ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยวานี หงสกุล ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
4
องค์ประกอบที่ 1 หลักสูตร
องค์ประกอบที่ 1 หลักสูตร “หลักสูตรผลิตครู 5 ปี ให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง เป็นหลักสูตรที่ได้ มาตรฐานวิชาการ และมาตรฐานวิชาชีพครู โดยมุ่งผลิตครู เก่ง ดี มีทักษะการปฏิบัติงานวิชาชีพครู และทำงานร่วมกับท้องถิ่น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” หลักสูตรผลิตครู ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีคุณภาพ และผ่านมาตรฐานดังนี้ 1. มาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ผ่านการรับทราบจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 2. มาตรฐานวิชาชีพครู โดยได้รับการรับรองจากคุรุสภา 3.มาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง โดยได้รับการรับรองจากคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(กคศ.) 4. มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่น
5
แนวทางการดำเนินการ/กิจกรรม/โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานด้านหลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ประกอบด้วย 1. มีการดำเนินการตามตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) ที่ระบุไว้ใน มคอ.2 และผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย 2. มีการปรับปรุงคำอธิบายรายวิชาให้เอื้อต่อการพัฒนาท้องถิ่น 3. กำหนดให้ทุกหลักสูตรกำหนดรายวิชาอย่างน้อย 1 รายวิชาที่จะสอด แทรกเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
6
5. กำหนดให้ทุกหลักสูตร มีการบูรณาการการเรียนการสอนกับการ บริการวิชาการ
กำหนดให้ทุกหลักสูตรมุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงาน การปฏิบัติตน โดยกำหนดชั้นปีในการพัฒนาอย่างชัดเจน ดังนี้ - ชั้นปี 1 บุคลิกภาพ และคุณลักษณะความเป็นครู - ชั้นปี 2 เทคโนโลยีสารสนเทศ - ชั้นปี 3 การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทักษะในศตวรรษที่ 21 และ Thailand 4.0 - ชั้นปี 5 การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 5. กำหนดให้ทุกหลักสูตร มีการบูรณาการการเรียนการสอนกับการ บริการวิชาการ 6. กำหนดให้ทุกหลักสูตรนำนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขัน หรือ ประกวดผลงาน ทั้งที่หน่วยงานภายในและภายนอกจัดขึ้น อย่าง น้อยปีละ 2 ครั้ง
8
องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการรับนักศึกษา
“คัดเลือกคนเก่ง รักในวิชาชีพครู” องค์ประกอบย่อยประกอบด้วย 1. การกำหนดคุณสมบัติ 1.1 เป็นนักเรียนโควตาเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ 1.2 กำหนดระดับผลการเรียนเฉลี่ย หรือเปอร์เซ็นไทล์ (Percentile) สาขาวิชาสายวิชาการ เกรดเฉลี่ย 3.00 หรือ เปอร์เซ็นไทล์ ที่ 70 สาขาวิชาสายปฏิบัติ เกรดเฉลี่ย 2.75 หรือ เปอร์เซ็นไทล์ ที่ 65
9
2. วิธีการคัดเลือก 2.1 รอบ Portfolio
2. วิธีการคัดเลือก 2.1 รอบ Portfolio 2.1.1 ประเมินแฟ้มสะสมผลงาน ดำเนินการดังนี้ 1) ประเมินด้านวิชาการ กำหนดให้ผู้สมัครส่งผลงานที่ดีที่สุด ในด้านวิชาการที่ตรงกับสาขาวิชา จำนวน 5 ผลงาน 2) ประเมินด้านคุณลักษณะ กำหนดให้ผู้สมัครส่งผลงานที่ ดีที่สุด ที่แสดงพฤติกรรมหรือคุณลักษณะที่ได้รับการยกย่อง และระดับการเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 5 ผลงาน 3) ประเมินวัดแววความเป็นครู
10
2. วิธีการคัดเลือก (ต่อ)
2. วิธีการคัดเลือก (ต่อ) 2.1.2 การสัมภาษณ์ เน้นการประเมิน ดังนี้ 1) คุณลักษณะความเป็นครู 2) ทักษะการแก้ปัญหา 3) ทักษะการสื่อสาร 2.2 รอบ 2-5 2.2.1 การสอบข้อเขียน 1) ความถนัดทางการเรียน และความรู้ทั่วไป 2) ความถนัดในวิชาชีพครู หรือ PAT5 3) ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 4) การประเมินผลทางจิตวิทยา
11
2. วิธีการคัดเลือก (ต่อ)
2. วิธีการคัดเลือก (ต่อ) การสอบภาคปฏิบัติ (สำหรับสาขาวิชาสายปฏิบัติ) 2.2.3 การสอบสัมภาษณ์ เน้นการประเมิน ดังนี้ 1) คุณลักษณะความเป็นครู 2) ทักษะการแก้ปัญหา 3) ทักษะการสื่อสาร
12
3. เกณฑ์การคัดเลือก ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60 หรือจัดลำดับตามจำนวนที่ระบุไว้ใน มคอ.2 แนวทางการดำเนินการ/กิจกรรม/โครงการ เพื่อให้การดำเนินงาน ด้านกระบวนการรับนักศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1. สร้างความเข้าใจในการเรียนวิชาชีพครู โดยจัดทำค่ายวิชาชีพครู เพื่อให้ นักเรียนชั้น ม.6 รู้บทบาทหน้าที่ของวิชาชีพครู ซึ่งจะทำให้ได้ “คนเก่งและรักในวิชาชีพครู” มาเรียนครู 2. นโยบายการรับนักศึกษา “เพิ่มคุณภาพ ลดการรับนักศึกษา” รับนักศึกษาที่สอดคล้องกับจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร กำหนดจำนวนการรับ เป็นไปตามเกณฑ์ที่ระบุไว้ใน มคอ. 2
14
กระบวนการบ่มเพาะ “บ่มเพาะครูเก่ง ครูดี ครูมืออาชีพ และครูที่ทำงานเชื่อมโยงกับ ท้องถิ่นและอนุภูมิภาค เพื่อสร้างสมรรถนะ ด้านความรู้ การปฏิบัติงาน การปฏิบัติตน และการพัฒนาท้องถิ่น” องค์ประกอบย่อยประกอบด้วย 1. การบ่มเพาะครูเก่ง การบ่มเพาะครูเก่ง มุ่งเน้นการบ่มเพาะองค์ความรู้ต่างๆ ดังนี้ 1.1 ศาสตร์พระราชา 1.2 ศาสตร์ท้องถิ่น 1.3 ศาสตร์สาขาวิชา 1.4 ศาสตร์การสอนและการเรียนรู้ โดยพัฒนาและสร้างความโดดเด่นในการผลิตบัณฑิตแต่ละสาขาวิชา ผ่านกิจกรรมต่างๆ ทั้งในและนอกห้องเรียน
15
แนวทางการดำเนินการ/กิจกรรม/โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานด้าน การบ่มเพาะครูเก่ง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1. การพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ 2. การพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. การเสริมสร้างองค์ความรู้/ทักษะวิชาการและวิชาชีพให้นักศึกษาทุกชั้นปีอย่างต่อเนื่อง 4. การใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานในการเรียนรู้ 5. การพัฒนาการเรียนการสอนโดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น และศาสตร์พระราชา 6. การเรียนรู้จากครูต้นแบบ/ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง 7. การพัฒนานวัตกรรมเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน 8. การสร้างศูนย์บริการวิชาการและวิชาชีพเฉพาะสาขาวิชา 9. การประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ หรือสอบประมวลความรู้ ก่อนการ ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษา
16
กระบวนการบ่มเพาะ (ต่อ)
2. การบ่มเพาะครูดี การบ่มเพาะครูดี มุ่งเน้นการบ่มเพาะคุณลักษณะด้าน ต่างๆ ดังนี้ 2.1 จิตวิญญาณความเป็นครู 2.2 คุณลักษณะตามสาขาวิชาเอก 2.3 คุณลักษณะตามอัตลักษณ์มหาวิทยาลัย 2.4 รักษ์ท้องถิ่น 2.5 จิตสาธารณะ แนวทางการดำเนินการ/กิจกรรม/โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานด้านการบ่มเพาะ ครูดี เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1. กิจกรรมเสริมความเป็นครู ด้านการปลูกจิตสำนึกคุณธรรมจริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาชีพ อย่างต่อเนื่องทุกชั้นปี 2. กิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพความเป็นครู 3. กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม อบรมคุณธรรมสำหรับครู 4. กิจกรรมค่ายอาสา
17
กระบวนการบ่มเพาะ (ต่อ)
3. การบ่มเพาะครูมืออาชีพ การบ่มเพาะครูมืออาชีพ มุ่งเน้นการบ่มเพาะทักษะด้าน ต่างๆ ดังนี้ 3.1 ทักษะด้านภาษาต่างประเทศ 3.2 ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 3.3 ทักษะด้านหลักสูตร 3.4 ทักษะด้านการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน 3.5 ทักษะด้านจิตวิทยา 3.6 ทักษะด้านการวัดและประเมินผล 3.7 ทักษะด้านการวิจัย 3.8 ทักษะด้านการพัฒนานวัตกรรม 3.9 ทักษะด้านการประกันคุณภาพ 3.10 ทักษะของครูในศตวรรษที่ 21 และ Thailand 4.0
18
แนวทางการดำเนินการ/กิจกรรม/โครงการ เพื่อให้การ ดำเนินงานด้านการบ่มเพาะ ครูมืออาชีพ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1. การจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ในลักษณะต่างๆ ดังนี้ - 1.1 การอบรมเชิงปฏิบัติการ - 1.2 การเรียนรู้จากสถานศึกษาต้นแบบ - 1.3 การเรียนรู้จากครูต้นแบบ - 1.4 การฝึกปฏิบัติการจากแหล่งเรียนรู้ - 1.5 การศึกษาดูงาน
19
แนวทางการดำเนินการ 1. การพัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศ ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องในทุกชั้นปี ในลักษณะต่างๆ ดังนี้ - เพิ่มรายวิชาภาษาอังกฤษในหลักสูตร - อบรมทักษะภาษาอังกฤษต่อเนื่องทุกชั้นปี - การเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ - ส่งเสริมให้อาจารย์ใช้หรือสอดแทรกภาษาอังกฤษในการจัด การเรียนการสอน 2. การอบรมเชิงปฏิบัติการในพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1
20
แนวทางการดำเนินการ (ต่อ)
3. การจัดกิจกรรมเสริมทักษะความเป็นครูมืออาชีพ ชั้นปี 1 เสริมทักษะด้านภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยีสารสนเทศ (ตามข้อ 2-3) ชั้นปี 2 การพัฒนาด้านจิตวิทยา ชั้นปี 3 การพัฒนาด้านหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียน สำหรับครูในศตวรรษที่ 21 ชั้นปี 4 การพัฒนาด้านการวัดผลและ ประเมินผล และการวิจัย การอบรมผู้กำกับ ลูกเสือสามัญชั้นต้น (BTC) ชั้นปี 5 การเตรียมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 4. การศึกษา สังเกต และเรียนรู้จากครูต้นแบบ/ครูดีในดวงใจ/ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง 5. การฝึกปฏิบัติการจากแหล่งเรียนรู้
21
4. การบ่มเพาะครูมืออาชีพ
แนวทางการดำเนินการ (ต่อ) 4. การบ่มเพาะครูมืออาชีพ การบ่มเพาะครูมืออาชีพ มุ่งเน้นการบ่มเพาะเรื่อง ต่างๆ ดังนี้ 4.1 การประยุกต์ใช้และบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น 4.2 การอนุรักษ์ สืบสาน ภาคภูมใจในวัฒนธรรมท้องถิ่น 4.3 การบูรณาการศาสตร์พระราชาและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4.4 ความสัมพันธ์กับชุมชนและท้องถิ่น
22
แนวทางการดำเนินการ/กิจกรรม/โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานด้าน การบ่มเพาะครูมือที่ทำงานเชื่อมโยงกับท้องถิ่นและอนุภูมิภาค เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1. การจัดกิจกรรมค่ายพัฒนาวิชาการ โดยนักศึกษาเป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรม ร่วมกับอาจารย์ในสาขาวิชา 2. การจัดกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาโรงเรียน โดยนักศึกษาเป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรม ร่วมกับโรงเรียน และอาจารย์ในสาขาวิชา 3. การบูรณาการการสอนกับการบริการวิชาการแก่ท้องถิ่น 4. การทำงานกับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและโรงเรียนในโครงการกอง ทุนการศึกษา หรือโรงเรียนลักษณะพิเศษอื่นๆ 5. ส่งเสริมการทำงานร่วมกับสมาคมหรือเครือข่ายวิชาชีพเฉพาะสาขาวิชาในท้องถิ่น 6. ส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชน โดยบูรณาการศาสตร์พระราชาและปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง
24
องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู องค์ประกอบย่อยที่ 1 การคัดเลือกโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู การคัดเลือกโรงเรียน 1. เป็นโรงเรียนเครือข่าย ผ่านการประเมินจาก สมศ. หรือ มีความพร้อมตามมาตรฐานเกณฑ์คุรุสภา 2. เป็นโรงเรียนต้นแบบ หรือเป็นโรงเรียนที่คณะครุศาสตร์ร่วมพัฒนาขึ้น 3. เป็นโรงเรียนที่อยู่ในโครงการตามพระราโชบาย 4. เข้าร่วมโครงการและร่วมผลิตบัณฑิตตามแนวทางการผลิตครูของมหาวิทยาลัย
25
องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (ต่อ)
การคัดเลือกครูพี่เลี้ยง 1. มีคุณวุฒิปริญญาตรีด้านการศึกษา ที่ตรงกับสาขาวิชาที่ดูแล หรือมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น 2. มีประสบการณ์การสอนไม่น้อยกว่า 3 ปี 3. มีประสบการณ์การเป็นครูพี่เลี้ยง ถ้ายังไม่มีประสบการณ์ ให้มีครูพี่เลี้ยงอื่นช่วยดูแล 4. มีความประพฤติเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติการสอน 5. ผ่านการประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย
26
องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (ต่อ)
องค์ประกอบย่อยที่ 2 การประสานความร่วมมือกับโรงเรียนเครือข่าย 1. ประชุมชี้แจงผู้บริหารสถานศึกษา ครูพี่เลี้ยง ครูนิเทศก์ อาจารย์นิเทศก์ นักศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้อง 2. มอบเอกสารคู่มือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 3. จัดทำฐานข้อมูลโรงเรียนเครือข่ายและครูพี่เลี้ยง องค์ประกอบย่อยที่ 3 การฝึกปฏิบัติวิชาชีพครูระหว่างเรียน ชั้นปีที่ 1-4
27
องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (ต่อ)
องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (ต่อ) การดำเนินการพัฒนาระบบการฝึกปฏิบัติวิชาชีพครูระหว่างเรียน ชั้นปีที่ 1 ศึกษาสังเกตการปฏิบัติงานในหน้าที่ครูและนักเรียน ชั้นปีที่ 2 เป็นผู้ช่วยครู ชั้นปีที่ 3 การเป็นผู้ช่วยครูและศึกษาสังเกตการจัดการเรียนรู้ของครู ชั้นปีที่ 4 ทดลองสอนและทำวิจัยในชั้นเรียน วิธีการ 1. จัดเป็นรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูทุกชั้นปี 2. บูรณาการกับรายวิชาเรียน 3. จัดเป็นโครงการ/กิจกรรม เสริมทุกชั้นปี
28
องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (ต่อ)
องค์ประกอบย่อยที่ 4 การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาชั้นปีที่ 5 1. กำหนดจำนวนชั่วโมงในการสอน ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 2. ปฏิบัติการสอนตรงสาขาวิชาเอก 3. ปฏิบัติงานที่สนับสนุนการเรียนการสอน ไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน 4. ออกแบบการจัดประสบการณ์/การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของ บริบทและการเปลี่ยนแปลงของโลก 5. วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 6. จัดทำโครงการพัฒนาโรงเรียน ท้องถิ่น หรือชุมชน
29
องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (ต่อ)
องค์ประกอบย่อยที่ 5 การสัมมนา นิเทศ ติดตามประเมินผล 1. สัมมนาระหว่าง/หลังการฝึกประสบการณ์ 2. นิเทศติดตามโดยความร่วมมือจาก 3 ฝ่าย ได้แก่อาจารย์นิเทศก์วิชาเอก นิเทศวิชาชีพ ครูและนิเทศก์โรงเรียน 3. ประเมินผลสมรรถนะ 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านความรู้ 2) ด้านการปฏิบัติงาน 3) ด้านการปฏิบัติตน 4) ด้านการทำงานกับชุมชนและท้องถิ่น
31
กระบวนการพัฒนาอาจารย์คณะครุศาสตร์
องค์ประกอบที่ 5 กระบวนการพัฒนาอาจารย์คณะครุศาสตร์ องค์ประกอบย่อยที่ 1 การพัฒนาอาจารย์ประจำ 1.1 การอบรมพัฒนาความรู้ในศาสตร์สาขาวิชา 1.2 การพัฒนาภาษาอังกฤษ 1.3 การศึกษาต่อ ศึกษาดูงาน 1.4 การสร้างชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) 1.5 การพัฒนาอาจารย์ เรื่อง การออกแบบการจัดการเรียนรูที่บูรณาการจิตปัญญาศึกษา ระบบพี่เลี้ยง และการวิจัยเป็นฐาน (CCR) 1.6 การพัฒนาครูของครูตามแนวทาง School-based Learning
32
กระบวนการพัฒนาอาจารย์คณะครุศาสตร์ (ต่อ)
องค์ประกอบที่ 5 กระบวนการพัฒนาอาจารย์คณะครุศาสตร์ (ต่อ) องค์ประกอบย่อยที่ 2 การพัฒนาอาจารย์ใหม่ 2.1 มีระบบอาจารย์พี่เลี้ยง 2.2 จัดทำแผนพัฒนางานเป็นรายบุคคล ทั้งด้านการพัฒนาผลงานทางวิชาการและการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น 2.3 พัฒนาความรู้ในศาสตร์สาขาวิชาและศาสตร์สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 2.4 การมีประสบการณ์การสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
33
กระบวนการพัฒนาอาจารย์คณะครุศาสตร์ (ต่อ)
องค์ประกอบที่ 5 กระบวนการพัฒนาอาจารย์คณะครุศาสตร์ (ต่อ) แนวทางการดำเนินการ/กิจกรรม/โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานด้านการพัฒนาอาจารย์ประจำ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1. โครงการพัฒนาบุคลากร ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ในการพัฒนา อาจารย์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน 2. โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายชุมชน 3. โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม สำหรับอาจารย์คณะครุศาสตร์ 4. โครงการพัฒนาภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับอาจารย์
34
กระบวนการพัฒนาอาจารย์คณะครุศาสตร์ (ต่อ)
องค์ประกอบที่ 5 กระบวนการพัฒนาอาจารย์คณะครุศาสตร์ (ต่อ) แนวทางการดำเนินการ/กิจกรรม/โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานด้านการพัฒนาอาจารย์ใหม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1. โครงการคู่หูสู่วิชาการ โดยมีอาจารย์พี่เลี้ยงร่วมกันทำงานวิจัย และให้คำแนะนำในการทำผลงานทางวิชาการ 2. จัดทำแผนพัฒนางานรายบุคคล เช่น โครงการเพิ่มพูนทักษะความรู้ศาสตร์การสอน 3. จัดให้สอนในรายวิชาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนสาธิต หรือโรงเรียนเครือข่าย 4. การส่งเสริมให้อาจารย์เรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติม สัปดาห์ละ 1 ครั้ง 5. โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม สำหรับอาจารย์คณะครุศาสตร์
36
องค์ประกอบที่ 6 การพัฒนาโรงเรียนสาธิต
องค์ประกอบย่อย 1.การพัฒนาครูต้นแบบด้วยกระบวนการ PLC 2.การพัฒนารูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน 3.การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและชุมชน ท้องถิ่น
37
องค์ประกอบที่ 6 การพัฒนาโรงเรียนสาธิต (ต่อ)
แนวทางการดำเนินการ/กิจกรรม/โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานด้านการพัฒนาโรงเรียนสาธิต เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1. จับคู่อาจารย์คณะครุศาสตร์ กับครูโรงเรียนสาธิต เพื่อค้นหาครูต้นแบบหรือความถนัดเพื่อส่งเสริมให้ตรงจุดและทำวิจัยร่วมกัน 2. การส่งเสริมครูและพัฒนาให้เกิดความโดดเด่น เชี่ยวชาญตามศักยภาพหรือความถนัด 3. การส่งเสริมและพัฒนาครูสาธิตให้จัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน(CBL) โดยมีคณะกรรมการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล จากคณะครุศาสตร์
38
องค์ประกอบที่ 6 การพัฒนาโรงเรียนสาธิต (ต่อ)
4. คัดเลือกครูต้นแบบตามความถนัด 5. ทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่ เพื่อร่วมกันพัฒนาเป็นโรงเรียนพี่ โรงเรียนน้อง โรงเรียนเครือข่ายการพัฒนาของโรงเรียนสาธิต 6. จัดตั้งกลุ่ม ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) เพื่อเป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก 7. คณาจารย์แต่ละสาขาวิชาจัดทำปฏิทินให้นักศึกษาได้เข้าไปศึกษา เรียนรู้ และทำกิจกรรมในโรงเรียนสาธิตทุกชั้นปี 8. กำหนดให้แต่ละสาขาวิชาคัดเลือกนักศึกษาเพื่อไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่โรงเรียนสาธิต
39
องค์ประกอบที่ 6 การพัฒนาโรงเรียนสาธิต (ต่อ)
9. กำหนดให้อาจารย์ในแต่ละสาขาวิชาที่เป็นอาจารย์นิเทศก์ ทำหน้าที่ครูพี่เลี้ยงให้ครูโรงเรียนสาธิตด้วย และนิเทศการสอนครูทุกสัปดาห์ 10. จัดอบรมพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพ ให้ครูโรงเรียนสาธิต ทุกภาคเรียน 11. จัดกิจกรรมเปิดโลกการศึกษาเพื่อแสดงผลงานการพัฒนาครูต้นแบบนวัตกรรมและการวิจัยทางการศึกษาให้ครู โรงเรียน ผู้ปกครอง และผู้สนใจในเขตพื้นที่การศึกษาได้เข้าร่วมชมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 12. กำหนดตารางสอนบูรณาการตารางสอนของนักเรียนโรงเรียนสาธิตกับอาจารย์คณะครุศาสตร์ให้ดูเป็นต้นแบบ โดยนับเป็นฐานการสอน (ไม่เกิน 3 คาบ/สัปดาห์)
41
องค์ประกอบที่ 7 การพัฒนาโรงเรียนด้วยการเป็นสถาบันอุดมศึกษาพี่เลี้ยง
องค์ประกอบที่ 7 การพัฒนาโรงเรียนด้วยการเป็นสถาบันอุดมศึกษาพี่เลี้ยง องค์ประกอบย่อย 1 สร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้กับโรงเรียนใน ชุมชนและท้องถิ่นแนวทางการดำเนินการ/กิจกรรม/ โครงการประกอบด้วย 1. การอบรม/บริการวิชาการในลักษณะค่ายหรือกิจกรรม 2. การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น ที่สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน ชุมชนและท้องถิ่น 3. การจัดอบรมหรือบริการวิชาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้ โรงเรียนโดยกำหนดให้ดำเนินการ 1 โรงเรียน 1 สาขาวิชา 4. ดำเนินการร่วมกับโรงเรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ โรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่รับผิดชอบของสาขาวิชา ตามข้อ 3
42
องค์ประกอบที่ 7 การพัฒนาโรงเรียนด้วยการเป็นสถาบันอุดมศึกษาพี่เลี้ยง (ต่อ)
องค์ประกอบย่อย 2 สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานทางการศึกษาในชุมชนและท้องถิ่น แนวทางการดำเนินการ/กิจกรรม/โครงการ เพื่อให้การดำเนินงาน ประกอบด้วยทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับโรงเรียนพื้นที่เป้าหมาย และโรงเรียน ในพื้นที่เฉพาะสาขาวิชา ในการพัฒนาที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.