โรงไฟฟ้าพลังงานลม
โรงไฟฟ้าพลังงานลม พลังงานลมเป็นพลังงานธรรมชาติที่สะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสภาวะแวดล้อม ของโลกโรงไฟฟ้าพลังลม จะต้องติดตั้งกังหันลมไว้ในสถานที่ที่ลมพัดแรงตลอดเวลาจึงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หลักการทำงาน เมื่อกังหันลมหมุนแกนของกังหันลม ที่ต่อมายังเจเนอเรเตอร์ ก็จะผลิตไฟฟ้ากระแสตรง หรืออัลเทอร์เนเตอร์ผลิตไฟฟ้ากระแสสลับ ถ้าเป็นไฟฟ้ากระแสตรงก็จะเข้าประจุแบตเตอรี่ก่อนแล้วจึงจะผ่านเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าแปลงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับออกมาใช้งานกำลังไฟฟ้าที่ผลิตออกมามีค่าแปรผันตรงกับขนาดความเร็วลม ขนาดมีตั้งแต่เล็กจนถึง 1,250 kW
ความเชื่อมโยงกับการอนุรักษ์พลังงาน/สิ่งแวดล้อม - เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม - มีความสมดุลด้านพลังงานที่ดีเยี่ยม - เป็นแหล่งพลังงานที่น่าเชื่อถือและนำกลับมาใช้ใหม่ได้
ข้อดีของพลังงานลม - ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและค่าใช้จ่ายในด้านบำรุงรักษาต่ำมาก ดำเนินงานได้รวดเร็ว - เป็นพลังงานสะอาด ไม่ทิ้งกากและมลภาวะ มีระยะเวลาการให้พลังงาน 15-20 ชั่วโมงในหนึ่งวัน พลังงานลมยังเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด ใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง - ในโครงการใหญ่ๆ ที่ใช้กังหันลมขนาดกลางที่ได้รับการทดสอบประสิทธิภาพ จะมีศักยภาพในการปฏิบัติงาน 98% อย่างสม่ำเสมอโดยอาศัยลม
ข้อเสียของพลังงานลม - ลมต้องมีตลอดเวลาหรือเกือบตลอดเวลา ใบพัดของกังหันลมขนาดใหญ่หมุนจะส่งเสียงรบกวนดังมาก และยังบดบังหรือทำลายทัศนียภาพ - กำลังลมในประเทศไทยมีความแรงในระดับปานกลาง
ปัญหา อุปสรรค โรงไฟฟ้าพลังงานลมมีปัญหาข้อจำกัดสำคัญหลายประการ คือ โรงไฟฟ้าพลังงานลมมีปัญหาข้อจำกัดสำคัญหลายประการ คือ - กระแสลมที่ระดับพื้นดินมีอัตราความเร็วต่ำลงมาก เนื่องจากมีสิ่งกีดขวางชะลอความเร็วลม - พลังงานลมมีความไม่แน่นอน ทำให้ปริมาณการผลิตไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ - การติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลมจำนวนมาก จะทำให้ระบบผลิตไฟฟ้ามีประสิทธิภาพต่ำลง -ปัญหาการลักขโมย
แนวคิดในการแก้ไขอุปสรรคดังกล่าว แนวคิดในการแก้ไขอุปสรรคดังกล่าว การนำพลังงานลมมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าเชิงพาณิชย์นั้น ควรจะเป็นสถานที่ซึ่งมีความเร็วลมไม่ต่ำกว่า 4.5 เมตร/วินาที และกระแสลมพัดสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่ำกว่าหรือใกล้เคียงกับการผลิตไฟฟ้าจากอื่น การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลมบริเวณนอกชายฝั่งแม้จะมีต้นทุนสูงกว่าบนแผ่นดินใหญ่มากถึง 50% ซึ่งนอกจากแก้ไขปัญหาทัศนียภาพแล้ว ยังมีข้อดีเพิ่มเติมอีก คือ กระแสลมบนพื้นน้ำจะมีความเร็วสูงกว่าบนพื้นดิน เนื่องจากผิวน้ำมีความราบเรียบมากกว่าพื้นดิน
โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน แหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต
เหตุผลในการเลือกสถานที่แห่งนี้ คือ อยู่ติดกับทะเลได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ นับว่าเป็นตำแหน่งที่รับลมได้เกือบทั้งปี ได้รับความอนุเคราะห์อย่างดียิ่งจากส่วนราชการจังหวัดภูเก็ต ให้ใช้พื้นที่ตลอดมา
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526-2535 กฟผ. ได้เริ่มติดตั้งกังหันลมขนาดเล็ก เพื่อทดสอบการใช้งาน ที่สถานีแห่งนี้ จำนวน 6 ชุด ซึ่งเป็นกันหันลมขนาด 10 กิโลวัตต์ และ 18.5 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิต 42 กิโลวัตต์พร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์บันทึกข้อมูลคือ Digital Data Logger และ Strip Chart Recorder ไว้อย่างครบถ้วน สำหรับไฟฟ้าที่ผลิตได้ก็นำมาใช้ให้แสงสว่างในบริเวณสถานีทดลองฯ โดยใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ .
หากนำมาประยุกต์ใช้ต้องเตรียมการอย่างไร ? ต้องเตรียมพื้นที่สำหรับสร้างโรงไฟฟ้า ซึ่งต้องเป็นพื้นที่ที่กว้าง และมีลมพัดสม่ำเสมอ มีความเร็วประมาณ 4.5 เมตร/วินาที ซึ่งในประเทศไทยบริเวณที่สร้างได้ เช่น จังหวัดภูเก็ต เพราะอยู่ติดทะเลริมฝั่งมีลมพัดแรง
น.ส. จุฑามาศ ศิรวุฒินานนท์ สมาชิก น.ส. กมลวรรณ หยงสตาร์ รหัส 09490598 น.ส. จุฑามาศ ศิรวุฒินานนท์ รหัส 09490611