โภชนาการ สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ โดย นางสาว ลักษณ์กมล ปราบกรี สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
โรคเก๊าท์คืออะไร โรคข้ออักเสบ เกิดจากความผิดปกติของ metabolism ของกรดยูริคในร่างกาย ทำให้กรดยูริคในเลือดสูงขึ้น แล้วเกิดการตกผลึกเกลือยูเรทไปสะสมตามเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะข้อ และไต จะทำให้เกิดนิ่วในไต หรือไตวายเรื้อรัง
สาเหตุของโรคเก๊าท์ ภาวะที่มีการสร้างกรดยูริคสูง (กรดยูริคในเลือดสูงเกิดจากการเผาผลาญสารพิวรีนในร่างกาย แล้วได้กรดยูริคออกมา) 1.1 การรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง 1.2 เกิดจากการสลายตัวของเซลล์ในอวัยวะต่างๆ เช่น เซลล์มีการทำงานมากขึ้น 2. การขับกรดยูริคออกจากร่างกายลดลง 2.1 1/3 ของปริมาณกรดยูริค จะขับออกทางระบบทางเดินอาหาร 2.2 2/3 ของปริมาณกรดยูริค จะขับออกทางไต
การกำหนดอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น สุรา, เบียร์ และไวน์ เลิกดื่มโดยเด็ดขาด - ยีสต์ที่ใช้ในการหมักเบียร์มีสารพิวรีนสูง - จะทำให้เกิดกรดแลคติคในเลือดสูงขึ้น ซึ่งจะไปแย่งการขับdรดยูริคออกทางไต - ถ้าดื่มเป็นประจำจะกระตุ้นตับให้สร้างกรดยูริคมากขึ้น
การกำหนดอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิวรีนสูง อาหารที่มีสารพิวรีนมากที่สุด (>150 mg ต่อ อาหาร 100 g) เครื่องในสัตว์ กะปิ, น้ำพริก ปลาซาร์ดีน น้ำสกัดจากเนื้อ, น้ำเคี่ยวเนื้อ (บักกุ๊ตเต๋) ปลาแอนโชวี่ ซุปก้อน ปลากระตัก เนื้อไก่, เป็ด, นก (โดยเฉพาะตามข้อ และมีหนัง) ปลาดุก ยีสต์ ปลาขนาดเล็ก ยอดผักต่างๆ, หน่อไม้ฝรั่ง และหน่อไม้ทุกชนิด ไข่ปลา ใบขี้เหล็ก
การกำหนดอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิวรีนสูง อาหารที่มีสารพิวรีนมาก (50-150 mg ต่อ อาหาร 100 g) เนื้อหมู, เนื้อวัว (1-2 ส่วนต่อวัน) เนื้อปลาทุกชนิด (1-2 ส่วนต่อวัน) เนื้อสัตว์ทะเล เช่น ปลาหมึก, กุ้ง, ปู และหอย เมล็ดถั่วแห้ง (ถั่วเหลือง, ถั่วดำ, ถั่วแดง, ถั่วเขียว, ถั่วลิสง), ถั่วลันเตา ข้าวโอ๊ต, ข้าวสาลี ไม่สีเอารำออก, ข้าวซ้อมมือ หรือข้าวที่ไม่ขัดขาว ผักชะอม, ผักโขม, กระถิน, สะตอ, กะหล่ำดอก, เห็ด
การกำหนดอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิวรีนสูง อาหารที่มีสารพิวรีนน้อย (0-50 mg ต่อ อาหาร 100 g) รับประทานได้ นม และผลิตภัณฑ์จากนม (recommended low fat/ free fat milk and products) ไข่เป็ด, ไข่ไก่ น้ำมันที่ใช้ประกอบอาหาร ข้าวขาว, ธัญพืชที่ขัดเอาเปลือกออก เส้นก๋วยเตี๋ยว, วุ้นเส้น ผัก (ยกเว้นที่มีสารพิวรีนมากและยอดผัก) เกาลัด, เมล็ดมะม่วงหิมพานต์
การกำหนดอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ พลังงาน ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่อ้วน และไม่มีอาการของโรคเก๊าท์กำเริบ ควรได้รับพลังงานตามปกติ ในกรณีที่ผู้ป่วยอ้วนก็ควรจะควบคุมอาหารเพื่อให้น้ำหนักลด เพราะความอ้วนทำให้อาการโรคเก๊าท์กำเริบขึ้นได้
การกำหนดอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ 4. โปรตีน ควรได้รับตามปกติ 0.8-1.0 กรัม/ 1 kg น้ำหนักตัว/ วัน หลีกเลี่ยงโปรตีนที่มีสารพิวรีนมาก 5. ไขมัน ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก เพราะจะทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้นได้ ซึ่งส่งผลต่อการขับถ่ายกรดยูริคได้ลดลง
การกำหนดอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ คาร์โบไฮเดรต ควรได้รับให้พอเพียงจากข้าว แป้ง และผลไม้ ส่วนน้ำตาลโดยเฉพาะที่มีฟรุกโตสเป็นองค์ประกอบ ไม่ควรกินมาก เพราะจะทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้น
การกำหนดอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ งดอาหารที่ให้พลังงานมาก ขนมหวานต่างๆ เครื่องดื่มที่มีรสหวานจากน้ำตาล และฟรุกโตสคอร์นไซรัป อาหารที่มีไขมันมาก เช่น อาหารทอด 8. ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยขับกรดยูริค
Questions & Answers
Thank you very much for Your attention