งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การศึกษาชีววิทยา.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การศึกษาชีววิทยา."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การศึกษาชีววิทยา

2 การศึกษาชีววิทยา. 2. 1 การศึกษาชีววิทยา. 2. 1. 1 การตั้งสมมติฐาน. 2. 1
การศึกษาชีววิทยา 2.1 การศึกษาชีววิทยา การตั้งสมมติฐาน การตรวจสอบสมมติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูลและการ วิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผลการทดลอง 2.2 กล้องจุลทรรศน์ กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

3 การศึกษาชีววิทยา

4 ชีววิทยา  (Biology)           เป็นวิชาที่กล่าวถึงเรื่องราวต่างๆ  ของสิ่งมีชีวิต  (Living organisms)  อันเป็นวิชาแขนงหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์  (Science) 

5 Biology  มาจากคำภาษากรีก  - Bios  (ชีวิต , สิ่งมีชีวิต)  และ  -logos  (กล่าวถึง , ศึกษา , วิชา , ความคิด , การมีเหตุผล)

6

7 คำว่า “Biology” ใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ ค. ศ
คำว่า  “Biology”  ใช้เป็นครั้งแรก  เมื่อ  ค.ศ. 1801  โดยนักวิทยาศาสตร์ 2 ท่าน คือ  - Jean Baptiste de Lamarck นักสัตววิทยาชาวฝรั่งเศส  และ  - Ludolf Christian Treviranus  นักพฤกษาศาสตร์ชาวเยอรมัน

8 การศึกษาชีววิทยา      เช่นเดียวกับ วิชาวิทยาศาสตร์แขนงอื่นๆ  การศึกษาเรียนรู้ทางชีววิทยาอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)  อันมีขั้นตอนดังนี้

9 Scientific Method 1. การสังเกต (Observation) 2. การตั้งปัญหา (Problem)
3. การรวบรวมข้อมูล  (Accumulation of Data) 4.  การตั้งสมมติฐาน  (Formulation of Hypothesis) 5.  การทดสอบสมมติฐาน  (Testing of Hypothesis)  หรือ  การทดลอง(Experimentation) 6.  การสรุปผล  (Conclusion)

10 Scientific Method

11 http://io. uwinnipeg. ca/~simmons/1115/cm1503/introscience

12 การตั้งปัญหา (Observation and Problem)
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการสังเกต ซึ่งทำให้ได้ข้อเท็จจริง ถ้าข้อเท็จจริงนั้นไม่ตรงกับความรู้เก่าที่เรามีอยู่ จึงเกิดปัญหาขึ้น ปัญหาที่ต้องสัมพันธ์กับข้อเท็จจริงที่มีอยู่ ต้องแจ่มชัด และต้องอยู่ในวิสัยที่จะค้นคว้าได้จากการทดลองหรือสังเกต 

13 การตั้งสมมติฐาน (Formulation of Hypothesis)
คำตอบทั้งหมดที่อาจเป็นไปได้ของปัญหานั้น สมมติฐานที่ดีมักมีรูปแบบ ถ้า…ดังนั้น…. ซึ่งเป็นการแนะแนวทางที่ใช้ทดสอบได้ด้วย

14 การตรวจสอบสมมติฐาน (Testing of Hypothesis)
ทำโดยการทดลองที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่จะเข้ามามีอิทธิพลต่อการทดลอง ซึ่งเรียกว่า ตัวแปร ซึ่งมี 3 แบบ ตัวแปรอิสระ (Independent variables) ไม่ต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของตัวแปรอื่นและเป็นตัวแปรที่ผู้ทดลองต้องการดูผลของมัน ตัวแปรตาม (Dependent variables) เปลี่ยนแปลงไปได้ตามการเปลี่ยนของตัวแปรอิสระ ซึ่งก็คือ ผลจากการทดลอง ที่ต้องสังเกต เก็บข้อมูล ตัวแปรควบคุม (Control variables) ตัวแปรที่ถูกควบคุมให้คงที่ตลอด เพราะไม่ต้องการให้ผลของมันมามีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม

15 คือ หาความสัมพันธ์ของข้อมูล และอธิบายความหมายของข้อมูล เพื่อนำไปสรุปผล
การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล (Accumulation of Data and Analysis of Data) คือ หาความสัมพันธ์ของข้อมูล และอธิบายความหมายของข้อมูล เพื่อนำไปสรุปผล

16 การสรุปผลการทดลอง (Conclusion)
ซึ่งได้มาจากผลการทดลองและการวิเคราะห์ผลการทดลอง ซึ่งจะได้มาซึ่งความรู้ใหม่

17 วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการซึ่งทำให้ได้มาซึ่งความรู้  ความเข้าใจในปรากฏการณ์ของธรรมชาติอย่างมีเหตุผล ทฤษฎี  (Theory) หรือ กฏ  (Law) ที่มีอยู่มากมายทางวิทยาศาสตร์นั้น ล้วนเป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบของนักวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น

18 ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 1. ข้อเท็จจริง (Fact) หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สังเกตพบว่าเป้นความจริงและมีความจริงอยู่ในตัวของมันเอง 2. ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้จากการสังเกตหรือการทดลอง 3. กฎ (Law)  หมายถึง สมมติฐานที่ได้รับการยืนยันว่าถูกต้องจากการทดลองหลายๆครั้ง 4. ทฤษฎี (Theory) หมายถึง สมมติฐานที่ผ่านการตรวจสอบหลายๆครั้งจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปสามารถนำไปใช้อธิบายอ้างอิงได้

19

20 การศึกษาชีววิทยาของนักวิทยาศาสตร์
นักวิทยาศาสตร์ได้อาศัยวิธีทางวิทยาศาสตร์(scientific method)เพื่อศึกษาค้นคว้าหามาซึ่งความรู้เป็นขั้นตอน ดังนี้ 1) การสังเกต 2) การกำหนดปัญหา 3) การตั้งสมมติฐาน 4) การตรวจสอบสมมติฐาน 5) การวิเคราะห์และสรุปผลการทดลอง

21 1) การสังเกต (Observation)
พิจารณาข้อเท็จจริง จากปรากฏการณ์ธรรมชาติ ทำให้ผู้สังเกตค้นพบปัญหาและต้องการจะค้นหาคำตอบต่อไป

22 2) การกำหนดปัญหา (Problem)
ปัญหาที่ดีและเหมาะสมจะต้องเป็นปัญหาที่มีความชัดเจน มีความสัมพันธ์กับข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้ มีแนวทางที่จะสามารถตรวจสอบ และ หาคำตอบได้อย่างรวดเร็ว

23 3) การตั้งสมมติฐาน (Formulation of Hypothesis)
การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเน (predict) หรือการทายคำตอบของปัญหา อย่างมีเหตุผล จึงมักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม เช่น การติดเฮโรอีนชนิดฉีด เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรค AIDS สมมติฐาน ทำหน้าที่เสมือน เป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานที่ตั้งขึ้น ไม่จำเป็นต้องถูกเสมอไป แต่ถัาทดสอบแล้ว ผลสรุปว่าเป็นความจริง ก็จะได้ความรู้ใหม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม งานบางชนิด ไม่จำเป็นต้องมีสมมติฐาน เช่น การวิจัยขั้นสำรวจ (exploratory or formulative research) เป็นต้น

24 4) การตรวจสอบสมมติฐาน (Testing of Hypothesis)
การตรวจสอบสมมติฐาน ทำได้ดังนี้ 1) การทำการศึกษาและค้นคว้า เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและสมมติฐาน จากนั้นนำข้อมูลเหล่านี้มาประกอบในการวางแผนเพื่อการตรวจสอบหรือวางแผนการทดลอง 2) ทำการทดลอง เป็นการกระทำเพื่อพิสูจน์ยืนยันว่าสมมติฐานนั้นถูกต้องหรือไม่ ผู้ทดลองจะต้องควบคมตัวแปร ซึ่งตัวแปรมี 3ประเภท คือ ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น (Independent variables) คือตัวแปรที่เราต้องการจะทดลองเพื่อตรวจสอบดูผลของมัน ตัวแปรตาม (Dependent variables) เป็นตัวแปรที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามตัวแปรอิสระ ตัวแปรควบคุม (Control variables) เป็นตัวแปรที่ต้องควบคุมไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลาของการทดลอง

25 5) การวิเคราะห์และสรุปผลการทดลอง (Analysis and Conclusion)
และวิเคราะห์ออกมาในรูปแบบที่สามารถนำเสนอและเข้าใจได้ง่าย

26 Thank you


ดาวน์โหลด ppt การศึกษาชีววิทยา.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google