ข้อเปรียบเทียบ สำหรับข้าราชการ การกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญ ตามพรบ.บำเหน็จบำนาญพ.ศ.2494 (UNDO) สำหรับข้าราชการ
1.การสูตรการคำนวณบำนาญ ความแตกต่างของ 2 พรบ. 1.การสูตรการคำนวณบำนาญ สูตรบำนาญ 2494= เงินเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ 50 (ต้องไม่เกินเงินเดือนสุดท้าย) สูตรบำนาญ 2539= เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน x เวลาราชการ ต้องไม่เกิน 70% เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน สูตรบำเหน็จ 2494= เงินเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ (ถ้าเวลาราชการน้อยกว่า 6 เดือนปัดทิ้ง มากกว่า 6 เดือนปัดขึ้น) สูตรบำเหน็จ 2539= (คิดเวลาราชการตามปีตามเดือนและวันที่ทำงาน)
ความแตกต่างของ 2 พรบ. 2.การลดหย่อนภาษี พรบ.บำเหน็จบำนาญ 2494 ไม่มียอดเงินกบข.ส่วนสะสมสำหรับลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปี พรบ.กองทุนบำเหน็จบำนาญ 2539 มียอดเงินกบข.ส่วนสะสมสำหรับลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปี (แต่ข้าราชการเลือกเป็นกบข.แบบไม่สะสม จะไม่มียอดเงินกบข.ส่วนสะสมลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปีเช่นเดียวกับพรบ.บำเหน็จบำนาญ 2494)
ความแตกต่างของ 2 พรบ. 3.การสะสมเงิน พรบ.บำเหน็จบำนาญ 2494 ข้าราชการสามารถ -เลือกเก็บสะสมเงินและเลือกลงทุนหาผลประโยชน์ได้ด้วยตัวเอง -หรือไม่เก็บสะสมเงินเลยก็ได้ พรบ.กองทุนบำเหน็จบำนาญ 2539 ข้าราชการต้องถูกหักเงินสะสมจากเงินเดือนอัตรา 3%ทุกเดือนและรัฐจ่ายเงินสมทบ 3 %เงินชดเชย 2%โดยกบข.จะเป็นผู้ช่วยเก็บสะสมเงินและเลือกลงทุนหาผลประโยชน์ให้ (ถ้าข้าราชการเป็นสมาชิกกบข.โดยไม่หักเงินสะสมจะได้จากรัฐเพียง 2 %)
ความแตกต่างของ 2 พรบ. พรบ.บำเหน็จบำนาญ 2494 4.เมื่อมีการเลือกกลับไปใช้พรบ.บำเหน็จบำนาญ2494ขณะรับราชการ พรบ.บำเหน็จบำนาญ 2494 ข้าราชการจะได้รับเงินคืนดังนี้ 1.เงินสะสม 3% 2.เงินสะสมส่วนเพิ่ม(1-12%) สำหรับข้าราชการที่เลือกออมเพิ่มกับกบข. 3.เงินผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสะสมส่วนเพิ่ม พรบ.กองทุนบำเหน็จบำนาญ 2539 ข้าราชการยังไม่ได้รับเงินคืน เงินทั้งหมดยังฝากไว้ที่กบข.ได้แก่ 1.เงินประเดิม 2.เงินชดเชย 2% 3.เงินสะสม 3% 4.เงินสมทบ 3% 5.เงินสะสมส่วนเพิ่ม1-12% 6.เงินผลประโยชน์ของทั้ง 5 เงิน
ความแตกต่างของ 2 พรบ. 5.เมื่อข้าราชการเกษียณอายุหรือลาออกและเลือกรับบำนาญ เมื่อเสียชีวิตจะได้รับเงินบำเหน็จตกทอด=เงินบำนาญ x 30 เท่า พรบ.บำเหน็จบำนาญ 2494 จะได้เงินบำเหน็จตกทอด มากกว่าพรบ.กองทุนบำเหน็จบำนาญ2539 เพราะเงินบำนาญได้มากกว่าเนื่องจากเงินเดือนที่นำมาคำนวณเป็นเงินเดือนเดือนสุดท้าย พรบ.กองทุนบำเหน็จบำนาญ 2539 จะได้เงินบำเหน็จตกทอดน้อยกว่า พรบ.บำเหน็จบำนาญ2494เพราะเงินบำนาญได้น้อยกว่าเนื่องจากเงินเดือนที่นำมาคำนวณบำนาญเป็นเงินเดือนเฉลี่ย60เดือน และไม่เกิน 70 %ของเงินเดือนเฉลี่ย60เดือน
เงื่อนไขการใช้สิทธิUNDO ข้าราชการที่เป็นกบข.สมัครใจ แสดงความประสงค์ได้ ตั้งแต่กฎหมายใช้บังคับถึงวันที่ 30 มิ.ย.2558
ข้อมูลที่ต้องนำมาใช้การในการตัดสินใจ UNDO สำหรับข้าราชการ 1.ยอดเงินกบข.ที่ได้รับ ดูจากเว็บไซต์ กบข. คลิกที่นี่ 2.ยอดเงินต่างระหว่างเงินบำนาญพรบ. 2494 กับ เงินบำนาญกบข. 3.สุขภาพของตนเอง 4.ภาวะเงินเฟ้อ/มูลค่าเงินปัจจุบันสุทธิ(Net Present Value)/ มูลค่าของเงินตามกาลเวลา