ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นของการวิจัย
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นของการวิจัย วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
2
เนื้อหาในบทเรียน 1. ความหมายของการวิจัย 2. วิธีการทางวิทยาศาสตร์
3. จุดมุ่งหมายของการวิจัย 4. ประเภทของการวิจัย 5. ขั้นตอนของการวิจัย 6. ประโยชน์ของการวิจัย 7. จรรยาวิชาชีพวิจัย 8. การประพฤติผิดจรรยาวิชาชีพวิจัย
3
1.ความหมายของการวิจัย การวิจัย (Research) หมายถึง ?
กระบวนการศึกษาหาความรู้ความจริงอย่างมีระบบระเบียบ และมีแบบแผนตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ นำไปสู่การสรุปองค์ความรู้ใหม่ เพื่อใช้ในการทำนายหรือควบคุมพฤติการณ์หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ
4
2.วิธีการทางวิทยาศาสตร์
1.ขั้นปัญหา (Problem) 2.ขั้นสมมติฐาน (Hypothesis) 3.ขั้นรวบรวมข้อมูล (Collecting data) 4.ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล(Analysis) 5.ขั้นสรุปผล (Conclusion)
5
3.จุดมุ่งหมายของการวิจัย
เพื่ออธิบาย(Explanation) เพื่อบรรยาย(Description) 1 2 4 3 เพื่อการทำนาย (Prediction) เพื่อการควบคุม (Control)
6
3.จุดมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อบรรยาย(Description) มุ่งบรรยายสถานการณ์หรือยืนยันคุณลักษณะของประชากรหรือปรากฏการณ์ที่ทำการศึกษา เพื่อทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้นในปรากฏการณ์ 2. เพื่ออธิบาย (Explanation) มุ่งอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ความแตกต่างในด้านต่าง ๆ ของปรากฏการณ์ที่ศึกษาอย่างมีเหตุและผล และมุ่งอธิบายว่าอะไรเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน โดยอาศัยแนวคิด ทฤษฎี หรือหลักการเป็นพื้นฐานในการศึกษาวิจัย
7
3.จุดมุ่งหมายของการวิจัย
3. เพื่อการทำนาย (Prediction) พยากรณ์ผลได้ล่วงหน้า ทราบแนวโน้มของปรากฏการณ์ในอนาคต สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทัน 4. เพื่อการควบคุม (Control) ถ้ามีการควบคุมเงื่อนไขนั้นเงื่อนไขนี้ในลักษณะต่าง ๆ กันแล้วผลจะเป็นอย่างไร หาทางป้องกันหรือควบคุมเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ หรือหาทางเร่งให้เหตุการณ์พึงประสงค์เกิดขึ้น เร็วกว่าที่ปล่อยตามธรรมชาติได้อย่างไร
8
4.ประเภทของการวิจัย 1. การใช้เกณฑ์ประโยชน์ของการวิจัย แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1.1 การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์ (Basic or pure research) ได้ผลเป็นข้อความรู้ ทฤษฎี เป็นการวิจัยเพื่อสนองความอยากรู้ของมนุษย์หรือเพิ่มพูนความรู้ของมนุษย์ ยังไม่สามารถนำมาใช้ประโยชนได้ในทันทีที่ได้ข้อค้นพบ มักกระทำในห้องปฏิบัติการหรือห้องทดลอง 1.2 การวิจัยประยุกต์ (Applied research) นำผลจากข้อความรู้ ทฤษฎีที่มีผู้ศึกษาไว้แล้วมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์ เพื่อทำให้ชีวิตมีความสุข และความสะดวกสบายยิ่งขึ้น 1.3 การวิจัยปฏิบัติการ (Action research) นำผลที่ได้ใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรืองานในหน้าที่ของตนเองหรือของทั้งหน่วยงาน
9
4.ประเภทของการวิจัย 2. การใช้เกณฑ์ระเบียบวิธีวิจัย แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 2.1 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical research) ศึกษาข้อเท็จจริงหรือความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอดีต มักจะศึกษาจากร่องรอยหลักฐาน เอกสารต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์ 2.2 การวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive research) ศึกษาเพื่อที่จะบรรยายหรืออธิบายปรากฏการณ์ในสภาพปัจจุบัน หรือสภาพเป็นจริงของสังคมใดสังคมหนึ่ง 2.3 การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) ศึกษาความสัมพันธ์ในลักษณะของการเป็นเหตุเป็นผลภายใต้สถานการณ์ที่พยายามจัดให้มีการควบคุมแบบต่างๆ เท่าที่สามารถจะจัดกระทำได้
10
4.ประเภทของการวิจัย 3. การใช้เกณฑ์ลักษณะการเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 3.1 การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) มุ่งเน้นข้อมูลที่อยู่ในลักษณะตัวเลขหรือกำหนดเป็นปริมาณได้ การวิจัยประเภทนี้ใช้เครื่องมือที่มีความเป็นปรนัยในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้สถิติเพื่อการวิเคราะห์และแปลความหมายของข้อมูล 3.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มุ่งเน้นข้อมูลเชิงคุณลักษณะเกี่ยวกับวัฒนธรรม ความเชื่อหรือพฤติกรรมมนุษย์ที่ได้จากการรับรู้ การสังเกตของนักวิจัยที่เข้าไปสัมผัสในเหตุการณ์หรือชุมชน เครื่องมือสำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยประเภทนี้คือ นักวิจัย
11
4.ประเภทของการวิจัย 4. การใช้เกณฑ์จุดมุ่งหมายในการทาวิจัย แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 4.1 การวิจัยเพื่อการสำรวจขั้นต้น (Exploratory research) สำรวจตัวแปรและศึกษาธรรมชาติของตัวแปร เพื่อหาคาตอบว่าในสิ่งที่ผู้วิจัยศึกษานั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง การวิจัยประเภทนี้มักไม่มีการตั้งสมมติฐาน 4.2 การวิจัยเพื่อการอธิบาย (Explanatory research) อธิบายถึงสาเหตุ หรือเหตุผลในการเกิดปรากฏการณ์นั้น ๆ เพื่อบอกถึงความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปในลักษณะใด มีส่วนเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด 4.3 การวิจัยเพื่อการทำนาย (Prediction research) สร้างทฤษฎี เพื่อที่จะพยากรณ์เหตุการณ์ที่ยังมาไม่ถึง
12
4.ประเภทของการวิจัย 5. การใช้เกณฑ์ชนิดของข้อมูล แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
5.1 การวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical research) ค้นหาความรู้ ความจริงจากข้อมูลธรรมชาติหรือข้อมูลปฐมภูมิในสภาพปัจจุบัน มีการเก็บข้อมูลและใช้วิธีการทางสถิติมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล 5.2 การวิจัยเชิงวิพากษ์วิจารณ์ หรือการวิจัยเชิงไม่ประจักษ์ (Non-empirical research) ค้นหาความรู้ความจริง โดยอาศัยข้อมูล ที่มีอยู่แล้ว ในเอกสาร จากบทความตำราต่างๆ ที่แสดงข้อคิดเห็นในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง โดยไม่ใช้วิธีการทางสถิติมาวิเคราะห์ข้อมูล แต่มักใช้การวิพากษ์วิจารณ์ข้อมูล
13
4.ประเภทของการวิจัย 6. การใช้เกณฑ์ลักษณะการศึกษากับตัวแปร แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 6.1 การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) ศึกษาสภาพปัจจุบัน เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในทางสังคมวิทยาและจิตวิทยา 6.2 การวิจัยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วหรือการศึกษาย้อนหลัง (Expostfacto research) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้วทั้งตัวแปรต้นและตัวแปรตาม โดยผู้วิจัยศึกษาจากตัวแปรตามแล้วพิจารณาย้อนไปค้นหาว่าเกิดจากตัวแปรต้นใดบ้าง 6.3 การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของตัวแปรในปรากฏการณ์นั้น ๆ โดยมีการจัดกระทำกับตัวแปรตัวหนึ่ง แล้วสังเกตหรือวัดผลที่เกิดขึ้นกับอีกตัวแปรหนึ่ง
14
4.ประเภทของการวิจัย 7. การใช้เกณฑ์สาขาวิชาหรือศาสตร์ที่ใช้ศึกษา แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ 7.1 การวิจัยทางวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical science research) ศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ตามธรรมชาติและสิ่งที่ไม่มีชีวิต 7.2 การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological science research) ศึกษาเกี่ยวกับโครงการสร้างหลักที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สิ่งที่มีชีวิต 7.3 การวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Social science research) ศึกษาเกี่ยวกับสังคม การอยู่ร่วมกันในสังคม และปรากฏการณ์ทางสังคม
15
4.ประเภทของการวิจัย 7.4 การวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral science research) ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ 7.5 การวิจัยแบบสหวิทยาการ (interdisciplinary research) ใช้ความรู้จากศาสตร์หลายสาขาบูรณาการเข้าด้วยกัน
16
4.ประเภทของการวิจัย 8. การใช้เกณฑ์ของลักษณะธรรมชาติวิชา แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 8.1 การวิจัยเชิงประเมิน (Evaluation research) ศึกษาหาสารสนเทศเชิงคุณค่า (information) เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการศึกษาหรือประเมินเพื่อการตัดสินใจ ปรับปรุง พัฒนา หรือยุติสิ่งที่ต้องการศึกษานั้น 8.2 การวิจัยเชิงนโยบาย (Policy research) มุ่งศึกษาเพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดทาหรือพัฒนานโยบายขององค์การ 8.3 การวิจัยประวัติศาสตร์ (Historical research) มุ่งศึกษาข้อเท็จจริง ที่เป็นเรื่องราวในอดีต
17
4.ประเภทของการวิจัย 9. การใช้เกณฑ์ระดับความเข้มของการควบคุมตัวแปร แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 9.1 การวิจัยในห้องปฏิบัติการ (Laboratory research) จัดกระทำในห้องปฏิบัติการซึ่งอยู่ในเงือนไขที่สามารถควบคุมตัวแปรได้มากที่สุด 9.2 การวิจัยสนาม (Field research) ออกไปเก็บรวบรวมข้อมูลในสถานที่ที่ข้อมูลที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ 9.3 การวิจัยเอกสาร (Documentory research) ศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจากการอ่านเอกสารต่าง ๆ
18
5.ขั้นตอนของการวิจัย
19
6.ประโยชน์ของการวิจัย นักวิจัย องค์กร วงวิชาการ สังคม ประเทศชาติ
20
7.จรรยาวิชาชีพวิจัย จรรยาวิชาชีพวิจัย หมายถึง ?
ประมวลหลักความประพฤติปฏิบัติที่แสดงถึง – มาตรฐานการปฏิบัติงาน(Standards of work performance) – และความมีจริยธรรมการวิจัย(Research ethics) เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของความเป็นนักวิจัยในสาขาวิชาชีพของตน•ซึ่งจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติสรุปได้ 4 ข้อ
21
7.จรรยาวิชาชีพวิจัย 1.นักวิจัยพึงมีจริยธรรม และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ร่วมงานและบุคคลทั่วไป 2. นักวิจัยพึงทาวิจัยอย่างเต็มความสามารถด้วยความเสียสละ ขยัน และอดทน 3. นักวิจัยต้องมีอิสระทางวิชาการ โดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทาวิจัย 4. นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย
22
8.การประพฤติผิดจรรยาวิชาชีพวิจัย
1.การคัดลอกงานหรือผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน 2.การคัดลอกผลงานของตนเอง 3.การปกปิด บิดเบือน แก้ไขข้อมูล ข้อความ หรือกระทาการใดๆ ในกระบวนการวิจัยและการรายงานผลการวิจัยที่ทาให้ผิดไปจากความเป็นจริง 4.การสร้างข้อมูลเท็จ หรือจงใจปั้นแต่งข้อมูลให้ผิดไปจากความเป็นจริง 5.การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวหรือความลับของผู้รับการวิจัย โดยไม่ได้รับคายินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร
23
Thank You!
24
Workshop 1 นิสิตแบ่งกลุ่มละ 5 คน สืบค้นชื่อเรื่องงานวิจัยที่สอดคล้อง กับแต่ละประเภทของงานวิจัยมา 10 ประเภท โดยชื่อเรื่องงานวิจัยไม่ซ้ำกัน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.