ไลโปโปรตีน ในเลือด แบ่งออกเป็น 5 ชนิดดังนี้ ไคโลไมครอน (Chylomicron) ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำมาก (Very love density lipoprotein : VLDL ) ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นปานกลาง (Intermediate density lipoprotine : IDL) ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ (Low density lipoprotine : LDL) ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูง (High density lipoprotine : HDL )
ไคโลไมครอน (Chylomicron) จะสร้างที่ลำไส้เล็ก ทำหน้าที่ขนส่งอาหารไขมันที่รับประทาน แล้วนำโคเลสเตอรอลบางส่วนไปเก็บไว้ที่ตับ และนำไตรกลีเซอไรด์ไปไว้ที่เนื้อเยื่อไขมัน การมีระดับไคโลไมครอนสูง (Hyperchyromicronemia) เกิดจากการรับประทานอาหารไขมันสูง และระดับของไคโลไมครอนจะสูงภายใน 3-4 ชม. ภายหลังรับประทานอาหารไขมัน และจะหมดไปใน 12-14 ชม. ถ้าบุคคลใดรับประทานอาหารที่มีไขมันเกิดความสามารถของร่างกาบในการเผาผลาญไตรกลีเซอไรด์เป็นพลังงานให้หมด ร่างกายจะสะสมทำให้เกิดโรคอ้วน Back
ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำมาก (Very love density lipoprotein : VLDL ) เป็นการสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์จากเนื้อเยื่อไขมันที่เก็บสะสมไว้ โดยสังเคราะห์จากตับ แต่สามารถสังเคราะห์จากลำไส้เล็กได้ ทั้งนี้จะคล้ายกับไคโลไมครอนคือสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์ และนำไตรกลีเซอไรด์ไปเผาผลาญเป็นพลังงาน Back
ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นปานกลาง (Intermediate density lipoprotine : IDL) เมื่อไตรกลีเซอไรด์ ใน VLDL และไคโลไมครอนนำไปใช้เป็นพลังงานแล้ว อนุภาคของ VLDL จะเล็กลงเรียกว่า IDL โดยมีสัดส่วนของไตรกลีเซอไรด์ และโคเลสเตอรอลใกล้เคียง ทั้งนี้ IDL จะเป็นสารตั้งต้น (Precursor) ของไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ (Low density lipoprotine : LDL) Back
ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ (Low density lipoprotine : LDL) ไตรกลีเซอไรด์ใน IDL นำไปใช้เป็นพลังงาน ทำให้อนุภาคของ IDL เล็กลง เรียกว่า LDL ซึ่งเป็นโคเลสเตอรอลมากกว่าไตรกลีเซอไรด์ และฟอสโฟไลพิด ทำหน้าที่ช่วยขนถ่ายโคเลสเตอรอล สองในสามของ IDL จะจับกับตัวรับ (LDL receptors) ที่เนื้อเยื่อส่วนปลาย (peripheral tissue) หรือที่ตับ เพื่อขับ LDL ออกจากระบบไหลเวียนถ้าจำนวนหรือหน้าที่ของตัวรับลดลง เช่น โคเลสเตอรอล กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) หรือได้รับพลังงานสูงจำทำให้มีการคั่งของ LDL ทำให้โคเลสเตอรอลถูกสะสมไว้ที่ด้านในของผนังหลอดเลือด(arterial intima) ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ดังนั้นการมี LDL สูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ Back
ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูง (High density lipoprotine : HDL ) เป็นไลโปโปรตีนที่เล็กที่สุด แต่มีความสำคัญที่สุด ถูกสร้างจากตับ ลำไส้เล็ก และแตกตัวจากไคโลไมครอนและ VLDL หลังจากไตรกลีเซอไรด์ถูกแยกออกไป HDL ยังมีหน้าที่สำคัญคือการขนส่งโคเลสเตอรอลจากผนังด้านในของหลอดเลือดแดงสู่ตับ ซึ่งทำให้มีบทบาทในการป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ไลโปโปรตีนที่ทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งมากที่สุดได้แก่ LDL รองลงมาได้แก่ IDL และ VLDL แต่ HDL จะช่วยป้องกันภาวะหลอดเลือดแข็ง ดังนั้นถ้า LDL ; IDL หรือโคเลสเตอรอลสูงและมี HDL ต่ำจึงเป็นผลให้บุคคลมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ Back