ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยพูนศักดิ์ รักไทย ได้เปลี่ยน 8 ปีที่แล้ว
1
การขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะโดยใช้รางวัล สูงสุดระดับชาติ ตามหลักเกณฑ์ ว 13 / 2556 ดร. ชูชาติ ทรัพย์มาก ที่ปรึกษาด้านการบริหารงานบุคคลและนิติ การ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน
2
ผลงานดีเด่นที่ประสพผลสำเร็จเป็นที่ ประจักษ์ หมายถึง ผลงานดีเด่นที่เกิดจากการปฏิบัติงาน ตามหน้าที่และความรับผิดชอบซึ่งแสดงถึง 1. เป็นผู้มีความสามารถพิเศษ 2. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 3. ผลงานมีคุณภาพตามมาตรฐานวิทยฐานะ 4. เป็นแบบอย่างที่ดีให้ผู้อื่นสามารถนำไป ปฏิบัติหรือประยุกต์ใช้ได้ 5. เป็นที่ยอมรับของผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน ชุมชน สังคมและวงวิชาชีพ
3
6. ต้องเป็นผลงานที่ได้รับรางวัลสูงสุด ระดับชาติขึ้นไป หรือเป็นผลงานที่ส่วนราชการ ต้นสังกัดเห็นว่ามีคุณภาพเทียบเคียงกับผลงาน ที่ได้รับรางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไป 7. ผลงานดีเด่นนั้น ต้องส่งผลต่อการพัฒนา คุณภาพการปฏิบัติงานจนเป็นที่ประจักษ์
4
รางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไปที่ ก. ค. ศ. ให้การ รับรอง ( ตามข้อ 2.4.1) มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1. ส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปเป็นผู้ให้รางวัล หรือ มีส่วนร่วมในการกำหนดหลักเกณฑ์ในการให้รางวัล หรือเป็นรางวัลที่หน่วยงานอื่นที่ได้รับการยอมรับใน ระดับประเทศเป็นผู้ให้รางวัล 2. ส่วนราชการ / หน่วยงานที่ให้รางวัลมีการ ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 3. มีหลักเกณฑ์การให้รางวัล กระบวนการประเมิน วิธีการและตัวชี้วัดที่ชัดเจน 4. ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานจน เป็นที่ประจักษ์และมีหลักฐานชัดเจน
5
ผลงานดีเด่นที่ส่วนราชการต้นสังกัด ( สพฐ.) พิจารณาว่าเป็นผลงานที่มีคุณภาพเทียบเคียงกับ ผลงานที่ได้รับรางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไปและ ก. ค. ศ. ให้การรับรอง ( ตามข้อ 2.4.2) ต้องมี องค์ประกอบในการพิจาณาดังนี้ 1. ส่งผลต่อการการพัฒนาคุณภาพการ ปฏิบัติงานจนเป็นที่ประจักษ์และมีหลักฐาน ชัดเจน 2. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 3. เป็นที่ยอมรับของผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน ชุมชน สังคม วงวิชาการและวิชาชีพ 4. เป็นแบบอย่างที่ดีให้ผู้อื่นสามารถนำไปปฏิบัติ หรือประยุกต์ใช้ได้
6
ผลงานดีเด่นที่ประสพความสำเร็จเป็นที่ ประจักษ์ ต้องเป็นผลงานดังนี้ @ ได้รับรางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไปไม่น้อยกว่า 3 รางวัล ภายใน 3 ปี นับถึงวันที่สำนักงาน ก. ค. ศ. กำหนด (1 พฤษภาคม 2556 ถึง 30 เมษายน 2559) โดยผลงานดีเด่นต้องตรงหรือสอดคล้องกับสาขา / สาขาวิชา / กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ขอรับการประเมิน *** กรณีผลงานดีเด่นที่ ผู้ขอรับการประเมิน ได้รับรางวัลเกิน 3 ปี ต้องมี หลักฐานการ พัฒนาผลงานและใช้ ประโยชน์อย่าง ต่อเนื่อง ***
7
ข้อเสนอในการพัฒนางานที่ต่อยอดจาก ผลงานดีเด่นที่สอดคล้องกับสาขา / สาขาวิชา / กลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่ขอรับการ ประเมิน จำนวน 1 เรื่อง โดยต้องดำเนินการ ดังนี้ 1. ข้อเสนอในการพัฒนางานต้องมีองค์ประกอบ ครบ 4 ประการ ดังนี้ 1.1 ประเด็นในการพัฒนา 1.2 เป้าหมายในการพัฒนา 1.3 วิธีการพัฒนา 1.4 แนวทางการตรวจสอบและประเมินผลการ พัฒนา
8
2. อ. ก. ค. ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ต้องพิจารณาให้ ความเห็นชอบจึงจะถือว่าข้อเสนอดังกล่าวเป็น ข้อตกลงในการพัฒนางาน โดยใช้เวลา 3 เดือน นับ แต่วันที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แจ้งให้ผู้ได้รับ การคัดเลือกทราบ 3. เมื่อผู้ขอรับการประเมินพัฒนางานตาม ข้อตกลงเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อตกลง แล้ว ให้จัดทำรายงานผลการพัฒนางาน ซึ่งมี องค์ประกอบ 4 ประการ ครบถ้วน จำนวน 4 ชุด เสนอให้คณะกรรมการประเมินพิจารณาด้วย
9
4. ผลการพัฒนางานตามข้อตกลง หมายถึง ผลการพัฒนางานที่ผู้ขอรับการประเมินได้ ดำเนินการตามข้อตกลงที่ทำไว้กับ อ. ก. ค. ศ. เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการ ปฏิบัติงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบให้ดี ขึ้น จนบังเกิดผลเป็นที่ประจักษ์ ภายใน ระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อตกลง
10
รายชื่อรางวัลที่เสนอให้ ก. ค. ศ. พิจารณาเป็นรางวัล สูงสุดระดับชาติขึ้นไป สำหรับทุกสังกัดทุกสายงานจำนวน 203 รางวัล เป็น ของสังกัดสพฐ. จำนวน 162 รางวัล
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.