งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 1 ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ การเลือกใช้และการเลือกซื้อ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 1 ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ การเลือกใช้และการเลือกซื้อ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 1 ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ การเลือกใช้และการเลือกซื้อ

2 Agenda บทนำ องค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการ โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือ โปรแกรมยูทิลิตี้ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เกณฑ์ในการเลือกซอฟต์แวร์ ข้อปฏิบัติหลังการเลือกซื้อ ซอฟต์แวร์

3 บทนำ ซอฟต์แวร์ (Software) คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งนี้ที่รวบรวมคำสั่ง งานต่างๆ ที่มนุษย์ต้องการเพื่อสั่งให้เครื่อง ทำงานแทน ซึ่งโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่จะสั่ง ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานจะต้องมี รายละเอียดทุกขั้นตอนเพื่อให้เครื่องปฏิบัติตาม จนได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

4 องค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) ซอฟต์แว ร์ ซอฟต์แวร์ ระบบ ซอฟต์แวร์ ประยุกต์

5 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการทำงานที่ ใกล้ชิดกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยจะทำหน้าที่ติดต่อ ควบคุม และสั่งการให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกันให้มากที่สุด รวมถึงการ บำรุงรักษาตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีการใช้งานได้ยาวนานขึ้น อีกด้วย ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ –ระบบปฏิบัติการ (operation systems) –โปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility programs)

6 OS H/W Application S/W User

7 ระบบปฏิบัติการ (operation systems) เป็นซอฟต์แวร์ที่เอาไว้ใช้สำหรับควบคุมและ ประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ ทั้งหมด ตั้งแต่ ซีพียู หน่วยความจำ ไปจนถึงหน่วย นำเข้าและส่งออก (input/output device)

8 ประเภทของระบบปฏิบัติการ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1.ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand - alone OS) 2.ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS) 3.ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS)

9 ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand - alone OS) ระบบปฏิบัติการที่ให้บริการสำหรับผู้ใช้เพียงคน เดียว นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและ ทำงานแบบทั่วไป รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์รายงาน ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมต่อ เข้ากับอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันพัฒนาให้มีคุณสมบัติที่เป็นเครื่องลูก ข่ายเพื่อขอรับบริการจากเครื่องแม่ข่ายได้ด้วย

10 ตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand-Alone OS)

11 ระบบปฏิบัติการดอส (Disk Operating System :DOS) ใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ทำงานโดยใช้การป้อนชุดคำสั่งที่เรียกว่า Command-Line PC-DOS  MS-DOS

12 ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ (Microsoft Windows) ระบบการใช้งานที่เรียกว่า GUI (Graphical User Interface) ระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมสูงมากในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไป ผลิตโดยบริษัทไมโครซอฟท์

13 ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) ระบบปฏิบัติการใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้ หลายงานพร้อมกัน และทำงานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ยูนิกซ์เชื่อมโยงและต่อกับเครื่องปลายทางได้หลายเครื่อง พร้อมกัน

14 ระบบปฏิบัติการ Mac OS X (Macintosh Operating System) ระบบปฏิบัติการของเครื่องแมคอินทอช ที่ผลิตโดยบริษัท Apple ผลิตภัณฑ์แรกที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการทำงานแบบ GUI โดยเวอร์ชัน ล่าสุดมีชื่อเรียกว่า Mac OS X มีความสามารถในการทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน (Multitasking) เหมาะกับ งานในด้านประเภทสิ่งพิมพ์ กราฟิก และศิลปะเป็นหลัก

15 ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (LINUX) ระบบปฏิบัติการที่คล้ายกับ UNIX แต่มีขนาดเล็กกว่าและทำงานเร็วกว่า พัฒนาขึ้นมาเพื่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล LINUX พัฒนาขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายให้ใช้ฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ต่อมาผู้พัฒนาส่วนประกอบอื่น ๆ ของ LINUX เพื่อเพิ่ม ความสามารถในการ ทำงานทางด้านเครือข่าย และผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่าย Version Thai คือ LINUX TLE

16 ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS) ระบบปฏิบัติการที่ออกแบบเพื่อจัดการงานด้าน การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และการใช้ ทรัพยากรร่วมกันได้ มีระบบป้องกันการสูญหายของข้อมูล

17 ตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS)

18 Windows Server ใช้งานกับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ รุ่นแรกออกมาในชื่อ Windows NT  Windows 2000  Windows Server 2003 รองรับการใช้งานในระดับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง ส่วนใหญ่ เหมาะกับการติดตั้งและใช้งานกับเครื่องประเภทแม่ข่าย (server)

19 OS/2 Warp Server ระบบปฏิบัติการเครือข่าย พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็มเพื่อใช้เป็นระบบที่ควบคุม เครื่องแม่ข่าย หรือ Server เช่นเดียวกัน แต่ เลิกพัฒนาต่อไปแล้ว

20 Solaris ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่อยู่ในตระกูลเดียวกับระบบปฏิบัติการ Unix (Unix Compatible) พัฒนาโดยบริษัท Sun Microsystems เป็นระบบปฏิบัติการ เครือข่าย สำหรับงานด้านโปรแกรม E–commerce และสามารถรองรับการ ทำงานแบบเครือข่ายได้เช่นเดียวกันกับระบบอื่นๆ

21 ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS) ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ พกพาขนาดเล็ก (อุปกรณ์ไร้สาย) บางระบบมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับ ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวด้วย เช่น รองรับ กับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลง หรือ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้

22 Palm OS ระบบปฏิบัติการยุคแรกๆ ที่ใช้กับเครื่อง Palm (ผลิตขึ้น โดยบริษัทปาล์ม) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา

23 Pocket PC OS (Windows CE เดิม) ระบบปฏิบัติการที่ย่อขนาดการทำงานของ Windows ให้มีขนาดที่เล็ก กะทัดรัดต่อการใช้งานมากขึ้น สามารถรองรับการทำงานแบบ multi-tasking

24 Symbian OS ระบบปฏิบัติการที่รองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบ ไร้สาย (wireless) โดยเฉพาะอย่าง Smart phone สนับสนุนการทำงานแบบหลายๆ งานในเวลา เดียวกันอีกด้วย (multi-tasking)

25 โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือโปรแกรมยูทิลิตี้ เป็นโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ช่วยสนับสนุน/ เพิ่ม/ขยายขีดความสามารถของโปรแกรมที่ใช้ งานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ยูทิลิตี้สำหรับระบบปฏิบัติการ (OS Utility Programs) ยูทิลิตี้อื่นๆ (Stand-alone utility Programs)

26 ตัวอย่างยูทิลิตี้สำหรับ ระบบปฏิบัติการ

27 ประเภทการจัดการไฟล์ (File Manager) ยูทิลิตี้ที่มีหน้าที่หลักในการจัดการเกี่ยวกับไฟล์ต่างๆ ระบบปฏิบัติการ Windows รุ่นใหม่ๆยังได้เพิ่ม คุณสมบัติที่เรียกว่า image viewer คัดลอกแฟ้มข้อมูล เปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล ลบแฟ้มข้อมูล หรือ เรียกใช้งานโปรแกรม ต่างๆ ได้อย่างสะดวก

28 ประเภทการลบทิ้งโปรแกรม (Uninstaller) โปรแกรมอรรถประโยชน์ที่ใช้ในการยกเลิกโปรแกรมที่ทำ การติดตั้งไว้ในระบบ

29 ประเภทสแกนดิสก์ (Disk Scanner) เครื่องมือตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ ผู้ใช้สามารถกำหนดให้เครื่องมือตรวจสอบดิสก์นี้ทำการ ซ่อมส่วนที่เสียหายได้

30 ประเภทจัดเรียงพื้นที่เก็บข้อมูล (Disk Defragmenter) ดิสก์เมื่อมีการเรียกใช้งานอยู่บ่อยๆ จะทำให้เกิดการกระจัดกระจาย ของไฟล์ข้อมูลอย่างไม่เป็นระเบียบ  ดึงข้อมูลนั้นๆช้าลง ทำหน้าที่จัดเรียงไฟล์ต่างๆให้เป็นระเบียบมากขึ้น ช่วยในการเข้าถึง ข้อมูลให้ง่ายและเร็วกว่าเดิม

31 ประเภทรักษาหน้าจอ (Screen Saver) โปรแกรมที่ช่วยป้องกันปัญหา อันเนื่องมาจากการที่ เราเปิดจอภาพของคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้นานๆ โดยไม่ มีการเคลื่อนไหวใดๆ  อายุการใช้งานของหน้า จอคอมพิวเตอร์สั้นลงตามไปด้วย

32 ตัวอย่างยูทิลิตี้อื่นๆ (Stand-alone utility Programs)

33 โปรแกรมป้องกันไวรัส (Anti virus Program) โปรแกรมที่ใช้ป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จึงต้องอัพเดทข้อมูลเพื่อให้โปรแกรมสามารถ ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ตลอดเวลา

34 โปรแกรมไฟร์วอลล์ (Firewall) โปรแกรมที่จะช่วยป้องกันบุคคลภายนอกบุกรุกเข้ามาในระบบของเรา ทั้ง จากอินเตอร์เน็ต หรือจาก network อื่นๆ เรียกว่า personal firewall เนื่องจากใช้เฉพาะส่วนตัวบนเครื่องเดียว เช่น โปรแกรม Norton Internet Security ซึ่งเป็นชุดซอฟต์แวร์ เพื่อความ ปลอดภัย ที่รวมโปรแกรม firewall, cookie blocking, virus scanning และ Web control ไว้ด้วย

35 โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (File Compression Utility) โปรแกรมที่ทำหน้าที่บีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็กลง/ซิปไฟล์ (zip file) ยูทิลิตี้ที่นิยมใช้และรู้จักกันเป็นอย่างดีเช่น Winzip, Winrar เป็นต้น Windows XP เองก็มีความสามารถในการบีบอัดไฟล์ ระดับหนึ่งอยู่ แล้ว เรียกว่าเป็น Compressed Folder นั่นเอง

36 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อ การทำงานเฉพาะอย่างที่เรา ต้องการ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ซึ่งเขียน โดยบริษัทซอฟต์แวร์เฮาส์สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สามารถจัดเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 6 ประเภทคือ ซอฟต์แวร์จัดระบบฐานข้อมูล (Database Management Software) ซอฟต์แวร์การคำนวณ (Calculation Software) ซอฟต์แวร์จัดพิมพ์รายงาน (Word Processing Software) ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกส์และมัลติมีเดีย (Graphics and Multimedia Software) ซอฟต์แวร์การใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร (Web and Comunications) ซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจ (Business Software)

37 ซอฟต์แวร์จัดระบบฐานข้อมูล (Database Management Software) การรวบรวมข้อมูลหลายๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันใน คอมพิวเตอร์ ซึ่งเราเรียกว่า ฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้ งาน การทำงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น Dbase, Paradox, Foxbase

38 คีย์หลัก (Primary Key) ฟิลด์ (Field) เรคคอร์ด (Record)

39 ฟอร์มควรออกแบบให้ง่ายต่อการอ่านและใช้ ตัวอย่างแบบฟอร์มนี้จะง่ายต่อการใส่ข้อมูลเข้า และเรียกดู

40 Microsoft Access

41 ซอฟต์แวร์จัดพิมพ์รายงาน (Word Processing Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบ เอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็น แฟ้มข้อมูล ซอฟต์แวร์ประมวลที่นิยมในปัจจุบัน เช่น Microsoft Word, PageMaker,CorelDraw, Office Pradoaw เป็นต้น

42 Microsoft Word

43 ซอฟต์แวร์การคำนวณ (Calculation Software) ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ ทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มี เครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่อง คำนวณเตรียามไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้ คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Excel

44 Microsoft Excel การนำเสนอข้อมูล ในรูปแบบแถวและ คอลัมน์ การนำเสนอข้อมูล ในรูปแบบกราฟ

45 ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกส์และมัลติมีเดีย (Graphics and Multimedia Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อ ช่วยสำหรับจัดการทำงานทางด้าน กราฟิกและมัลติมีเดียให้เป็นไปได้ง่าย แบ่งกลุ่มย่อยลงไปได้อีกดังตาราง

46 ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกส์และมัลติมีเดีย (Graphics and Multimedia Software) ลักษณะโปรแกรมตัวอย่างโปรแกรม งานออกแบบ(Computer Aided Design-CAD) Autodesk AutoCAD และ Microsoft Visio Professional งานสิ่งพิมพ์ (Desktop Publishing) Adobe InDesign Adobe PageMaker Corel VENTURA Quark Xpress ตกแต่งภาพ (Paint/Image Editing) Adobe IIlustrator Adobe Photoshop CorelDRAW Macromedia FreeHand

47 ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกส์และมัลติมีเดีย (Graphics and Multimedia Software) ลักษณะโปรแกรมตัวอย่างโปรแกรม ตัดต่อวิดีโอและเสียง(Video and Audio Editing) Adobe Premiere Cakewalk SONAR Prinnacle Studio DV สร้างสื่อมัลติมีเดีย(Multimedia Authoring) Toolbook Istructor Macromedia Authorware Macromedia Director Shockwave Studio สร้างเว็บ (Web Page Authoring) Adobe Golive Macromedia Dreamweaver Macromedia Fireworks Macromedia Flash Microsoft FrontPage

48 Microsoft Visio Professional Autodesk AutoCAD

49 ซอฟต์แวร์การใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร (Web and Comunications) ซอฟต์แวร์การใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร (Web and Comunications) การพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้งานเฉพาะอย่างใน อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น โปรแกรมสำหรับการตรวจเช็คอีเมล์ การท่องเว็บไซต์ การจัดการและดูแลเว็บ การส่งข้อความติดต่อสื่อสาร การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย

50 ซอฟต์แวร์การใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร (Web and Comunications) ซอฟต์แวร์การใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร (Web and Comunications) ลักษณะโปรแกรมตัวอย่างโปรแกรม จัดการอีเมล์ (Electronic Mail)Microsoft Outlook,Outlook Express Mozzili Thundebird ท่องเว็บ (Web Browser)Microsoft Internet Explorer Mozzila Firefox,Opera ประชุมทางไกล(VideoConference)Microsoft Netmeeting ถ่ายโอนไฟล์ (File Transfer)Cute_FTP, WS_FTP ส่งข้อความ (Instant Messaging) MSN Messenger/Windows Messenger,ICQ สนทนาบนอินเทอร์เน็ตPIRCH MIRC

51

52 ซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจ (Business Software) ซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจ (Business Software) การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจมักจะ เน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรง กับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้  การพัฒนา ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจ มักจะเป็นซอฟต์แวร์ที่ ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความ ต้องการของธุรกิจนั้นๆ แล้วจัดทำขึ้น ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงาน สินค้าคงคลัง ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริหาร การเงิน เป็นต้น

53

54 แบบฝึกหัด ให้นักศึกษาระบุชื่อซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ยูทิลิตี้ สำหรับเครื่องพีซีของนักศึกษาว่าควรใช้ซอฟต์แวร์อะไรบ้าง และทำไมถึงเลือกใช้ซอฟต์แวร์นั้น

55 การจัดหาซอฟต์แวร์มาใช้ งาน 1. แบบสำเร็จรูป (Packaged หรือ Ready-made Software) 2. แบบว่าจ้างทำ (Customized หรือ Tailor-made Software) 3. แบบทดลองใช้ (Shareware) 4. แบบใช้งานฟรี (Freeware) 5. แบบโอเพ่นซอร์ส (Public-Domain/Open Source)

56 เกณฑ์ในการเลือกซอฟต์แวร์ 1.กำหนดงานที่เราจะนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ เขียน เหตุผลคร่าวๆ และก็เริ่มศึกษารายละเอียด 2.รู้จักระบบคอมพิวเตอร์ของเราเอง ว่าซอฟต์แวร์ที่ซื้อ มานั้น ต้องทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ของเราได้ เช่น ระบบหน่วยปฏิบัติการแบบใด หน่วยประมวลผลกลางรุ่นใด ความเร็วเท่าไหร่ การ์ดแสดงผลรุ่นใด มีหน่วยความจำเท่าไหร่ หน่วยความจำขนาดเท่าไหร่ ความจุของฮาร์ดไดร์ฟ เครื่องพิมพ์รุ่นใด ระบบมัลติมีเดีย

57 เกณฑ์ในการเลือกซอฟต์แวร์ (ต่อ) 3.ลองใช้ซอฟต์แวร์ อย่างน้อย 15 นาที โดยทดลองใช้ใน แง่มุมต่างๆ ใช้งานง่ายหรือไม่ ระบบความช่วยเหลือมีหรือไม่ คู่มือมีหรือไม่ อ่านง่ายหรือไม่ มีบริการให้คำปรึกษาทางเทคนิคหลังการขายหรือไม่ 4.เลือกเปรียบเทียบ เลือกซอฟต์แวร์ที่มีราคาเหมาะสมที่สุด เปิดโอกาสให้คืนซอฟต์แวร์ที่ซื้อไปไม่น้อยกว่า 30 วัน 5.การเลือกซื้อซอฟต์แวร์ ต้องใช้เวลาทำความคุ้นเคยราว 1 สัปดาห์ก่อนเริ่มทำงานได้ ฉะนั้นควรนำซอฟต์แวร์ มาใช้ เพื่อความคุ้นเคยเสียก่อนแล้วค่อยเลือกใช้ซอฟต์แวร์ตัว ต่อไปมาใช้งาน

58 ข้อปฏิบัติหลังการเลือกซื้อ ซอฟต์แวร์ 1.ตรวจสอบราคาและค่าบริการต่าง ๆ โดยดูในรายการ ใบส่งของ และใบเสร็จรับเงิน อย่างถูกต้อง 2.เมื่อซื้อแล้ว บริการที่ได้รับหลังจากการซื้อได้แก่ อะไรบ้าง เช่น บริการหลังการขายชนิดเต็มรูปแบบ หรือชนิดจำกัด 3.ในระยะประกัน(Warranty Period) นั้น เมื่อเกิด ปัญหาขึ้น ผู้ซื้อได้รู้อย่างแน่นอนว่าจะต้องแจ้งปัญหา ไปที่แผนกใด หรือผู้ใด และจะสามารถได้รับความ ช่วยเหลือหรือได้รับบริการอย่าง รวดเร็วเพียงใด


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 1 ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ การเลือกใช้และการเลือกซื้อ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google