งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รูปแบบโรงเรือนเลี้ยงสัตว์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รูปแบบโรงเรือนเลี้ยงสัตว์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รูปแบบโรงเรือนเลี้ยงสัตว์
เมนูย่อย -การเลือกทำเลที่ตั้งโรงเรือน -รายละเอียดในการก่อสร้าง โรงเรือน -แบบแปลนโรงเรือนและ ประมาณการค่าใช้จ่าย *โรงเรือนขนาด 100 ตัว *โรงเรือนขนาด 200 ตัว *โรงเรือนขนาด 300 ตัว ตัวอย่างโรงเรือน การก่อสร้างโรงเรือน

2 โรงเรือนและอุปกรณ์ การเลือกทำเลที่ตั้งโรงเรือน โรงเรือนที่ดี ควรจะเป็นโรงเรือนที่ไก่อยู่สบาย มีการระบายอากาศที่ดี ถูกหลักสุขอนามัย ไม่มีแก๊สในโรงเรือน มีอุปกรณ์ที่ได้รับการติดตั้งอย่างถูกต้อง และกระจายทั่วถึง

3 สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนการสร้างโรงเรือน
โรงเรือนและอุปกรณ์ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนการสร้างโรงเรือน แต่ด้วยทำเลที่ตั้งที่แตกต่างกัน อาจส่งผลให้แต่ละโรงเรียนเกิดข้อจำกัดในการสร้างโรงเรือนที่ไม่เหมือนกัน โดยสิ่งที่ทุกโรงเรียนต้องคำนึงถึงเป็นหลักพื้นฐาน นั่นคือ 1. มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการตั้งโรงเรือนหรือไม่ โดยพื้นที่ตั้งต้องไม่อึดอัด หรือไม่ไปกีดขวางพื้นที่อื่นๆ

4 สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนการสร้างโรงเรือน
โรงเรือนและอุปกรณ์ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนการสร้างโรงเรือน 2. การสร้างโรงเรือน ต้องสร้างตามแนวทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ จะช่วยหลีกเลี่ยงแสงแดดส่องเข้าในโรงเรือน และลดความร้อนภายในโรงเรือน และการระบายอากาศ เพราะดวงอาทิตย์จะขึ้นและตกตามแนวหลังคา หากสร้างโรงเรือนขวางดวงอาทิตย์จะส่งผลให้แดดส่องเข้าไปยังโรงเรือนตลอดเวลา ความร้อนที่จะส่งผลกระทบต่อไก่จะมีมากกว่า

5 สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนการสร้างโรงเรือน
โรงเรือนและอุปกรณ์ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนการสร้างโรงเรือน 3. น้ำสำหรับเลี้ยงไก่ไข่ต้องสะอาด โดยน้ำจากใต้ดินจะไม่มีปัญหาเรื่องการปนเปื้อนของเชื้อโรคเท่ากับน้ำจากคลองหรือบ่อน้ำ แต่หากโรงเรียนมีความจำเป็นต้องใช้น้ำจากคลองหรือบ่อน้ำ อาจต้องประสานงานกับทางปศุสัตว์ เพื่อทำการฆ่าเชื้อก่อนนำมาเลี้ยงไก่ เพราะหากมีปนเปื้อนของเชื้อในน้ำ จะส่งผลให้ไก่ป่วย และท้องเสียได้ น้ำที่ใช้มีปริมาณเพียงพอต่อการเลี้ยงไก่ทั้งรุ่น หากไก่ขาดน้ำจะส่งผลกระทบโดยตรง คือ ไก่อาจหยุดไข่ ทำให้ไข่ลด หากขาดน้ำเป็นเวลานาน ขนจะร่วง และผลัดขนในเวลาต่อมา โดยช่วงเวลาผลัดขน ไก่จะไม่สามารถให้ไข่ได้

6 สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนการสร้างโรงเรือน
โรงเรือนและอุปกรณ์ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนการสร้างโรงเรือน 4. การคมนาคมสะดวก เนื่องจากโรงเรียนในบางพื้นที่ห่างไกลจากตลาด เกิดปัญหาในการขนส่งไข่ไก่ไปจำหน่าย รวมทั้งการขนส่งอาหารไก่ด้วย ดังนั้น ควรมีการวางแผนว่าควรเก็บไข่จากโรงเรือนไปจำหน่ายอย่างไร

7 1.1 รายละเอียดในการก่อสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่
1.1 รายละเอียดในการก่อสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ 1. ความกว้างของโรงเรือน 4.2 เมตร 2. ความยาวของโรงเรือนตามจำนวนไก่เข้าเลี้ยง 3. ห้องเก็บอาหาร 4.20 X 3.2 เมตร 4. โรงเรือนเสาปูน โครงเหล็ก หลังคากระเบื้อง 5. กรงตับ 2 ชั้น ระบบให้น้ำอัตโนมัติ 6. ติดพัดลมเพดาน ใช้ Thermostate จ่ายกระแสไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าใช้นาฬิกาจ่ายกระแสไฟ ตำแหน่งที่ตั้งโรงเรือนควรตั้งในแนวตามตะวัน เพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดดที่จะส่องเข้าโรงเรือนซึ่งจะช่วยลดความร้อนภายในโรงเรือนไก่ไข่ได้ ควรมีทำประกันภัยโรงเรือนอย่างต่อเนื่อง (โดยในปีแรกมูลนิธิฯ จะเป็นผู้ทำการประกันภัยโรงเรือน)

8 ส่วนความยาวของโรงเรือน ขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ไข่ของแต่ละโรงเรียน
โรงเรือนและอุปกรณ์ โรงเรือนที่เหมาะสมสำหรับโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวัน ควรมีความกว้างประมาณ 4.20 ม. สูง 2.50 ม. ส่วนความยาวของโรงเรือน ขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ไข่ของแต่ละโรงเรียน ยกตัวอย่างเช่น ความยาวโรงเรือน 8 เมตร สำหรับไก่จำนวน 100 ตัว ความยาวโรงเรือน 10 เมตร สำหรับไก่จำนวน 200 ตัว ความยาวโรงเรือน 12 เมตร สำหรับไก่จำนวน 300 ตัว

9 1.2 โรงเรือนขนาด 4.2 x 8.0 ม. ความจุ 100 ตัว
(ด้านหน้า)

10 1.2 โรงเรือนขนาด 4.2 x 8.0 ม. ความจุ 100 ตัว
(ด้านบน)

11 1.2 โรงเรือนขนาด 4.2 x 8.0 ม. ความจุ 100 ตัว
(ด้านข้าง)

12 ค่าก่อสร้างโรงเรือน เลี้ยงไก่ไข่ ขนาด 4.2 x 8.0 ม. พร้อมอุปกรณ์
จำนวนไก่ไข่เข้าเลี้ยง 100 ตัว (ค่าใช้จ่ายประมาณการ ณ ปี 2550)

13 ค่าก่อสร้างโรงเรือน เลี้ยงไก่ไข่ ขนาด 4.2 x 8.0 ม. พร้อมอุปกรณ์
จำนวนไก่ไข่เข้าเลี้ยง 100 ตัว

14 ค่าก่อสร้างโรงเรือน เลี้ยงไก่ไข่ ขนาด 4.2 x 8.0 ม. พร้อมอุปกรณ์(ต่อ)
จำนวนไก่ไข่เข้าเลี้ยง 100 ตัว

15 ค่าอุปกรณ์การเลี้ยง โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ ขนาด 4.2 x 8.0 ม.
จำนวนไก่ไข่เข้าเลี้ยง 100 ตัว

16 ค่าอุปกรณ์การเลี้ยง โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ ขนาด 4.2 x 8.0 ม.(ต่อ)
จำนวนไก่ไข่เข้าเลี้ยง 100 ตัว

17 ค่าอุปกรณ์ไฟฟ้า โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ ขนาด 4.2 x 8.0 ม.
จำนวนไก่ไข่เข้าเลี้ยง 100 ตัว

18 โรงเรือนสำหรับไก่ 100 ตัว ใส่ไก่ 2-3 ตัวต่อ 1 กรง
โรงเรือนและอุปกรณ์ โรงเรือนสำหรับไก่ จำนวน 100 ตัว โรงเรือนสำหรับไก่ 100 ตัว ใส่ไก่ 2-3 ตัวต่อ 1 กรง งบประมาณยืดหยุ่นได้ ตามสภาพเศรษฐกิจ

19 1.3 โรงเรือนขนาด 4.2 x 10.0 ม. ความจุ 200 ตัว
(ด้านหน้า) หมายเหตุ : สำหรับการเลี้ยงไก่ไข่ 150 ตัว ตามความเหมาะสมของจำนวนนักเรียน ควรสร้างโรงเรือน ขนาด 4.2 x 10.0 ม.

20 ค่าก่อสร้างโรงเรือน เลี้ยงไก่ไข่ ขนาด 4.2 x 10.0 ม. พร้อมอุปกรณ์
จำนวนไก่ไข่เข้าเลี้ยง 200 ตัว (ค่าใช้จ่ายประมาณการ ณ ปี 2550)

21 ค่าก่อสร้างโรงเรือน เลี้ยงไก่ไข่ ขนาด 4.2 x 10.0 ม. พร้อมอุปกรณ์
จำนวนไก่ไข่เข้าเลี้ยง 200 ตัว

22 ค่าก่อสร้างโรงเรือน เลี้ยงไก่ไข่ ขนาด 4.2 x 10.0 ม. พร้อมอุปกรณ์(ต่อ)
จำนวนไก่ไข่เข้าเลี้ยง 200 ตัว

23 ค่าอุปกรณ์โรงเรือน เลี้ยงไก่ไข่ ขนาด 4.2 x 10.0 ม.
จำนวนไก่ไข่เข้าเลี้ยง 200 ตัว

24 ค่าอุปกรณ์โรงเรือน เลี้ยงไก่ไข่ ขนาด 4.2 x 10.0 ม.(ต่อ)
จำนวนไก่ไข่เข้าเลี้ยง 200 ตัว

25 ค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงเรือน เลี้ยงไก่ไข่ ขนาด 4.2 x 10.0 ม.
จำนวนไก่ไข่เข้าเลี้ยง 200 ตัว

26 โรงเรือนสำหรับไก่ 200 ตัว ใส่ไก่ 4 ตัวต่อ 1 กรง
โรงเรือนและอุปกรณ์ โรงเรือนสำหรับไก่ จำนวน 200 ตัว โรงเรือนสำหรับไก่ 200 ตัว ใส่ไก่ 4 ตัวต่อ 1 กรง ** เหตุที่โรงเรือนขนาด 200 ตัว ใส่ไก่ 4 ตัวต่อ 1 กรง เนื่องจากหากเพิ่มความยาวโรงเรือนเพื่อเพิ่มกรงไก่ จะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างมากเกินไป ** น่าจะกำหนดเป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น 100 ตัว ใส่ 2-3 ตัวต่อกรง แต่ 200 ตัว ใส่ 4 ตัวต่อกรง

27 1.3 โรงเรือนขนาด 4.2 x 12.0 ม. ความจุ 300 ตัว
(ด้านหน้า)

28 1.3 โรงเรือนขนาด 4.2 x 12.0 ม. ความจุ 300 ตัว
(ด้านบน)

29 1.3 โรงเรือนขนาด 4.2 x 12.0 ม. ความจุ 300 ตัว
(ด้านข้าง)

30 ค่าก่อสร้างโรงเรือน เลี้ยงไก่ไข่ ขนาด 4.2 x 12.0 ม. พร้อมอุปกรณ์
จำนวนไก่ไข่เข้าเลี้ยง 300 ตัว (ค่าใช้จ่ายประมาณการ ณ ปี 2550)

31 ค่าก่อสร้างโรงเรือน เลี้ยงไก่ไข่ ขนาด 4.2 x 12.0 ม. พร้อมอุปกรณ์
จำนวนไก่ไข่เข้าเลี้ยง 300 ตัว

32 ค่าก่อสร้างโรงเรือน เลี้ยงไก่ไข่ ขนาด 4.2 x 12.0 ม. พร้อมอุปกรณ์(ต่อ)
จำนวนไก่ไข่เข้าเลี้ยง 300 ตัว

33 ค่าอุปกรณ์โรงเรือน เลี้ยงไก่ไข่ ขนาด 4.2 x 12.0 ม.
จำนวนไก่ไข่เข้าเลี้ยง 300 ตัว

34 ค่าอุปกรณ์โรงเรือน เลี้ยงไก่ไข่ ขนาด 4.2 x 12.0 ม.(ต่อ)
จำนวนไก่ไข่เข้าเลี้ยง 300 ตัว

35 ค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงเรือน เลี้ยงไก่ไข่ ขนาด 4.2 x 12.0 ม.
จำนวนไก่ไข่เข้าเลี้ยง 300 ตัว

36 โรงเรือนสำหรับไก่ 300 ตัว ใส่ไก่ 3 ตัวต่อ 1 กรง
โรงเรือนและอุปกรณ์ โรงเรือนสำหรับไก่ จำนวน 300 ตัว โรงเรือนสำหรับไก่ 300 ตัว ใส่ไก่ 3 ตัวต่อ 1 กรง

37 ตัวอย่างโรงเรือนที่ร่วมโครงการ
โรงเรือนจะต้องเผื่อพื้นสำหรับติดตั้งป้ายโครงการ โดยทางมูลนิธิฯ จะเป็นผู้จัดทำให้

38 ขั้นตอนการก่อสร้างโรงเรือน
โรงเรือนและอุปกรณ์ ขั้นตอนการก่อสร้างโรงเรือน การปรับพื้นที่ สำหรับก่อสร้างฟาร์ม 2. เตรียมอุปกรณ์ก่อสร้าง 3. ขึ้นโครงสร้างโรงเรือน 4. ติดตั้งอุปกรณ์การเลี้ยง 5. ทดสอบการใช้งานและทำความสะอาดโรงเรือน

39 ขั้นตอนการก่อสร้างโรงเรือน
โรงเรือนและอุปกรณ์ ขั้นตอนการก่อสร้างโรงเรือน การปรับพื้นที่ สำหรับก่อสร้างฟาร์ม หลังจากวางตำแหน่งโรงเรือนตามแนวทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกแล้ว ขั้นตอนต่อมา คือ การปรับพื้นที่ที่เรียกว่า “โคกดิน” ให้สูงกว่าระดับปกติประมาณ 30 เซนติเมตร และมีร่องระบายน้ำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำไหลเข้าโรงเรือนในฤดูฝน และช่วยในเรื่องของการระบายอากาศ เพราะโดยปกติ พื้นที่สูงกว่าจะสามารถระบายอากาศได้ดี

40 ขั้นตอนการก่อสร้างโรงเรือน
โรงเรือนและอุปกรณ์ ขั้นตอนการก่อสร้างโรงเรือน 2. เตรียมอุปกรณ์ก่อสร้าง เตรียมวัสดุอุปกรณ์ อาทิ เสา หิน ทรายต่างๆ ก่อนสร้างโรงเรือน 3. ขึ้นโครงสร้างโรงเรือน ขึ้นโครงมุงหลังคา เทพื้น ก่อผนัง จากนั้นจึงติดตั้งอุปกรณ์ในส่วนของกรงตับ

41 4. ติดตั้งอุปกรณ์การเลี้ยง

42 รายละเอียดอุปกรณ์การเลี้ยง

43 - ให้อาหาร 2.1 ตำแหน่งในการติดตั้งอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์
กรงตับ 2 ชั้น ตัว A ติดตั้งตรงกลางของโรงเรือน ระบบการให้น้ำแบบนิปเปิ๊ล ซึ่งทำให้ง่ายต่อการ - ให้อาหาร - เก็บไข่ - ทำความสะอาด - และจัดเก็บมูลไก่ (มีร่องสำหรับเก็บ)

44 ขั้นตอนการก่อสร้างโรงเรือน
โรงเรือนและอุปกรณ์ ขั้นตอนการก่อสร้างโรงเรือน 4. ติดตั้งอุปกรณ์การเลี้ยง 4.1 กรงตับ กรงตับที่ใช้ สามารถใส่ไก่ได้ 2-4 ตัวต่อ 1 กรง ตามแต่ขนาดของโรงเรือน โดยกรงตับอาจแบ่งเป็น 5 กรงต่อ 1 ชุด มีแผงเล้ารับไข่อยู่ด้านล่างเพื่อรองรับไข่ ทำให้สามารถเก็บไข่ได้สะดวก วิธีการติดตั้งกรงตับ

45 กรงตับ

46 ขั้นตอนการก่อสร้างโรงเรือน
โรงเรือนและอุปกรณ์ ขั้นตอนการก่อสร้างโรงเรือน 4. ติดตั้งอุปกรณ์การเลี้ยง 4.2 นิปเปิ้ล เนื่องจากกรงตับจะถูกติดตั้งแบบแบ่งครึ่งฝั่งไว้ การติดตั้งหัวนิปเปิ้ล จึงต้องติดตั้งตรงแผงกั้นไก่ เพื่อให้ไก่สามารถกินน้ำจากหัวนิปเปิ้ลอันเดียวกันได้ทั้ง 2 ฝั่ง

47 นิปเปิ้ลให้น้ำ แผงกั้นระหว่างกรงตับ

48 ขั้นตอนการก่อสร้างโรงเรือน
โรงเรือนและอุปกรณ์ ขั้นตอนการก่อสร้างโรงเรือน 4. ติดตั้งอุปกรณ์การเลี้ยง 4.3 อุปกรณ์ให้อาหาร อุปกรณ์ให้อาหาร มีลักษณะเป็นรางพลาสติกยาวประมาณ 4 เมตร มีฝาปิดด้านซ้ายและขวา และมีขอเกี่ยวรางอาหาร ในการติดรางอาหารนั้น หากฝาปิดรางอาหารหาย ควรหาฝาปิดอันใหม่มาแทนโดยทันที เพื่อป้องกันอาหารหกหล่นขณะให้อาหาร เช่นเดียวกัน หากรางอาหารแตกหรือรั่ว ควรทำการซ่อมแซมโดยทันที เพราะอาหารที่หกหล่น จัดเป็นต้นทุนสำคัญในการผลิต ยิ่งอาหารหกหล่นน้อยเท่าไหร่ กำไรที่ได้ก็จะมากขึ้นเท่านั้น

49 รางอาหาร ขอเกี่ยวรางอาหาร

50 ขั้นตอนการก่อสร้างโรงเรือน
โรงเรือนและอุปกรณ์ ขั้นตอนการก่อสร้างโรงเรือน 4. ติดตั้งอุปกรณ์การเลี้ยง 4.4 ถังพักน้ำ ถังพักน้ำ ควรมีขนาดบรรจุประมาณ 3 ลิตร ระดับถังพักน้ำสูงกว่าท่อน้ำไม่เกิน 30 เซนติเมตร และมีรูระบายน้ำเพื่อทำความสะอาด เมื่อเลี้ยงไก่ได้สักระยะหนึ่ง ถังพักน้ำจะสกปรกและเกิดตะไคร่ ดังนั้นจึงควรทำความสะอาดถังพักน้ำเป็นประจำทุกอาทิตย์ รวมถึงทำความสะอาดทุกครั้งหลังการให้ยาหรือวิตามิน เพื่อป้องกันการสะสมของยาในท่อน้ำ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรคในไก่ ทำให้ไก่ท้องเสียได้

51 ถังพักน้ำ ชี้แนวระดับถังพักน้ำ และระดับท่อน้ำ

52 ขั้นตอนการก่อสร้างโรงเรือน
โรงเรือนและอุปกรณ์ ขั้นตอนการก่อสร้างโรงเรือน 4. ติดตั้งอุปกรณ์การเลี้ยง 4.5 อุปกรณ์แสงสว่าง แสงสว่างที่ไก่ไข่ใช้ประมาณ 16 ชั่วโมง เพิ่มจากแสงปกติ 3 ชั่วโมง อธิบายเพิ่มเติม เช่น ในโรงเรือน ขนาด 100 ตัว (4.2x8 ม.) ควรติดไฟสำหรับให้แสงสว่างจำนวนเท่าไร

53 ขั้นตอนการก่อสร้างโรงเรือน
โรงเรือนและอุปกรณ์ ขั้นตอนการก่อสร้างโรงเรือน 4. ติดตั้งอุปกรณ์การเลี้ยง 4.6 ถังเก็บน้ำ ถังเก็บน้ำ คือ ถังบรรจุน้ำที่ตั้งอยู่ภายนอกโรงเรือน สำหรับเก็บน้ำก่อนเข้ามาในถังพักน้ำ ถังเก็บน้ำ ควรมีหลังคาบังแดด เพื่อป้องกันน้ำไม่ให้ร้อนจากการตากแดด ลดปัญหาไก่กินน้ำไม่ได้ เนื่องจากไข่จะลดลง หากไก่ขาดน้ำ

54 ถังเก็บน้ำที่ใช้ภายในโรงเรือน
ควรมีหลังคาบังแดด อาจจะอยู่ในหรือนอกโรงเรือน ถังควรเก็บน้ำได้ประมาณ 500 ลิตร เพื่อสำรองน้ำไว้ให้ ไก่กินอย่างน้อย 1 วัน ข้อมูล....ปริมาณน้ำที่ไก่กิน/ตัว/วัน เป็น (หน่วย)/ตัว/วัน เพื่อคำนวณปริมาณน้ำที่ควรสำรองไว้ให้พียงพอสำหรับ1 วัน หรือหลายๆวัน

55 ขั้นตอนการก่อสร้างโรงเรือน
โรงเรือนและอุปกรณ์ ขั้นตอนการก่อสร้างโรงเรือน 4. ติดตั้งอุปกรณ์การเลี้ยง 4.7 ตาข่ายรอบโรงเรือน การขึงตะขายรอบโรงเรือน จะช่วยป้องกันเรื่องของพาหะ, เชื้อโรค 4.8 พัดลม พัดลมระบายอากาศ ช่วยในเรื่องการระบายอากาศที่ดี เช่น ในหน้าร้อน จะช่วยให้ไก่สามารถให้ไข่ปกติ ส่งผลให้จำนวนไข่อาจไม่ลดลง

56 ขั้นตอนการก่อสร้างโรงเรือน
โรงเรือนและอุปกรณ์ ขั้นตอนการก่อสร้างโรงเรือน 5. ทดสอบการใช้งานและทำความสะอาดโรงเรือน เมื่อติดตั้งอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการตรวจสอบระบบ ได้แก่ ระบบให้น้ำ ระบบแสงสว่าง ว่าพร้อมใช้งานหรือไม่ จากนั้นจึงทำความสะอาด และฉีดยาเพื่อฆ่าเชื้อโรคในโรงเรือน


ดาวน์โหลด ppt รูปแบบโรงเรือนเลี้ยงสัตว์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google