งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การพยาบาลผู้ป่วย on external and internal fixation

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การพยาบาลผู้ป่วย on external and internal fixation"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพยาบาลผู้ป่วย on external and internal fixation
เกศินี ปาระมี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลลำพูน

2 External fixation External fixation หรือการใส่โลหะยึดตรึงกระดูกรยางค์ ภายนอก หมายถึง การตรึงกระดูกที่หักด้วยโลหะซึ่งจะใส่อยู่ ภายนอกร่างกายของผู้ป่วย

3 External fixation ประกอบด้วย
- แท่งโลหะปลายแหลม ที่มีเกลียว (schanz screw) หรือ - แท่งโลหะปลายแหลมที่ ไม่มีเกลียว (pin)

4 External fixation - โครงยึดภายนอก (rod) - ข้อต่อ (clamp) - กรอบ (frame) - ลวด (wire)

5 ข้อบ่งชี้ของการใส่ External fixation
1. กระดูกหักแบบมีแผลเปิด และแผลมีขนาดใหญ่รุนแรง

6 ข้อบ่งชี้ของการใส่ External fixation
2. กระดูกหักที่มีการอักเสบ และติดเชื้อร่วมด้วย 3. กระดูกหักหลายๆแห่งใน ชิ้นเดียวกัน

7 ข้อบ่งชี้ของการใส่ External fixation
4. กระดูกหักที่มีภยันตรายต่อหลอดเลือด และเส้นประสาท ร่วมด้วย 5. กระดูกหักภายในข้อ

8 ข้อบ่งชี้ของการใส่ External fixation
6. ต้องการเพิ่มความยาวของรยางค์ (limb lengthening)

9 ข้อดีของการใส่ External fixation
1. ทำให้มี rigid fixation ในผู้ป่วยกระดูกหักที่ไม่สามารถ รักษาได้โดยการใส่เฝือก หรือผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงกระดูก ภายใน (internal fixation) กรณีนี้มักพบในผู้ป่วย open fracture type II หรือ III

10 ข้อดีของการใส่ External fixation
2. Compression and distraction 3. สามารถดูสภาวะของเนื้อเยื่ออ่อน แผล ได้สะดวก 4. สามารถขยับข้อ บริหารข้อได้ดี 5. สามารถใส่ External fixation โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยอาการหนักมากจนไม่สามารถดมยาสลบได้ 6. ให้ผู้ป่วยลุกเดินได้เร็วขึ้น

11 ข้อเสีย ของการใส่ External fixation
1.เกิดการติดเชื้อ (pin tract infection) โดยแบ่งระดับการติดเชื้อตามความรุนแรงได้ดังนี้ Grade 1 Serous drainage Grade 2 Superficial cellulitis Grade 3 Deep infection Grade 4 Osteomyelitis

12 ข้อเสียของการใส่ External fixation
2.ทำให้เกิดข้อติดแข็ง 3.มีโอกาสเกิด neurovascular impairment 4.Compartment syndrome อาจเกิดได้เนื่องจาก schanz screw หรือ pin เข้าไปในช่องกล้ามเนื้อทำให้ความดันในช่องกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น เกิดภาวะขาดเลือดของกล้ามเนื้อทำให้ระบบไหลเวียนปกติ

13 ข้อเสียของการใส่ External fixation
5.Pin loosening การเลื่อนหลุดของ pin แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ตามลักษณะทางคลินิกดังนี้ ระยะที่ 1 มีการยึดตรึงที่สมบูรณ์ ไม่มีการขยับเขยื้อน หรือเคลื่อนไหว ระหว่างpin กับ กระดูก ระยะที่ 2 มีการขยับเขยื้อนเล็กน้อย ระหว่างpin กับ กระดูก ระยะที่ 3 มีการขยับเขยื้อนมากขึ้น ระหว่างpin กับ กระดูก ระยะที่ 4 สามารถดึง pin ออกได้ด้วยมือ

14 ข้อเสียของการใส่ External fixation
6.Delayed union or nonunion 7.มีโอกาสเกิดกระดูกหักหลังจาก off External fixation 8.เกะกะ รุ่มร่าม ใส่เสื้อผ้าลำบาก 9.โลหะยึดตรึงภายนอกเป็นครุภัณฑ์ที่สูญหายไม่ได้ราคาแพง ทางโรงพยาบาลจึงจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยมัดจำค่าโลหะยึดตรึงภายนอก

15 การพบาบาลก่อนผ่าตัด 1. การเตรียมทางด้านจิตใจ
2. การเตรียมทางด้านร่างกาย การตรวจร่างกายตามระบบ การประเมินบาดแผล การ irrigate แผลด้วย NSS อย่างน้อย 2000 cc การ splint ประเมินการไหลเวียนโลหิตที่ไปเลี้ยงส่วนปลาย การประเมินการทำงานของเส้นประสาทส่วนปลาย

16 2.การจัดท่า แขน ขา ที่ได้รับการโลหะยึดตรึงกระดูกรยางค์ ภายนอก
การพยาบาลหลังผ่าตัด 1.ตรวจสอบระดับความรู้สึกตัว และบันทึกสัญญาณชีพ 2.การจัดท่า แขน ขา ที่ได้รับการโลหะยึดตรึงกระดูกรยางค์ ภายนอก 3.ประเมินการไหลเวียนโลหิตที่ไปเลี้ยงส่วนปลาย 4.การประเมินการทำงานของเส้นประสาทส่วนปลาย

17 การพยาบาลหลังผ่าตัด 5.ตรวจดูภาวะเลือดออกจากแผล 6.ประเมินระดับความเจ็บปวด 7.กระตุ้นให้ผู้ป่วยออกกำลังส่วน แขน ขา - ออกกำลังข้อทุกๆข้อ (ROM) - การออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขา - กระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวัน (Activity Daily of Living:ADL) การทำแผล ทำแผลวันล่ะ 1 ครั้ง

18 คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
1.แนะนำการดูแลแผล ให้ไปทำแผล ห้ามแผลเปียกน้ำ 2.เสื้อผ้า สวมใส่เสื้อผ้านุ่มที่ไม่ระคายเคืองผิวหนัง แขน ขา กว้าง 3.ระมัดระวังอุบัติเหตุ การหกล้ม 4.แนะนำการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน อาชีพ 5.รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่

19 คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
6.ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 7.การพักผ่อนนอนหลับ นอนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง 8.เมื่อมีอาการปวด บวม แดง ร้อน และมีเลือดซึม หรือหนองไหลจาก แผล ให้มาพบแพทย์ทันที การรับประทานยา ควรรับประทานยาตามแผนการรักษาของแพทย์ ควรมาตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง ถ้ามีสิ่งผิดปกติใดๆ แนะนำให้มา พบแพทย์ก่อนนัดได้

20

21 internal fixation การใส่โลหะยึดตรึงกระดูกรยางค์ภายในร่างกาย (Open Reduction Internal Fixation : ORIF) หมายถึง การผ่าตัดเพื่อจัดกระดูกที่หักให้เข้าที่ โดยใช้ วัสดุต่างๆ เช่น แผ่นเหล็ก (plate) แท่งเหล็กปลาย แหลม (pin) ลวด (wire) สกรู (screw) หรือแกนดาม กระดูก (nail) ยึดตรึงกระดูกที่หักไว้ เพื่อช่วยในการ สมานกันของกระดูก

22 ข้อบ่งชี้ของการใส่โลหะยึดตรึงกระดูกรยางค์ภายใน
1.กระดูกหักเข้าข้อ และมีการเคลื่อนของกระดูกในข้อ ร่วมด้วย 2.กรณีไม่สามารถรักษาด้วยวิธี closed reduction 3.กระดูกในสูงอายุ ที่ต้องการให้ทำกิจกรรมต่างๆ ด้วย ตนเองเร็วที่สุด 4.กระดูกหักผ่าน epiphyseal ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ในผู้ป่วยเด็ก 5.กระดูกหักเข้าข้อที่อาจมีผลทำให้ข้อยึดติดหากไม่ได้รับ การรักษา

23 ข้อบ่งชี้ของการใส่โลหะยึดตรึงกระดูกรยางค์ภายใน
6.กระดูกหักที่มีแรงดึงกล้ามเนื้อดึงให้กระดูกที่หักแยก จากกันตลอดเวลา 7.กระดูกหักบริเวณที่มีพยาธิสภาพอยู่ก่อน (Pathologic fracture) 8.กระดูกหักที่มีการบาดเจ็บของหลอดเลือด และ เส้นประสาท 9.มีภาวะกระดูกต่อไม่ติดหลังได้รับการรักษา (Nonunion)

24 ข้อดีของการใส่โลหะยึดตรึงกระดูกรยางค์ภายใน
1.เป็นวิธีการที่สามารถจัดเรียงกระดูกที่หักได้โดยตรง 2.แก้ไขสิ่งที่ขัดขวางการจัดเรียงกระดูกได้ 3.สามารถยึดตรึงกระดูกที่หักได้อย่างมั่นคง 4.ช่วยให้อวัยวะที่ได้รับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูก และข้อต่อ ใกล้เคียงการเคลื่อนไหว 5.ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น กล้ามเนื้อลีบ ข้อยึดติด แผลกดทับ เป็นต้น

25 ข้อเสียของการใส่โลหะยึดตรึงกระดูกรยางค์ภายใน
1.มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาระงับ ความรู้สึกขณะผ่าตัด 2.มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด เช่น การ สูญเสียเลือด การบาดเจ็บของหลอดเลือดและ เส้นประสาท เป็นต้น 3.มีโอกาสเกิดการติดเชื้อ 4.เสียค่าใช้จ่ายสูง 5.ผู้ป่วยต้องมารับการผ่าตัดซ้ำเมื่อกระดูกติด เพื่อเอาวัสดุที่ ดามกระดูกออก

26 การพยาบาลผู้ป่วยใส่โลหะยึดตรึงกระดูกภายใน
การพยาบาลในระยะแรกของการผ่าตัดเหมือนการพยาบาล หลังผ่าตัดทั่วไป ได้แก่ - การติดตามสัญญาณชีพอย่างต่อเนื่อง - การประเมินการสูญเสียเลือดจากการผ่าตัด

27 การพยาบาลผู้ป่วยใส่โลหะยึดตรึงกระดูกภายใน
- การลดปวดบริเวณแผลผ่าตัด pain control ประเมินระดับความเจ็บปวด โดยการใช้ Numeric rating scale - การประเมินการทำงานของระบบประสาทและการไหลเวียน โลหิต

28 การพยาบาลผู้ป่วยใส่โลหะยึดตรึงกระดูกภายใน
การพยาบาลในระยะหลังของการผ่าตัด ได้แก่ - แผลผ่าตัดติดเชื้อ - มุ่งเน้นฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโดยบริหารกล้ามเนื้อ - ฝึกใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน - การป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลกดทับ ท้องผูก เป็นต้น

29


ดาวน์โหลด ppt การพยาบาลผู้ป่วย on external and internal fixation

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google