ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ประเมินการวิจัย ดร.บรินดา สัณหฉวี
2
ความสำคัญและความจำเป็นของการประเมินงานวิจัย
เพื่อให้สามารถคัดเลือกงานวิจัยต่างๆ ที่มีคุณภาพมาประกอบการศึกษาเพิ่มเติม ให้เกิดความรู้และความเข้าใจที่กว้างขึ้นในการทำวิจัยของตน เพื่อให้งานวิจัยของตนมีความถูกต้องสมบูรณ์ และมีคุณภาพยิ่งขึ้น เพื่อพิจารณาตัดสินใจว่างานวิจัยนั้นๆ มีความถูกต้องสมบูรณ์และมีคุณภาพเป็นอย่างไร
3
งานวิจัย 4 Tracks ตามโครงสร้างระบบการวิจัยของประเทศ
ที่มา: โครงการประสานงานเพื่อปฎิรูประบบวิจัยของประเทศ สถาบันคลังสมองของชาติ2554
4
ประเภทของสิ่งพิมพ์ (Publication Types/ Source Types)
Journal Conference Proceedings Book Series Book Research Report Trade Publications Patent
5
ประเภทของเอกสาร (Document Types)
Article Review Letter Editorial Conference Paper (Proceedings Paper) Meeting Abstract Book Chapter Patent Document
6
ประเภทของวารสารทางวิชาการ (Academic journals / Scholarly journals)
Editorial review (กลั่นกรองโดยบรรณาธิการ) Peer-review (กลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก) Local journals (วารสารเฉพาะท้องถิ่น) National journals (วารสารระดับชาติ) International journals (วารสารระดับนานาชาติ)
7
ประเด็นพิจารณาสำหรับผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ
เป็นบทความวิจัย (Research article) ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ที่มีระบบประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก (International peer review journals) วารสารที่ตีพิมพ์ ต้องมีฉบับล่าสุดปรากฎชื่ออยู่ในฐานข้อมูลสากล Web of Science และ/หรือฐานข้อมูลสากล Scopus ซึ่งมีเกณฑ์ในการคัดเลือกวารสารที่มีคุณภาพเข้าฐานข้อมูล
8
ประเด็นพิจารณาสำหรับผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ (ต่อ)
หรือ วารสารที่ตีพิมพ์ปรากฏชื่ออยู่ในฐานข้อมูลสากลเฉพาะสาขาวิชาอื่นๆ
9
วารสารทางวิชาการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ก.พ.อ. กําหนด
1. ฐานข้อมูลระดับนานาชาติ Academic Search Premier ( (select ebscohost and then academic search premier) Agricola ( BIOSIS ( CINAHL ( EiCOMPENDEX ( ERIC ( H.W.Wilson ( (select ebscohost and then H.W.Wilson))
10
วารสารทางวิชาการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ก.พ.อ. กําหนด (ต่อ)
1. ฐานข้อมูลระดับนานาชาติ (ต่อ) Infotrieve ( Ingenta Connect ( INSPEC ( MathSciNet ( MEDLINE/Pubmed ( - PsycINFO ( Pubmed ( ScienceDirect (
11
วารสารทางวิชาการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ก.พ.อ. กําหนด (ต่อ)
1. ฐานข้อมูลระดับนานาชาติ (ต่อ) SciFinder ( Scopus ( Social Science Research Network ( Web of Knowledge (
12
วารสารทางวิชาการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ก.พ.อ. กําหนด (ต่อ)
หรือ เป็นวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีระบบประเมิน บทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก แต่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลสากลใดๆ หรือ เป็นวารสารวิชาการ ที่ สกว. และ สกอ. ยอมนับว่ามี คุณภาพเหมาะสมสำหรับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย ระดับปริญญาเอกและผลงานของนักวิชาการได้ (approved international journals)
13
วารสารทางวิชาการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ก.พ.อ. กําหนด (ต่อ)
2. ฐานข้อมูลระดับชาติ ได้แก่ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index - TCI) เฉพาะวารสารที่มีชื่ออยู่ในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2
14
วิธีการประเมินผลงานวิจัยและวารสารวิชาการ - เชิงคุณภาพ
การพิจารณาบทความ : อ่านและตรวจสอบเนื้อหาบทความ โดยผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ พิจารณาบทบาทและลำดับความสำคัญของผู้แต่ง เช่น • เป็นผู้ดำเนินการวิจัยหลัก (Principal Investigator : PI) • เป็นผู้แต่งคนแรก (First author) • เป็นผู้แต่งหลักหรือผู้รับผิดชอบบทความ (Corresponding /Reprint author)
15
วิธีการประเมินผลงานวิจัยและวารสารวิชาการ – เชิงคุณภาพ(ต่อ)
การพิจารณาวารสารที่ตีพิมพ์ : • กองบรรณาธิการ (Editorial board) มีคุณภาพ • มีระบบ Peer-review ที่ได้มาตรฐาน • ผลิตโดยสำนักพิมพ์ (Publishers) ที่มีมาตรฐานเชื่อถือได้
16
วิธีการประเมินผลงานวิจัยและวารสารวิชาการ - เชิงปริมาณ
วิธีการทางบรรณมิติ (Bibliometrics) : • การนับจำนวนผลงานตีพิมพ์ภายในระยะเวลาหนึ่ง (total publications) • จำนวนการอ้างอิงทั้งหมดที่ได้รับ(total citations) • ค่าเฉลี่ยจำนวนการอ้างอิงต่อบทความ (Average citations per item) • การใช้ตัววัดผลกระทบ (impact) และจัดอันดับวารสาร (journal rankings) โดยใช้อาศัยจำนวนการอ้างอิงเป็นหลัก (citation-based journal metrics)
17
แนวทางในการประเมินวารสารและผลงานวิจัย - แบบใหม่
วิธีการเชิงคุณภาพ ในปัจจุบันวารสารออนไลน์เริ่มมีการนำเสนอวิธีการประเมินแบบใหม่ ได้แก่ • Open peer review เป็นการเปิดเผยขั้นตอนของกระบวนการ peer review (ชื่อ reviewers และ/หรือ pre-publication history) • Post-publication peer review ตีพิมพ์บนออนไลน์เป็น un-reviewed article ไปก่อนแล้วจึงแสดงความคิดเห็น โดย invited reviewers หรือ volunteer reviewers หรือเปิดโอกาสให้ผู้แต่งรายอื่นๆ ร่วมแสดงความคิดเห็น (user comments) ต่อบทความนั้นๆได้
18
แนวทางในการประเมินวารสารและผลงานวิจัย – แบบใหม่ (ต่อ)
วิธีการเชิงปริมาณ วารสารออนไลน์ที่เน้นการให้ผู้อ่านมีส่วนร่วม จะเสนอทางเลือกใหม่ คือ • เปลี่ยนมาวัดจากตัวบทความโดยตรง เรียกว่า Article-level metrics เช่น การวัดสถิติการเข้าใช้บทความ (Article usage) โดยนับจากจำนวน HTML PageViews, PDF, XML Downloads • ตัววัดทางเลือก (Alternative metrics หรือ Almetrics) เช่น การให้ ดาว (Star rating) การทำบุ๊คมาร์ก (Bookmarks) การแบ่งปัน บทความ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เช่น Facebook, Twitter, Mendeley, CiteULike เป็นต้น
19
แนวโน้มใหม่ในการประเมิน คุณภาพบทความวารสาร
20
เครื่องมือสืบค้นเวปไซด์และฐานข้อมูลสากลที่สำคัญ
Scopus : ของบริษัท Elsevier เป็นฐานข้อมูลทางการค้าที่ต้องบอกรับเป็น สมาชิก ครอบคลุมวารสาร 18,000 ชื่อ ตั้งแต่ปี 1960-ปัจจุบัน JournalMetrics : ของ Elsevier เป็นเวปไซด์ให้บริการฟรีที่ Scimago Journal & Country Rank : ของ Scimago Lab เป็นฐานข้อมูลให้บริการฟรี ที่ Google Scholar : สืบค้นผลงานวิจัยและจำนวนการอ้างอิงได้ฟรีที่ และ
21
เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินงานวิจัย
ชื่อหัวข้อปัญหา ภูมิหลังของปัญหา ขอบเขตและความสำคัญของการวิจัย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง พื้นที่ในการศึกษาและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เครื่องมือวิจัย การรวบรวมข้อมูล
22
เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินงานวิจัย (ต่อ)
การวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล ผลวิเคราะห์ และการแปลความหมาย การสรุป การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ บทคัดย่อ บรรณานุกรม
23
ชื่อหัวข้อปัญหา มีความชัดเจนและรัดกุมเพียงใด
บอกความหมายและแนวทางการวิจัยหรือไม่ บอกถึงขอบเขตของตัวปัญหาได้แค่ไหน สามารถหาคำตอบด้วยวิธีการวิจัยได้หรือไม่
24
ภูมิหลังของปัญหา ได้เสนอความเป็นมาของปัญหาที่ชัดเจนเพียงใด
ปัญหาที่ศึกษานั้นได้เสนอแนวคิดให้เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นควรศึกษา เพราะเหตุใด และก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไร หรือไม่ ได้เสนอให้ทราบว่าสิ่งที่เป็นปัญหานั้นเกิดขึ้นตามสภาวะหรือสภาพที่เป็นจริงในปัจจุบันอย่างไรหรือไม่
25
ภูมิหลังของปัญหา (ต่อ)
ได้เสนอให้ทราบว่า การศึกษาปัญหานั้นมุ่งศึกษาหรือมุ่งแก้ปัญหาในประเด็นใด ชัดเจนเพียงใด ได้เสนอให้ทราบว่าการศึกษาตัวแปรของปัญหานั้นๆ อาศัยทฤษฎีหรือหลักการใดๆ หรือไม่ การบรรยายรายละเอียดของปัญหาได้เสนอไว้อย่างมีระบบตามความสัมพันธ์ของสิ่งที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับดีเพียงใด
26
ขอบเขตและความสำคัญของการวิจัย
ปัญหานั้นมีขอบเขตเพียงพอที่จะพิจารณาตัวแปรต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและทั่วถึงเพียงใด ปัญหานั้นระบุขอบเขตไว้ชัดเจนเพียงใด ปัญหานั้นมีคุณค่าและมีประเด็นที่สำคัญเพียงพอที่จะสนองความต้องการของสถาบันและสังคมเพียงใด ปัญหานั้นมีคุณค่าในด้านทฤษฎีและด้านปฏิบัติมากน้อยเพียงใด ปัญหานั้นสามารถนำไปปรับปรุง แก้ไข หรือตรวจสอบเนื้อหา และวิธีการได้ดีเพียงใด
27
ประชากร กลุ่มตัวอย่าง พื้นที่ในการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
ประชากร กลุ่มตัวอย่าง พื้นที่ในการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้มีการกำหนดขอบข่ายของประชากรที่ศึกษาหรือไม่ และชัดเจนเพียงใด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาเป็นตัวแทนประชากรนั้น ๆ ได้ดีเพียงใด เทคนิคการเลือกลุ่มตัวอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะของประชากรที่ศึกษาหรือไม่ การอธิบายวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างชัดเจนเพียงใด ขนาดของกลุ่มตัวอย่างมีจำนวนมากพอที่จะเป็นตัวแทนได้หรือไม่
28
เครื่องมือวิจัย เครื่องมือที่ใช้เหมาะสมกับเรื่องที่วิจัยหรือไม่
เครื่องมือที่ใช้มีความเที่ยงตรงและมีความเชื่อมั่นมากน้อยเพียงใด เครื่องมือที่ใช้ ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองใหม่ หรือดัดแปลงมาจากของผู้อื่น ในกรณีที่ดัดแปลงมาจากของผู้อื่นหรือดัดแปลงจากเครื่องมือที่ใช้ในต่างประเทศ ได้มีการตรวจสอบคุณภาพใหม่หรือได้พิจารณาความเหมาะสมในแง่ระดับ ความรู้ อายุ ของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาหรือไม่
29
การรวบรวมข้อมูล มีการกำหนดวิธีการในการรวบรวมข้อมูลและจัดแยกประเภทข้อมูลไว้ตั้งแต่เริ่มทำการศึกษาหรือไม่ การจัดแยกประเภทข้อมูลง่ายและสะดวกต่อการที่จะนำไปวิเคราะห์ทางสถิติต่อไปหรือไม่ การรวบรวมข้อมูลและการบันทึกข้อมูลกระทำอย่างมีระบบและเป็นปรนัยหรือไม่ มีการตรวจสอบกระบวนการของการได้มาของข้อมูลและแหล่งข้อมูลหรือไม่
30
การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลจำนวนพอเพียงที่จะใช้วิธีการทางสถิติแต่ละชนิดในการทดสอบสมมติฐานหรือไม่ วิธีการทางสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเหมาะสมกับระดับข้อมูลและข้อตกลงเบื้องต้น ของวิธีการทางสถิตินั้นๆ หรือไม่
31
การนำเสนอข้อมูล ผลวิเคราะห์ การแปลความหมาย
มีการนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิ กราฟ ตาราง หรือภาพ เพื่อให้การอ่านผลวิเคราะห์ เข้าใจได้ง่าย หรือไม่ และมีความเหมาะสมเพียงใด การสร้างแผนภูมิ กราฟ ตารางเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือไม่ มีการให้สัญลักษณ์เกี่ยวกับเส้นต่างๆ ในแผนภูมิ กราฟ ได้ถูกต้องชัดเจนเพียงใด ข้อความที่ใช้อธิบาย แผนภูมิ กราฟ ตาราง มีความชัดเจนและถูกต้องสอดคล้องกับผลวิเคราะห์ที่ได้หรือไม่เพียงใด
32
การนำเสนอข้อมูล ผลวิเคราะห์ การแปลความหมาย (ต่อ)
มีการให้ความหมายของสัญลักษณ์ของค่าสถิติต่างๆ ในตารางหรือไม่และมีความถูกต้องเพียงใด มีการแสดงระดับนัยสำคัญทางสถิติของค่าสถิติได้ในตารางด้วยหรือไม่ การแปลความหมายผลวิเคราะห์สอดคล้องกับวิธีการทางสถิติที่ใช้หรือไม่
33
การสรุป การสรุปผลสอดคล้องกับปัญหาหรือไม่
การย่อและการสรุปมีลักษณะชัดเจนและชี้เฉพาะเพียงใด การสรุปเป็นไปตามผลวิเคราะห์ข้อมูลหรือไม่ ข้อสรุปเหมาะสมที่จะแสดงถึงขอบเขตจำกัดของประชากรที่ศึกษาหรือไม่ การแปลความหมายผลวิเคราะห์สอดคล้องกับวิธีการทางสถิติที่ใช้หรือไม่
34
การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
ข้อความที่ใช้ในการอภิปรายนั้น เขียนขึ้นโดยอาศัยหลักฐานจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ที่ได้นำเสนอไว้ในตอนต้น และอาศัยความรู้และประสบการณ์ของผู้วิจัยตลอดจนข้อสังเกตที่ได้ระหว่างการทำวิจัย เป็นหลักในการอภิปรายผลหรือไม่ หลักฐานและเหตุผลที่นำมาใช้อ้างอิงสมเหตุสมผลทันสมัยและเกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษามากน้อยเพียงใด
35
การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ (ต่อ)
ได้มีการอภิปรายถึงองค์ประกอบที่มิได้ควบคุมที่อาจส่งผลต่อการวิจัยหรือไม่ ได้มีการอภิปรายถึงข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนบางประการที่ผู้วิจัยพบระหว่างการวิจัยที่จะส่งผลต่อผลการวิจัยได้ด้วยหรือไม่
36
การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ (ต่อ)
การอภิปรายผลหรือข้อค้นพบที่ได้เรียบลำดับเป็นขั้นตอนสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายหรือสมมุติฐานการวิจัยหรือไม่ มีการเสนอแนะถึงการนำผลวิจัยไปใช้แก้ปัญหาในกรณีต่างๆ หรือไม่
37
บทคัดย่อ การเขียนบทคัดย่อได้กล่าวถึงสิ่งสำคัญต่างๆ อย่างครบถ้วนหรือไม่ (ความเป็นมาของปัญหา จุดมุ่งหมาย สมมติฐาน ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลและข้อค้นพบที่ได้) รูปแบบและวิธีการเขียนบทคัดย่อถูกต้องตามที่กำหนดหรือไม่ การเขียนบทคัดย่อใช้ถ้อยคำภาษาที่ชัดเจนและรัดกุมหรือไม่
38
บรรณานุกรม วิธีการเขียนบรรณานุกรมถูกต้องตามแบบวารสารกำหนดหรือไม่
การเขียนบรรณานุกรม มีความถูกต้องในเรื่องการสะกดคำ การเว้นวรรคตอน และเครื่องหมายวรรคตอนเพียงใด
39
ข้อควรปฏิบัติ นักวิจัยควรศึกษาข้อมูลโดยละเอียดก่อนตัดสินใจส่งบทความไปตีพิมพ์ หากเป็นสำนักพิมพ์ที่ไม่รู้จักคุ้นเคยมาก่อนยิ่งควรเพิ่มความระมัดระวัง เป็นพิเศษ ควรศึกษาข้อมูลบนเว็บไซต์โดยละเอียด เช่น มีที่อยู่สำหรับติดต่อ สถานที่ตั้งของบริษัทอย่างครบถ้วนชัดเจน และมีมาตรฐานของสมาคมวิชาชีพผู้ผลิตสิ่งพิมพ์ กองบรรณาธิการต้องเป็ นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นและปฏิบัติงานจริง
40
ข้อควรปฏิบัติ (ต่อ) เนื้อหาของบทความต้องมีคุณภาพทางวิชาการและมีความถูกต้องในการใช้ภาษา อาจสอบถามจากผู้ที่เคยตีพิมพ์ในวารสารนั้นมาแล้วว่ามี peer-review จริงหรือไม่ หากมีการโฆษณาว่าเป็ นวารสารที่ได้รับการจัดทำดรรชนี (Indexing) ปรากฎชื่ออยู่ ในฐานข้อมูลสากล Web of Science และมีค่า Impact factor จะต้องตรวจสอบว่ามีจริงตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ จากนั้นใช้วิจารณญาณของตนเองในการตัดสินใจก่อนส่งบทความไปตีพิมพ์
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.