ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม : 2500105
Human and Environment
2
Intro อาจารย์ชนม์ธนัช สุวรรณ (อ.เนธ์)
// ห้อง 0431 เวลา : แล้วแต่นัดหมาย โหลดสไลด์และเอกสารประกอบ :
3
การวัดและประเมิน คะแนนสอบ 50% คะแนนงานรวม 50% จิตพิสัย 5%
Midterm 20% Final 30% คะแนนงานรวม 50% จิตพิสัย 5% แบบฝึกหัด 15% งานเดี่ยว 15% งานกลุ่ม 20%
4
บทที่ 1 บทนำ
5
ทำไมต้องรู้ความสัมพันธ์ของชีวิตกับสิ่งแวดล้อม??
เพราะ ณ ตอนนี้ สิ่งแวดล้อมที่มีมาแต่เดิมมีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วทั้ง กายภาพและสังคม เพราะ สิ่งมีชีวิตอื่นๆและมนุษย์คือส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม ที่ต้องพึ่งพาสวล. และเป็นตัวการที่ทำให้สวล. เสื่อมลงอย่างมาก ซึ่ง ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีผลต่อสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะ มนุษย์ ดังนั้น ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับ สวล.บ้าง อะไรบ้าง จะได้มีความรู้ถึงเหตุและ ผล และความสำคัญของสวล.
6
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ความหมาย : นิยามความหมายตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและ รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ คือ สิ่งต่างๆที่มีลักษณะทาง กายภาพและชีวภาพที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้น ความหมาย : ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบๆ ตัวมนุษย์ ทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรม (จับต้องได้และมองเห็นได้) และ นามธรรม (วัฒนธรรม, แบบแผน, ประเพณี, ความเชื่อ) มีอิทธิพล เกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน
7
ตัวอย่างการพึ่งพาของสมช.กับสวล.? มนุษย์กับแสงอาทิตย์
Environment Humans Animals Plants Adaptation การปรับตัว กายภาพ ชีวภาพ ตามธรรมชาติ มนุษย์สร้าง กายภาพ มีชีวิต ไม่มีชีวิต สังคม นามธรรม รูปธรรม Interaction ปฏิสัมพันธ์ มองเห็น มองไม่เห็น ตัวอย่างการพึ่งพาของสมช.กับสวล.? มนุษย์กับแสงอาทิตย์
8
ประเภทของสิ่งแวดล้อม 2 ประเภท
สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ (Natural Environment) สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต (Biotic Environment) เช่น สัตว์เซลล์เดียว จุลินทรีย์ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) เช่น แสงแดด อุณหภูมิ ความชื้น กรด-ด่าง สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Made Environment) สิ่งแวดล้อมทางวัตถุหรือสิ่งแวดล้อมที่มองเห็น(Physical Env.) : รูปธรรมและจับต้องได้ เช่น บ้านเรือน ถนน สะพาน สิ่งแวดล้อมทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม (Social Env.) มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้อยู่ร่วมกัน เช่น ศาสนา ความเชื่อ
9
คุณสมบัติเฉพาะตัวของสิ่งแวดล้อม
1. สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทจะมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดเฉพาะตัว (Unique) ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตามเอกลักษณ์นั้นจะบ่งบอกอย่างชัดเจน เช่น ต้นไม้ มนุษย์ น้ำ บ้าน ฯลฯ 2. สิ่งแวดล้อมจะไม่อยู่โดดเดี่ยวในธรรมชาติแต่จะมีสิ่งแวดล้อมอื่นอยู่ด้วย เสมอ เช่นปลากับน้ำ มนุษย์กับที่อยู่อาศัย ต้นไม้กับดิน ฯลฯ 3. สิ่งแวดล้อมประเภทหนึ่งมีความต้องการสิ่งแวดล้อมอื่นเสมอ เช่น ปลาต้องการน้ำ มนุษย์ต้องการที่อยู่อาศัย ฯลฯ 4. สิ่งแวดล้อมจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า ระบบนิเวศหรือ ระบบสิ่งแวดล้อม ซึ่งภายในระบบนิเวศจะมีองค์ประกอบหรือหลากชนิด ของสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบนิเวศป่าไม้ ระบบนิเวศทางทะเล
10
5. สิ่งแวดล้อมทั้งหลายมีความเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์ต่อกันเป็น ลูกโซ่ ดังนั้นถ้าทำลายสิ่งแวดล้อมหนึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เป็นลูกโซ่เสมอ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เกิดการพังทลายของดิน, ค่า pH เปลี่ยน = พืชไม่เจริญเติบโต 6. สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทจะมีลักษณะทนทานและมีความเปราะต่อ การถูกกระทบแตกต่างกัน บางชนิดมีความคงทนดี บางชนิดเปราะ ง่าย เช่น การชะล้างของดิน 7. สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลาที่เปลี่ยนไป อาจเป็นการ เปลี่ยนแปลงแบบถาวรหรือชั่วคราวก็ได้ เช่น การเจริญเติบโตของเมือง การ เผาทาลายป่า ซึ่งจะมีพืชค่อยๆ ขึ้นทดแทน
11
มิติของสิ่งแวดล้อม การให้ขนาดด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการประเมินความสำคัญของปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวบ่งชี้คุณลักษณะของสิ่งแวดล้อมในลักษณะที่เป็นรูปธรรม มิติทรัพยากร (Resource Dimension) เป็นมิติที่มีความสำคัญที่ มนุษย์ใช้เป็นปัจจัย ในการดำรงชีวิตทั้งทรัพยากรธรรมชาติ, มิติ ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้นและมิติทรัพยากรทางปฏิบัติ มิติเทคโนโลยี เป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ทั้งในรูป ความรู้ แนวคิดทฤษฎี และข้อเท็จจริงในการปฏิบัติ เทคโนโลยีมี บทบาทสาคัญต่อมนุษย์ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ทำให้มนุษย์สามารถนา เอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ = ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
12
มิติของเสียและมลพิษสิ่งแวดล้อม มิติด้านของเสียและมลพิษสิ่งแวดล้อม แสดงถึงผลของการใช้ทรัพยากรของมนุษย์จะมีของเสียปล่อยสู่ สภาพแวดล้อมไม่มากก็น้อย มิติมนุษย์/เศรษฐสังคม การให้ขนาดกับผลที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมหรือ พฤติกรรมของมนุษย์ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม อันจะเป็นผลในทาง ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และองค์ประกอบด้านประชากร เช่น การศึกษา สาธารณสุข “ความสัมพันธ์ระหว่างมิติ” : มนุษย์นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้โดยใช้ เทคโนโลยีในการผลิต ก่อให้เกิดมลพิษ อย่างไรก็ดีมนุษย์ก็ได้นำเอา เทคโนโลยีมาพัฒนาเพื่อลดมลพิษและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติด้วยเช่นกัน
13
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต สิ่งมีชีวิตต้อง อาศัยสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตเพื่อให้ดำรงอยู่ได้ เนื่องจากสิ่งแวดล้อมเหล่านี้มี ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ การแพร่กระจาย ตลอดจนพฤติกรรมอื่นๆ ของสิ่งมีชีวิต // พฤติกรรมที่ดำเนินอยู่จะหยุดชะงัก หรือเปลี่ยนแปลงไปจากปกติสภาพแวดล้อมที่ไม่พอเหมาะต่อการเจริญเติบโต เรียกว่า “ปัจจัยจำกัด” (Limiting Factor) ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต 2 อย่าง 1. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน (Intraspecific Relationship) ธรรมชาติมักพบว่า สิ่งมีชีวิตมีการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นฝูง การรวมเป็น กลุ่มก่อให้เกิดผลดี (Beneficial Effect) และจัดลำดับชั้นของสังคม (Social Hierarchy) เช่น ผึ้ง ปลวก มด ลิง
14
2. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน (Interspecific Relationship) สิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่เกิดขึ้นในโลกมีความเกี่ยวพันกัน โยงใย ซึ่งกันและกัน 1. แบบพึ่งพา (Mutualism) (+,+) ต้องอาศัยอยู่ร่วมกันตลอดไปจึงจะสามารถ ดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น รากับสาหร่าย 2. การได้รับประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation) (+,+) ไม่จำเป็นจะต้องอาศัย อยู่ร่วมกันตลอดไป เช่น ดอกไม้กับผีเสื้อ 3. แบบเกื้อกูล (Commensalism) (+,0) เช่น กล้วยไม้บนต้นไม้ใหญ่ 4. ผู้ล่า (Predation) (+,-) สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งเสียประโยชน์ เช่น มนุษย์กินหนูนา 5. ปรสิต (Parasitism) (+,-) สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งเสียประโยชน์ เช่น ไวรัสในตัวมนุษย์ 6. ความสัมพันธ์แบบไม่ได้และไม่เสียผลประโยชน์ (Neutralism) (0,0) โดยไม่ได้ และไม่เสียผลประโยชน์ เช่น มนุษย์กับแมว 7. การแข่งขัน (Competition) (-,-) สิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดต่างฝ่ายต่างเสียประโยชน์ เช่น หญ้านวลน้อยที่เจริญเติบโตร่วมกับหญ้าแห้วหมู
15
จบบทที่ 1
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.