การประเมินการสร้างความเข้มแข็ง (Empower/participatory Evaluation)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การเตรียมความพร้อมในการเสนอโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการฯในระดับจังหวัด
Advertisements

ส่วนที่ : 2 เรื่อง การวางแผน
ความสำคัญของงานวิจัย เสนอ รศ.ดร.เผชิญ กิจระการ
การฝึกอบรมหลักสูตร การบริหารจัดการโครงการ และการติดตามประเมินผล
การบริหารจัดการเพื่อ พัฒนาผลการปฏิบัติงาน
ระบบการประเมินเพื่อพัฒนาผลการปฏิบัติงาน บุคลากรสายสนับสนุน
ขั้นตอนในการทำวิจัย.
การออกแบบการวิจัยการเขียนเค้าโครงการวิจัย
รายงานการวิจัย.
Research Problem ปัญหาการวิจัย
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข้อควรคำนึงในการสร้างเครือข่าย
ข้อควรพิจารณาในการปรับแผนยุทธศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ พ. ศ
ผลการประเมินคุณภาพด้วยวาจา
การเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่อง การจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน
ข้อบกพร่องที่พบในรายงาน โดย รศ.ดร.สุชาดา บวรกิติวงศ์
เรื่องสืบเนื่อง การวางแผนและบริหารโครงการสำหรับส่วน ราชการ
หลักการพัฒนา หลักสูตร
การพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้ โดยโครงงาน
สรุป การประเมินผลการควบคุมภายใน
คณะผู้วิจัย ภาควิชา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
การทำงานสนับสนุนงาน PP ของศูนย์วิชาการเขต
การติดตาม และประเมินโครงการ.
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย
- แผนงานที่ไม่มีโครงการจะเป็นแผนงานที่ไม่มีความสมบูรณ์ ไม่สามารถนำไปปฏิบัติเป็นรูปธรรม
คำอธิบายแนวทางการให้คะแนน เอกสาร/หลักฐานการดำเนินงาน
การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
การเฝ้าระวังกับนโยบายสังคม
บทที่ 3 การวางแผน การบริหารจัดการที่จะประสบความสำเร็จจะต้องมีหน้าที่สำคัญ 4 ประการ การจัดองค์การ การนำ การควบคุม.
เรื่อง การวางแผนประเมินโครงการ
โครงร่างการวิจัย (Research Proposal)
Analyzing The Business Case
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
การวางแผนและ การจัดทำ IT Audit
หมวด2 9 คำถาม.
สะท้อนประสบการณ์ / ถอดบทเรียน
เครื่องมือและเทคนิคการทำงานแบบมีส่วนร่วมของชุมชน
การตรวจวัดสภาพ ผลการดำเนินงานองค์กร
ผลการดำเนินงานองค์กร (Performance Measurement)
การตรวจวัดสภาพ ผลการดำเนินงานองค์กร
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายใน
คำถามตามเกณฑ์ PMQA:105คำถาม หมวด1 12คำถาม.
คำถามตามเกณฑ์ PMQA:105คำถาม หมวด2 9คำถาม.
การวัดประเมินผลแบบดั้งเดิม
ทำไมต้องปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ?
โครงการพัฒนาคุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐ (การส่งเสริมให้ส่วนราชการนำร่อง เข้าสู่การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ) เขียนลักษณะสำคัญขององค์กร :
การวัดผล (Measurement)
และการประเมินแบบมีส่วนร่วม
ปัญหาการวิจัย โดย ดร.วรรณะ บรรจง.
มาตรฐานการควบคุมภายใน
นโยบายการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก
Evaluation as a Strategy ; สำนักประเมินผล สำนักงบประมาณ
การเขียนเกณฑ์การประเมิน (Rubric)
หมวด5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
การกำหนดโจทย์วิจัย/ปัญหาการวิจัย (Research problem )
ผู้อำนวยกลุ่มการเรียนรู้ (Learning Facilitator)
เพื่อช่วยหาความสัมพันธ์ของ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และกำหนด เขตของพื้นที่เป้าหมาย และ ขอบเขตงาน รูปแบบ เดิม แผ่นใส ซ้อนทับ ปัจจุบัน GIS.
หลักการเขียนโครงการ.
การสอนโดยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
เรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก
ลักษณะโครงการวิจัยที่ดี
การเขียนรายงานผลการวิจัย
ให้โอกาสผู้เรียนมีส่วนร่วมรับผิดชอบ สร้างความมีวินัย การตรงต่อเวลา
การเขียนโครงการ.
7.Discussion การอภิปราย นายวัชรกร เดชะบุญ รหัสนิสิต
หน่วยที่1 ข้อมูลทางการตลาด
กลุ่ม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร.
CIPP Model : การประกันคุณภาพ
แนวทางพัฒนางานประจำ สู่งานวิจัย
เรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การประเมินการสร้างความเข้มแข็ง (Empower/participatory Evaluation) ผศ.ดร.ดุษฎี อายุวัฒน์ สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2550 (สงวนลิขสิทธิ์)

People’ s participation- What does it mean ? ☞ It is process by which the rural poor are able to organize themselves and, through their own organization, are able to identify their own needs, share in the design, implementation and evaluation of the participatory action. ☞ The active involvement of the people in the decision-making process in so far as it affects them. ☞ People taking development initiatives: they decide what is to be done, how-and carry out their decisions.

☸ Empowering the rural community, especially the rural poor. ☸ Organization efforts to increase control over resources. ☸ Based on democratic way. ☸ Participation of the intended beneficiaries, the rural poor, is to be achieved with and by the people, not just for the people.

การประเมินการสร้างความเข้มแข็ง (empower/participatory evaluation) การประเมินที่ดี เป็นการสร้างความเข็มแข็งทั้งผู้ประเมินและผู้รับการประเมินแต่การประเมินแบบนี้

มักเกิดจากการประเมินภายในคนภาย ในองค์กรหรือชุมชนติดตาม ดูการเปลี่ยนแปลงตัวเอง อย่างไรก็ตามอาจมีการร่วมมือกับคนภายนอกได้ในลักษณะ การอำนวยการ(facilitate)ในด้าน กระบวนการวิชาการ หรือ การให้ข้อมูลข้อคิดเห็นเท่านั้น

การสร้างความเข้มแข็ง อาจมองจาก การสร้างความเข้มแข็ง อาจมองจาก การปรับปรุงขั้นความสามารถ หรือ สร้างความเก่งในเรื่องของการวิเคราะห์ ความก้าวหน้า (พัฒนาการ) และงานการพัฒนา เป็นการเสริมสร้างความมั่นใจของคน และองค์กร

ส่วนใหญ่เป็นการติดตามและประเมินภายในเพื่อการเรียนรู้และการปรับปรุง การประเมินทำโดยกระบวนการมีส่วนร่วม แต่อาจมีการร่วมมือจากภายนอกด้วยโดยเฉพาะการใช้ facilitator นอกจากนั้นยังควรพยายามทำให้การติดตามและประเมินผลเป็นงานประจำขององค์กรชุมชนและของคนที่ทำงานในโครงการด้วย

►ช่วยสร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วมแบบสร้างสรรค์ การประสานกับภายนอกอาจมีกลไก คือ ►ช่วยสร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วมแบบสร้างสรรค์ ►ช่วยให้ผู้ได้รับผลประโยชน์และไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ►ช่วยให้มีการนำผลการติดตามไปใช้เพื่อทำให้องค์กรชุมชนเข้มแข็ง

แนวคิดหลักของการประเมินโครงการพัฒนา การประเมิน หมายถึง การแสวงหาคุณค่าของสิ่งที่ได้ดำเนินการไป บทเรียนที่ได้จากการประเมินนำมาใช้ในการปรับปรุงงานในอนาคต ในโครงการพัฒนาการประเมินให้คำนึงถึง คน สังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นหัวใจ

แนวคิดหลักของการประเมินโครงการพัฒนา (ต่อ) การประเมินควรครอบคลุมทุกด้านที่เกี่ยวข้องและลึกซึ้ง ทำแบบเป็นระบบ มีแผนก่อนการประเมิน วิธีการประเมินควรมีหลากหลาย เหมาะสม

คำที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน Appraisal การติดตาม และการประเมิน เป็นคำที่ใช้กันค่อนข้างสับสน ในการพัฒนา Appraisal ของข้อเสนอโครงการมักเกี่ยวข้องกับการพิจารณาข้อเสนอโครงการ โปรแกรมก่อนได้รับการอนุมัติ

การติดตามและประเมินเกิดขึ้นหลังการดำเนินการโครงการหรือโปรแกรมไปแล้วเพื่อตรวจสอบสมรรถนะ การติดตาม คือ การเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และรายงานที่เป็นระบบ เป็นประจำ โดยเทียบกับแผนและเป้าหมายของโครงการหรือโปรแกรม เพื่อนำผลมาปรับปรุงงาน ยังไม่ให้ความสำคัญผลกระทบมากนัก ในขณะที่ การประเมิน ครอบคลุมไปถึงผลกระทบ ความยั่งยืน การขยายผล ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและความเกี่ยวข้องของงานด้วย

วัตถุประสงค์ของการประเมิน ขึ้นอยู่กับว่า ต้องการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์อะไร แบ่งการประเมิน เป็นสามแบบ คือ *แบบระหว่างการดำเนินการ เพื่อเป็นบทเรียนในการปรับปรุงงานที่กำลังทำอยู่ - ในระดับโปรแกรมอาจมีการปรับแผนการดำเนินการ กรอบการำงาน - ในระดับโครงการอาจมีการปรับแผน หรือ จุดอ่อนไม่มากหรืออาจทั้งหมด * แบบสิ้นสุดโครงการเป็นบทเรียนสำหรับโปรแกรมหรือโครงการใหม่ * แบบหลังการประเมินสิ้นสุดโครงการระยะหนึ่ง

แนวคิดใหม่ในการประเมิน ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด เป็นมุมมองของผู้ประเมินเพราะไม่มีใครมองความจริงและเหตุผลได้ทั้งหมด การตีความจากผลแต่ละกลุ่มที่เกี่ยวข้องอาจไม่เหมือนกัน จึงควรมีการบันทึกและทำความเข้าใจให้มากที่สุด การประเมิน เป็นกระบวนการทำให้เกิดพลังสำหรับผู้เกี่ยวข้อง การประเมินควรทำให้เกิดการปรับปรุง

ตัวบ่งชี้ที่เป็นเชิงปริมาณ ไม่ได้บอกอะไรลึกซึ้ง แต่ที่เป็นเชิงคุณภาพจะสะท้อนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ มีแนวโน้มที่จะใช้วิธีการที่มีความยืดหยุ่นและไม่เป็นทางการมากขึ้น เช่น การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ให้ความสำคัญกับการจัดการโครงการหรือโปรแกรมตลอดจนกระบวนการทำงานมากขึ้น การประเมินแบบเป็นช่วง ๆ เป็นทางเลือก หรือ เสริมการประเมินแบบสุดท้าย

การประเมิน ควรเป็น แบบโลกแห่งชีวิต คือภาพของความจริงของสังคมหรือชุมชน ความสัมพันธ์ของคนและสิ่งแวดล้อมของสังคม เป็นองค์รวม ผู้ประเมินควรใช้วิจารณญาณของตนเองด้วย หลักการ และเหตุผล

หลักการและเหตุผลกับการประเมิน มีอิทธิพลต่อวัตถุประสงค์ของโครงการและมุมมองและเกณฑ์การประเมิน ผู้ประเมินต้องเข้าใจฐานที่มาของหลักการและเหตุผลเพื่อการประเมินอย่างเป็นธรรม หลักการและเหตุผลต่าง ๆ ที่ผู้ดำเนินการยึดกับผู้ได้ผลประโยชน์ในโครงการยึดอาจไม่สอดรับกันจะกลายเป็นปัญหาตามมา

ความคิดของผู้ประเมินเองอาจมีผลต่อการประเมิน หลักการเหตุผลแบบทางการมักมุ่งให้ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นหลัก แบบค่านิยมจะมุ่งความสอดคล้องและตรงประเด็น ส่วนผลกระทบอาจอยู่กับทั้งสองแบบ แบบโลกแห่งความเป็นจริงประสิทธิภาพอาจอ่อนลง ขณะที่ผลกระทบต้องดูให้ครอบคลุม

รูปแบบการประเมิน แบ่งได้ 4 ประเภทคือ รูปแบบที่ 1 4 การสรุป 3 สร้างสมมุติฐานของเหตุ - ผล 1. บันทึกสถานการณ์ 2. บันทึกสถานการณ์

ในรูปแบบที่หนึ่ง ไม่มีการหาข้อมูลจากกระบวนการ เป็นการนำข้อมูลก่อนและหลังมาวิเคราะห์ การเปลี่ยนแปลง แต่อาจมีการเก็บข้อมูลจากสนามเพิ่มเติม ส่วนใหญ่เป็นเชิงปริมาณ ข้อสรุปที่ได้จึงไม่ได้บอกถึงเหตุ-ผล แต่เป็นการสรุปจากหลักฐานที่มีโดยอาศัย การตั้งสมมุติฐานและไม่มีการตรวจสอบ (verification) เน้นประสิทธิผลและผลกระทบ

4 3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ อธิบายกระบวนการ การสรุป สร้างสมมุติฐาน รูปแบบที่2 4 การสรุป 3 สร้างสมมุติฐาน ตรวจสอบความสัมพันธ์ อธิบายกระบวนการ 1.บันทึกสถานการณ์ 2. บันทึกสถานการณ์

มีการตรวจสอบกระบวนการหาความสัมพันธ์ ในรูปแบบที่สอง มีการตรวจสอบกระบวนการหาความสัมพันธ์ แล้วตั้งสมมุติฐาน ทบทวนไปมาก่อนสรุปจึงได้เปรียบรูปแบบที่1 มีการแสวงหาข้อมูลเชิงคุณภาพช่วย

รูปแบบที่3 4 การสรุป 3 สร้างสมมุติฐาน ตรวจสอบความสัมพันธ์ อธิบายกระบวนการ 1.บันทึกสถานการณ์ 2. บันทึกสถานการณ์

ในรูปแบบที่สาม ไม่มีการเก็บข้อมูลสถานการณ์ก่อนโครงการ และส่วนมากเป็นเช่นนี้ การสรุปมีกระบวนการคล้ายกับในรูปแบบที่ 2 แต่ผู้ประเมินเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ย้อนหลังก่อนโครงการ แต่มีข้อเสียคือถ้าเป็นข้อมูลย้อนหลังนาน ความถูกต้องแม่นยำอาจน้อยลง

4 การสรุป 3 สร้างสมมุติฐาน 2 ตรวจสอบความสัมพันธ์ รูปแบบที่ 4 อธิบายกระบวนการ 1. บันทึกสถานการณ์ 2 บันทึกสถานการณ์

แต่ละรูปแบบมีข้อดีข้อเสียต่างกัน ขึ้นกับ ในรูปแบบที่สี่ แต่ผู้ประเมินพยายามเก็บข้อมูลสถานการณ์ย้อนหลังเป็นช่วง ๆ เช่นเป็นปีกลับไปถึงก่อนโครงการ แต่ละรูปแบบมีข้อดีข้อเสียต่างกัน ขึ้นกับ ข้อมูลพื้นฐานที่โครงการมี และ ความถนัดของผู้ประเมิน

- ประสบการณ์งานที่คล้ายในพื้นที่ใกล้เคียง ประสิทธิภาพ หมายถึงปริมาณและคุณภาพของปัจจัยออกต่อทรัพยากรที่ใช้ไปซึ่งเป็นเรื่องการตัดสินผลิตภาพจากปัจจัยเข้าและออก โดยอาจมีเกณฑ์จาก - ประสบการณ์งานที่คล้ายในพื้นที่ใกล้เคียง - ประสบการณ์จากที่อื่นที่มีสภาพแวดล้อมพอเปรียบเทียบกันได้ - จากการให้เหตุผลโดยมีทฤษฏีรองรับ

ประสิทธิผล หมายถึง การประเมินผล (ปัจจัยออก) ที่ได้มาจากปัจจัยเข้าว่าทำให้ เกิดอะไรขึ้นบ้างตามแผนที่วางไว้ และมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดผลกระทบ อะไร คือ พิจารณาวัตถุประสงค์ระยะสั้น (immediate) ในกรณีที่ประสิทธิผลไม่ได้ระบุไว้ในโครงการ ผู้ประเมินต้องพิจารณาสร้างขึ้นภายในกรอบ ของโครงการเพื่อใช้ในการวิเคราะห์

ความเหมาะสม หมายถึง โครงการเองจะตอบปัญหาการวิจัยหรือพัฒนาตรงประเด็นตามความสำคัญหรือไม่ซึ่งรวมถึงกิจกรรม ผลของกิจกรรมและผลกระทบ โดยเฉพาะจากมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นตัวเสริมกับประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ผลกระทบ หมายถึง ผลระยะยาว และส่วนมากโดยทางอ้อม ทั้งทางบวกและลบ และรอบด้าน โดยเฉพาะจากมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ความยั่งยืน หมายถึง ความต่อเนื่องของโครงการ หรือกิจกรรม หรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลงในทางบวกหลังจากโครงการจบลงแล้ว แต่ก็อาจมีการประเมินหลังจากจบโครงการในระยะเวลาต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบความต่อเนื่องหรือผลกระทบ

มีแนวทางการพิจารณา คือ ☼ การดูแลรักษาปัจจัยทางกายภาพที่เกิดขึ้น ☼ การใช้งาน อาจเป็นปัจจัยทางกายภาพ หรือ ทางคุณภาพ เช่น ความรู้ ☼ ความสามารถในการวางแผนการจัดการซึ่ง อาจนำไปใช้ในโครงการอื่นด้วย ☼ การผลิต ☼ การต่อเนื่องของผลกระทบ เช่น สุขภาพ อนามัย การอยู่ดีมีสุข ☼ การขยายผล โดยผลจากโครงการ

ในการประเมินโครงการในชุมชนใดอาจมีหลายโครงการดำเนินอยู่หรือจบไปแล้วควรพิจารณาด้วยว่ามีผลข้ามกันหรือไม่อย่างไร การขยายในแหล่งอื่น หมายถึง ความเป็นไปได้ในการขยายโครงการไปในแหล่งหรือชุมชนอื่นภายหลังซึ่งอาจไม่จำเป็นในหลายกรณี การวิเคราะห์งบประมาณ ค่าใช้จ่ายอาจทำได้หลายรูปแบบ อาจมีเรื่องของค่านิยมเข้ามาเกี่ยวข้องทำให้ตัดสินยาก วิธีการที่ใช้กันมากคือการวิเคราะห์อัตราระหว่างผลที่ได้ (benefit) ต่อค่าใช้จ่าย (Cost) เป็นการพิจารณาระหว่างผลที่เกิดจากการใช้จ่ายเงินไปหรือผลกระทบกับเงินที่ใช้จ่ายไป

สิ่งที่น่าสนใจในการประเมินอีกประเด็นหนึ่ง คือเรื่องของการไหลของสารสนเทศ ข้อมูล ปัจจัย การผลิต เงิน ผลผลิต ความรู้ วิธีการ อื่น ๆ ในการดำเนินโครงการว่า ไปไหน มีผลอย่างไร ช่วงไหน โดยเฉพาะมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกลไกการ feedback การติดตามและ ประเมินผลก็เป็นกลไก การ feedback อย่างหนึ่ง

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากภายใน สิ่งสำคัญในการประเมินโครงการพัฒนา คือ การตรวจสอบ 1. การเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะการแสวงหาปัจจัย หรือ ตัวบ่งชี้เพื่อการตัดสินใจที่เป็นที่ยอมรับของสังคมนั้น ๆ 2. การเปลี่ยนแปลง ควรเกิดจากพลังภายในของประชาชนเองมิใช่เป็นการบีบบังคับ หรือจำยอมด้วยกลวิธีจากภายนอก

การประเมินการใช้งบประมาณ การใช้งบของ องค์กรอาจพิจารณาจากหลายมุมมอง ◘ การจัดความเร่งด่วน ◘ การใช้งบร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ◘ ระบบการจัดสรร ◘ การตัดสินใจ ◘ กฎระเบียบ ข้อจำกัด ◘ การแก้ปัญหา ◘ แหล่งทุน การหาทุน ◘ ความคุ้มค่า

การประเมินงานพัฒนาชุมชน เป็นการประเมิน โดยเน้นคนเป็นศูนย์กลางและองค์กรชุมชน โดยอาจครอบคลุมหลายประเด็น และเน้นการมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการ พิจารณาก่อนการประเมินว่าเป็นประเภทใด คือ ◘ เป็นโครงการที่ชุมชนนำการเปลี่ยนแปลงเอง ◘ เป็นโครงการที่องค์กรหรือคนภายนอกมีส่วนช่วย ◘ เป็นโครงการที่องค์กรภายนอกทำเองเกือบทั้งหมด การเข้าใจประเภทของโครงการจะช่วยให้การ ประเมินการวางแผนประเมินเหมาะสม

Mental model ขององค์กร รูปแบบองค์กรในความฝัน กระบวนการทำแผนกลยุทธ์ 4.ทำแผน - ทุกคนในทีม นอกสถานที่ - วัฒนธรรม - ค่านิยมขององค์กร - วิสัยทัศน์ - นโยบาย - ภาระหน้าที่ -ปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จ - ผลสำคัญที่จะได้รับ - จุดมุ่งหมาย เราจะเป็นอะไร ไปทางไหน - กลยุทธ์ที่จะไปให้ได้ - กลวิธี - แผนดำเนินงาน (ร่าง) - การควบคุม - ร่วมกันไตร่ตรอง ประชุมในสถานที่ - ทำแผนดำเนินการ - สรุปแผน เราจะเป็นอะไร ไปทางไหน ได้อย่างไร 1.เตรียมการ 1.1 บุคลากร 1.2 ประชุม - ผู้อำนวยการ - แนะนำกระบวนการ - ผู้ประสาน - แบ่งงาน - จัดทีม 2. เก็บข้อมูล - แต่ละคนของทีมรับงาน 3. วิเคราะห์ - ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง - ทั้งทีมประชุมร่วมกันเราอยู่ที่ไหน 5. ดำเนินการ 6. ควบคุมให้เป็นไปตามแผนและประเมิน -เราอยู่ที่ไหน เป็นอย่างไร -เราจะเป็นอะไร ไปทางไหน - เราจะเป็นอะไร ไปทางไหน ได้อย่างไร ไม่ใช่ one/ way /one round Mental model ขององค์กร รูปแบบองค์กรในความฝัน ทำเป็นแผนเวลา

วิธีการ ที่ใช้ในการประเมิน

วิธีการที่ใช้ในการประเมิน ประเภทของข้อมูล แบ่งได้เป็น วิธีการที่ใช้ในการประเมิน ประเภทของข้อมูล แบ่งได้เป็น ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลได้โดยตรงจากผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ความคิดเห็น การตัดสินใจ และอาจได้มาจากการสังเกตไปพร้อม ๆ กับการเก็บข้อมูลแต่การสรุปต้องทำด้วยความระมัดระวัง

ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลที่มีการวิเคราะห์ มาบ้างแล้ว ที่มีผู้บันทึกไว้ในรูปของเอกสาร หรือสื่ออื่น ๆ แหล่งที่มาและความน่าเชื่อถือจึงเป็น เรื่องสำคัญในบางกรณีอาจได้ข้อมูล แบบฟอร์มที่บันทึกแต่ยังไม่มีการวิเคราะห์

การประเมินเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ :ความแตกต่างระหว่างการประเมินสองรูปแบบมีดังนี้ การสรุปปรากฏการแบบกว้างสู่แคบหรือเฉพาะ (deductive) หน่วยการเก็บตัวอย่างถูกเลือกหรือตัดสินมาก่อน การออกแบบการประเมินถูกกำหนดมาก่อนและมักไม่เปลี่ยน การได้มาของข้อมูลเป็นวิธีการเดียว เป็นการศึกษากรณีต่าง ๆ เพื่อเปรียบเทียบหาข้อสรุป การเก็บตัวอย่างบนฐานการตัดสินใจของทีมผู้ประเมินและความชำนาญ การออกแบบการประเมินยืดหยุ่นได้ การได้ข้อมูลด้วยหลายวิธีและหลายเครื่องมือ

เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ ลดขอบเขตการประเมินให้อยู่ภายใต้การควบคุมทางสถิติได้ มักพิจารณาเปรียบ เทียบจุดของเวลาก่อนหลัง ไม่มีกระบวนการ บันทึกข้อมูลในแบบฟอร์มที่ออกแบบมาก่อน การตรวจสอบความสัมพันธ์โดยสถิติ วิเคราะห์โดยผู้ชำนาญ ปรับให้มีขอบเขตครอบคลุมและปัจจัยซับซ้อน เน้นกระบวนการ การบันทึกข้อมูลมีหลากหลายรูปแบบ ตรวจสอบความสัมพันธ์โดยเหตุ-ผลและตีความ มีส่วนร่วมของผู้ไม่ชำนาญได้

การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณในการประเมินทำเพื่อ ตรวจสอบประสิทธิผล และ ผลกระทบ แต่อาจมีข้อมูลเชิงคุณภาพบางอย่างช่วย เช่น การเกี่ยวโยงกับความเหมาะสมของโครงการหรือกิจกรรมของโครงการหรือความยั่งยืน

นอกจากนี้ยังต้องวิเคราะห์ผลประโยชน์ ต่อต้นทุนและต้นทุนต่อประสิทธิผลด้วย แต่ก็เป็นเครื่องมือการคำนวณค่าทางเศรษฐกิจ การวิเคราะห์ผลประโยชน์ต่อต้นทุนไม่ใช่ ประสิทธิภาพซึ่งเป็นเรื่องของปัจจัยเข้าและออก และการวิเคราะห์ต้นทุนต่อประสิทธิผล รวมถึงผลประสิทธิผล และ / หรือ ผลกระทบ การประเมินแบบนี้ใช้แบบสอบถามเป็นหลัก

การออกแบบเพื่อเลือกตัวอย่าง อาจเลือกตัวอย่างแบบสุ่ม จากกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน หรือ การสุ่มเลือกกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์และกลุ่มที่ไม่ได้รับผลประโยชน์ ที่มีฐานคล้ายกันก่อน โครงการแล้วเลือกตัวแทนจากกลุ่มต่าง ๆ อีกที ทำโดยไม่ต้องมีกลุ่มที่ไม่ได้ผลประโยชน์ต่อเนื่อง ในการประเมินแบบนี้ต้องเน้นการเปลี่ยนแปลงระหว่างต้นและปลายโครงการ

การวิเคราะห์ผลประโยชนต่อต้นทุน ต้องพิจารณาถึงต้นทุนทางโอกาสด้วย การคำนวณต้นทุนมักไม่ค่อยมีปัญหาแต่ผลประโยชน์ทั้งรูปธรรมและนามธรรมและความหลากหลายทำให้คำนวณยาก การวิเคราะห์ต้นทุนต่อประสิทธิผล คล้ายกับการวิเคราะห์ผลประโยชน์ต่อต้นทุน ยกเว้นการคำนวณในทางการเงินทำเฉพาะในส่วนของต้นทุน ผลประโยชน์แสดงในรูปของหน่วยปัจจัยออกโดยตรงซึ่งก็ทำยาก แต่ก็มีวิธีการหลักที่ควรศึกษาเพิ่มเติม

การประเมินเชิงคุณภาพ ในการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จำเป็นต้องมีข้อมูลตัวเลขเสริมด้วย เพื่อให้มีความน่าเชื้อถือเพิ่มขึ้น โดยทั่วไปการประเมินแบบนี้ ใช้ในสถานการณ์ ไม่สามารถใช้วิธีการสถิติในส่วนของผู้ได้รับผล เมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดจากกระบวนการที่ซับซ้อน ผลกระทบที่ซับซ้อน การวิเคราะห์ความเหมาะสมที่มีการตัดสินด้วยค่านิยม การวิเคราะห์ความยั่งยืนและโอกาสการขยายผลทำที่อื่น ความเที่ยงตรงไม่ใช่สาระสำคัญ การศึกษาเบื้องต้น

วิธีการเชิงคุณภาพ อาจแบ่งได้ดังนี้ วิธีการเชิงคุณภาพ อาจแบ่งได้ดังนี้ การสัมภาษณ์แบบลึก การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การประเมินแบบเร่งด่วน การประเมินแบบมีส่วนร่วม ปฏิบัติการกลุ่มเฉพาะประเด็น อื่น ๆ วิธีการเหล่านี้มีรายละเอียดที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม

หลังจากการประเมินควรติดตาม การสะท้อนกลับของการวิจารณ์รายงานฉบับร่างเพื่อทำให้สมบูรณ์ การเผยแพร่ของรายงาน การสะท้อนกลับของการวิจารณ์รายงานฉบับสมบูรณ์ การเผยแพร่ในวงกว้าง

การใช้ผลรายงานในการจัดการ การทบทวนงานที่ผ่านมาว่าสอดคล้องกับรายงานหรือไม่ เพื่อปรับปรุง มองดูอนาคตว่าควรมีกลยุทธ์อะไรบ้าง เสนอโครงการหรือโปรแกรมใหม่ ทำแผนการทำงานสำหรับปีต่อไปที่ครอบคลุมงานเก่า จัดลำดับความสำคัญของงานที่จะทำในปีต่อ ๆ ไป