โภชนาการโรคถุงลมโป่งพองเรื้อรัง Chronic obstructive pulmonary disease, COPD
โรคถุงลมโป่งพองเรื้อรัง เป็นโรคที่เกิดจากทางเดินระบบหายใจอุดกั้นร่วมกับอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรัง การดำเนินการของโรคอาจเป็นไปอย่างช้าๆ ผู้ป่วยต้องใช้พลังงานในการหายใจมากกว่าคนปกติถึง 10 เท่า การเลือกชนิดและปริมาณของอาหารจะมีผลต่อการทำงานของปอด
หลักการให้โภชนบำบัดผู้ป่วยถุงลมโป่งพองเรื้อรัง 1.อาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น ซุปตุ๋นใส่นม หรือเนื้อสัตว์ 2.อาหารควรมีลักษณะที่ไม่ต้องเคี้ยวมากและกลืนง่าย ผู้ป่วยจะได้ไม่เหนื่อยกับการกิน 3.อาหารประเภทโปรตีนเลือก ปลา ไข่ นม เต้าหู้ (ต้มให้เปื่อย) 4. ผลไม้เลือกชนิดที่เคี้ยวง่าย นุ่มๆ สุกๆ 5.เลือกชนิดไขมันลดไขมันอิ่มตัว 6.จัดอาหารให้ปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยขึ้น เช่น วันละ 6 มื้อ จะช่วยลดปริมาณก๊าซออกซิเจน ที่ร่างกายต้องการในการเคี้ยวอาหารและย่อย 7.เลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม โซเดียมน้อย เพื่อลดอาการบวม 8.กรณีผู้ป่วยมีอาการบวม ให้ดื่มน้ำ 6-8 แก้ว/วัน เพื่อลดเสมหะ
9. กระตุ้นให้ผู้ป่วยรับทานอาหารในช่วงที่มีอาการทุเลาลง งดเฉพาะมื้อเช้า กินคำเล็กๆ เคี้ยวช้าๆ ไม่อ้าปาก 10. ลดอาหารที่ทำให้ท้องอืด หรือก๊าซมาก 11. กรณีท้องผูก ให้ได้รับของเหลวในรูป น้ำผลไม้คั้น เช่น น้ำส้ม น้ำลูกพรุน 12. กรณีผู้ป่วยมีปัญหาด้านการกลืน หรือได้รับสารอาหารและพลังงานไม่เพียงพอให้ใช้อาหารทางการแพทย์ เพื่อช่วยเพิ่มน้ำหนัก 13. เพิ่มหรือดัดแปลงอาหารให้หลากหลายน่ากิน
สารอาหารที่เน้นเป็นพิเศษ 1.วิตามินเอ จำเป็นต่อการรักษาเซลล์เยื่อบุต่างๆ การขาดวิตามินเอ จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ 2. วิตามินซี จำเป็นต่อการสร้างเนื้อเยื่อ และการขาด วิตามินซี อาจทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อง่ายขึ้น เนื้อเยื่อถูกทำลายมากขึ้น 3. ซิลิเนี่ยม เช่น องุ่น บลูเบอรี่ 4. แมกนิเซียม เป้นเกลือแร่ที่จำเป็นต่อการทำงานของปอด และการทำงานของกล้ามเนื้อ ถ้าขาดจะทำให้กล้ามเนื้อระบบหายใจอ่อนแอลง แมกนิเซียม พบมากในธัญพืชไม่ขัดสี ผักใบเขียว ถั่วต่างๆ
สิ่งที่ควรระวัง 1. การกินอาหารมากเกินไปจะทำให้กดกระบังลม ทำให้หายใจไม่สะดวก 2. การกินอาหารที่ย่อยยาก, การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ทำให้อาหารตกค้างนานมีผลต่อการหายใจ 3. หลีกเลี่ยงอาหารงดเค็ม จะทำให้บวมน้ำได้ง่าย 4. หลีกเลี่ยง ชา กาแฟ เพราะจะมีฤทธิ์ไปยับยั้งยาบางชนิด