งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 3 นโยบายบัญชีและ การเปิดเผยข้อมูลใน งบการเงินเกี่ยวกับสินทรัพย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 3 นโยบายบัญชีและ การเปิดเผยข้อมูลใน งบการเงินเกี่ยวกับสินทรัพย์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 701104 บทที่ 3 นโยบายบัญชีและ การเปิดเผยข้อมูลใน งบการเงินเกี่ยวกับสินทรัพย์

2 นโยบายบัญชี(Accounting Policy)
หมายถึง หลักการโดยเฉพาะที่ถือปฏิบัติ กฎเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติทางบัญชีที่กิจการใช้ในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน หมายถึง มาตรฐานการบัญชีหรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินเฉพาะเรื่อง และวิธีการปฏิบัติทางบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีนั้น ผู้บริหารของกิจการจะต้องใช้ดุลยพินิจในการเลือกใช้เพื่อแสดงฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการอย่างถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป (General Accepted Accounting Principle-GAAP)

3 มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (International Accounting Standard :IAS)
ปัจจุบันประเทศต่างๆมีการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น ใช้รายงานการเงินเปรียบเทียบกัน ประเทศต่างๆจึงมีการปรับมาตรฐานการบัญชีของให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (International Accounting Standard :IAS) มาตรฐานการบัญชีที่กำหนดใหม่จะเรียกว่า มาตรฐานการรายงานทางการเงิน (International Financial Reporting Standard :IFRS) จัดทำโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (International Accounting Standard Board :IASB)

4 มาตรฐานการรายงานทางการเงินไทย
ประเทศไทยมาตรฐานการการรายงานทางการเงินไทยจัดทำโดยสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์แห่งประเทศไทย(Federation of Accounting Profession, Under the Royal Patronage of His Majesty the King :FAP) ประกอบด้วย 4 กลุ่ม ถือเป็นกฎหมาย ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ปรับปรุงครั้งใหญ่หลายครั้ง ล่าสุด ปรับปรุง ปี2558 รายละเอียดอยู่

5 วัตถุประสงค์การกำหนดนโยบายการบัญชี
มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินอาจกำหนดวิธีปฏิบัติทางบัญชี (Accounting Practice) หลายวิธีสำหรับเรื่องเดียวกัน ผู้บริหารของกิจการจำเป็นต้องใช้ดุลยพินิจในการเลือกวิธีปฏิบัติทางบัญชีที่เหมาะสมสำหรับกิจการ การเลือกนโยบายการบัญชีที่ต่างกันย่อมทำให้เกิดผลกระทบให้ข้อมูลในรายงานทางการเงินแตกต่างกัน กิจการจึงควรเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติทางบัญชีที่กิจการเลือกใช้

6 ลักษณะของนโยบายบัญชีที่ควรเปิดเผย
เป็นหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปที่สามารถเลือกให้เหมาะสมกับกิจการในเวลานั้น เช่น วิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือ วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา เป็นมาตรฐานการบัญชีหรือวิธีปฏิบัติทางบัญชี ตามลักษณะพิเศษของอุตสาหกรรมนั้น เช่น การรับรู้รายได้ดอกเบี้ยรับของสถาบันการเงิน เป็นวิธีแตกต่างจากกิจการอื่น ด้วยข้อจำกัดบางอย่าง แต่เป็นหลักบัญชีที่สามารถปฏิบัติได้ เช่น การรับรู้รายได้สัญญาก่อสร้างกรณีไม่อาจประมาณขั้นความสำเร็จของงานได้

7 เกณฑ์การเปิดเผยนโยบายการบัญชี
เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน กำหนดให้กิจการต้องเปิดเผยทุกเรื่องต่อไปนี้ในหัวข้อสรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ เกณฑ์การวัดมูลค่าที่ใช้จัดทำงบการเงิน เช่นราคาทุนหรือมูลค่ายุติธรรม นโยบายการบัญชีอื่นๆ ที่กิจการเลือกใช้ซึ่งเกี่ยวข้องความเข้าใจได้ในงบการเงินของกิจการ

8 นโยบายการบัญชีที่ควรเปิดเผย
นโยบายการบัญชีที่มีผลกระทบต่อรายงานการดำเนินงาน ฐานะการเงินและการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน นโยบายบัญชีเบื้องต้นโดยแยกเป็น 3 ส่วนได้แก่ นโยบายการบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ นโยบายการบัญชีเกี่ยวกับหนี้สิน นโยบายการบัญชีเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของ

9 นโยบายเกี่ยวกับสินทรัพย์
วิธีปฏิบัติทางบัญชีเบื้องต้นเกี่ยวกับ ในระดับวิชา เงินสดและรายการเทียบเท่า ลูกหนี้ และการคิดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เงินลงทุน สินค้าคงเหลือ และ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

10 รายการเงินสด และรายการเทียบเท่า Cash and Cash Equivalents (บรรทัดแรก ในงบแสดงฐานะการเงิน) ประกอบด้วย
เงินสดในมือ เงินฝากกระแสรายวัน (ที่คงเหลือเป็นยอด บวก) เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำไม่เกิน 3 ด. เงินสดย่อยคงเหลือ (วงเงินที่ตั้ง หัก จำนวนใช้ไป)

11 หลักการบันทึกบัญชีเงินฝากธนาคาร
แยกแต่บัญชีออกให้ชัดเจน ระหว่าง กระแสรายวัน ออมทรัพย์ ประจำ แยกแต่ละเลขที่บัญชี ออกจากกัน เช่น บัญชีเงินฝากออมทรัพย์-# บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ - # บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน- # บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน - #

12 การบันทึกรายการเกี่ยวกับการรับเช็คและฝากเช็ค
1.ได้รับเช็คค่าขายสินค้า เดบิต ลูกหนี้เช็คลงวันที่ล่วงหน้า 20000 เครดิต ขาย 2.นำเช็คฝากธนาคาร เดบิต เงินฝากธนาคาร.... เครดิต ลูกหนี้เช็คลงวันที่ล่วงหน้า

13 การบันทึกรายการเกี่ยวกับการเช็คคืน
3.ได้รับเช็คคืน จากธนาคาร เดบิต ลูกหนี้เช็คคืน 20000 เครดิต เงินฝากธนาคาร....

14 การบันทึกรายการฝาก ถอน โอน
1.รายการฝากเงินสด เดบิต เงินฝากธนาคาร 100 เครดิต เงินสด 2.รายการถอนเงินฝาก เดบิต เงินสด เครดิต เงินฝากธนาคาร 3.โอนเงินระหว่างธนาคาร เดบิต เงินฝากธนาคาร

15 เงินสดย่อย 1.เมื่อตั้งเงินสดย่อย เดบิตเงินสดย่อย เครดิต เงินฝากธนาคาร
1.เมื่อตั้งเงินสดย่อย เดบิตเงินสดย่อย เครดิต เงินฝากธนาคาร 2.เมื่อจ่ายเงินสดย่อย (ไม่บันทึกรายการบัญชี) 3.เมื่อเบิกชดเชย เดบิต ค่าใช้จ่าย เครดิต เงินฝากธนาคาร 4.รายการปรับปรุงเมื่อสิ้นงวด เดบิต ค่าใช้จ่าย เครดิต เงินสดย่อย

16 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด (Cash and Cash equivalents)
หมายถึงสื่อที่ได้มาตรฐานสำหรับการแลกเปลี่ยน มีสภาพพร้อมที่จะจ่ายชำระหนี้สินหมุนเวียนได้ ไม่มีข้อผูกพันใดๆในทางการเบิกใช้ และอาจเป็นพื้นฐานในการวัดมูลค่าทางบัญชีรายการอื่นๆ ประกอบด้วย (1) เงินสดในมือ (Cash on hand) ได้แก่ ธนบัตร และเหรียญ รวมถึงเงินสดย่อย (2) เงินฝากธนาคาร (Bank Deposit) ประเภทที่ถอนได้ทันที ได้แก่ เงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน เงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ และเงินฝากธนาคารประเภทประจำไม่เกิน 3 เดือน (3) รายการเทียบเท่าเงินสด (Cash Equivalents) ได้แก่ เช็คส่วนบุคคล ดร๊าฟท์ ธนาณัติ แคชเชียร์เช็ค เงินตราสกุลอื่น และตราสารอื่นที่สามารถเปลี่ยนสภาพเป็นเงินสดหรือชำระหนี้ได้ทันทีเมื่อต้องการ

17 รายการที่ไม่ถือเป็นรายการเงินสดในทางการบัญชี
ดวงตราไปรษณีย์ เช็คลงวันที่ล่วงหน้า เช็คคืน ใบยืมเงิน (I.O.U.) เงินทดรองจ่าย เงินฝากที่จะถอนได้เมื่อครบกำหนดเวลา(ฝากประจำ) ใบหุ้นทุน หุ้นกู้ พันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน ประเภทบัญชี บัญชีวัสดุสำนักงาน บัญชีลูกหนี้-เช็คล่วงหน้า บัญชีลูกหนี้-เช็คคืน บัญชีลูกหนี้-เงินยืม บัญชีลูกหนี้-เงินทดรอง บัญชีเงินลงทุน บัญชีตั๋วเงิน ตัวอย่างการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินสดและรายการเทียบเท่าหน้า 7-10

18 การบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้และ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

19 ลูกหนี้และค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
ลูกหนี้ (Receivables) หมายถึง สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ในการที่จะให้ชำระหนี้ด้วยเงินสดหรือสินทรัพย์อย่างอื่น ลูกหนี้จึงถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการ ประเภทของลูกหนี้ประกอบด้วย ลูกหนี้การค้า (Account Receivables or Trade Receivables) คือลูกหนี้ที่เกิดจากกระบวนการค้าตามปกติของธุรกิจ ลูกหนี้อื่น (Other Receivables ) คือลูกหนี้ที่ไม่ได้เกิดจากกระบวนการค้า

20 การบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้การค้า
บันทึกตั้งลูกหนี้เมื่อขายเชื่อ ด้วยราคาหักส่วนการค้าแล้ว เดบิต ลูกหนี้การค้า เครดิต ขายสินค้า บันทึกตัดลูกหนี้เมื่อรับชำระเงิน และหากมีส่วนลดเงินสดจะบันทึกส่วนลดจ่าย เดบิต เงินสด และส่วนลดจ่าย(ถ้ามี) เครดิต ลูกหนี้การค้า การแสดงยอดคงเหลือสุทธิในวันสิ้นงวด แสดงปรับมูลค่าในงบดุล แสดงยอดคงเหลือ หักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ การเปิดเผยรายละเอียดลูกหนี้ การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ภาระผูกพัน

21 การประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
วิธีประมาณเป็นร้อยละจากยอดขาย ยอดขายทั้งหมด ยอดขายเชื่อ **** วิธีประมาณจากยอดลูกหนี้ คำนวณเป็นร้อยละของลูกหนี้ จัดกลุ่มลูกหนี้จำแนกตามอายุของหนี้ที่ค้างชำระ วิเคราะห์อายุหนี้ (Aging) พิจารณาลูกหนี้แต่ละราย

22 รายการบันทึกบัญชี เมื่อตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
ถ้าเป็นวิธีตั้งจากยอดขาย ไม่คำนึงยอดเดิม ถ้าเป็นวิธีตั้งตามยอดลูกหนี้คงเหลือให้คำนึงถึงยอดเดิม Dr. หนี้สงสัยจะสูญ xx Cr. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ xx ตัวอย่างการคำนวณหาค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและการบันทึกบัญชีหน้า12-14

23 วิธี%ของยอดขาย วิธี%ของยอดลูกหนี้ เมื่อตั้ง1% เดบิตหนี้สงสัยจะสูญ100 เดบิตหนี้สงสัยจะสูญ100-70 เท่ากับ100 เครดิตค่าเผื่อฯ100 เครดิตค่าเผื่อฯ100-70 ปป.เพิ่มค่าเผื่อฯ เดบิตค่าเผื่อฯ เครดิตหนี้สงสัยฯฯ ปป.ลดค่าเผื่อฯ

24 นโยบายการบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุน
ความหมายของเงินลงทุน(Investment) ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่104 หมายถึง สินทรัพย์ที่กิจการมีไว้เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้กับกิจการ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของส่วนแบ่งที่ได้รับเป็นเงินปันผลหรือดอกเบี้ยก็ตาม แต่ไม่รวมถึงสินค้าคงเหลือและที่ดินอาคารอุปกรณ์

25 ประเภทของเงินลงทุน ตามลักษณะสินทรัพย์ที่ลงทุน เงินลงทุนในหลักทรัพย์
หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล หน่วยลงทุนของกองทุนรวม เงินลงทุนในสินทรัพย์ที่มีตัวตน การลงทุนซื้อที่ดินหรือทองคำเพื่อเก็งกำไร (ไม่รวมถึงอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน) เงินลงทุนในลักษณะอื่น ๆ กรมธรรม์ประกันชีวิต เงินกองทุนต่างๆ

26 ประเภทของเงินลงทุน ตามการแบ่งประเภทในงบแสดงฐานะการเงิน
เงินลงทุนชั่วคราว(Temporary Investment) เงินลงทุนที่กิจการตั้งใจถือไว้ไม่เกิน 1 ปี ต้องการกำไรส่วนต่างของราคาซื้อขาย เงินลงทุนระยะยาว(Long-term Investment) เงินลงทุนที่กิจการตั้งใจถือไว้เกิน 1 ปี

27 ประเภทของเงินลงทุน ตามความสัมพันธ์ของผู้ถือกับผู้ออกหลักทรัพย์
เงินลงทุนในตราสารหนี้ (Debt Security) ผู้ลงทุนมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ ผลตอบแทนได้เป็นดอกเบี้ย เงินลงทุนในตราสารทุน(Equity Security) ผู้ลงทุนมีฐานะเป็นเจ้าของกิจการ ผลตอบแทนได้เป็นเงินปันผล

28 ประเภทของเงินลงทุน ตามลักษณะตลาดซื้อขาย
หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด (Marketable Security) มีตลาดซื้อขายง่าย โดยมีราคาที่เปิดเผย จึงมีสภาพคล่อง หลักทรัพย์นอกตลาด (Over the Counter :OTC) ไม่มีตลาดซื้อขายง่าย ไม่ทราบราคาที่เปิดเผย จึงไม่มีสภาพคล่อง

29 ประเภทของเงินลงทุน ตามวัตถุประสงค์การถือหลักทรัพย์ (มาตรฐานการบัญชีไทยฉบับที่ 104) หลักทรัพย์เพื่อค้า (Trading Securities) หลักทรัพย์เผื่อขาย (Available for Sale Securities) ตราสารหนี้ที่จะถือไว้จนครบกำหนด (Held to Maturity Debt Securities) เงินลงทุนทั่วไป (General Investment)

30 ความหมายของหลักทรัพย์
หลักทรัพย์เพื่อค้า หมายถึง เงินลงทุนในตราสารหนี้หรือตราสารทุนในความต้องการของตลาดที่กิจการถือไว้ โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะขายในอนาคตอันใกล้ กิจการถือหลักทรัพย์ไว้ในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อหากำไรจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์

31 ความหมายของหลักทรัพย์(ต่อ)
หลักทรัพย์เผื่อขาย หมายถึง เงินลงทุนในตราสารหนี้หรือตราสารทุนในความต้องการของตลาด ซึ่งไม่ถือเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้า และไม่ถือเป็นตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด หรือเงินลงทุนในบริษัทย่อย หรือบริษัทร่วม หลักทรัพย์สามารถเผื่อขาย สามารถแยกประเภทเป็นเงินลงทุนชั่วคราว หรือเงินลงทุนระยะยาว ขึ้นกับวัตถุประสงค์

32 ความหมายหลักทรัพย์(ต่อ)
เงินลงทุนทั่วไป หมายถึง เงินลงทุนในตราสารทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาด ทำให้กิจการไม่สามารถจัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้า หรือหลักทรัพย์เพื่อขาย สามารถแยกเป็นเงินลงทุนชั่วคราวหรือเงินลงทุนระยะยาว ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด หมายถึง เงินลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ที่กิจการมีความตั้งใจ แน่วแน่ และมีความสามารถที่จะถือไว้จนครบกำหนดไถ่ถอน เช่น หุ้นกู้

33 สรุปความสัมพันธ์ของเงินลงทุนตราสารหนี้และเงินลงทุนตราสารทุน
ประเภทของหลักทรัพย์ ตราสารหนี้ ตราสารทุน ชั่วคราว ระยะยาว ในตลาด นอกตลาด -หลักทรัพย์เพื่อค้า - -หลักทรัพย์เผื่อขาย -ตราสารหนี้ที่จะถือไว้จนครบกำหนด -เงินลงทุนทั่วไป *ตราสารหนี้ที่ถือไว้หากครบกำหนดในงวดบัญชีหน้าจะแสดงในงบดุลเป็นเงินลงทุนชั่วคราว

34 การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุน
เมื่อซื้อเงินลงทุน(Purchase) กิจการจะบันทึกราคาต้นทุนของเงินลงทุน ต้นทุนของเงินลงทุนได้แก่ ต้นทุนที่กิจการจ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินลงทุน ได้แก่ ราคาซื้อ บวกค่าธรรมเนียมหรือค่านายหน้า ค่าภาษีอากรที่เกี่ยวข้องเป็นต้น

35 การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุน
เมื่อได้รับผลตอบแทนจากเงินลงทุน ผลตอบแทนของตราสารทุนได้แก่ เงินปันผล ผู้ลงทุนสามารถบันทึกเป็นรายได้เงินปันผลต่อเมื่อบริษัทมีการประกาศจ่ายเงินปันผล โดยเดบิตเงินปันผลค้างรับและเครดิตรายได้เงินปันผล ผลตอบแทนในส่วนของตราสารหนี้ได้แก่ รายได้ดอกเบี้ยรับซึ่งจะได้รับตามระยะเวลาที่ระบุไว้แน่นอนเงื่อนไขปีละครั้ง ปีละสองครั้ง หรือไตรมาสละหนึ่งครั้ง โดยเดบิตเงินสดและเครดิตดอกเบี้ยรับ ทั้งนี้ ณ วันสิ้นงวดบัญชีของกิจการต้องมีการปรับปรุงรายการดอกเบี้ยค้างรับนับจากวันที่รับดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายถึงวันสิ้นงวดบัญชี

36 การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุน
การบันทึกการขายหลักทรัพย์ การบันทึกรายการขายหลักทรัพย์ในตราสารทุน อาจมีการขายในราคาที่สูงกว่าราคาตามบัญชีหรือต่ำกว่า นั่นคือเกิดรายการกำไรขาดทุนจากการจำหน่ายเงินลงทุน การคำนวณรายการกำไรขาดทุนจากการจำหน่ายเงินลงทุนคำนวณจากการเปรียบเทียบราคาตามบัญชี กับเงินค่าขายสุทธิที่ได้รับหลังหักค่านายหน้าในการขาย รายการกำไรขาดทุนจากการจำหน่ายเงินลงทุนสามารถบันทึกไว้ในบัญชี และทำการปิดบัญชีไปบัญชีกำไรขาดทุน

37 การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุน
การวัดมูลค่าของเงินลงทุนเป็นรายการปรับปรุงที่จำเป็น ณ วันสิ้นงวด

38 มูลค่ายุติธรรม (Fair Value)
มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์กันในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยนและสามารถต่อรองราคากันได้อย่างอิสระ ในลักษณะของผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน มูลค่ายุติธรรมของหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดให้ใช้ราคาเสนอซื้อครั้งสุดท้าย

39 ต้นทุนตัดจำหน่าย ราคาต้นทุนหลังจากปรับปรุงกับบัญชีดอกเบี้ยรับ
กรณีซื้อตราสารหนี้สูงกว่าราคาไถ่ถอน ปรับปรุงโดย เดบิต ดอกเบี้ยรับ เครดิต หลักทรัพย์เผื่อขาย/หรือตราสารที่จะถือจนครบ กรณีซื้อตราสารหนี้ต่ำกว่าราคาไถ่ถอน ปรับปรุงโดย เดบิต หลักทรัพย์เผื่อขาย/หรือตราสารที่จะถือจนครบ เครดิต ดอกเบี้ยรับ

40 ตัวอย่าง ดอกเบี้ยรับตามอัตราที่ระบุบนใบหุ้น 5,000 บาท
ดอกเบี้ยรับตามอัตราที่ระบุบนใบหุ้น 5,000 บาท ดอกเบี้ยที่แท้จริงเท่ากับ ,000 บาท = ซื้อหุ้นที่มีราคาสูงกว่าราคาไถ่ถอน รายการปรับปรุง เดบิต ดอกเบี้ยรับ ,000 เครดิต ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบ 1,000

41 ตัวอย่าง ดอกเบี้ยรับตามอัตราที่ระบุบนใบหุ้น 5,000 บาท
ดอกเบี้ยรับตามอัตราที่ระบุบนใบหุ้น 5,000 บาท ดอกเบี้ยที่แท้จริงเท่ากับ ,500 บาท = ซื้อหุ้นที่มีราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รายการปรับปรุง เดบิต ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบ 500 เครดิต ดอกเบี้ยรับ

42 การบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ

43 ความหมายสินค้าคงเหลือ
สินค้าคงเหลือ (Inventory) หมายถึง สินทรัพย์ซึ่งมีไว้เพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจโดยปกติหรืออยู่ในระหว่างกระบวนการผลิต สินค้าสำเร็จรูปเพื่อขาย หรือมีไว้เพื่อใช้ในการผลิตหรือให้บริการ สินค้าคงเหลือ สามารถจำแนกหรือจัดแบ่งประเภทดังนี้ สินค้าสำเร็จรูป(Finished Goods)หมายถึงถือไว้เพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติของกิจการ สินค้าระหว่างทำ(Work in process) หมายถึงสินค้าที่อยู่ในระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป สินค้าวัตถุดิบ(Raw Materials)หรือวัสดุ(Supplies)ที่มีไว้เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าหรือให้บริการ

44 ต้นทุนสินค้า ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2(ปรับปรุง 2552) เรื่อง สินค้าคงเหลือ กำหนดศัพท์ที่เกี่ยวข้อง ต้นทุนสินค้าคงเหลือ ประกอบด้วย ต้นทุนทั้งหมดในการซื้อ ในการแปลงสภาพและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้สินค้านั้นอยู่ในสถานที่และอยู่ในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ต้นทุนในการซื้อ ประกอบด้วย ราคาซื้อ ค่าขนส่ง ค่าขนถ่าย และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการซื้อสินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบ และบริการ และให้นำส่วนลดการค้าไปหักออก ต้นทุนการผลิตสินค้า ส่วนประกอบของต้นทุนการผลิตสินค้าประกอบด้วยวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงทางตรง และค่าใช้จ่ายในการผลิตอื่น ๆ (จะกล่าวโดยละเอียดในงบต้นทุนการผลิต) มูลค่าสุทธิที่จะคาดว่าจะได้รับ หมายถึง ราคาที่คาดว่าจะขายได้ตามปกติของธุรกิจหักด้วยต้นทุนส่วนเพิ่มที่จะผลิตให้เสร็จ (สำหรับสินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิต) และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็นต้องจ่ายเพื่อให้ขายสินค้านั้นได้

45 การวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ
การบันทึกการรับสินค้าที่รับเข้ามาเป็นด้วยราคาทุน เมื่อมีการขายหรือใช้ไปจะมีการเป็นการพิจารณาแบ่งสรรต้นทุน (Assignment of Cost) ให้แก่สินค้า 2 ส่วน คือ ต้นทุนสินค้าขาย และต้นทุนสินค้าคงเหลือ การวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ เนื่องจากการซื้อสินค้าเข้าหลายครั้งซึ่งสินค้าที่ได้รับจะมีปริมาณและราคาต้นทุนไม่เท่ากัน จึงมีเกณฑ์ที่จะแบ่งสรรต้นทุนที่ต่างกัน การวัดมูลค่าสินค้าขึ้นอยู่กับระบบบัญชีสินค้าที่กิจการเลือกใช้ซึ่งประกอบด้วย 2 ระบบได้แก่ ระบบบันทึกแบบต่อเนื่อง (Perpetual inventory system) ระบบบันทึกเมื่อสิ้นงวด หรือตรวจนับ (Periodic inventory system)

46 วิธีการกำหนดมูลค่าสินค้าคงเหลือ
โดยทั่วไปวิธีกำหนดมูลค่าสินค้าคงเหลือประกอบด้วย วิธีราคาทุน (Cost Basis) วิธีราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะขายได้ วิธีการหลักเกณฑ์พิเศษอื่น

47 การกำหนดต้นทุนสินค้าวิธีราคาทุน (Inventory Valuation-Cost Basis)
การเคลื่อนไหวของตัวสินค้าจริงๆ (Actual physical flow of goods) ซึ่งปกติมักจะเป็นลักษณะเข้าก่อน-ออกก่อน วิธีราคาทุนเป็นพื้นฐานในการกำหนดต้นทุนสินค้าคงเหลือ และนิยมใช้ปฏิบัติโดยทั่วไป การพิจารณาแบ่งสรรต้นทุนจะมีข้อสมมติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของต้นทุน(Cost flow assumption) แตกต่างกัน วิธีราคาเจาะจง (Specific Identification) วิธีราคาทุนถัวเฉลี่ย (Average Cost) วิธีราคาทุนเข้าก่อนออกก่อน (First-In, First-Out)

48 วิธีราคาทุน-เจาะจง (Specific Identification)
เป็นการกำหนดต้นทุนสินค้าแต่ละหน่วยโดยเจาะจงจากต้นทุนที่ซื้อเข้ามาหรือผลิตขึ้น ต้นทุนสินค้าคงเหลือปลายงวดจะเป็นผลรวมของต้นทุนสินค้าคงเหลือในมือแต่ละรายการ และต้นทุนสินค้าขายเป็นผลรวมของต้นทุนสินค้าที่ขายไปแต่ละรายการ วิธีการกำหนดต้นทุนสินค้าตามวิธีนี้แม้ว่าจะได้ต้นทุนสินค้าที่แน่นอน แต่มีข้อจำกัดไม่สามารถใช้กับกิจการที่มีสินค้าจำนวนมากและมีลักษณะสับเปลี่ยนกันได้โดยปกติ

49 วิธีราคาทุน-ถัวเฉลี่ย (Average Cost)
เป็นการกำหนดต้นทุนสินค้าโดยถัวเฉลี่ยจากต้นทุนสินค้าที่มีไว้ขายทั้งสิ้นในระหว่างงวด เพราะถือว่าเป็นสินค้าทุกหน่วยทั้งสินค้าที่ขายและสินค้าคงเหลือมีลักษณะเหมือนกันจึงควรมีราคาทุนเดียวกัน การคำนวณต้นทุนถัวเฉลี่ยต่อหน่วยขึ้นอยู่กับระบบบัญชีสินค้า Weighted average cost หรือวิธีถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก วิธีนี้คำนวณใช้ระบบสินค้าแบบตรวจนับ Moving average cost หรือวิธีถัวเฉลี่ยแบบเคลื่อนที่ วิธีนี้คำนวณถัวเฉลี่ยทุนครั้งที่มีการรับสินค้าใหม่เข้ามา

50 วิธีราคาทุน เข้าก่อน-ออกก่อน (First-in, First-out)
เป็นการแบ่งสรรต้นทุนสินค้าขายและต้นทุนสินค้าคงเหลือ โดยสมมติว่าสินค้าจะถูกนำไปใช้ตามลำดับการนำเข้า นั้นคือสินค้าที่ซื้อเข้ามาก่อนจะถูกนำไปใช้ก่อน สินค้าคงเหลือจะมีราคาทุนเท่ากับราคาที่ซื้อครั้งหลังๆ นับย้อนขึ้นไป วิธีตีราคา FIFO จึงสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวตัวสินค้าจริง

51 การตีราคาสินค้าตามวิธีราคาทุน หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับที่ต่ำกว่า
การตีราคาตามราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า(Lower of Cost or Net Realizable Value Method : NRV) เป็นการตีราคาที่สอดคล้องกับแนวความคิดที่ว่าทรัพย์สินไม่ควรแสดงราคาตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่าที่จะได้รับ หรือสูงกว่าประโยชน์จากการใช้ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2552) เรื่องสินค้าคงเหลือ กำหนดให้สินค้าคงเหลือตีราคาตามราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า

52 ราคาทุน หมายถึง ราคาทุนตาม วิธีถัวเฉลี่ย หรือวิธีเข้าก่อนออกหรือวิธีคำนวณเจาะจง
มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ หมายถึง ราคาโดยประมาณที่คาดว่าจะขายได้ตามปกติของธุรกิจ หักด้วยประมาณการต้นทุนในการผลิตสินค้านั้นให้เสร็จ และต้นทุนที่จำเป็นต้องจ่ายไปเพื่อให้ขายสินค้านั้นได้

53 รายการปรับปรุงให้เป็นราคาNRVที่ต่ำกว่า
เดบิต ผลขาดทุนจากการตีราคาสินค้า 70 เครดิต สินค้าคงเหลือ 31 ธค.สินค้าราคาทุน 1200 ราคาNRV 1230 ไม่มีรายการปรับปรุงใดๆ

54 การบัญชีเกี่ยวกับที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ และค่าเสื่อมราคา

55 ความหมาย ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ (Property Plant and Equipment) หมายถึง สินทรัพย์ที่มีตัวตนซึ่งมีไว้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงาน คาดว่าจะได้รับประโยชน์เป็นเวลามากกว่าหนึ่งปี มีการแบ่งประเภทบัญชีได้แก่ บัญชีที่ดิน อาคารสิ่งปลูกสร้าง และอุปกรณ์ เช่น เครื่องจักร เครื่องสำนักงาน ยานพาหนะ เป็นต้น

56 การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับ ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์
เมื่อได้รับสินทรัพย์ประเภทที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ จะบันทึกมูลค่าเริ่มแรกด้วยราคาทุน ราคาทุน หมายถึงจำนวนเงินทั้งหมดที่จ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์และทำให้สินทรัพย์นั้นอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้ ประกอบด้วยราคาซื้อ และค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง หักด้วยส่วนลดถ้ามี รวมทั้งต้นทุนโดยประมาณสำหรับการรื้อถอน ขนย้าย บูรณะสถานที่ตั้งของสินทรัพย์ซึ่งเป็นภาระผูกพันของกิจการที่มีตามสัญญา เมื่อมีการใช้งานมีการคิดค่าเสื่อมราคา ซึ่งเป็นปันส่วนต้นทุนสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายแต่ละงวดบัญชีตลอดอายุการใช้งานของสินทรัพย์ โดยค่าเสื่อมราคาจะสะสมทุกปีเรียกว่า ค่าเสื่อมราคาสะสม ซึ่งเป็นบัญชีปรับมูลค่าสินทรัพย์เพื่อแสดงมูลค่าตามบัญชีในงบแสดงฐานะการเงิน

57 การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับ ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์
อาจมีการวัดการด้อยค่าสินทรัพย์ (Impairment) หากเห็นว่าราคาตามบัญชีของสินทรัพย์สูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะขายได้ ในวันสิ้นงวดบัญชีจะแสดงรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ รายการสินทรัพย์ที่ดินและอาคาร ที่ถือเพื่อประโยชน์จากรายได้ค่าเช่า หรือจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าของสินทรัพย์และก่อให้เกิดกระแสเงินสดได้ด้วยอิสระจากสินทรัพย์ประเภทอื่น ให้แยกแสดงเป็นรายการ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (Investment Property) รายการสินทรัพย์ที่ดินอาคาร และอุปกรณ์ที่เลิกใช้งานอยู่ระหว่างรอการขายให้แยกแสดงเป็นรายการสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย(Non-current Assets Held for Sale)

58 ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์
การที่สินทรัพย์มีอายุการใช้งานจำกัด มีการเสื่อมสภาพได้ จึงจำเป็นต้องคิดค่าเสื่อมราคา มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้ ต้องตัดมูลค่าเสื่อมสภาพของอาคารและอุปกรณ์เพื่อให้เป็นค่าเสื่อมราคาอย่างมีระบบตลอดอายุการใช้งานของสินทรัพย์ ปัจจัยในการคิดค่าเสื่อมราคา ฐานการคิดค่าเสื่อมราคา (Depreciation base) อายุการใช้งานโดยประมาณ (Estimate useful life) วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา (Depreciation method)

59 ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์
ฐานการคิดค่าเสื่อมราคา ได้แก่ จำนวนผลต่างของราคาทุนของสินทรัพย์กับมูลค่าซากหรือจำนวนที่คาดว่าจะได้รับเมื่อสินทรัพย์หมดอายุใช้งาน (Salvage or disposal value) ออกแล้ว ในการกำหนดมูลค่าซากนั้นกิจการต้องมีการกะประมาณขึ้น ณ วันที่ได้สินทรัพย์นั้นมา อายุการใช้งานโดยประมาณ ได้แก่ ระยะเวลาที่คาดว่าสินทรัพย์จะหมดอายุการใช้งานหรือจำนวนผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้สินทรัพย์ วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา เป็นการกะประมาณค่าเสื่อมราคาโดยแบ่งสรรจากต้นทุนสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบในแต่ละงวดเวลาที่ใช้สินทรัพย์

60 วิธีคิดค่าเสื่อมราคา
ตามเกณฑ์ระยะเวลา(Time related) วิธีเส้นตรง หรือเท่ากันทุกปี เป็นวิธีที่นิยมปฏิบัติ วิธีอัตราเร่ง หรือวิธีอัตรายอดลดลง วิธีผลรวมจำนวนปี วิธีอัตราคงที่ของราคาตามบัญชีที่ลดลง ตามระดับกิจกรรม(Activity related) ระดับหน่วยการผลิต ระดับปัจจัยการผลิต กิจการต้องเลือกวิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาที่เหมาะสมเพื่อสะท้อนประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากการใช้สินทรัพย์

61 วิธีเส้นตรง(Straight Line)
เป็นวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาด้วยจำนวนที่เท่ากันทุกปีตลอดอายุใช้งาน เป็นวิธีที่นิยมกันมากที่สุด เพราะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่การที่ถือว่าสินทรัพย์ให้ประโยชน์แต่ละงวดเท่ากันนั้นอาจจะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ค่าเสื่อมราคาต่อปี = (ราคาทุน - ราคาซาก) จำนวนอายุการใช้งาน(ปี) หรือ = (ราคาทุน - ราคาซาก) x อัตราค่าเสื่อม อัตราค่าเสื่อมราคา = อายุการใช้งาน

62 วิธีอัตราเร่ง เป็นวิธีคิดค่าเสื่อมราคาโดยคำนวณตามเวลาแต่การคิดค่าเสื่อมราคาตามวิธีนี้ค่าเสื่อมราคาจะสูงในช่วงปีแรกๆ ส่วนในปีหลังๆซึ่งสินทรัพย์มีลักษณะการใช้งานลดลง ค่าเสื่อมราคาก็จะลดลง มี 2 วิธี 1.วิธีจำนวนผลรวมปี (Sum of the year degits method) ถือเอาอายุการใช้งานที่เหลือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ อัตราส่วนค่าเสื่อมแต่ละปี = อายุการใช้งานที่เหลืออยู่ ผลรวมของอายุการใช้งาน ผลรวมของอายุการใช้งาน = N(N + 1) 2 ค่าเสื่อมราคา = (ราคาทุน - ราคาซาก) x อัตราค่าเสื่อมราคาแต่ละปี

63 วิธีอัตราเร่ง 2. วิธีอัตราคงที่ของราคาตามบัญชีที่ลดลง(Declining Method)เป็นการคำนวณโดยการนำอัตราส่วนค่าเสื่อมราคาคูณกับราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ในวันต้นงวด โดยไม่คำนึงราคาทุนและราคาซาก ค่าเสื่อมราคาต่อปี = ราคาตามบัญชี x อัตราค่าเสื่อมราคา อัตราค่าเสื่อมราคาเท่ากับอัตรา2 เท่าของอัตราเส้นตรง จึงเรียกว่าวิธี Double Declining Method

64 วิธีการคำนวณตามกิจกรรม
เป็นการคำนวณค่าเสื่อมราคาตามจำนวนผลผลิตที่ได้จากการใช้สินทรัพย์ การคิดค่าเสื่อมราคาโดยหาอัตราค่าเสื่อมราคาต่อหน่วยผลผลิต ค่าเสื่อมราคาในแต่ละงวดเป็นผลคูณของอัตราค่าเสื่อมราคาต่อหน่วยผลผลิตที่คำนวณไว้ดังกล่าวกับจำนวนผลผลิตที่ได้จริงในงวด อัตราค่าเสื่อมราคาต่อหน่วย = (ราคาทุน - ราคาซาก) จำนวนผลผลิตสินค้าที่จะทำได้ทั้งสิ้น หรือ ปัจจัยที่ใช้ในการผลิตทั้งสิ้น ค่าเสื่อมราคาต่อปี = จำนวนกิจกรรมที่ทำได้ในปีนั้น ๆ x อัตราค่าเสื่อมราคาต่อหน่วยกิจกรรม

65 การบันทึกบัญชีค่าเสื่อมราคา
บันทึกในวันสิ้นรอบบัญชี โดย Dr. ค่าเสื่อมราคา xx Cr. ค่าเสื่อมราคาสะสม xx

66 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่มีลักษณะทางกายภาพ และไม่เป็นตัวเงิน มีไว้เพื่อการดำเนินงาน ตัวอย่างของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เช่น 1. เครื่องหมายการค้า ยี่ห้อ ( Logo Brand or Trademark ) 2. สิทธิบัตร ( Patent ) 3. ลิขสิทธิ์ ( Copyright ) 4. สัมปทานและการอนุญาตใช้สิทธิ ( Franchise and Licensing )

67 การรับรู้รายการ การรับรู้รายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตนไว้ 2 ข้อดังนี้
การรับรู้รายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตนไว้ 2 ข้อดังนี้ มีความเป็นได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจในอนาคตที่จะเกิดจากสินทรัพย์นั้น ต้นทุนนั้นสามารถวัดราคาทุนได้อย่างน่าเชื่อถือ การรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาเกิดขึ้นภายในกิจการ ต้องแยกขั้นตอนของการก่อให้เกิดสินทรัพย์เป็น ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนการวิจัย เป็นการมุ่งเน้นความรู้ใหม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน ขั้นตอนการการพัฒนาเป็นการออกแบบ ทดสอบแม่แบบก่อนผลิต หรือก่อนใช้ เป็นต้นทุนสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

68 การแสดงรายการ การปรับปรุงการหมดประโยชน์ไปโดยการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนมักใช้วิธีเส้นตรงตัดจำหน่ายตามระยะเวลา โดย เดบิต สินทรัพย์ไม่มีตัวตน-ตัดจำหน่าย xx เครดิต สินทรัพย์ไม่มีตัวตน –รอตัดจำหน่าย xx การแสดงในงบการเงินด้วยราคาทุนหักค่าตัดจำหน่ายสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์(ถ้ามี) ต้องเปิดเผยถึงวิธีการตัดจำหน่าย ระยะเวลาที่ได้รับประโยชน์


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 3 นโยบายบัญชีและ การเปิดเผยข้อมูลใน งบการเงินเกี่ยวกับสินทรัพย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google