ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
นักปรัชญาวิทยาศาสตร์
จอห์น ล็อค (John Locke)
2
ประวัติของจอห์น ล็อค จอห์น ล็อก (John Locke) (29 สิงหาคม พ.ศ ตุลาคม พ.ศ. 2247) เป็นนัก ปรัชญา ชาวอังกฤษ ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความสนใจหลักของเขาคือสังคมและ ทฤษฎีของความรู้ แนวคิดของล็อกที่เกี่ยวกับ "ผู้ปกครองที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใต้ปกครอง" และสิทธิ ธรรมชาติของมนุษย์ ที่เขาอธิบายว่าประกอบไปด้วย ชีวิต, เสรีภาพ, และทรัพย์สิน นั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการทางปรัชญาการเมือง แนวคิดด้านญาณวิทยาของล็อกนั้นมีอิทธิพลสำคัญไปจนถึงช่วงของยุคแสงสว่าง. เขา มีทัศนะเกี่ยวกับทฤษฎีความรู้ว่า ความรู้จะต้องเกิดหลังประสบการณ์ และความรู้จะ เกิดขึ้นโดยอาศัยการสัมผัส เมื่อมนุษย์ได้สัมผัสก็จะมีความรู้สึก และความรู้สึกจะทำ ให้มนุษย์นั้นคิด และความคิดนี้คือแหล่งกำเนิดแห่งความรู้ หากปราศจากการสัมผัส มนุษย์ก็จะไม่คิด เพราะจิตโดยธรรมชาติจะมีสภาพอยู่เฉย.
3
ผลงานที่สำคัญ An Eassy Concerning Human Understanding
Two Treatises of Civil Government
4
ทฤษฏีความรู้ ญาณวิทยาหรือทฤษฎีความรู้
ล็อคสรุปว่า ความรู้นั้นอยู่ที่ความคิด คำว่าความคิด หมายถึงความคิดที่ เกิดขึ้นจากวัตถุที่เรามีประสบการณ์ และต้นกำเนิดของความคิดคือ ประสบการณ์ ล็อคอธิบายว่าประสบการณ์ได้มาสองทางคือ ทางผัสสะ กับการไตร่ตรอง หมายความว่า ความคิดทุกความคิดเกิดจาก ประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสที่เรามีต่อโลก และเกิดจากการไตร่ตรอง เกี่ยวกับความคิดอันเกิดจากผัสสะ การไตร่ตรองถือเป็นประสบการณ์ ภายใน สิ่งที่ล็อคเน้นก็คือ เราไม่สามารถมีประสบการณ์เกี่ยวกับการ ไตร่ตรอง จนกว่าเราจะได้มีประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส ล็อคปฏิเสธ ทฤษฎีความคิดติดตัว เราเกิดมาในโลกพร้อมกับความคิดติดมากับจิต ของเราแล้ว
5
จริยศาสตร์ ล็อคไม่เห็นด้วยที่ว่า กฎทางศีลธรรมเป็นกฎสากลและฝังลึกอยู่ในมโนธรรมตั้งแต่เกิด เรา ได้รับกฎเกณฑ์เหล่านี้จาก การศึกษา สิ่งแวดล้อม และขนบธรรมเนียมประเพณี มนุษย์โดยธรรมชาติจะแสวงหาความสุขหรือความพอใจและหลีกเลี่ยงความทุกข์หรือ ความเจ็บปวด ล็อคกล่าวว่าสิ่งที่เราเรียกว่าดี คือสิ่งที่ทำให้เกิดหรือเพิ่มความพอใจ สิ่งที่ชั่ว คือ สิ่งที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด เป็นเครื่องวัดเป็นความคิดที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า รตินิยม (Hedonism) ล็อคคิดว่า มนุษย์มีเหตุผลเพียงพอที่ทำให้ค้นพบแบบอย่างของการประพฤติปฏิบัติตน เพื่อ ก่อให้เกิดความสุขความพอใจต่อส่วนรวม แบบอย่างอันนี้ก็คือกฎที่มนุษย์จะต้องกระทำ ตาม ล็อคแบ่งกฎออกเป็น 3 ชนิดคือ กฎแห่งความเห็น กฎของประชาชน และกฎของพระ เจ้า กฎทั้ง 3 นี้ มีความสัมพันธ์กัน
6
ปรัชญาการเมือง ล็อคเริ่มต้นทฤษฎีการเมืองของเขาเหมือนกับฮอบส์ คือเริ่มจากการ กล่าวถึง ธรรมชาติของมนุษย์และสภาวะธรรมชาติ สภาวะธรรมชาติเป็น สภาวะที่ทุกคนมีเสรีภาพอย่างสมบูรณ์คนสามารถกระทำตามที่ตนเลือก ภายในขอบเขตที่กฎธรรมชาติกำหนดไว้ สภาวะธรรมชาติเป็นสภาวะที่ ทุกคนมีความเสมอภาคมีสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่มีผู้ใดมีสิทธิและอำนาจ มากกว่าผู้ใดนี่เป็นสิทธิตามธรรมชาติ เป็นสิทธิที่มีอยู่ก่อนการเกิดของ สังคมการเมือง คนเสมอภาคกันในแง่ของสิทธิ ไม่ใช่เสมอกันใน ความสามารถ
7
Thank you
8
นางสาว บุญยานุช ปัญญาไว
ผู้จัดทำ นางสาว บุญยานุช ปัญญาไว ชั้น ม.4.2 เลขที่ 25
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.