ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร และ เงินสดย่อย
2
งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร (Bank Reconciliation)
เป็นการเปรียบเทียบยอดเงินในใบแจ้ง ยอดเงินธนาคาร (Bank Statement) (ซึ่ง กิจการทั่วไปมักใช้บัญชีเงินฝากกระแส รายวัน) กับบัญชีเงินฝากธนาคารในสมุด เงินสดของกิจการ
3
ประเภทของบัญชีเงินฝากธนาคาร
1. บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ (Saving Deposit Account) หมายถึง เงินฝากที่ไม่กำหนดเวลา และจำนวนครั้งในการฝากถอน มี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากค่อนข้างต่ำ 2. บัญชีเงินฝากประจำ (Fixed Deposit Account) หมายถึง เงินฝาก ที่มีกำหนดระยะเวลาการฝากถอนที่แน่นอน มีอัตราดอกเบี้ย เงินฝากที่สูงกว่าการฝากออมทรัพย์ 3. บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน หรือบัญชีเดินสะพัด (Current Deposit Account) หมายถึง เงินฝากที่เป็นตัวช่วยในการบริหาร จัดการเงินของกิจการ เพราะใช้เช็คในการเบิกจ่ายเงินได้ นอกจากนี้ยังสามารถขอใช้วงเงินเบิกเกินบัญชี (Overdraft: OD) สถาบันการเงินจะจัดส่งใบแจ้งรายการบัญชีกระแสรายวัน (Statement of Current Deposit หรือ Bank Statement) ให้กับกิจการ โดยทั่วไปมักไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยให้บัญชีเงินฝากประเภทนี้
4
ตัวอย่างใบแจ้งรายการบัญชีกระแสรายวัน
5
ความสำคัญและประโยชน์ของการจัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร
1. เป็นเครื่องมือในการพิสูจน์ยืนยันความ ถูกต้องระหว่างรายการรับจ่ายจากบัญชี เงินฝากธนาคารที่บันทึกโดยกิจการ กับ รายการที่บันทึกโดยธนาคาร 2. เพื่อหายอดคงเหลือของบัญชีเงินฝาก ธนาคารของกิจการที่ถูกต้อง เพื่อนำ ข้อมูลไปวางแผน บริหาร และควบคุม 3. เพื่อทราบถึงความผิดพลาดของรายการ ค้าเกี่ยวกับเงินฝากกระแสรายวัน เพื่อใช้ ในการปรับปรุงแก้ไขข้อมูล
6
เหตุการณ์ หรือรายการที่ทำให้เกิดรายการในงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร
1. เงินฝากระหว่างทาง (Deposit in Transit) เงินฝากที่กิจการนำฝากธนาคารแล้วแต่ธนาคารยัง ไม่ได้บันทึกบัญชีเงินฝากของกิจการ โดยอาจเกิดจาก การที่กิจการนำเช็คต่างจังหวัดเข้าบัญชี ทางธนาคาร จะรอจนกว่าเรียกเก็บเงินจากผู้สั่งจ่ายได้จึงจะบันทึก บัญชี หรือในกรณีที่กิจการนำเช็คเข้าฝากบัญชีในวัน สิ้นเดือน ซึ่งธนาคารได้จัดทำใบแจ้งยอดเสร็จสิ้นไป แล้ว 2. เช็คที่ยังไม่ถูกนำไปขึ้นเงิน (Outstanding Cheque) เช็คที่กิจการเจ้าของบัญชีสั่งจ่ายให้ผู้รับเงินแล้วและ บันทึกเป็นรายจ่ายหักจากบัญชีเงินฝากธนาคารใน สมุดบัญชีของกิจการแล้ว แต่ผู้รับเช็คยังมิได้นำเช็คไป ขอขึ้นเงินจากธนาคาร ธนาคารจึงยังไม่ได้บันทึกหัก จากบัญชีเงินฝากของกิจการและจะบันทึกต่อเมื่อผู้รับ เช็คนำเช็คไปขอขึ้นเงิน
7
3. เช็คขาดความน่าเชื่อถือ (Non-Sufficient Fund Cheque: NFS Cheque) เช็คที่กิจการได้รับจากบุคคลภายนอกแล้วนำเข้า ฝากธนาคารเพื่อให้ธนาคารเรียกเก็บเงินตามเช็ค กิจการจะบันทึกรายการดังกล่าวเป็นเงินฝากในสมุด บัญชี เมื่อธนาคารเรียกเก็บเงินตามเช็คแต่ไม่สามารถ เรียกเก็บเงินได้เนื่องจากเช็คขาดความเชื่อถือ ในกรณี นี้ธนาคารจะหักยอดบัญชีเงินฝากกิจการเพื่อยกเลิก รายการนำฝากตามจำนวนเงินในเช็คฉบับนั้น และจะ ส่งเช็คคืนให้กิจการพร้อมใบหักบัญชี 4. ค่าธรรมเนียม และดอกเบี้ยของธนาคารที่ถูกเรียก เก็บ (Bank Charges and Interest Expense) ค่าธรรมเนียมที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้าซึ่งเป็น เจ้าของบัญชีที่ใช้บริการของธนาคาร เช่น ค่าธรรมเนียมการเครียร์ลิ่งเช็ค ค่าสมุดเช็ค ดอกเบี้ย เงินเบิกเกินบัญชี เป็นต้น เมื่อธนาคารหักค่าใช้จ่าย เหล่านี้จากบัญชีลูกค้าแล้วจะแจ้งให้ลูกค้าทราบในใบ แจ้งยอดธนาคารเมื่อสิ้นเดือน
8
5. รายการฝากเงินที่เกิดขึ้นโดยธนาคารดำเนินการนำ ฝากให้กิจการ รายการที่กิจการนำตั๋วเงินรับไปขอให้ธนาคารเป็น ผู้เรียกเก็บเงินให้ หรือธนาคารรับชำระค่าสินค้าผ่าน ระบบธนาคาร เมื่อธนาคารเรียกเก็บให้ได้แล้วจะ บันทึกในบัญชีของกิจการ ถ้ามีดอกเบี้ยจากตั๋วเงินก็จะ บันทึกให้ด้วย เมื่อถึงสิ้นเดือนจะส่งใบแจ้งยอดธนาคาร ให้กิจการ 6. รายการหักเงินที่เกิดขึ้นโดยธนาคารดำเนินการจ่าน แทนให้กิจการ รายการที่กิจการทำความตกลงกับธนาคาร โดย ยินยอมให้มีการชำระค่าใช้จ่ายต่างๆของกิจการผ่าน การหักบัญชีของกิจการ เช่น การจ่ายค่าสาธารณูปโภค ด้วยการหักอัตโนมัติจากบัญชีตามคำร้องขอของ กิจการ เมื่อเกิดรายการค่าใช้จ่ายเหล่านี้ขึ้นธนาคารจะ หักค่าใช้จ่ายดังกล่าวในบัญชีเงินฝากของกิจการ และ จะส่งใบแจ้งยอดธนาคารให้กิจการในตอนสิ้นเดือน
9
7. ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการบันทึกรายการของ พนักงานธนาคาร เช่น พนักงานธนาคารนำเช็คสั่งจ่ายของ หน่วยงานอื่นมาหักยอดเงินออกจากบัญชีของกิจการ พนักงานธนาคารบันทึกจำนวนเงินธนาคารที่ ผิดพลาดจากความเป็นจริง เช่นมีการนำฝากเงินเข้า บัญชี 10,000 บาท แต่พนักงานธนาคารบันทึกรายการ ฝากเข้าเพียง 1,000 บาท 8. ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการบันทึกบัญชีของ พนักงานบัญชีของกิจการ เช่น พนักงานบัญชีบันทึกยอดบัญชีเงินฝาก ธนาคารเป็นเงินสด หรือบันทึกบัญชีเงินฝากธนาคาร จากเช็คที่เป็นของบุคคลอื่น พนักงานบัญชีบันทึกยอดเงินสั่งจ่ายด้วยเช็ค ของบัญชีเงินฝากธนาคารด้วยจำนวนเงินที่ผิดพลาด เช่น สั่งจ่ายเช็คเป็นค่าไฟฟ้า 2,569 บาท แต่พนักงาน บัญชีบันทึกเป็น 2,596 บาท
10
ประเภทของงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร
1 งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารจากยอดตามสมุดบัญชีของกิจการ ยอดตามใบแจ้งรายการบัญชีกระแสรายวัน งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารตามใบแจ้งรายการบัญชีกระแสรายวัน ยอดตามสมุดบัญชีของกิจการ ถูกต้อง 2 Book Bank 3 Book Bank Bank Book Correct
11
การทำงบเปรียบเทียบยอดเงินฝากธนาคาร
Transaction Book to Bank Bank to Book 1. เงินฝากระหว่างทาง ลบ บวก 2. เช็คที่ยังไม่ถูกนำไปขึ้นเงิน 3. เช็คขาดความน่าเชื่อถือ 4. ค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยของธนาคารที่ถูกเรียกเก็บ 5. รายการรับที่ฝากธนาคารเรียกเก็บ - จำนวนเงินที่ธ.เรียกเก็บ บวก ดอกเบี้ยรับ หัก ค่าธรรมเนียมธนาคาร 1 2
12
Transaction Book to Bank Bank to Book 6. รายการจ่ายที่ให้ธนาคารจ่ายแทนไปก่อน ลบ บวก 7. ความผิดพลาดจากการบันทึกรายการของพนักงานธนาคาร - พนักงานธนาคารนำเช็คกิจการอื่นมาหักบัญชีของกิจการ พนักงานธนาคารบันทึกรายรับต่ำไป พนักงานธนาคารบันทึกรายรับสูงไป 8. ความผิดพลาดจากการบันทึกรายการของพนักงานกิจการ พนักงานกิจการบันทึกบัญชีต่ำไป พนักงานกิจการบันทึกบัญชีสูงไป 1 2
13
ไม่ต้องปรับปรุงรายการ
Transaction Book Correct Bank Correct 1. เงินฝากระหว่างทาง บวก 2. เช็คที่ยังไม่ถูกนำไปขึ้นเงิน ลบ 3. เช็คขาดความน่าเชื่อถือ 4. ค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยของธนาคารที่ถูกเรียกเก็บ 5. รายการรับที่ฝากธนาคารเรียกเก็บ - จำนวนเงินที่ธ.เรียกเก็บ บวก ดอกเบี้ยรับ หัก ค่าธรรมเนียมธนาคาร 3 ไม่ต้องปรับปรุงรายการ
14
ไม่ต้องปรับปรุงรายการ
Transaction Book Correct Bank Correct 6. รายการจ่ายที่ให้ธนาคารจ่ายแทนไปก่อน ลบ 7. ความผิดพลาดจากการบันทึกรายการของพนักงานธนาคาร - พนักงานธนาคารนำเช็คกิจการอื่นมาหักบัญชีของกิจการ บวก พนักงานธนาคารบันทึกรายรับต่ำไป พนักงานธนาคารบันทึกรายรับสูงไป 8. ความผิดพลาดจากการบันทึกรายการของพนักงานกิจการ พนักงานกิจการบันทึกรายรับต่ำไป พนักงานกิจการบันทึกรายรับสูงไป 3 ไม่ต้องปรับปรุงรายการ
15
รายการที่กิจการไม่ต้องทำการปรับปรุง
1. เงินฝากระหว่างทาง 2. เช็คสั่งจ่ายที่ผู้รับยังไม่ได้นำไปขึ้นเงิน 3. รายการที่ธนาคารเป็นผู้บันทึกรายการ ผิด
16
รายการที่กิจการต้องทำการปรับปรุง
เช็คขาดความน่าเชื่อถือ เดบิต ลูกหนี้เช็คคืน เครดิต เงินฝากธนาคาร ค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยของธนาคารที่ถูกเรียกเก็บ ค่าธรรมเนียมธนาคารเครดิต เงินฝากธนาคาร ธนาคารเก็บเงินได้ตามตั๋วเงินที่ฝากเรียกเก็บ พร้อมหักค่าธรรมเนียม แต่กิจการยังไม่บันทึก เงินฝากธนาคาร ค่าธรรมเนียมธนาคารเครดิต ตั๋วเงินรับ ดอกเบี้ยรับ รายการที่ธนาคารจ่ายแทนไปก่อนแต่กิจการยังไม่บันทึก เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าสาธารณูปโภค รายการที่กิจการบันทึกผิด (ยอดต่ำไป) เครดิต รายการที่กิจการบันทึกผิด (ยอดสูงไป)
17
ตัวอย่าง บริษัท แอคบาร่าเริง จำกัด มีบัญชีเงินฝากกระแสรายวันอยู่กับธนาคารสีเขียว จำกัด (มหาชน) ที่มีการสรุปยอดบัญชีทุกวันที่ 30 ของทุกเดือน ในเดือน มกราคม 25x1 เมื่อพนักงานบัญชีทำการตรวจสอบใบแจ้งรายการกระแสรายวันที่ได้รับจากธนาคารพบว่ามีรายการที่แตกต่างกันดังนี้ ยอดเงินฝากธนาคารคงเหลือตามสมุดบัญชีของกิจการในวันที่ 30 มกราคม 25x1 มีจำนวนเงิน 138,330 บาท ในขณะที่ใบแจ้งรายการกระแสรายวันรายงานยอดคงเหลือในบัญชี 330,000 บาท ใบแจ้งรายการกระแสรายวัน แสดงรายการยอดเงินฝากธนาคารจำนวน 130,000 บาท ที่เกิดจากบริษัททำการส่งเอกสารกู้ยืมเงินกับธนาคารสีเขียว โดยธนาคารได้อนุมัติรายการ จำนวน 130,000 บาท และนำเงินฝากเข้าบัญชีของกิจการเรียบร้อยแล้ว แต่พนักงานบัญชีของบริษัทยังไม่ทราบ และยังไม่ได้บันทึกบัญชีสำหรับรายการนี้ ใบแจ้งรายการกระแสรายวันแสดงรายการ NSF Check ของ ร้านเอลแอนด์เอ็ม จำนวนเงิน 60,000 บาท เมื่อทำการตรวจสอบรายการเช็คสั่งจ่ายจากทะเบียนเช็คของบริษัทพบว่ามีเช็ค จำนวน 2 ฉบับ คือ เลขที่ A จำนวนเงิน 100,000 บาท และ A จำนวนเงิน 20,000 บาท ที่ผู้รับเช็คยังไม่นำไปขึ้นเงิน
18
5. เช็คเลขที่ A เป็นเช็คที่กิจการจ่ายเป็นค่าโฆษณา จำนวนเงิน 11,690 บาท โดยทางบริษัทโฆษณาได้นำไปขึ้นเงินและทางธนาคารบันทึกการจ่ายเงินไปอย่างถูกต้องแล้ว หากแต่พนักงานบัญชีของบริษัทบันทึกจำนวนเงินผิดเป็น 11,960 บาท 6. บริษัทสั่งจ่ายเช็คเลขที่ A เป็นค่าวัสดุสำนักงานจำนวนเงินในเช็คเป็น 1,000 บาท โดยบริษัทได้บันทึกไว้อย่างถูกต้องแล้ว แต่ทางพนักงานธนาคารบันทึกจำนวนเงินจ่ายจากบัญชีเงินฝากของบริษัทผิดเป็น 11,000 บาท 7. เช็คของลูกค้าคนหนึ่ง จำนวนเงิน 40,000 บาท ที่บริษัทได้นำฝากธนาคารไปในวันที่ 25 มกราคม 25x1 หลังจากที่ธนาคารสั่งพิมพ์ใบแจ้งยอดบัญชีกระแสรายวันทำให้ยอดฝากเงินดังกล่าวไม่ปรากฏในใบแจ้งยอดบัญชีกระแสรายวันฉบับนี้ 8. ธนาคารได้เรียกเก็บเงินตามตั๋วเงินรับแทนบริษัทโดย จำนวนเงินตามตั๋ว 50,000 บาท มีดอกเบี้ยรับ 1,700 บาท และธนาคารมีการหักค่าดำเนินการของธนาคาร เป็นจำนวน 300 บาท
19
บริษัท แอคบาร่าเริง จำกัด งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร (Bank to Book)
วันที่ 31 มกราคม 25x1 ยอดเงินฝากธนาคารตามใบแจ้งรายการกระแสรายวัน (Bank) 330,000 บวก เช็คขาดความเชื่อถือ 60,000 ธนาคารบันทึกรายการผิด 10,000 เงินฝากระหว่างทาง 40,000 ค่าธรรมเนียม 300 110,300 หัก เงินกู้จากธนาคาร 130,000 เช็คยังไม่ได้ขึ้นเงิน A10-701 100,000 เช็คยังไม่ได้ขึ้นเงิน A10-725 20,000 กิจการบันทึกรายการผิดพลาด 270 เงินเก็บจากตั๋วเงินรับ 50,000 ดอกเบี้ยรับ 1,700 (301,970) ยอดเงินฝากตามบัญชีของกิจการ (Book) 138,330
20
บริษัท แอคบาร่าเริง จำกัด งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร (Book to Bank)
วันที่ 31 มกราคม 25x1 ยอดเงินฝากตามบัญชีของกิจการ (Book) 138,330 บวก เงินกู้จากธนาคาร 130,000 เช็คยังไม่ได้ขึ้นเงิน A10-701 100,000 เช็คยังไม่ได้ขึ้นเงิน A10-725 20,000 กิจการบันทึกรายการผิดพลาด 270 เงินเก็บจากตั๋วเงินรับ 50,000 ดอกเบี้ยรับ 1,700 301,970 หัก เช็คขาดความเชื่อถือ 60,000 ธนาคารบันทึกรายการผิด 10,000 เงินฝากระหว่างทาง 40,000 ค่าธรรมเนียม 300 (110,300) ยอดเงินฝากธนาคารตามใบแจ้งรายการกระแสรายวัน (Bank) 330,000
21
บริษัท แอคบาร่าเริง จำกัด
งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร (Bank and Book to True Balance) วันที่ 31 มกราคม 25x1 ยอดเงินฝากตามบัญชีของกิจการ (Book) 138,330 บวก เงินกู้จากธนาคาร 130,000 กิจการบันทึกรายการผิดพลาด 270 เงินเก็บจากตั๋วเงินรับ 50,000 ดอกเบี้ยรับ 1,700 181,970 หัก เช็คขาดความเชื่อถือ 60,000 ค่าธรรมเนียม 300 (60,300) ยอดเงินฝากธนาคารที่ถูกต้อง(True Balance) 260,000 ยอดเงินฝากธนาคารตามใบแจ้งรายการกระแสรายวัน (Bank) 330,000 บวก ธนาคารบันทึกรายการผิด 10,000 เงินฝากระหว่างทาง 40,000 50,000 หัก เช็คยังไม่ได้ขึ้นเงิน A10-701 100,000 เช็คยังไม่ได้ขึ้นเงิน A10-725 20,000 (120,000) ยอดเงินฝากธนาคารที่ถูกต้อง(True Balance) 260,000
22
ว/ด/ป รายการ เลขที่ เดบิต เครดิต 25X1 ม.ค. 31 เงินฝากธนาคาร เงินกู้ บันทึกปรับปรุงยอดเงินกู้ 102 207 130,000 ค่าโฆษณา บันทึกปรับปรุงยอดค่าโฆษณา 575 270 ตั๋วเงินรับ ดอกเบี้ยรับ บันทึกปรับปรุงยอดตั๋วเงินรับและดอกเบี้ย 107 456 50,000 1,700 51,700
23
ว/ด/ป รายการ เลขที่ เดบิต เครดิต 25X1 ม.ค. 31 ค่าธรรมเนียมธนาคาร เงินฝากธนาคาร บันทึกการจ่ายค่าโฆษณาเป็นเงินสด 577 102 300 ลูกหนี้เช็คคืน บันทึกปรับปรุงเช็คขาดความน่าเชื่อถือ 103 60,000
24
เงินสดย่อย (Petty Cash)
การกำหนดวงเงินใช้จ่ายเล็กๆน้อยๆ เพื่อไม่ให้ปะปนกับเงินรับและเงินจ่ายอื่นๆ และมีการตั้งผู้รักษาเงินสดย่อย (Petty Cash Custodian) เพื่อมีหน้าที่เก็บรักษาและดูแลการใช้จ่ายเงินสดย่อย ขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง : การตั้งวงเงินสดย่อย การจ่ายเงินสดย่อย การเบิกชดเชยเงินสดย่อย การปรับปรุง ณ วันสิ้นงวด
25
สมุดและเอกสารในระบบเงินสดย่อย
สมุดเงินสดย่อย ไม่ถือเป็นสมุดรายวันขั้นต้น ถือเป็นสมุดหรือทะเบียนเพื่อการควบคุมการ รับและจ่ายเงินสดย่อยไม่มีการผ่านรายการ ไปบัญชีแยกประเภท ผู้มีหน้าที่ลงรายการได้แก่ ผู้รักษาเงินสดย่อย นอกจากสมุดเงินสดย่อยแล้วกิจการสามารถ ออกแบบเอกสารต่างๆเพื่อใช้ในระบบเงินสด ย่อยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่ ใบสำคัญจ่ายเงินสดย่อย สรุปรายการเบิกชดเชยเงินสดย่อย
28
การบันทึกรายการบัญชีในแต่ละขั้นตอน
การตั้งวงเงินสดย่อย เดบิต เงินสดย่อย เครดิต เงินฝากธนาคาร การจ่ายเงินสดย่อย ยังไม่ลงบัญชี การเบิกชดเชย เดบิต ค่า………………… เครดิต เงินฝากธนาคาร การปรับปรุง ณ วันสิ้นงวด เดบิต ค่า………………….. เครดิต เงินสดย่อย การกลับรายการ ณ วันต้นงวด เดบิต เงินสดย่อย เครดิต ค่า………
29
ตัวอย่าง ผู้บริหารบริษัท แอคบาร่าเริง จำกัด ได้มีนโยบายที่จะตั้งเงินสดย่อยจำนวน 15,000 บาท ในวันที่ 2 มกราคม 25x1 โดยมีนโยบายการจ่ายเงินว่าหากมีค่าใช้จ่ายใดๆที่มีจำนวนไม่เกิน 5,000 บาทต่อรายการให้เบิกจ่ายจ่ายวงเงินสดย่อย โดยมอบหมายให้ นายปกป้อง เป็นผู้รักษาเงินสดย่อย เมื่อฝ่ายการเงินทำเช็คสั่งจ่ายจำนวน 15,000 บาทให้กับนายปกป้อง ฝ่ายบัญชีจะทำการบันทึกรายการดังนี้ ว/ด/ป รายการ เลขที่ เดบิต เครดิต 25X1 ม.ค. 2 เงินสดย่อย เงินฝากธนาคาร ตั้งวงเงินสดย่อย 111 102 15,000
30
ว/ด/ป รายการ เลขที่ เดบิต เครดิต 25X1 ก.พ. 28 507 508 509 510 102
ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์มีรายจ่ายจากเงินสดย่อย ดังนี้ วันที่ รายการ เลขที่ใบสำคัญ วงเงินสดย่อย ค่ารับรอง ค่าน้ำมัน ค่าไปรษณีย์ ค่าน้ำค่าไฟ บัญชีอื่นๆ ชื่อบัญชี จำนวนเงิน 2 ม.ค. ตั้งเงินสดย่อย 15,000 10 ก.พ. ซื้อวัสดุ 1 ค่าวัสดุ 1,500 12 ก.พ. จ่ายค่ารับรอง 2 2,500 20 ก.พ. จ่ายค่าขนส่ง 3 ค่าขนส่ง 4,000 27 ก.พ. จ่ายค่าไปรษณีย์ 4 2,000 รวม ว/ด/ป รายการ เลขที่ เดบิต เครดิต 25X1 ก.พ. 28 ค่าวัสดุ ค่ารับรอง ค่าขนส่งเข้า ค่าไปรษณีย์ เงินฝากธนาคาร เบิกชดเชยเงินสดย่อย 507 508 509 510 102 1,500 2,500 4,000 2,000 10,000
31
ในกรณีที่วงเงินสดย่อยนั้นสูงหรือต่ำเกินไป
กรณีลดยอดวงเงิน ตัวอย่าง วงเงินสดย่อยเดิม 1,000 บาท ลดเหลือ 800 บาท Dr. เงินฝากธนาคาร 200 Cr. เงินสดย่อย 200 กรณีเพิ่มยอดวงเงิน ตัวอย่าง เพิ่มยอดวงเงินสดย่อยจาก 1,000 บาท เป็น 1,500 บาท Dr. เงินสดย่อย 500 Cr. เงินฝากธนาคาร 500
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.