หอผู้ป่วย อายุรกรรม หญิง 3
ไตวายเรื้อรัง
ไต
ไต มีหน้าที่อะไร 1. ขับถ่ายของเสียที่เกิดจาการเผาผลาญอาหารประเภท โปรตีน 2. ควบคุมสมดุลย์ของน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย 3. ผลิต และควบคุมการทำงานของฮอร์โมน เช่นฮอร์โมนทีกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง
ไตวายเรื้อรัง เกิดจากอะไร - เกิดจาก กรวยไตอักเสบเรื้อรัง - เกิดจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบตัน - ทางเดินปัสสาวะอุดตัน เช่น นิ่ว - โรคเบาหวาน - จากโรค SLE - จากยาบางชนิด
ระยะ ของไตวาย 1.ไตวายระยะแรก การทำงานของไตลดลงมากกว่า 50% บางรายอาจยังไม่มีอาการ ต้องใช้การตรวจทางห้องปฎิบัติการช่วยในการวินิจฉัย
2.ไตวายระยะปานกลาง การทำงานลดลงมากกว่า 75% ผู้ป่วยเริ่มมีอาการจากการคั่งของของเสีย เช่น ปัสสาวะออกน้อย เพลีย ไม่มีแรง บวม คันตามตัว หอบเหนื่อย ความดันโลหิตสูง
3.ไตวายระยะสุดท้าย ไตทำงานลดลงอย่างมาก หน้าที่ของไต เหลือน้อยกว่า 10% ในระยะนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น
เมื่อไตเริ่มเสื่อมมากขึ้นผู้ป่วยจะมีอาการดังนี้ * ปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยขึ้น เนื่องจากไตไม่สามารถ ดูดซึมน้ำกลับ * เหนื่อยง่าย * อ่อนเพลีย * ความจำไม่ดี นอกจากนี้ยังมีอาการตามระบบต่างๆดังนี้
1.ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ -มีการกระตุกของกล้ามเนื้อ - ปลายมือปลายเท้าชา - เป็นตะคริว และชัก 2.ระบบทางเดินอาหาร -เบื่ออาหาร -คลื่นไส้ อาเจียน
3.ระบบหัวใจและหลอดเลือด มีการคั่งของเกลือและน้ำ จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง มีอาการบวมเนื่องจากหัวใจวาย 4.ผิวหนัง มีอาการคัน ผิวจะมีสีเหลือง-น้ำตาล
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ 1. การตรวจนับเม็ดเลือด พบว่ามีซีด 2. การตรวจปัสสาวะพบว่ามีไข่ขาวในปัสสาวะ 3. ตรวจการทำงานของไต เช่น BUN/Cr 4. การตรวจขนาดไตโดยอาจจะใช้ ultrasound หรือ CT
การรักษา หลักการรักษาไตวายประกอบด้วย 1. การควบคุมอาหารสำหรับโรคไต 2. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 3. การล้างไตผ่านทางช่องท้อง 4. การเปลี่ยนไต
อาหารผู้ป่วยโรคไต
1.โปรตีน ที่ควรรับประทานคือ * ไข่ให้รับประทานไข่ขาวเนื่องจากไข่แดงมีcholesterol มาก * เนื้อสัตว์ให้รับประทานเนื้อปลาเป็นหลัก ไม่ควรรับประทานโปรตีนมากเกินไปเพราะจะทำให้เกิดของเสียคั่งในร่างกายได้
2.แป้งหรือคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ ข้าว ก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น ผู้ป่วยควรรับประทานหมู่นี้ให้มาก ยกเว้นไตวายจากโรคเบาหวานต้องปรึกษาแพทย์
3.ไขมัน หลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์เช่น มันหมู มันไก่ น้ำมันมะพร้าว ให้ใช้น้ำมันถั่วเหลืองแทน
4.เกลือแร่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม เช่น หมูเค็ม ไส้กรอก ผักดองและ อาหารตากแห้ง อาหารสำเร็จรูป เพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูง บวม น้ำท่วมปอด
5. Potassium โพแทสเซียม ถ้าระดับโพแทสเซียม สูงมากอาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ *ผักที่ควรงด บร๊อคโคลี่ แครอท * ผลไม้ที่ควรงดได้แก่ มะพร้าว ส้ม กล้วย ฝรั่ง องุ่น
6.เหล็ก ผู้ป่วยโรคไตควรได้รับธาตุเหล็กเสริมในรูปของยารับประทาน 7.น้ำ ผู้ป่วยดื่มน้ำไม่เกินวันละประมาณ 500 มิลลิลิตร ไม่ควรดื่มน้ำแร่
การรักษา
การล้างไตผ่านทางท้อง หลักการฟอกไตวิธีนี้คือ การใส่สายเข้าไปในช่องท้อง แล้วใส่น้ำยาเข้าในช่องท้องเป็นระยะเวลาหนึ่ง แล้วจึงปล่อยออก
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เป็นการนำเลือดผ่านเข้าเครื่องไตเทียม ซึ่งจะกรองเอาของเสียออก เลือดที่ผ่านการกรองก็จะกลับเข้าสู่เครื่องไตเทียม และเข้าสู่ร่างกาย
การฟอกเลือดจะต้องมีการนำเลือดจากหลอดเลือดมาฟอกโดยทำได้ 2 วิธี 1. ใช้เข็มแทงเข้าหลอดเลือดที่บริเวณคอ และหลอดเลือดขาหนีบ 2. การต่อหลอดเลือดแดง และดำ วิธีนี้เป็นวิธีการที่ถาวร
ข้อปฏิบัติก่อนการฟอกเลือด ควรงดรับประทานยาลดความดันโลหิตก่อนฟอก 4-6 ชั่วโมง ถ้ามีการเสียเลือดมาก เช่นมีประจำเดือน อุจาระดำ อาเจียนเป็นเลือด ให้แจ้งแพทย์ทราบทุกครั้ง
การเปลี่ยนไต Kidney Transplant คือการนำไตที่ไม่เป็นโรค มาผ่าตัดให้กับคนที่เป็นโรคไตวาย
ขอให้มีสุขภาพดีทุกท่าน