งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การดำเนินชีวิตในยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคแห่งข่าวสารข้อมูลและโลกไร้พรมแดน ซึ่งเต็มไปด้วยการแข่งขัน ความเร่งรีบ การเผชิญต่อวิทยาความก้าวหน้าและสิ่งแปลกใหม่ต่าง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การดำเนินชีวิตในยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคแห่งข่าวสารข้อมูลและโลกไร้พรมแดน ซึ่งเต็มไปด้วยการแข่งขัน ความเร่งรีบ การเผชิญต่อวิทยาความก้าวหน้าและสิ่งแปลกใหม่ต่าง."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1

2 การดำเนินชีวิตในยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคแห่งข่าวสารข้อมูลและโลกไร้พรมแดน ซึ่งเต็มไปด้วยการแข่งขัน ความเร่งรีบ การเผชิญต่อวิทยาความก้าวหน้าและสิ่งแปลกใหม่ต่าง ๆ ซึ่งกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ของคนทุกเพศทุกวัย บางส่วนส่งผลให้สังคมขาดสันติสุข การแสวงหาความรู้ และฝึกฝนตนเองเพื่อเสริมสร้างให้มีทักษะชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่กำลังเติบโตไปสู่ ความเป็นผู้ใหญ่ และมีบทบาทในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ การเข้าใจตนเองเป็ นทักษะเบื้องต้นในการดำเนินชีวิตให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อชีวิตส่วนตัว การเรียน และการทำงานร่วมกับผู้อื่น

3 ตอนที่ 1.1 การเข้าใจและรู้จักตนเอง
มนุษย์โดยองค์รวมเป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะพิเศษต่างจากสัตว์อื่นๆ ทั่วไป มนุษย์มีเหตุผลหรือสติปัญญาที่สรรค์สร้างแต่ละบุคคล แต่ละหมู่พวกให้มีความ แตกต่างกันในรูปลักษณ์ ความคิด จินตนาการ รูปแบบการพัฒนา การจัดองค์กร แต่โดยหน่วยย่อยเป็นแต่ละคนแล้ว เรียกว่า ตนหรือตัวตน หรือรูป

4 เค ยัง (K. Young. 1940) กล่าวว่า ตนคือ จิตสำนึก ต่อการกระทำและต่อความคิดของตนเองและที่สัมพันธ์กับบุคคลอื่น ตราบใดที่บุคคลยังสำนึกรู้ ตัวตนอยู่ ตราบนั้นตัวตนก็ยังจะอยู่ วิลเลียม เจมส์ (James) กล่าวว่า ตัวตนคือ ผลรวมของส่วนย่อยต่าง ๆ ทุกส่วนที่ประกอบ กันขึ้นในตัวบุคคล หมายถึง คุณลักษณะหรือบุคลิกภาพทางด้านรูปร่างหน้าตา กิริยาท่าทาง นิสัย ใจคอ สติปัญญา และความสามารถที่มีอยู่ในตัวบุคคลนั้น

5 ทางพุทธศาสนากล่าวถึงตัวตนว่า ตัวตนก็คือการประกอบเข้าด้วยกันของกลุ่ม (ขันธ์) 5 กลุ่ม ที่เมื่อประกอบกันเข้าแล้วกลายเป็นสิ่งมีชีวิต เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน เป็นเรา เป็นเขา ดังนี้ 1) กลุ่มที่เป็นรูป เป็นร่างกาย เป็นส่วนที่ทำให้เกิดพฤติกรรม เกิดคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เป็นบุคคลนั้้น 2) กลุ่มความรู้สึก (เวทนา) คือกลุ่มที่ทำให้คนเราเกิดความรู้สึก เมื่ออวัยวะสัมผัส 3) กลุ่มจดจำ (สัญญา) คือกลุ่มที่เป็นสัญญา ทำให้บุคคลนั้นจำได้ หมายรู้ รับรู้ สิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาทางทวาร 4) กลุ่มปรุงแต่ง (สังขาร) เป็นกลุ่มที่คอยปรุงแต่ง หรือปรับปรุงจิตให้จิตคิดสิ่งที่พบเห็น หรือสิ่งที่รับรู้ว่าสิ่งนั้น ๆ ดีหรือไม่ดี มีลักษณะเป็นอย่างไร โดยมีเจตนาเป็นตัวนำทางที่คอยบ่งชี้ 5) กลุ่มความรู้ ความเข้าใจ (วิญญาณ) คือกลุ่มที่ทำความรู้ แจ้ง เข้าใจ ได้พบเห็นได้สัมผัสทาง ตา หู จมูก เป็นต้นว่า สิ่งนั้นคืออะไร มีรูปร่าง มีลักษณะอย่างไร สามารถเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง คือส่วนที่เป็นจิต เป็นความคิดของคนเรานั่นเอง

6 ในกลุ่มทั้ง 5 กลุ่มนั้นถ้าจะย่อลงมาอีกก็จะเหลือ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็น รูป ที่เรียกว่า รูปกลุ่มที่เป็ นความรู้สึก กลุ่มจดจำ กลุ่มปรุงแต่ง เรียกว่า เจตสิก และกลุ่มความรู้ ความเข้าใจ เรียกว่า จิต ถ้าจะสรุปย่อให้เหลือ 2 กลุ่มก็จะได้ดังนี้คือ กลุ่มรูป เรียกว่ารูป กลุ่มความรู้สึก กลุ่มจดจำ และกลุ่มปรุงแต่ง เรียกว่า นามสรุปก็คือ ตัวตนประกอบด้วย 2 ส่วนคือ รูปและนาม กลุ่ม (ขันธ์) ที่เป็นรูปและกลุ่มที่เป็น ความรู้สึก จดจำ ปรุงแต่ง และความรู้ ความเข้าใจที่เป็นนาม มีสถานภาพ และมีบทบาทประกอบ กันเข้า ทำให้เกิดเป็นสิ่งมีชีวิต มีความรู้สึกนึกคิด มีการจำ การรับรู้

7 ตอนที่ 1.2 ความหมายของการเข้าใจตนเอง
การรู้จักและเข้าใจตนเองหรือความตระหนักรู้ ในตนเองเป็นความสามารถในการรับรู้ เกี่ยวกับตนเองทั้งในด้านความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรม ตลอดจนรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของ ตนเอง ทักษะความสามารถ บุคลิกภาพ และค่านิยม สำหรับการวิจัยในครั้งนี้ผู้ วิจัยได้ให้ ความหมายของการตระหนักรู้ ในตนเองว่าเป็นการรู้จักและเข้าใจในตนเอง สามารถรับรู้ ถึง ความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมของตนเอง ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้านได้แก่ 1) การรู้อารมณ์ตนเอง 2) การประเมินตนเองได้ตามความเป็นจริง 3) ความมั่นใจในตนเอง

8 ตอนที่ 1.3 ความสำคัญของการรู้จักตนเอง
โสคราติส ( B.C.) เป็นบุคคลแรกที่มองเห็นคุณค่าและความสำคัญของการรู้จักตนเอง โดยได้กล่าวว่า “จงรู้จักตนเอง (Know yourself) และว่าชีวิตที่ไม่รู้จักตนเองเป็ นชีวิตที่ไม่มี ค่า (An unexamined life is not worth living) ชีวิตของบุคคลนั้นจะเป็นชีวิตที่มีคุณค่าหรือไม่นั้น อยู่ที่การที่บุคคลนั้นรู้จักหรือสำรวจตนเอง หรือตระหนักรู้ว่าชีวิตคืออะไร กำลังทำอะไรอยู่และมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร” เพลโต ( B.C.) ตัวตนของแต่ละคนนั้น มีส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นความอยาก ความต้องการ ส่วนที่เป็นอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ และส่วนที่เป็นเหตุผล สติปัญญา

9 มอญเตญ ( ) ชาวฝรั่งเศสได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ The Essays ได้เน้น ตัวตนในที่รูปแบบการดำเนินชีวิตว่า จะต้องมี 4 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาและทำความเข้าใจตนเองทุก ๆ ด้าน 2) ยอมรับตนเอง หลังจากที่ได้รู้จักตนเองในทุกส่วน ควรที่จะยอมรับตนเองทั้งในส่วนดี และส่วนไม่ดี เพื่อที่จะได้ปรับปรุงตนเองต่อไป 3) จงยอมรับและเข้าใจผู้อื่นที่เกิดจากการศึกษาตนเอง เพราะผลที่ได้จากการที่เราเข้าใจ ตนเองจะช่วยให้เรายอมรับและเข้าใจผู้อื่นได้ดี 4) จงใช้ชีวิตให้มีความสุข โดยให้สอดคล้องกับธรรมชาติของตนเอง

10 ตอนที่ 1.4 ปัจจัยส่งเสริมให้รู้จักตนเอง
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้รู้จักตนเองนั้นมีหลายปัจจัย แต่ที่จะกล่าวในที่นี้ได้แก่ อัตมโนทัศน์ แยกออกเป็น อัตตะ (ตัวตน) มโน (จิต, ความคิด) ทัศนะ (ความคิดเห็น) เมื่อรวมกันก็หมายถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวตน มาร์กัส (Markus, 1977) ได้แยกแยะการมองเห็นตนเอง เป็น 2 ลักษณะ คือ 1) การมีจินตนาการเดียวกับตนเอง (Self - Image) 2) การมองเห็นคุณค่าของตนเอง (Self - Esteem)

11 2) รู้จักตนเองและผู้อื่นเชิงบวก 3) มีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น
อัตมโนทัศน์ (Self - concept) คือลักษณะของตนที่มองเห็นคุณค่าของตนเอง 1) พูด ทำ คิด เชิงบวก 2) รู้จักตนเองและผู้อื่นเชิงบวก 3) มีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น 4) มีความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มขึ้น 5) มีความสัมฤทธิ์สูง ควรรู้จักตนเองในด้านใดบ้าง 1) ฐานะทางเศรษฐกิจ 2) ความสามารถแห่งสมองและบุคลิกภาพ 3) ความรู้ 4) ความสามารถทั่ว ๆ ไป 5) ความสนใจและนิสัย 6) สุขภาพกายและศักยภาพทางกาย

12 1.5 รูปแบบของการรู้จักตนเอง 1. การรับรู้รูปแบบของตน
1.1แนวคิดของโรเจอร์ส โรเจอร์ส ( ) เป็นนักจิตวิทยาพัฒนาการที่พัฒนาทฤษฎีตนด้วย วิธีการ สังเกตพฤติกรรมของบุคคลที่มารับบริการจิตบำบัดจากเขา เขาสังเกตเห็นว่าบุคคลเหล่านั้น จะมีแสดงการรับรู้ ความรู้สึก และเจตคติต่อตนเองในรูปแบบช้า ๆ และใช้คำว่าตนเอง บ่อยๆ ดังนั้น โรเจอร์สจึงเชื่อว่าตนเป็นบ่อเกิดของการรับรู้ที่บุคคลมีต่อตนเอง ไม่ว่าจะอยู่ ในฐานะผู้รู้หรือผู้ถูกรับรู้ 1) ตนตามความจริง (Real Self) 2) ตนตามที่รับรู้ (Perceived Self)

13 1.2 แนวคิดของโบลส์ และดาเวนพอร์ท
1) ตัวตนที่คาดหวัง (SeIf –expecIation) เป็นรูปแบบที่บุคคล ต้องการให้มีตนมีคุณลักษณะซึ่งเป็นสิ่งที่คาดหวัง 2) ตัวตนตามที่มองเห็น (SeIf –perception) เป็นรูปแบบที่บุคคลคิด ว่าตนเป็นและรับรู้ตนในสภาพปัจจุบัน 3) ตัวตนตามจริง (ReaI – seIf) เป็นตัวตนที่ได้รับการวิเคราะห์จาก ตนและผู้อื่นซึ่งเป็นการประเมินจากการประพฤติการปฏิบัติของตน 4) ตัวตนที่ผู้อื่นคาดหวัง (Other-expectation) เป็นพฤติกรรมที่ แสดงออกจากความคาดหวังที่คนอื่นคาดหวังจากเรา 5) ตัวตนตามที่อื่นรับรู้ (Other-perception)

14 ตอนที่ 1.6 การรู้จักตนในบริบทของสิ่งแวดล้อม 1. การรับรู้รูปแบบของตน
เรื่องที่ แนวคิดของโจเซฟ สุฟท์ และ แฮรี่ อิงแฮม นักจิตวิทยา 2 คน คือ โจเซฟ สุฟท์ และ แฮรี่ อิงแฮม ได้เสนอรูปแบบของการตระหนักถึงตนของบุคคลในสถานการณ์ที่แสดงพฤติกรรมติดต่อกับบุคคลอื่นโดยพัฒนาขึ้นเป็นทฤษฏีเรียกว่าทฤษฏี หน้าต่างใจอารี (Johari window) 1) ส่วนเปิดเผย 2) ส่วนจุดบอด 3) ส่วนซ่อนเร้น 4) ส่วนอวิชา

15 1.6.2 ทฤษฏีการเชื่อมโยงความคิด
บุคคลมีความคิดเชื่อมโยงระหว่างการรับรู้ ตนเอง และรับรู้ ผู้อื่นการ แสดงออกของบุคคลก็จะเป็นไปตามความคิดที่ตนเปรียบเทียบไว้ 1) ฉันดี เธอไม่ดี (I am OK; you are OK ) 2) ฉันไม่ดี เธอดี (I am not OK : you are OK ) 3) ฉันไม่ดี เธอไม่ดี(I am not OK : you are not OK ) 4) ฉันดี เธอดี (I am OK : you are OK ) 1.6.3 ทฤษฏีการวิเคราะห์เชื่อโยงสัมพันธ์ 1) สภาวะเด็ก (Child ego state) 2) สภาวะผู้ใหญ่ (Adult ego state) 3) สภาวะพ่อแม่ (Parent ego state)

16 1.7 ความสำคัญของการเข้าใจในตนเอง
การตระหนักรู้ ในตนเองมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเรา อย่างมากเนื่องจากจะทำให้บุคคลสามารถที่จะรับรู้รู้จักและเข้าใจตนเองมากขึ้น ซึ่งอันจะเป็นผลนำไปสู่การแสดงออกและพฤติกรรมที่เหมาะสม เกิดการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวัน อาทิ ความฉลาดทางอารมณ์และการพัฒนาความเป็นผู้นำ

17 1.8 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเข้าใจตนเอง
ทฤษฎีเทรท (The Theory of Trait) ทฤษฎีเทรทเป็ นทฤษฎีเกี่ยวกับบุคลิกภาพที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย Gordon Allport นักจิตวิทยาชาวอเมริกา ซึ่ง Allport ได้อธิบายพัฒนาการบุคลิกภาพไว้ว่า พัฒนาการบุคลิกภาพมี ศูนย์กลางอยู่ที่ตัวตน (Self) โดย Allport ได้ใช้คำว่า Proprium แทนคำว่า Self เพื่อให้มีความหมายว่า ความรู้ สึกที่เป็นเฉพาะของเรา กล่าวคือ ทุกส่วนของบุคลิกภาพที่มาให้เรามีเอกภาพในใจ ทฤษฎีการรับรู้ตน (Self-Theory) Rogers บิดาแห่งการทำจิตบำบัด เขาได้คิดค้นแนวคิดที่ว่าบุคคลเป็น ศูนย์กลางขึ้นมา เพื่อจะที่เข้าใจมนุษย์และความสัมพันธ์ของมนุษย์โดย Rogers มองว่า บุคลิกภาพของมนุษย์เกิดจากประสบการณ์เฉพาะตัวของบุคคล ซึ่งรวมถึงความรู้สึกและเจตคติ ของบุคคลต่อโลก ต่อชีวิตต่อตนเอง และต่อสังคมแวดล้อมโดยมุ่งให้ความสำคัญที่ตัวเอง และความเป็นตัวของตัวเองของบุคคล

18 อัตตา หรือตัวตน (Self) คือความรู้สึกนึกคิดว่าเป็นตัวเรา ของเรา ดังนั้นมนุษย์ทุกคนจึงมี อัตตาด้วยกันทุกคน 1) ตัวตนที่แท้จริง (Real Self) หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวเราจริง ๆ เป็นการรับรู้ ชีวิต และความเป็นอยู่ของตัวเรา บุคคลจะรู้จักตัวตนที่แท้จริงได้ด้วยการสังเกตประสบการณ์และ ประเมินตนเองด้วยความยุติธรรม 2) ตัวตนอุดมคติ(Ideal Self) หมายถึง ตัวตนที่เราอยากเป็น แต่ยังไม่เป็นในสภาวะปัจจุบัน เป็นตัวตนที่ดำรงไว้ซึ่งจุดหมายความปรารถนาและความนึกคิดที่ดีที่สุดเกี่ยวกับตัวเรา 3) ตัวตนทางสังคม (Public Self) หมายถึง ภาพของตนเองที่ปรากฏแก่สายตา ของคนอื่น หรือในสังคม รวมถึงลักษณะที่เราต้องการให้คนอื่นเห็น ดังนั้นจึงมีการเปิดเผยหรือแสดงลักษณะบางอย่างและปกปิดลักษณะบางอย่าง

19 หน้าต่างโจฮารี่ (The Johari Window)
แนวคิดนี้เป็นรูปแบบของการมีปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ซึ่ง Joseph Luft and Harry Ingham (n.d.) ได้อธิบายสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และความตระหนักรู้ ในการกระทำและความรู้สึกของตนขณะที่มีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล โดยแนวคิดรูปแบบหน้าต่างโจฮารี่เป็น แนวคิดที่แสดงถึงองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือ 1) การเปิดเผยตนเอง (Self - disclosure) คือ การกระทำที่ทำให้ผู้อื่นรับรู้ เกี่ยวกับตนเองมีทั้งส่วนของเรื่องราว ความรู้สึก ความคิด ค่านิยม ความคาดหวัง 2) การได้รับข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) คือ การได้รับข้อมูลที่แสดงการรับรู้ ของบุคคลอื่นที่มีต่อการกระทำของตนเอง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ให้บุคคลได้รับรู้ ตนเองในด้านที่ตนเองไม่เคยตระหนักมาก่อน

20 หน้าต่างโจฮารี่ได้อธิบายลักษณะและความสัมพันธ์ของบุคคลว่ามี 4 ลักษณะ ดังนี้
1. บริเวณเปิดเผย(Open Area) เป็นส่วนข้อมูลที่บุคคลแสดงพฤติกรรม ความรู้สึกนึกคิด และ แรงจูงใจต่างๆ 2. บริเวณจุดบอด (Blind Area) เป็นส่วนข้อมูลที่ตนเองไม่รู้มาก่อน แต่ผู้อื่นรับรู้บุคคล 3. บริเวณซ่อนเร้น (Hidden Area) เป็นข้อมูลทางพฤติกรรม ความคิด ความรู้สึกในส่วนที่ บุคคล รับรู้แต่มีเจตนาปิดบังไม่ให้ผู้อื่นรู้ 4. บริเวณไม่รู้(Unknown Area) เป็นข้อมูลในส่วนที่ตนเองและผู้อื่นไม่รู้อาจเป็นข้อมูลที่อยู่ในระดับลึกกว่าจิตสำนึก

21 ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Gestalt จะเน้นความสำคัญของการตระหนักรู้ในตนเอง และสัมพันธภาพของตนเองและผู้อื่นเป็นสำคัญในเงื่อนไขของความรู้สึกจากการสัมผัสทางร่างกาย และอารมณ์ความรู้สึก โดยให้ความสนใจอยู่กับการติดต่อระหว่างตนเองและผู้อื่น และการ ตระหนักรู้ในตนเองและผู้อื่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมากกว่าในอดีตและอนาคต Polster and Polster (1973 cited in Sharf, 2004, p. 246) ได้อธิบายว่าการตระหนักรู้ นั้นมี4 ประเภท คือ 1. การตระหนักรู้ในความรู้สึกจากการสัมผัสและการกระทำ 2. การตระหนักรู้ในความรู้สึก 3. ตระหนักรู้ในความต้องการ 4. การตระหนักรู้ ในคุณค่าและการประเมินเกี่ยวกับประสบการณ์

22 ทฤษฎีการตระหนักรู้ในตนเอง
(Theory of Objective Selfawareness) สร้างขึ้นมาโดยนักจิตวิทยาสังคมสองท่าน คือ Duval and Wicklund ได้อธิบาย ว่าคนเรามีความใส่ใจตระหนักรู้ อยู่ 2 แบบ คือ การใส่ใจที่เน้นภายนอกที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและภายในที่มีต่อตนเอง แต่อย่างไรก็ตามบุคคลไม่สามารถจะเน้นการใส่ใจได้ทั้งภายนอกและภายใน พร้อมกัน บุคคลสามารถที่จะให้ความใส่ใจได้เพียงอย่างเดียวในช่วงเวลานั้น แต่ทั้งนี้การให้ความใส่ใจของบุคคลสามารถสลับสับเปลี่ยนกันได้

23 1.9 ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence)
Goleman ได้เสนอว่า ในทัศนะของ Salovery (1995) EQ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1. ขั้นตระหนักรู้จักอารมณ์ตน หรือการตระหนักรู้ในตนเอง 2. ขั้นบริการจัดการอารมณ์ 3. ขั้นสร้างแรงจูงใจที่ดีให้แก่ตนเอง 4. ขั้นสามารถรับรู้อารมณ์ของผู้อื่นได้ 5. ความสามารถในการจัดการความสัมพันธ์กับ

24 นอกจากนี้ Goleman ได้ให้ ความหมายของการกระหนักรู้ในตนเองว่าหมายถึง การตระหนักรู้ในอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง ตามสภาพจริง รวมทั้งรู้ผลของอารมณ์ที่จะเกิดขึ้น สามารถประเมินตนเองได้ตามความเป็นจริง รู้ จุดเด่นจุดด้อยของตนเอง มีความมั่นใจในตนเองเชื่อมั่นในความสามารถ และเห็นคุณค่าของตนเองซึ่งองค์ประกอบย่อยของการตระหนักรู้ในตนเอง มีดังนี้ 1) การตระหนักรู้ อารมณ์ตนเอง 2) การประเมินตนเองได้อย่างถูกต้อง 3) ความมั่นใจในตนเอง

25 ตอนที่ 1.10 ทักษะชีวิต (Life Skill)
ทักษะชีวิต หมายถึง ความสารถของบุคคล โดยใช้ความรู้เจตคติและทักษะในการ ปรับตัว และจัดการกับอุปสรรคต่าง ๆ ในชีวิตของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลให้ชีวิตของบุคคลประสบความสำเร็จ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดองค์ประกอบของทักษะ ชีวิตไว้ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การตระหนักรู้ และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น 2) การคิดวิเคราะห์ตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3) การจัดการกับอารมณ์และความเครียด 4) การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น

26 ตอนที่ 1.11 แนวทางการวิเคราะห์และเข้าใจพฤตกิรรมของตนเองและผู้อื่นด้วย ทฤษฎียูเอ็นโอ
ได้นำบุคลิกภาพในการแสดงของคนที่มีขอบเขต (Human Boundary) ที่แตกต่างกันเปรียบเทียบกับภาพตัดขวางของต้นไม้ ซึ่งมีส่วนที่สำคัญ 3 ส่วนได้แก่ เปลือก เนื้อ และ แก่น

27 บุคลิกภาพของยู เอ็น โอ สามารถอธิบายรายละเอียด พร้ อมยกตัวอย่างเพื่อสร้างความ เข้าใจให้มากขึ้น ดังนี้
1) Under Expression Personality หมายถึงบุคคลที่มีบุคลิกภาพไม่ชอบแสดงออก 2) Normal Expression Personality หมายถึง บุคคลที่มีการแสดงออกที่เหมาะสม 3) Over Expression Personality หมายถึง บุคคลที่มีบุคลิกภาพชอบแสดงออก

28 เทคนิคที่ใช้ในการติดต่อกับ Under Expression Personality และ Over Expression Personality เมื่อเราจำแนกบุคคลด้วยการแสดงออก เป็น 3 ประเภท เพื่อการติดต่อสื่อสารหรือสร้าง ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เราจำเป็นต้องเรียนรู้ เทคนิคในการติดต่อสื่อสารกับบุคคล 2 กลุ่ม ได้แก่ Under Expression Personality และ Over Expression Personality เนื่องจากเป็นกลุ่ม บุคคลที่มีบุคลิกสุดโต่งในทั้ง 2 ด้าน

29 ตอนที่ 1. 12 ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อการสร้างสัมพันธภาพ
ตอนที่ 1.12 ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อการสร้างสัมพันธภาพ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีแก่กัน สามารถจำแนกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ภาษาคำพูด (Verbal Language) และภาษาท่าทาง หรือภาษากาย (Body Language or Non -Verbal Language) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ - ภาษาคำพูด (Verbal Language) - ภาษาท่าทางหรือภาษากาย (Body Language or Non-verbal Language) - ลักษณะของภาษาท่าทางที่ทำให้ทราบความรู้สึกของผู้แสดงพฤติกรรม - ทักษะในการวิเคราะห์สิ่งที่แฝงมากับข้อมูลข่าวสาร - ทักษะในการทบทวนแปลความหมายของสารที่สื่อถึงกันและกัน - ขนาดของกลุ่ม

30 ถ้าเราสามารถใช้ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารอย่างสอดคล้องเหมาะสม การสื่อ ความหมายก็จะประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหมายที่ปรารถนา ดังนั้น หากต้องการให้การสื่อ ความหมายในกลุ่มในสังคมมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่ หรือสังคมเล็ก สังคม ใหญ่ ตั้งแต่ระดับครอบครัวถึงระดับประเทศชาติ สมาชิกในกลุ่มพึงตระหนักในปัจจัยของการสื่อ ความหมายที่มีประสิทธิภาพดังกล่าวทั้ง 5 ข้อ คือ ปัจจัยในองค์ประกอบของการสื่อความหมาย ภาษาที่ใช้ในการสื่อความหมาย ทักษะในการวิเคราะห์ อารมณ์ ความรู้สึก หรือสิ่งที่แฝงมาพร้อม กับข้อมูลข่างสาร ทักษะในการทบทวนแปลความหมายและขนาดของกลุ่มนั้น เพื่อช่วยให้การสื่อ ความหมายในสังคมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


ดาวน์โหลด ppt การดำเนินชีวิตในยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคแห่งข่าวสารข้อมูลและโลกไร้พรมแดน ซึ่งเต็มไปด้วยการแข่งขัน ความเร่งรีบ การเผชิญต่อวิทยาความก้าวหน้าและสิ่งแปลกใหม่ต่าง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google