ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การติดตามหนี้สินและ การดำเนินคดีของสหกรณ์
ปรเมศวร์ อินทรชุมนุม
2
นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม
ตำแหน่ง เลขานุการรองอัยการสูงสุด การศึกษา - นิติศาสตร์บัณฑิต - เนติบัณฑิตไทย - การจัดการภาครัฐและเอกเอกชน มหาบัณฑิตทิต - วิทยาลัยการทัพเรือ - วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หน้าที่การงาน - กรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์ ข้าราชการสำนักงานอัยการสูงสุด จำกัด - สมาชิกกลุ่สหกรณ์พัฒนา - อาจารย์พิเศษ ม.รามคำแหง ม.ขอนแก่น สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิต
3
ขุนแผนเมืองเพชร พิพัฒน์พงศ์ พัชรวิโรจน์สกุล
ครีบท่านมีหนังสือตัวอย่างไหมครับแล้วต้องทำอย่างไรครับ เพราะตอนนี้ทนายเขาบอกว่ารับฟ้องได้เดือนละ10ราย แต่ลูกหนี้ที่ค้างส่งมีหลายพันราย ดูแล้วน่าจะหลายปีอยู่ บางรายท้าให้ฟ้อง บางรายบอกว่าสหกรณ์ไม่เอาจริงหรอก ส่งหนี้นอกก่อนที่เหลือค่อยส่งยูเนี่ยน เดี๋ยวศาลก็เรียกไกล่เกลี่ยยินยอม ผู้ค้ำประกันเดือดร้อนเพราะติดภาระค้ำประกัน ถ้าฟ้องแล้วผู้ค้ำจะโดนด้วยไหม แล้วเขาจะกู้ได้ไหม บางรายมาร้องห่มร้องไห้ เพราะตนเองจะกู้ส่งลูกเรียนแต่กลับกู้ไม่ได้เพราะติดภาระค้ำ กยส.รัฐบาลก็ไม่มี ขายข้าวก็ไม่ได้เงินอันนี้แหละครับความเดือดร้อน ตอนนี้มีค้างส่งอยู่ประมาณพันกว่าราย 50 กว่าล้านบาท ผมอยากช่วยชาวบ้านได้มาสัก1-2ล้านก็พอใจแล้วครับ เพราะตอนนี้สหกรณ์ก็เจอปัญหา ขอเงินฝากเงินกู้จากสถาบันไหนก็
4
ก็ลำบาก อีกทั้งเรื่องสหกรณ์จังหวัดมาสั่งสอบนู้นสอบนี่ จนปีที่แล้วไม่ได้แก้ปัญหากับสมาชิกเลย อย่างที่ท่านทราบ ตอนนี้ก็รอหนังสือตอบกลับมาอยู่ แล้วก็ยังไปพูดที่นั่นที่นี่ว่าสหกรณ์หนองขานางกำลังมีปัญหา ทำให้คนทั่วไปทั้งภายนอกภายในแห่กันมาถอนจนแทบขาดสภาพคล่อง มองเห็นทางเดียวก็คือการติดตามหนี้คั่งค้างที่จะช่วยได้ ก็มาเจอทนายเลี้ยงลูกอีกครับ ไม่รูจะทำไงดี ตอนนี้สมาชิกที่จะกู้ต้องหยุดชะงักเพราะสภาพคล่องต้องเก็บไว้ให้ผู้มมาฝากไว้ก่อน เขาจะมาถอนแทบจะทุกวัน คนกู้ก็เลยเรียกประชุมว่าเหตุการณ์ประมาณนี้ ถ้าติดตามหนี้มาได้เราถึงจะให้กู้ สมาชิกก็เลยลาออกกันอีกว่าสหกรณ์ไม่มีต้งเอากันไปพูดกันข้างนอก คนก็เลยเข้าใจว่าสหกรณ์ไม่มีตังจะล้มแล้ว เลยส่งผลให้คนมาถอนเรื่อยๆ ลาออกบ้าง แทบทุกวันและที่หนำซ้ำคนกู้เลยไม่ส่งด้วย เลยไปกันใหญ่เลยครับท่าน
6
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๑๙๑/๒๕๔๑ บริษัทธนาคารสยาม จำกัด โจทก์ นายวัลลภ กับพวก จำเลย
จำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๓ ต่างเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ต่างวาระกัน มีหน้าที่ดูแลกิจการทั้งหมดของโจทก์ให้พนักงานปฏิบัติตามระเบียบที่วางไว้ เมื่อมีการปล่อยสินเชื่อให้กู้ยืมเงิน การค้ำประกันและอาวัลตั๋วเงินไม่เป็นไปตามระเบียบปกติ มิได้เร่งรัดติดตามหนี้สินหรือดำเนินการเพื่อแก้ไขหนี้สินดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๓ ได้ชื่อว่าทำละเมิดต่อโจทก์ ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
7
จำเลยที่ ๔ แม้มิได้เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ แต่มีหน้าที่ดูแลด้านสินเชื่อภายในประเทศ ซึ่งได้รับการสรุปภาระหนี้สินของโจทก์จากเจ้าหน้าที่หลายครั้ง ก็มิได้สั่งการแต่ประการใด เป็นเหตุให้ไม่สามารถติดตามหนี้สินจากลูกหนี้ของโจทก์ได้ การที่จำเลยที่ ๔ ละเว้นไม่ปฏิบัติตามหน้าที่และระเบียบของโจทก์ จำเลยที่ ๔ จึงได้ชื่อว่าทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ ๔ จึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
8
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๖๘ เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการประกอบกิจการบริษัทของกรรมการ ซึ่งอำนาจของกรรมการจะมีเพียงใดย่อมเป็นไปตามมาตรา ๑๑๕๘ ถึง ๑๑๖๘ มาตรา ๑๑๖๘ เป็นบทบัญญัติว่าด้วยหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการ ซึ่งวรรคแรก บัญญัติให้กรรมการใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขาย ผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง ส่วนวรรคสองหมายถึงกิจการที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษมากขึ้น
9
เมื่อมาตรา ๑๑๖๘ บัญญัติให้กรรมการทุกคนต้องมีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่อง การจะเป็นกรรมการของบริษัทใด กรรมการผู้นั้นจึงต้องประกอบด้วยความรู้และความเข้าใจในการประกอบกิจการของบริษัทด้วย มิฉะนั้นกรรมการก็ไม่อาจเอื้อเฟื้อสอดส่งกิจการให้ดีได้
10
เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ ๒ ที่ ๕ ที่ ๖ และที่ ๗ เป็นกรรมการโจทก์มีหน้าที่ดูแลการบริหารกิจการของโจทก์มิให้เสียหาย กลับปล่อยให้มีการให้สินเชื่อโดยหลักประกันไม่คุ้ม เมื่อหนี้ถูกจัดเป็นหนี้เสียก็มิได้เร่งรัดติดตามหนี้ ดังนั้นเมื่อตามพฤติการณ์ควรจะรู้ข้อปัญหาดังกล่าวหรือโดยสามัญสำนึกของวิญญูชนผู้ประกอบการเช่นนั้นควรจะพึงรู้ได้ แต่มิได้กระทำเพื่อป้องกันความเสียหายอันจะเกิดแก่โจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ ๒ ที่ ๕ ที่ ๖ และที่ ๗ มิได้ใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของโจทก์ จะอ้างว่าไม่รับรู้การบริหารงานของโจทก์หรือมิได้มาทำงานเป็นประจำก็ดี ไม่มีหน้าที่ก็ดีเพื่อปัดความรับผิดของตนหาได้ไม่
11
คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์ 7 ต่อ 0 ชี้มูล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีความผิดในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว
12
คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์ 7 ต่อ 0 ชี้มูล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีความผิดในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) กลับปล่อยให้มีการทุจริต ทำให้เกิดความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว และจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เพราะไม่บริหารงานให้เป็นไปตามนโยบายที่จะต่อต้านการทุจริตที่ได้แถลงไว้ต่อสภาฯ ซึ่งจะเสนอเรื่องให้วุฒิสภาดำเนินการถอดถอนตามกระบวนการต่อไป
13
การที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและอยู่ในฐานะ หัวหน้ารัฐบาลซึ่งได้กำหนดนโยบายจำนำข้าวมาตั้งแต่ต้น และในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและการมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการ ซึ่ง ป.ป.ช.ได้มีหนังสือแจ้งไปยังผู้ถูกกล่าวหาถึงสองครั้งแล้วว่า โครงการดังกล่าวจะก่อให้เกิดปัญหาและความเสียหายอย่างยิ่ง ทั้งจะก่อให้เกิดการทุจริตในทุกขั้นตอนของกระบวนการรับจำนำ นอกจากนี้ผู้ถูกกล่าวหายังรับทราบปัญหาในการกเนินโครงการจาก การอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งรายงานผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมาว่ามีผลขาดทุนสะสมสูงถึงสามแสนกว่าล้านบาท
14
อีกทั้งหนังสือของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแจ้งผลการตรวจสอบโครงการสรุปได้ว่าโครงการมีจุดอ่อนหรือความเสี่ยงในทุกขั้นตอนตั้งแต่การขึ้นทะเบียนเกษตรกรจนถึงการระบายข้าว ซึ่งเป็นช่องทางนำไปสู่การสวมสิทธิ์การจำนำและการทุจริตในโครงการ เกิดผลกระทบสร้างความเสียหายต่อเงินงบประมาณแผ่นดินทั้งเกษตรกรและเสี่ยงต่อระบบการคลังของประเทศ ไม่เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน แม้ในชั้นนี้พยานหลักฐานยังไม่ปรากฏชัดเจนว่าผู้ถูกกล่าวหามีส่วนร่วมในการทุจริต หรือสมยอมให้เกิดการทุจริตหรือไม่ก็ตาม
15
แต่การที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อสภาผู้แทนราษฎรว่าจะป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี ทั้งไม่พิจารณาระงับยับยั้งโครงการตั้งแต่เริ่มรับทราบความเสียหายอันร้ายแรงที่สุดของประเทศจากการดำเนินโครงการ
16
สถานะของสหกรณ์ตามกฎหมาย
มาตรา ๖๕ นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น มาตรา ๖๖ นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง มาตรา ๓๗ เมื่อนายทะเบียนสหกรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่า……………….…..ให้นายทะเบียนสหกรณ์รับจดทะเบียนและออกใบสำคัญรับจดทะเบียนให้แก่สหกรณ์นั้น ให้สหกรณ์ที่ได้จดทะเบียนแล้วมีฐานะเป็นนิติบุคคล
17
ความรับผิดของกรรมการดำเนินการสหกรณ์
มาตรา ๗๗ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนแห่งประมวลกฎหมายนี้ มาใช้บังคับแก่ความเกี่ยวพันระหว่างนิติบุคคลกับผู้แทนของนิติบุคคล และระหว่างนิติบุคคล หรือผู้แทนของนิติบุคคลกับบุคคลภายนอก โดยอนุโลม มาตรา ๘๑๒ ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นอย่างใด ๆ เพราะความประมาทเลินเล่อของตัวแทนก็ดี เพราะไม่ทำการเป็นตัวแทนก็ดี หรือเพราะทำการโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจก็ดี ท่านว่าตัวแทนจะต้องรับผิด
18
กำหนดนโยบายในการเก็บหนี้ (Collection Policy)
กำหนดนโยบายการพัฒนาสหกรณ์ (Develop Policy) กำหนดนโยบายการให้สินเชื่อ (Credit Policy) ๑) การกำหนดวงเงินสินเชื่อ financial amount ก) กำหนดตามความต้องการของสมาชิก (Basis of Requirement Approach) ข) กำหนดตามความสามารถในการชำระหนี้ (Debt-Payment Powers or Financial Approach) กำหนดนโยบายในการเก็บหนี้ (Collection Policy)
19
กำหนดนโยบายในการเก็บหนี้ (Collection Policy)
กำหนดนโยบายการให้สินเชื่อ (Credit Policy) ๑) การกำหนดวงเงินสินเชื่อ financial amount ก) กำหนดตามความต้องการของสมาชิก (Basis of Requirement Approach) ข) กำหนดตามความสามารถในการชำระหนี้ (Debt-Payment Powers or Financial Approach) กำหนดนโยบายในการเก็บหนี้ (Collection Policy)
20
Subject: สอบถามหนี้สินสมาชิกที่เสียชีวิต > From: bukaboom2523@gmail
Subject: สอบถามหนี้สินสมาชิกที่เสียชีวิต > From: > Date: Wed, 11 Jun :55: > To: รบกวนสอบถามอาจารย์ปรเมศวร์นะคะ มีสมาชิกของสหกรณ์เสียชีวิต เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2557 สหกรณ์ได้ดำเนินการ นำเงินหุ้น เงินฝาก เงินสวัสดิการต่างๆที่ได้จากสหกรณ์ทุกรายการตัดชำระหนี้สินแล้ว. แต่หนี้ยังไม่หมด ยังมีคงเหลืออีกประมาณสี่แสนกว่าบาท. โดยคู่สมรสของสมาชิกรายนี้ได้รับเงินของ ชพค.แล้วเรียบร้อยตั้งแต่ประมาณต้นเดือน พฤษภาคม แต่ไม่นำเงินมาชำระหนี้สินของสหกรณ์
21
รบกวนสอบถามอาจารย์ว่า ถ้าเราจะดำเนินการทวงถามหนี้สินนี้ เราจะต้องดำเนินการภายในระยะเวลาเท่าไหร่ และต้องดำเนินการทวงถามไปที่ใคร (สัญญาที่กู้ไปมีผู้ค้ำประกัน. มีคำสั่งศาลให้ภรรยาใหม่และบุตรของภรรยาเก่าเป็นผู้จัดการมรดกร่วม แต่ผู้รับเงินของ ชพค.นั้นเป็นภรรยาใหม่คนเดียว) ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ ทวงที่ผู้จัดการมรดก และผู้ค้ำประกันครับ เขียน Notice เป็นมั๊ยครับ ถ้าไม่เป็นขอรายละเอียดเดี๋ยวจะร่างให้ครับ
22
การแก้ปัญหาและการติดตามหนี้สิน
การแก้ปัญหาหนี้สินสมาชิก การดำเนินคดีและอายุความ
23
การติดตามหนี้สิน บอกเลิกสัญญา แจ้งคำขาดให้ลูกหนี้ชำระหนี้
แจ้งคำขาดให้ผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้
24
การติดตามหนี้สิน การแจ้งเตือนสมาชิกลูกหนี้และผู้ค้ำประกันให้ทราบถึงการผิดนัดชำระหนี้ ครั้งแรกควรแจ้งเตือนด้วยวาจา การออกหนังสือแจ้งเตือน
27
วิธีการแก้ปัญหาหนี้สินสมาชิก
การลดการชำระค่าหุ้นรายเดือน การลดจำนวนเงินต้นที่ต้องส่งชำระ การพักชำระหนี้ การขยายระยะเวลาชำระหนี้ หรือ การเสนอให้หักเงินปันผลหรือเงินเฉลี่ยคืนบางส่วนเพื่อชำระหนี้
28
การดำเนินคดี การเตรียมคดีรวบรวมรวมเอกสาร การตรวจสอบอายุความ
ขอคัดทะเบียนบ้าน การเตรียมค่าธรรมเนียมศาล ขออนุมัติดำเนินคดี การบริหารคดี
29
Subject: สอบถามหนี้สินสมาชิกที่เสียชีวิต > From: bukaboom2523@gmail
Subject: สอบถามหนี้สินสมาชิกที่เสียชีวิต > From: > Date: Wed, 11 Jun :55: > To: รบกวนสอบถามอาจารย์ปรเมศวร์นะคะ มีสมาชิกของสหกรณ์เสียชีวิต เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2557 สหกรณ์ได้ดำเนินการ นำเงินหุ้น เงินฝาก เงินสวัสดิการต่างๆที่ได้จากสหกรณ์ทุกรายการตัดชำระหนี้สินแล้ว. แต่หนี้ยังไม่หมด ยังมีคงเหลืออีกประมาณสี่แสนกว่าบาท. โดยคู่สมรสของสมาชิกรายนี้ได้รับเงินของ ชพค.แล้วเรียบร้อยตั้งแต่ประมาณต้นเดือน พฤษภาคม แต่ไม่นำเงินมาชำระหนี้สินของสหกรณ์
30
รบกวนสอบถามอาจารย์ว่า ถ้าเราจะดำเนินการทวงถามหนี้สินนี้ เราจะต้องดำเนินการภายในระยะเวลาเท่าไหร่ และต้องดำเนินการทวงถามไปที่ใคร (สัญญาที่กู้ไปมีผู้ค้ำประกัน. มีคำสั่งศาลให้ภรรยาใหม่และบุตรของภรรยาเก่าเป็นผู้จัดการมรดกร่วม แต่ผู้รับเงินของ ชพค.นั้นเป็นภรรยาใหม่คนเดียว) ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ ทวงที่ผู้จัดการมรดก และผู้ค้ำประกันครับ เขียน Notice เป็นมั๊ยครับ ถ้าไม่เป็นขอรายละเอียดเดี๋ยวจะร่างให้ครับ
31
คดีแพ่ง คดีแพ่ง คือ ๑) คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่ง ๒) คดีที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิทางศาลเพื่อรับรองคุ้มครองสิทธิของตน
32
อายุความการฟ้องคดี ฟ้องเรียกเงินกู้มีกำหนด ๑๐ ปี นับแต่วันที่อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ ฟ้องดอกเบี้ยค้างชำระมีกำหนด ๕ ปี เริ่มนับแต่วันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยในงวดนั้นๆ ฟ้องเรียกเงินกู้ที่ต้องผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ มีกำหนด ๕ ปี นับแต่วันครบกำหนดที่จะต้องชำระของแต่ละงวด ฟ้องกองมรดกมีอายุความ ๑ ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย
33
สหกรณ์ย่อมมีสิทธิฟ้องสมาชิกผู้กู้ให้ชำระหนี้ได้ เมื่อผู้กู้ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้เงินกู้ และอาจฟ้องคู่สมรสของผู้กู้ด้วยในกรณีที่เป็นหนี้ร่วม เช่น ในกรณีที่คู่สมรสให้ความยินยอมหรือให้สัตยาบันในการกู้เงินนั้น อายุความฟ้องร้องคดีตามสัญญากู้ ๑๐ ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้[1] ส่วนการฟ้องดอกเบี้ยค้าชำระมีอายุความ ๕ ปี นับแต่วันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยในงวดนั้นๆ[2] สำหรับการกู้ยืมเงินที่ต้องผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ นั้น มีอายุความไว้ ๕ ปี นับแต่วันครบกำหนดที่จะต้องชำระของแต่ละงวด [3] [1]ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๓/๓๐[2]มาตรา ๑๙๓/๓๓(๑)[3]มาตรา ๑๙๓/๓๓(๓)
34
การตัดสินใจของสหกรณ์
หัวใจของการบริหารสหกรณ์คือ “การประชุม” การประชุม คือ “การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมาร่วมปรึกษาหารือ ชี้แจง อธิบาย เสนอแนะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันอย่างมีระเบียบแบบแผนเป็นระบบ และมีจุดมุ่งหมายเพื่อดำเนินงานขององค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้"
35
ระเบียบวาระการประชุม
ระเบียบวาระการประชุมเป็น ๕ วาระ ดังนี้ ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ระเบียบวาระที่ ๒ การรับรองรายงานการประชุม ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) ระเบียบงานสารบรรณ สำนักนายกรัฐมนตรี
36
การดำเนินคดี ฝ่ายจัดการเสนอเรื่องลูกหนี้ผิดนัด คณะกรรมการดำเนินการ
กรณีเห็นควรดำเนินคดี คณะกรรมการดำเนินการ มีมติให้ดำเนินคดีกับสมาชิกผู้กู้และผู้ค้ำประกัน แต่งตั้งผู้มีอำนาจกระทำการแทน ตามมาตรา ๕๑ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.๒๕๔๒
37
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๖๐ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือผู้แทนโดยชอบธรรมในกรณีที่คู่ความเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือผู้แทนในกรณีที่คู่ความเป็นนิติบุคคล จะว่าความด้วยตนเองและดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวงตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์ของตน หรือจะตั้งแต่งทนายความคนเดียวหรือหลายคนให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตนก็ได้ ถ้าคู่ความ หรือผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทน ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้แทนตนในคดี ผู้รับมอบอำนาจเช่นว่านั้นจะว่าความอย่างทนายความไม่ได้ แต่ย่อมตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาได้
38
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 70 นิติบุคคลต้องมีผู้แทนคนหนึ่งหรือหลายคน ทั้งนี้ตามที่กฎหมาย ข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งจะได้กำหนดไว้ ความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคล
39
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.๒๕๔๒
มาตรา ๕๑ ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เป็นผู้ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทนสหกรณ์ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์จะมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนหรือผู้จัดการทำการแทนก็ได้
40
การฟ้องคดี ผู้มีอำนาจกระทำการแทน เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
คัดสำเนาทะเบียนบ้านสมาชิกผู้กู้และผู้ค้ำประกัน มอบหมายให้ทนายความดำเนินการ หรือดำเนินการเองไปฟ้องคดีเป็นคดีผู้บริโภค
41
ขั้นตอนการดำเนินคดี การเตรียมคดีและการตรวจสอบเอกสาร
การเตรียมค่าธรรมเนียมศาล การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง การยื่นคำให้การ การสืบพยาน การบังคับคดี
42
คดีผู้บริโภค พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๓ “คดีผู้บริโภค” หมายความว่า (๑) คดีแพ่งระหว่างผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคตามมาตรา ๑๙ หรือตามกฎหมายอื่น กับผู้ประกอบธุรกิจซึ่งพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายอันเนื่องมาจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ
43
(๒) คดีแพ่งตามกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
(๓) คดีแพ่งที่เกี่ยวพันกันกับคดีตาม (๑) หรือ (๒) (๔) คดีแพ่งที่มีกฎหมายบัญญัติให้ใช้วิธีพิจารณาตามพระราชบัญญัตินี้
44
คำฟ้อง การฟ้องคดีผู้บริโภค โจทก์จะฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ ในกรณีที่โจทก์ประสงค์จะฟ้องด้วยวาจา ให้เจ้าพนักงานคดีจัดให้มีการบันทึกรายละเอียดแห่งคำฟ้องแล้วให้โจทก์ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
45
คำฟ้อง คำฟ้องต้องมีข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีรวมทั้งคำขอบังคับชัดเจนพอที่จะทำให้เข้าใจได้ หากศาลเห็นว่าคำฟ้องนั้นไม่ถูกต้องหรือขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นก็ได้
46
วิธีพิจารณาคดี เมื่อศาลสั่งรับคำฟ้องแล้ว ให้ศาลกำหนดวันนัดพิจารณาโดยเร็วและออกหมายเรียกจำเลยให้มาศาลตามกำหนดนัดเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยานในวันเดียวกัน ทั้งนี้ ให้ศาลส่งสำเนาคำฟ้องหรือสำเนาบันทึกคำฟ้องให้จำเลย และสั่งให้โจทก์มาศาลในวันนัดพิจารณานั้นด้วย จำเลยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือก่อนวันนัดพิจารณาตามวรรคหนึ่งก็ได้
47
ในวันนัดพิจารณา เมื่อโจทก์และจำเลยมาพร้อมกันแล้วให้เจ้าพนักงานคดีหรือบุคคลที่ศาลกำหนดหรือที่คู่ความตกลงกันทำการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันก่อน ในการไกล่เกลี่ย ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอหรือผู้ไกล่เกลี่ยเห็นสมควรผู้ไกล่เกลี่ยจะสั่งให้ดำเนินการเป็นการลับเฉพาะต่อหน้าตัวความทุกฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้
48
ถ้าคู่ความไม่อาจตกลงกันหรือไม่อาจประนีประนอมยอมความกันได้ และจำเลยยังไม่ได้ยื่นคำให้การ ให้ศาลจัดให้มีการสอบถามคำให้การของจำเลยโดยจำเลยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือหรือจะให้การด้วยวาจาก็ได้ ในกรณีที่ยื่นคำให้การเป็นหนังสือ หากศาลเห็นว่าคำให้การดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้จำเลยแก้ไขคำให้การในส่วนนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นก็ได้ ในกรณีให้การด้วยวาจา ให้ศาลจัดให้มีการบันทึกคำให้การนั้นและให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
49
สหกรณ์ต้องไปศาล เมื่อโจทก์ได้ทราบคำสั่งให้มาศาลตามแล้วไม่มาในวันนัดพิจารณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ไม่ว่าจำเลยจะมาศาลหรือไม่ ให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ เว้นแต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีศาลจะเห็นสมควรให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว โดยให้ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา
50
จำเลยก็ต้องมาศาล เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามแล้วไม่มาในวันนัดพิจารณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ถ้าจำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การไว้ ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแต่เพียงอย่างเดียว แต่ถ้าจำเลยได้ยื่นคำให้การไว้ก่อนหรือในวันนัดดังกล่าว ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา
51
การสืบพยาน ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้สืบพยาน ให้ศาลสอบถามคู่ความฝ่ายที่จะต้องนำพยานเข้าสืบว่าประสงค์จะอ้างอิงพยานหลักฐานใดแล้วบันทึกไว้หรือสั่งให้คู่ความจัดทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลภายในระยะเวลาตามที่เห็นสมควรก็ได้
52
คำพิพากษา คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี อย่างน้อยต้องแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยนั้น
53
การบังคับคดี ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปนี้ ย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี (๑) เครื่องนุ่งห่มหลับนอน/เครื่องใช้ในครัวเรือน/เครื่องใช้สอยส่วนตัวโดยประมาณรวมกันราคาไม่เกินห้าหมื่นบาทในกรณีที่ศาลเห็นสมควร ศาลจะกำหนดทรัพย์สินดังกล่าวที่มีราคาเกินห้าหมื่นบาทให้เป็นทรัพย์สินที่ไม่ต้องอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีก็ได้ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความจำเป็นตามฐานะของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
54
(๒) เครื่องมือหรือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการเลี้ยงชีพหรือประกอบวิชาชีพโดยประมาณรวมกันราคาไม่เกินหนึ่งแสนบาท แต่ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษามีคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลขออนุญาตยึดหน่วงและใช้เครื่องมือหรือเครื่องใช้อันจำเป็นเพื่อดำเนินการเลี้ยงชีพหรือการประกอบวิชาชีพ อันมีราคาเกินกว่าจำนวนราคาดังกล่าวแล้ว ให้ศาลมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตภายในบังคับแห่งเงื่อนไขตามที่ศาลเห็นสมควร
55
(๓) วัตถุ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ทำหน้าที่แทนหรือช่วยอวัยวะของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
(๔) ทรัพย์สินอย่างใดที่โอนกันไม่ได้ตามกฎหมาย หรือตามกฎหมายย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอันมีลักษณะเป็นของส่วนตัวโดยแท้ เช่นหนังสือสำหรับวงศ์ตระกูลโดยเฉพาะ จดหมายหรือสมุดบัญชีต่าง ๆ นั้น อาจยึดมาตรวจดูเพื่อประโยชน์แห่งการบังคับคดีได้ ถ้าจำเป็น แต่ห้ามมิให้เอาออกขายทอดตลาด
56
ประโยชน์แห่งข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ ให้ขยายไปถึงทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง อันเป็นของภริยาหรือของบุตรผู้เยาว์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งทรัพย์สินเช่นว่านี้ตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นทรัพย์สินที่อาจบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ คำสั่งของศาลตามวรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
57
ตอบข้อซักถาม
58
ช่องทางสื่อสารระหว่างเรา
สำนักงานอัยการสูงสุด ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคาร เอ ชั้น ๙ ๑๒๐ หมู่ที่ ๓ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพ ๑๐๒๑๐
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.