คำแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับมารดาก่อนและหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โดย นางสาวกัญญา จาอ้าย หอผู้ป่วยสูติกรรม 3 โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้มารดาทราบถึงความจำเป็นของ 1. เพื่อให้มารดาทราบถึงความจำเป็นของ การรักษาโดยการผ่าตัด และผลของการผ่าตัด 2. เพื่อลดความวิตกกังวลและช่วยให้เกิดพฤติกรรมการปรับตัวอย่างเหมาะสม 3. เพื่อให้มารดายอมรับการรักษาและให้ความร่วมมือในการรักษา 4. เพื่อให้มารดามีร่างกายกลับสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว
การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง สาเหตุที่ต้องทำ การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง * มารดามีโรคแทรกซ้อนทางอายุรกรรม หรือเคยผ่าตัดมาก่อน * ทารกอยู่ในระยะขับคัน
การปฏิบัติตัวก่อนผ่าตัด ด้านกฎหมาย เนื่องจากมารดาทุกคนมีสิทธิ์โดยสมบูรณ์ในตัวเอง และเพื่อยินยอมหรืออนุญาตให้ผู้อื่น กระทำการใดๆโดยตรงต่อร่างกายของตน ดังนั้นจำเป็นต้องเซ็นใบยินยอมผ่าตัด ในแบบฟอร์มที่โรงพยาบาล กำหนดไว้
ด้านร่างกาย 1. มารดาจะได้รับการเตรียมบริเวณผ่าตัดทางหน้าท้องตั้งแต่ใต้ราวนมจนถึงโคนขาทั้ง 2 ข้าง และอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก 2. ความสะอาดร่างกายทั่วไป มารดาจะต้องตัดเล็บมือเท้าให้สั้น อาบน้ำและสระผมก่อนวันผ่าตัด 1 วัน 3. เก็บเครื่องประดับ ของมีค่า สิ่งตกแต่งต่างๆ สีทาเล็บล้างออก ฟันปลอมควรถอดเก็บไว้ 4. ควรพักผ่อนให้เต็มที่ 5. ก่อนเที่ยงคืนของวันผ่าตัด จะต้องงดน้ำและอาหารทางปากทุกชนิด 6. เช้าวันผ่าตัดมารดาจะได้รับการสวนอุจจาระได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำ และใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้
3. เจ้าหน้าที่จะให้คำปรึกษาแก่มารดาได้ ด้านจิตใจ 1. มารดาต้องทำจิตใจให้สบาย สงบ ลดความวิตกกังวลต่างๆ 2. เจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำแก่มารดาก่อนผ่าตัด และเปิดโอกาสให้มารดาได้ซักถามข้อข้องใจได้ 3. เจ้าหน้าที่จะให้คำปรึกษาแก่มารดาได้ เกี่ยวกับการผ่าตัด
การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด 1.การออกกำลังกายบนเตียง 1.1 การฝึกการหายใจลึกๆหรือการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อซี่โครง( Deep Breathing Exercise) วิธีทำ ให้นอนหงาย งอขาตั้งเข่าทั้ง 2 ข้างวางฝ่ามือทาบลงบนซี่โครงทั้ง 2 ข้าง สูดหายใจเข้าลึกๆทางจมูกให้ซี่โครงบานออกกลั้นไว้ช่วงสุดท้ายและผ่อนลมหายใจออกทางปากช้าๆให้ซี่โครงยุบ ทำ 5-10 ครั้ง ใน 1 ชั่วโมง
1.2 การไออย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยขับเสมหะที่คั่งในทางเดินหายใจ ป้องกันภาวะถุงลมปอดแฟบ และปอดบวมได้ วิธีทำ ให้หายใจโดยใช้กล้ามเนื้อซี่โครงประมาณ 4-5 ครั้งแล้วกลั้นหายใจ 1-2 วินาที ใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชูปิดปากแล้วไอออกมาจากส่วนลึกของลำคอ 1-2 ครั้ง โดยที่ใช้มือที่เหลือประคองบริเวณแผลผ่าตัดไว้
1.3 การเคลื่อนไหวร่างกายหลังผ่าตัด เช่น การพลิกตัว การพลิกตะแคงซ้ายและขวา สามารถทำได้เลยเมื่อรู้สึกตัวและควรพลิกตะแคงตัวเองอย่างน้อยทุกๆ 2 ชั่วโมง การออกกำลังกายขาทั้ง 2 ข้าง จะช่วยให้มีการไหลเวียนเลือดดี ลดการคั่งของเลือดดำส่วนปลาย ลดการบวมของขา ส่งเสริมกล้ามเนื้อขาให้มีความตึงตัวดีขึ้น
นอนหงายราบหรือยกศีรษะสูง ขาเหยียดตรง ยกต้นขาขึ้น งอเข่า ยกขึ้นสูงเท่าที่จะทำได้ นาน 2-3 วินาที เหยียดขาตรง และค่อยๆวางขาบนที่นอน วิธีทำ กระดกข้อเท้าขึ้น – ลง เหยียดและงอนิ้วเท้า กางนิ้วเท้าแยกจากกันและหุบนิ้วเท้าเข้าหากันออกกำลังกายแต่ละท่า 5-10 ครั้ง ในแต่ละขา
2. การเดิน การเดินโดยเร็วหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของระบบทางเดินหายใจ และระบบไหลเวียนโลหิต
ประโยชน์ของการออกกำลังกายบนเตียงและการลุกเดิน 1. ช่วยให้การไหลเวียนโลหิตเป็นไปโดยสะดวก 2.ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ เช่น ปอดบวม ปอดแฟบ 3. กระตุ้นความอยากอาหาร ป้องกันการเกิด อาการท้องอืดท้องเฟ้อ 4. ป้องกันการเกิดแผลแยก ช่วยลดความเจ็บป่วย
3. การดูแลแผลผ่าตัด - ไม่แคะ แกะ เกาแผลผ่าตัด ระวังมิให้แผลเปียกชื้น หมั่นสังเกตบริเวณแผลผ่าตัดที่ปิดกอซไว้ว่า มีเลือดหรือหนองซึมหรือไม่ - ให้เช็ดตัวแทนการอาบน้ำจนครบ 10 วัน หลังการผ่าตัด ถ้าเปิดแผลผ่าตัดแล้วแผลแห้งดีก็สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ - เวลาไอ ควรใช้วิธีการไออย่างมีประสิทธิภาพ