุมัติ)
78
การจัดรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานอนุมัติ
ง. ระหว่าง การจัดรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานอนุมัติ ภารกิจ จัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ดำเนินการด้วยความยืดหยุ่น สุจริต เป็นธรรม เงื่อนไข คำนึงถึงข้อโต้แย้งของทุกฝ่าย ผลกระทบด้านต่างๆ
79
การจัดรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานอนุมัติ
ง. หลัง การจัดรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานอนุมัติ ภารกิจ ทำรายงานการรับฟังฯ 1.กก.+ผู้ลงทะเบียน+ผู้เข้าร่วม 2.กระบวนการวิธีการวันเวลาสถานที่จัด 3.บันทึกทุกความคิดเห็น 4.ประมวลผล ความเหมาะสม ผลกระทบ ทางเลือก ข้อเสนอแนะ เงื่อนไข เผยแพร่สาธารณะ +website เสนอรายงานฯ ต่อหน่วยงานอนุมัติ ภายใน 15 วัน
80
กระบวนการพิจารณาตัดสินใจ อนุมัติ/อนุญาต การดำเนินโครงการ
81
ขั้นตอนการพิจารณาตัดสินใจอนุมัติ กรณีโครงการเอกชน
เจ้าของโครงการ เสนอรายงาน EHIA ต่อ สผ. รายงานไม่ถูกต้อง ข้อมูลไม่ครบถ้วน สผ.ตรวจสอบรายงาน (15 วัน) ข้อมูลครบถ้วน บุคคลผู้ขออนุญาต แก้ไขรายงาน สผ .พิจารณาความเห็นเบื้องต้น (15 วัน) คณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ (คชก.)พิจารณา EHIA (45 วัน) มีแก้ไข/ไม่เห็นชอบ องค์การอิสระฯ (กอสส.) ให้ความเห็น (60 วัน) หน่วยงานอนุมัติ/อนุญาต ตั้งคณะ กก.จัดรับฟังความคิดเห็น หน่วยงานอนุมัติ/อนุญาต โครงการ
82
ขั้นตอนการพิจารณาตัดสินใจอนุมัติ กรณีโครงการรัฐ/รัฐวิสาหกิจ /ร่วมกับเอกชน
คชก. หน่วยงาน เจ้าของโครงการ ให้ความเห็น ภายใน 45 วัน หน่วยงานอนุมัติ/อนุญาต จัดรับฟังความคิดเห็น. องค์การอิสระฯ (กอสส.) ให้ความเห็น ภายใน 60 วัน คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เสนอ ความเห็น ครม. ไม่ให้ความเห็นชอบโครงการ ให้ความเห็นชอบโครงการ
83
รายงาน ผลการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น
หน่วยงานพิจารณาตัดสินใจ อนุมัติ/อนุญาตโครงการ รายงาน EHIA ความเห็นของหน่วยงานต่างๆ เช่น องค์การอิสระ ผลการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ผลการตัดสินใจ + คำชี้แจงเหตุผล เผยแพร่ต่อสาธารณะ +website
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.