โรคเบาหวาน เบาหวาน คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่ตับอ่อนปล่อยฮอร์โมนที่เรียกว่า “อินซูลิน” ออกมาไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ประเภทเบาหวาน เบาหวานสามารถพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เบาหวานที่สำคัญแบ่งเป็น 2 ชนิด .ชนิดพึ่งอินซูลิน มักเกิดในคนที่มีอายุน้อย ผอม ซึ่งคนเหล่านี้ไม่สามารถผลิตอินซูลินเองได้ หรือได้แต่ได้น้อย อาการแรกพบมักรุนแรงและต้องใช้อินซูลินช่วย .ชนิดไม่พึ่งอินซูลิน มักเกิดในคนอายุมากกว่า 40 ปี อ้วน คนเหล่านี้ตับอ่อนยังสามารถผลิตอินซูลินได้บ้างหรือปกติ อาการมักไม่รุนแรงอาจใช้การควบคุมอาหารเพียงอย่างเดียวไม่จำเป็นต้องใช้อินซูลิน
ประเภทเบาหวาน เบาหวานสามารถพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เบาหวานที่สำคัญแบ่งเป็น 2 ชนิด .ชนิดพึ่งอินซูลิน มักเกิดในคนที่มีอายุน้อย ผอม ซึ่งคนเหล่านี้ไม่สามารถผลิตอินซูลินเองได้ หรือได้แต่ได้น้อย อาการแรกพบมักรุนแรงและต้องใช้อินซูลินช่วย .ชนิดไม่พึ่งอินซูลิน มักเกิดในคนอายุมากกว่า 40 ปี อ้วน คนเหล่านี้ตับอ่อนยังสามารถผลิตอินซูลินได้บ้างหรือปกติ อาการมักไม่รุนแรงอาจใช้การควบคุมอาหารเพียงอย่างเดียวไม่จำเป็นต้องใช้อินซูลิน
เกณฑ์การวินิจฉัย .ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหารเช้าโดยงดอาหารทุกชนิดหลังเที่ยงคืนนอกจากน้ำถ้าค่าน้ำตาลในเลือดมากกว่า 40mg/dl .ตรวจพบน้ำตาลในเลือดไม่ว่าเวลาใดมากกว่า 200mg/dl เพียงครั้งเดียวร่วมกับมีอาการกินจุ กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลด
อาการ อาการของโรคเบาหวานคือ ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำมาก รับประทานอาหารมากจะมีอากานอ่อนเพลียซึม ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ขา ตามปลายมือ ปลายเท้าคันตามผิวหนังและบริเวณอวัยวะเพศ ความรู้สึกทางเพศลดลงหรือหมดไป ตามัวพร่า
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานมักจะเกิดเมื่อเป็นเบาหวานมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเมื่อควบคุมเบาหวานไม่ได้ ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ไม่ดีทำให้เกิดอาการเสื่อมตามมา เช่น .โรคแทรกซ้อนทางตา ตาบอดจากเส้นเลือดของจอรับภาพตาโป่งพองมีเส้นเลือดแตกต้อกระจก
.โรคแทรกซ้อนทางไตทำให้ไตวาย ระบบประสาท ทำให้ปลายมือปลายเท้าชา ตามองเห็นภาพซ้อน ทานอาหารได้น้อย .หัวใจและหลอดเลือดแดงทำให้เส้นเลือดตีบแข็ง ความดันโลหิตสูง
หลักการปฏิบัติของผู้ป่วยเบาหวาน อาหาร ต้องรับประทานอาหารให้เป็นเวลา ไม่สูบบุหรี่ งดเว้นเครื่องดื่มที่มี alcohol และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจากน้ำตาล เช่นน้ำหวาน น้ำอัดลม ขนมหวาน รวมถึงผลไม้ที่มีรสหวานๆ
ยา ต้องรับประทานยาหรือฉีดยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด หากมีอาการผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์ อย่าปรับขนาดของยาเอง ชนิดและขนาดยาจะไม่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยในแต่ละคนไม่ควรเปลี่ยนยาหรือเพิ่มขนาดยาเองตามคำบอกเล่าของผู้อื่น
.การออกกำลังกาย ควรออกำลังกายอย่างสม่ำเสมอพอเหมาะกับสภาพของร่างกาย .การออกกำลังกาย ควรออกำลังกายอย่างสม่ำเสมอพอเหมาะกับสภาพของร่างกาย
รักษาความสะอาดของร่างกาย เช่น สุขภาพฟัน เท้า และบริเวณอับชื้น อย่างสม่ำเสมอ
หมั่นตรวจสุขภาพ และตรวจเลือดหาระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดอย่างสม่ำเสมอผู้ป่วยเบาหวานอาจมีระดับน้ำตาลขึ้นลงได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง คือ อาหาร ยา และการออกกำลังกาย