ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยวรพร พันธุเมธา ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
การพัฒนาการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษากับการขับเคลื่อนประเทศไทย ๔.๐
Driving Thailand 4.0 and Higher Education Teaching and Learning Development ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ (สุขุมวิท ๑๑) กรุงเทพมหานคร วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๐
4
สถาบันอุดมศึกษาถือเป็นแหล่งพัฒนาคน และองค์ความรู้ที่สำคัญยิ่ง บัณฑิตที่มีคุณภาพ จะเป็นกลไกที่สำคัญอันจะนาไปสู่การพัฒนาประเทศตามทิศทางที่วางไว้ ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการการเรียนการสอนโดยอาจารย์ที่มีความเข้าใจ และมีความมุ่งมั่นในการจัดกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ2552 (Thailand Qualifications Framework-TQF)
5
TQF กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้บัณฑิตมีอย่างน้อย 5 ด้าน ดังนี้ 1
TQF กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้บัณฑิตมีอย่างน้อย 5 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม (Ethics and Moral) หมายถึง การพัฒนานิสัยในการประพฤติอย่างมีคุณธรรมจริยธรรมด้วยความรับผิดชอบทั้งในส่วนตนและส่วนรวม ความสามารถในการปรับวิถีชีวิตในความขัดแย้งทางค่านิยม การพัฒนานิสัยและการปฏิบัติตนตามศีลธรรมทั้งในเรื่องส่วนตัวและสังคม 2. ด้านความรู้ (Knowledge) หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจ การนึกคิดและการนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์และจำแนกข้อเท็จจริงในหลักการ ทฤษฎี ตลอดจนกระบวนการต่างๆ และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills) หมายถึง ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์และใช้ความรู้ ความเข้าใจ ในแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และกระบวนการต่างๆ ในการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal skills and responsibility) หมายถึง ความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การแสดงถึงภาวะผู้นำ ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ความสามารถในการวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้ด้วยตนเอง 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Numerical analysis skills, communication and information technology skills) หมายถึง ความสามารถในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข ความสามารถในการใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์และสถิติ ความสามารถในการสื่อสารทั้งการพูด การเขียน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
6
กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดกรอบมาตรฐานให้สถาบันอุดมศึกษา
และอาจารย์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โดยครอบคลุมอย่างน้อย ๕ ด้าน คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ และสติปัญญาความคิด ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านการวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์ ด้านการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ วาม
7
ทศวรรษที่ 2 ของศตวรรษที่ 21 เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก การจัดการอุดมศึกษาจึงต้องพัฒนาบัณฑิตให้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของความรู้และศาสตร์ต่างๆ ความเปลี่ยนแปลงของสังคม ตลอดจนจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเองอันจะนำไปสู่การพัฒนาพลังปัญญาที่เข้มแข็ง สมาคมเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) ได้ทำงานในลักษณะของเครือข่ายเพื่อสนับสนุนอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในนานาศาสตร์ เพื่อการพัฒนาตนเอง ด้านการจัดการเรียนการสอนในฐานะอาจารย์ระดับอุดมศึกษา
9
การขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 “Driving Thailand 4.0 and Higher
Education Teaching and Learning Development” ขึ้น เพื่อสร้าง ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายของรัฐ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางใน การจัดการอุดมศึกษาที่มุ่งสู่การพัฒนาที่ร่วมกันในการขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0 รวมทั้งสรรหาและเชิดชูเกียรติมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนา การเรียนการสอนที่ตอบสนองการผลิตบัณฑิตด้วยแนวคิดและแนวปฏิบัติใหม่ๆ ในการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาให้บัณฑิตมีคุณภาพสำหรับโลกศตวรรษ ที่21 และเปิดโอกาสให้ผู้บริหารและอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเหล่านี้ได้มา แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ตลอดจนประสบการณ์
10
ในการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาให้บัณฑิตมีคุณภาพสำหรับโลกศตวรรษ
ที่21 และเปิดโอกาสให้ผู้บริหารและอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเหล่านี้ได้มา แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ตลอดจนประสบการณ์ การขับเคลื่อนการสร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในการพัฒนา การจัดการเรียนการสอน รวมทั้งการพัฒนาองค์กรให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะนำไปสู่ความตระหนักรู้ในความสำคัญของเรื่องนี้จนเกิดการสร้างหน่วยงาน รองรับหน้าที่การพัฒนาดังกล่าวในแต่ละสถาบันของตนเองได้เป็นอย่างดีในอนาคต
12
ขยายความร่วมมือทางวิชาการ และการวิจัยด้านการพัฒนาการจัดการอุดมศึกษา
ระหว่างองค์กร สถาบัน ทั้งในระดับชาติและระดับสากล สร้างเวทีสำหรับการเรียน และแลกเปลี่ยนความรู้ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนา เพื่อนำไปสู่ แนวทางการพัฒนาและแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สนับสนุนการถ่ายทอด เทคโนโลยีทางการศึกษา โดยความร่วมมือระหว่างสถาบันและพันธมิตรต่างประเทศ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.