งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Marxist and Law กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2 ชีวิตทางเศรษฐกิจไทยที่แตกต่างกัน
เงินในกระเป๋าที่แตกต่างกัน “คนจน” “คนรวย” 5.1 ล้านคน 6.7 ล้านคน 1,678 บาท/เดือน 12, ,790 บาท

3 วิถีชี้วัดความยากจน ความยากจนสมบูรณ์ (absolute poverty concept)
ใช้มาตรฐานการคลองชีพตามความจำเป็นเป็นตัวชี้วัด และกำหนดค่ากลางขึ้น เรียกว่า “เส้นความยากจน” (poverty line) นิยมพิจารณา จากค่าแรงงานขั้นต่ำ หรือราคาของปัจจัยสี่ การคิดด้วยมาตรฐานนี้ “ความยากจน” เป็นมาตราฐานขั้นต่ำที่สุดในการมีชีวิตและเป็นภัยคุกคามของชีวิตมนุษย์ ความยากจนสัมพัทธ์ (relative poverty concept) ใช้การเปรียบเทียบรายได้ของผู้คนกลุ่มต่างๆ เพื่อพิจารณาความยากจนจากความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ การคิดบนฐานนี่ได้ดูจากความ จำเป็นแต่ดูจากความสามรถในการใช้จ่ายโดยเปรียบเทียบ การคิดด้วยมาตรฐานนี้ ความยากจนย่อมมีอยู่เสมอ

4 การศึกษา (นิติศาสตร์)
ABAC = 420,530 bath Ranksit = 309,100 bath Bangkok = 301,800 bath Sri Prathum = 288,900 bath หอการค้าไทย = 264,850 bath NewsID= มหาวิทยาลัยของรัฐส่วนใหญ่อยู่ที่ ประมาณ 120,000 บาท ตลอด หลักสูตร มหาวิทยาลัยขนาดเล็กลงมาค่า เทอมอยู่ที่ประมาณ 7,000 บาท

5 การเมือง เมื่อด้อยการศึกษา ก็มักถูกกีด กันทางการเมืองต่อมา?
มิใช่แค่ในการเข้าถึงตำแหน่งหน้าที่ของรัฐ แต่ปัจจุบันยังพยายามรวมไปถึงสิทธิในการ เลือกตั้งอีกด้วย

6 สองนคราประชาธิปไตย งานของเอนก เหล่าธรรมทัศน์
ถูกอ่าน ถูกตีความ ว่าทำให้เกิดภาพ คนชนบท “โง่ จน เจ็บ” ชาวชนบทตั้งรัฐบาล คนเมืองล้มรัฐบาล “การทำให้คนชั้นกลางมีส่วนในการ “ตั้ง” รัฐบาลได้มากขึ้น เพื่อให้พวกเขารู้สึกเป็นเจ้าของประชาธิปไตยมากขึ้น” “ผู้เขียนไม่เห็นด้วยว่า ในทางเศรษฐกิจ หลักการวัฒนธรรมชุมชนที่เน้นหมู่บ้านพึ่งตนเอง หลีกเลี่ยงการค้ากับโลก ภายนอก” “วันนี้กรุงเทพฯ อาจยังเป็นประเทศไทย แต่มองไปให้ไกลในอนาคตเมืองไทยอยู่ที่ต่างประเทศและต่างจังหวัดต่างหาก”

7 เราเห็นได้ชัดในสังคมว่า มนุษย์เราไม่ได้เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ และความไม่เท่าเทียมนั้นกระจายไปสู่เรื่องอื่นๆ ในสังคมด้วย

8 แน่นอน... นิ้วแต่ละนิ้วของคนเรายังไม่เท่ากันเลย…
จริงหรือ?

9 เรามักจะคิดกันว่า... ความร่ำรวย หรือความยากจนของผู้คนล้วนแต่เป็นผลของการกระทำของคนนั้นๆ เอง “ไม่มีความยากจนอยู่ในหมู่คนขยัน” “ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน” “คนจนมักคิดว่า  “ฉันทำไม่ได้”    คนรวยมักคิดว่า   “ฉันต้องทำอย่างไร”” สรุป คือ ความมั่งคั่ง หรือยากจนอยู่ที่ “ตัวบุคคล” เป็นหลัก คนที่จนคือคนที่ถ้าไม่ “ขี้เกียจ” ก็ต้อง “โง่” ส่วนคนที่รวย คือ คนที่ทำทุกอย่างถูกต้อง

10 แล้วเราก็คิดต่อไปอีกว่า...
เราทุกคนไม่ว่าจะยากจนหรือร่ำรวย เราย่อมได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายเหมือนๆ กัน เรายังมีสิทธิเลือกตั้งได้เหมือนๆ กัน หรืออย่างน้อยที่สุด คนร่ำรวยอาจได้รับความคุ้มครองมากกว่านั้น ก็เพราะเขาเป็นคนที่ “ประสบ ความสำเร็จมากกว่า” แล้วเราคิดต่อไปอีกว่า นั่นคือความยุติธรรมดีแล้ว

11 ที่มาของความยากจน, ร่ำรวย และความเหลือมล้ำทางเศรษฐกิจ
ความคิดกลุ่มหนึ่งที่พยายามแสวงหาคำอธิบายของความเหลื่อมล้ำในสังคม และตลอดจนที่มาของ ความร่ำรวยและยากจนขึ้นอย่างเป็นระบบ ความคิดกลุ่มนี้เรียกว่า “มาร์กซิส” (Marxist)

12 ความเป็นสมัยใหม่ในทางเศษรฐกิจ
ความเป็นสมัยใหม่ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวาง วัฒนธรรม, สังคม, การเมือง และเศรษฐกิจ (แอนโธนี่ กิ๊ดเด้น) การค้นพบทวีปใหม่และวิธีการทางวิทยาศาสตร์  การปฏิวัติอุตสาหกรรม การปรับตัวของสังคมมนุษย์เข้าสู่ “วิถีการผลิต” (mode of production) แบบใหม่ สังคมมนุษย์เผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ โดยเฉพาะในเรื่องความสามารถในการผลิต เราเชื่อมั่นว่าการพัฒนาระบบการผลิตจะทำให้ความขาดแคลนหมดไป... จริงหรือ?

13 สู่สังคมพาณิชยนิยมและทุนนิยม
ระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงทำให้ระบบการเมืองและสังคมต้องปรับตัวตาม การประกาศเรื่อง “สิทธิและเสรีภาพ” = (อุดมการณ์หลักที่ใช้ท้าทายอนุรักษ์นิยมทางศาสนา) การเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ที่ต้องการให้เกิดเอกภาพ และสันติภาพเพื่อเอื้อต่อการสะสมทุน กระบวนการล้อมรั้วที่ดิน (enclosed movement) แยกมนุษย์ออกจากปัจจัยการผลิต การสร้างเสรีชนขึ้นในระบบเศรษฐกิจการเมือง (free labor) การกำกับความสัมพันธ์ของผู้คนภายใต้เสรีภาพในการแสดงเจตนา และความเสมอภาคในเชิงรูปแบบ ฝันของเสรีนิยม/ทุนนิยม คือ สิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค และความั่งคั่ง = ไม่ขาดแคลน คำถามเดิม จริงหรือ?

14 สภาพสังคมในช่วงต้นของทุนนิยม

15 Karl Marx ( ) a philosopher, economist, sociologist, journalist and revolutionary socialist. He published numerous books during his lifetime, the most notable being The Communist Manifesto (1848) and Das Kapital (1867–1894).

16 Friedrich Engels ( ) a German philosopher, social scientist and journalist, who founded Marxist theory together with Karl Marx he published The Condition of the Working Class in England, based on personal observations and research in Manchester. In 1848 he co-authored The Communist Manifesto with Karl Marx, though he also authored and co-authored (primarily with Marx) many other works, and later he supported Marx financially to do research and write Das Kapital. After Marx's death, Engels edited the second and third volumes.

17 ชนชั้น (Class) และความขัดแย้งระหว่างชนชั้น
มารกซ์ และเองเกล ตั้งข้อสังเกตว่า ความสามารถในเชิงการผลิตมหาศาลที่ได้มาจากการผลิตแบบอุตสาหกกรรมนั้นไม่ได้ทำให้ “ความขาด แคลน” หมดไป แต่ในสังคมที่มั่งคั่งนี้ กลับมีคนที่ยากจนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คนไร้บ้าน, คนขาดแคลนอาหาร, เด็กที่ต้องทำงาน, อายุขัยเฉลี่ยที่น้อยลง ฯลฯ มารกซ์จึงตั้งคำถามว่า ในสังคมที่มีกำลังการผลิตมหาศาลทำไมยังปรากฎความขาดแคลนให้เห็นอย่างดาษดื่อ และผู้คนก็ยอมรับมันได้ยิ่งกว่าเดิม มารกซ์สิ่งเหล่านี้ และได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า สังคมมนุษย์มีชนชั้น (class) คนแต่ละชนชั้นมีความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ระหว่างกัน

18 Charles Dickens: Oliver Twist

19 ชนชั้น (Class) และความขัดแย้งระหว่างชนชั้น (2)
ชนชั้น เป็นคอนเซ็ปที่มารกซ์พัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายความแตกต่างระหว่างมนุษย์ที่ไม่เท่าเทียมกัน มารกซ์พบว่า ในบรรดาผู้คนที่ไม่เสมอภาคกันไม่ว่าจะเชิงอำนาจการเมือง หรือเชิงความสุข ความสามารถ เวลา ฯลฯ มีเหตุผลอันเนื่องมาจาก “การครอบครองปัจจัยการผลิต” คนที่ครอบครองปัจจัยการผลิต: มีอำนาจการเมือง, เก่งกาจกว่า, มีความสุขกว่า, เวลามากกว่า (ตายช้า) คนที่ไร้ปัจจัยการผลิต: ไร้อำนาจการเมือง, ไม่มีความสุข, ไม่มีเวลา และสองชนชั้นนี้ ขัดแย้งกันเสมอตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ดังนั้น สังคมมนุษย์จึงไม่เคยสงบสุขเช่นกัน ที่ขัดแย้งก็เพราะ ผลประโยชน์ของคนสองกลุ่มนี้ขัดแย้งกันเสมอในทุกมิติ

20 ว่าด้วยการขูดรีดและผลผลิตส่วนเกิน
โดยหลัก เมื่อทรัพยากรมีมากขึ้น คนทั้งหมดโดยทั่วไปต้องร่ำรวยขึ้น ความขาดแคลนต้องน้อยลง (นี่เป็นสิ่งที่ อดัม สมิธ เสมอว่า การเปิดเสรีให้กลายเป็นตามกลไกตลาด จะนำมาซึ่ง “ความมั่งคั่งของชาติ” the Wealth of Nations?) เพราะอะไร? เมื่อ ทรัพยากรมีมากขึ้น แต่คนกลับยากจนลง? มารกซ์อธิบายว่า เหตุที่คนยากจนลงในยุคอุตสาหกรรม เพราะการผูกขาดปัจจัยการผลิตเข้มงวดขึ้น ตลอดจน อำนาจการเมืองเข้มแข็งขึ้น อันเป็นเหตุให้ ความสามารถในการขูดรีด (exploitation) มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก

21 ว่าด้วยการขูดรีดและผลผลิตส่วนเกิน (2)
เราผลิตได้มากขึ้น แต่มีคนบางกลุ่ม (ชนชั้นนายทุน) ชักเอาผลผลิตส่วนเกิน (surplus value) ของเราไป เราจึงเห็นคนที่รวยมากขึ้นจนไม่ต้องทำงาน ในระบบทุนนิยม และเห็นคนยากจนข้นแค้น ถึงแม้จะทำงานวันละเกิน สิบชั่วโมงก็ตาม กรรมกรไม่สามารถซื้อสิ่งที่เขาผลิตเองมาใช้ได้ นั้นแปลว่าผลประโยชน์ที่เขาได้จากนายทุนน้อยกว่าผลประโยชน์ที่ เขาสร้างให้นายจ้าง? การเก็บค่าเช่า การแสวงหาประโยชน์จากดอกเบี้ย กระแสเงินสดในระบบตลาดเครือข่าย

22 Blood Diamond?

23 IPhone Factory in China

24 Dialectic Materialism
วัตถุนิยมวิภาษวิธี, วัตถุนิยมประวัติศาสตร์ มารกซ์ และเองเกล มองว่าปรัชญาและประวัติศาสตร์ของมนุษย์ที่ผ่านมา เน้นผูกติดกับสิ่งทีเป็น นามธรรม จับต้องไม่ได้ ไม่ชัดเจน และไร้เหตุผล เช่น ความยุติธรรม? สิทธิเสรีภาพ? ระบบกรรมสิทธิ? สัญญาประชาคม? มากรซ์มองว่าความคิดทั้งหมดทั้งมวลที่มีมาก่อนตน เป็นการคิดแบบจิตนิยม (Idealism) ซึ่งไม่มี ประสิทธิภาพในการอธิบายและวิเคราะห์สังคม มารกซ์เสนอใหม่ว่า ต่อไปนี้เราควรศึกษาสังคมโดยพิจารณาจาก “วัตถุ” “สิ่งรูปธรรม” ว่ามีส่วนอย่าง สำคัญในการกำหนดตำแหน่งแห่งที่และบทบาทของสิ่งต่างๆ รวมถึงสิ่งนามธรรมด้วย

25 อำนาจของชนชั้นกระฎุมฬีในระบอบทุนนิยม
Super structure กฎหมาย, ศาสนา, จารีตประเพณี, ทฤษฎีการเมือง, ระบบการปกครอง, ศีลธรรม, เวลา, เงินตรา, พระเจ้า (ทุกสิ่งทุกอย่าง) Base structure ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ระหว่างชนชั้น มีปัจจัย vs ไม่มีปัจจัยการผลิต โครงสร้างส่วนบนและโครงสร้างส่วนล่าง มารกซ์ มองว่าสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นมาในสังคมมนุษย์ เกิดจาก ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่เสมอภาคเป็นพื้นฐาน โครงสร้างส่วนบน เกิดจากโครงสร้างส่วนล่าง โดยโครงสร้างส่วนบนทำหน้าที่สร้างความชอบธรรมให้ ความสัมพันธ์ที่พิการของส่วนล่าง เช่น นิ้วคนเราไม่เท่ากันอยู่แล้ว, ระบบกรรมสิทธิ์, ความคิด เรื่องกรรม ฯลฯ

26 Marxist and Communist การทำความเข้าใจปรัชญามารกซิสเป็นฐานความคิดของอุดมการณ์แบบคอมมิวนิสต์ คอมมิวนิสต์ เป็นสังคมในอุดมคติของ คารล์ มารกซ์ (Karl Marx) โดยรวม มารกซ์ เชื่อว่าสังคมมนุษย์ตั้งแต่บรรพกาลจนถึงปัจจุบัน คือ “ประวัติศาสตร์ของความขัดแย้งทางชนชั้น” (History of class struggle) หมายถึง ตลอดเวลาที่ผ่านมาสังคมมีชนชั้น และมีความขัดแย้งระหว่างชนชั้น และชนชั้น คือ การแบ่งแยกมนุษย์ออกด้วย การครอบครองปัจจัยการผลิต ซึ่งแปรผันกันไปตามวิถีการผลิตในแต่ ละช่วงเวลา

27 วิวัฒนาการทางสังคมแบบคอมมิวนิสต์
จุดที่สังคมมนุษย์ยังไม่เคยไปถึง วิถีการผลิตกำกับปัจจัยการผลิต การปฏิวัติของชนชั้นกรรมชีพ สังคมทาส แรงงานเป็นปัจจัยการผลิต นายทาส-ทาส Spatacus สังคมศักดินา ที่ดินเป็นปัจจัยการผลิต เจ้าของที่ดิน-ผู้เช่าที่ดิน ฟิวดัลในยุโรป สังคมทุนนิยม ทุนเป็นปัจจัยการผลิต นายทุน-กรรมกร Modern Time สังคมนิยม รื้อถอนอุดมการณ์แบบทุนนิยม รัฐเตรียมคอมมิวนิสต์ ประโยชน์ของสังคมมาก่อนประโยชน์ของเอกชน รัฐสวัสดิการ สังคมคอมมิวนิสต์

28 ลักษณะโดยสังเขปของสังคมคอมมิวนิสต์
“เราได้ปลดปล่อยมวลมนุษยชาติให้พ้นจากการเป็นทาสรับจ้างในอดีต ปัจเจกบุคคลไม่ตกอยู่ใต้การแบ่งงานอีกต่อไป ความเป็นปฏิปักษ์ ระหว่างแรงงานสมองกับแรงงานกายเป็นอันดับสูญ การใช้แรงงานไม่เพียงแต่กลายเป็นปัจจัยยังชีพเท่านั้น หากเป็นจุดศูนย์กลางของ ชีวิตด้วย พลังการผลิตได้เพิ่มพูนขึ้นควบคู่ไปกับการพัฒนาอย่างรอบด้านของปัจเจกบุคคล และบรรดาแหล่งกำเนิดโภคทรัพย์จากความ ร่วมมือร่วมใจทั้งหลายก็สร้างผลผลิตหลั่งไหลออกมากท่วมท้นเกินกว่าเก่า บัดนี้ทุกคนมีเสรีภาพที่จะพัฒนาพรสรวรรค์ของเขาหรือเธอ ออกไปทุกทิศทาง ในอาณาจักรแห่งเสรีภาพที่แท้จริงนี้ ผู้ผลิตที่จัดตั้งรวมตัวกันจะคอยกำกับการแลกเปลี่ยนกับธรรมชาติอย่างมีเหตุผล นำเอาธรรมชาติมาอยู่ภายใต้อำนาจกการควบคุมของตนภายใต้สภาพเงื่อนไขที่เหมาะสมคู่ควรแก่มนุษย์ แทนที่จะปล่อยให้ธรรมชาติเป็น ฝ่ายบงการเอาอย่างหูหนวกตาบอด”

29

30 ขบวนการฝ่ายซ้ายก่อให้เกิดปรากฎการณ์รับรองสิทธิของแรงงานในทางกฎหมาย
เจือจางปัญหาการขูดรีดแรงงาน การกำหนดค่าแรงงานขั้นต่ำ-กฎหมายแรงงาน ความพยายามในการกระจายรายได้ การเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า เข้ามากำกับไม่ใช้เอกชนรายใดควบคุมตลาด ความพยายามในการจัดตั้งรัฐสวัสดิการ ให้รัฐมีหน้าที่ในการดูแลชีวิตของผู้คนมากขึ้น

31 สรุป: กฎหมายในทัศนะของมาร์กซิส
ก่อนการปฏิวัติชนชั้นกรรมชีพ : กฎหมาย คือ โครงสร้างส่วนบนที่ถูกสร้างโดยชนชั้นนายทุน ภายในโครงสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ที่ฝ่ายหนึ่งผูกขาดปัจจัยการผลิต กฎหมายในช่วงนี้จึงเป็นสิ่งที่จรรโลงรักษาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรมไปตลอด หลังการปฏิวัติชนชั้นกรรมชีพระยะรัฐสังคมนิยม : เป้าหมายของรัฐเปลี่ยนไป รัฐจะใช้อำนาจของตน (กฎหมาย) ในการรื้อถอนโครงสร้าง ส่วนบนอันเป็นมายาคติชุดอื่น เช่น ศาสนา วัฒนธรรม จารีต ทฤษฎี ที่จรรโลงและสร้างความชอบธรรมให้กับการกดขี่ขูดรีด หลังการปฏิวัติชนชั้นกรรมชีพสู่สังคมคอมมิวนิสต์ : เมื่อรัฐสังคมนิยมสามารถสลายมายาคติต่างๆ ในระบอบทุนนิยมเดิมได้ ความเหลื่อม ล้ำ ความขัดแย้ง ความไร้เหตุผล จะจบลงพร้อมทุน เช่นเดียวกันกับความรุนแรง รัฐจะหมดความจำเป็น กฎหมายยิ่งไม่จำเป็น มนุษย์อยู่ ในโลกแบบชุมชน (Commune)


ดาวน์โหลด ppt กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google