การรุกราน (AGGRESSION) โดย นางสาวธัญญารัตน์ เล้าสินวัฒนา รัฐศาสตร์การปกครอง ลำดับที่ 82
เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1933 คณะกรรมการ ลดอาวุธ ของสันนิบาตชาติ ได้ให้คำนิยาม ของการรุกรานว่า รัฐที่ลงมือ กระทำการ อย่างใดอย่างหนึ่งก่อน ดังต่อไปนี้ ถือว่า เป็นการรุกราน คือ
1. ประกาศสงครามกับรัฐอื่น 2. ใช้กำลังทหาร รุกเข้าไป ในดินแดน ของรัฐอื่น โดยจะ ประกาศสงคราม หรือไม่ก็ตาม 3. ทำการโจมตีดินแดน เรือ หรืออากาศยานของรัฐอื่น 4. ทำการปิดทะเล หรือท่าเรือของรัฐอื่น 5. ทำการ สนับสนุน กำลังทหาร ของรัฐ ที่บุกเข้าไป ในรัฐอื่น หรือไม่ทำการป้องกัน การสนับสนุน ดังว่านั้น
หลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 คณะกรรมการ ร่างกฎหมาย ระหว่างประเทศ ขององค์การ สหประชาชาติ ก็หยิบยก คำนิยาม ของคำว่า การรุกราน มาพิจารณา
มาตรา 2 ของร่าง ประมวลกฎหมาย ว่าด้วย ความผิด ฐานละเมิด ความสงบ เรียบร้อย ที่คณะกรรมการ ได้ร่างขึ้น ได้ระบุถึง การกระทำ อันเป็นการรุกราน กล่าวไว้ว่า
การรุกราน ให้รวมถึง การระทำ บางอย่าง ซึ่งอาจโต้แย้งได้ เช่น การคุกคามว่า จะทำการรุกราน การเตรียมการ ใช้กำลังอาวุธ หรือ การก่อความวุ่นวาย ให้แก่รัฐอื่น และ การรุกราน ไม่รวมถึง การป้องกันตัว โดยส่วนรวม หรือการกระทำ โดยมติ ของสหประชาชาติ
ตามที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า ความหมาย ของการรุกรานนั้น ยังไม่เป็นที่ยอมรับ ความหมาย ที่น่าจะรัดกุม และยอมรับ กันอย่างกว้างขวาง คือ การรุกราน หมายถึง กรณีที่ ประเทศหนึ่ง ใช้กำลังทหาร เข้าปฏิบัติการ อันละเมิด ต่อข้อผูกพัน ระหว่างประเทศ ทำอันตราย ต่ออำนาจอธิปไตย และบูรณภาพ แห่งดินแดน ของอีกประเทศหนึ่ง
การกระทำ ที่เป็นการรุกรานที่ปรากฏ กรณีอิตาลี รุกราน เอธิโอเปีย เมื่อปี ค.ศ.1935 เยอรมัน รุกราน โปแลนด์ เมื่อปี ค.ศ.1939 เยอรมัน รุกรานนอร์เวย์ เดนมาร์ก เมื่อปี ค.ศ.1940 และคราวญี่ปุ่น โจมตี เพิล ฮาร์เบอร์ ฐานทัพเรือ อเมริกัน ที่ฮาวาย เมื่อปี ค.ศ.1941 เป็นต้น
ประเทศผู้รุกราน มักจะไม่ยอมรับว่า ตนรุกราน แต่มักอ้างว่า เป็นการกระทำ เพื่อป้องกันตนเอง (self defensc) ซึ่งการป้องกันตนเอง กับการรุกรานประเทศอื่น มีความหมาย คาบเกี่ยวกัน อย่างใกล้ชิด และกฎหมาย ระหว่างประเทศ ถือว่า รัฐมีสิทธิ ที่จะป้องกันตนเองได้ รัฐจึงมักจะอ้างสิทธิ ป้องกันตนเองเสมอ
“การใช้สิทธิป้องกันตัวเอง”แต่อีกแง่หนึ่ง ถือว่าเป็น”การรุกราน” กรณี The Amelia Island ซึ่งเป็นเกาะ ปากแม่น้ำ St.Marys river อันเป็นดินแดน ของสเปน พวกสลัด ได้ใช้เกาะนี้ เป็นที่ซุ่มซ่อน และออกรังควาญ เรือสินค้า และทำลาย เรือสินค้า ของอเมริกา อยู่เสมอ สหรัฐ เห็นสเปน ไม่จัดการปราบปราม จึงส่งกองทหาร เข้าไปปราบปราม พวกสลัด ในเกาะนี้ เสียเอง ทั้งๆ ที่ เกาะนั้น เป็นดินแดน ของสเปน แต่สหรัฐ อ้างว่า กระทำไป เพื่อป้องกันตนเอง
กฎบัตรสหประชาชาติ ได้รับรอง สิทธิ ป้องกันตนเอง แต่ได้กำหนด ขอบเขต จำกัด การใช้สิทธินี้ ไว้ในวงแคบ กล่าวคือ จะใช้ได้ใน กรณี เกิดการโจมตี โดยกำลังอาวุธ (armed attack) เท่านั้น กรณีอื่นๆ จะใช้สิทธิ ป้องกันตนเองมิได้