การสัมภาษณ์ อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์
การสัมภาษณ์ (Interview) หมายถึง การสนทนา หรือเจรจาโต้ตอบกัน อย่างมีจุดมุ่งหมาย ระหว่างผู้ที่ต้องการทราบเรื่องราว ซึ่งเรียกว่า "ผู้สัมภาษณ์" และผู้ที่ให้เรื่องราวซึ่งเรียกว่า "ผู้ให้สัมภาษณ์" เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง ตามจุดมุ่งหมายที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้ล่วงหน้า นอกจากนี้ การสัมภาษณ์ยังช่วยให้ผู้วิจัยได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ให้สัมภาษณ์ในด้านบุคลิกภาพ และการแสดงออก เช่น ท่าที วาจา น้ำเสียง ทัศนคติ อุปนิสัย ปฏิภาณ ไหวพริบ เป็นต้น
ข้อดี ระบุตัวผู้ให้สัมภาษณ์ได้แน่นอน ทำให้ผู้วิจัยสามารถควบคุมความถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะของตัวอย่างได้ สามารถแยกประเภทของข้อมูลและผู้ตอบออกได้ชัดเจน สามารถถามคำถามได้มาก ช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างครบถ้วน สามารถใช้การสังเกตร่วมกับการสัมภาษณ์ได้
ข้อเสีย ข้อมูลอาจถูกบิดเบือนได้ง่าย เพราะผู้ให้สัมภาษณ์ตอบไม่ตรงกับความจริง เสียค่าใช้จ่ายสูง บุคคลบางประเภทไม่ยินยอมให้ความร่วมมือในการสัมภาษณ์ เช่น ผู้บริหารระดับสูง ผู้ที่ประกอบอาชีพบางประเภท เป็นต้น
รูปแบบการสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์ (Standardized or Structured Interview) การสัมภาษณ์โดยไม่ใช้แบบสัมภาษณ์ (Unstructured Interview)
การสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์ เป็นการสัมภาษณ์ซึ่งผู้สัมภาษณ์เตรียมแบบสัมภาษณ์ไว้เรียบร้อยแล้ว โดยที่ในการสัมภาษณ์นั้น จะมีคำถามต่างๆ ที่ต้องการถามไว้อย่างละเอียดเรียบร้อยด้วยเช่นกัน วิธีการ คือ ผู้สัมภาษณ์จะใช้คำถามตามแบบสัมภาษณ์กับผู้ให้สัมภาษณ์ เหมือนกันหมดทุกคน โดยถามคำถามตามลำดับ ที่ได้กำหนดไว้
ข้อดี ของการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ข้อดี ของการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์ มีการกำหนดโครงร่างไว้อย่างละเอียด ดังนั้น จึงง่ายและสะดวกในการสัมภาษณ์ ทำให้ผู้สัมภาษณ์ได้รับข้อเท็จจริงจากผู้ให้สัมภาษณ์ตามที่ต้องการได้ วิธีการนี้ไม่จำเป็นต้องฝึกอบรม (Training) ผู้สัมภาษณ์มากนัก
ข้อเสีย ของการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ข้อเสีย ของการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นความคิดเห็นทั่วๆ ไป ข้อมูลที่ได้รับอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ใช่ทัศนคติหรือความจริงจากผู้ให้สัมภาษณ์ก็ได้
การสัมภาษณ์โดยไม่ใช้แบบสัมภาษณ์ เป็นการสัมภาษณ์แบบที่ไม่มีการกำหนดเค้าโครงแบบสัมภาษณ์ไว้อย่างแน่นอน จะมีเพียงแนวทาง (Guideline) ไว้เท่านั้น ไม่จำเป็นที่ต้องใช้คำถามกับผู้ให้สัมภาษณ์เหมือนกัน ต้องใช้เทคนิค ความรู้ ประสบการณ์ และความสามารถเฉพาะตัวในการสอบถามเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ การสัมภาษณ์แบบนี้มักใช้ใน การค้นหาสาเหตุของการ เปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกิดขึ้น และ ก่อให้เกิดปัญหากับองค์การ
การสัมภาษณ์เชิงลึก (Dept or Intension Interview) เป็นการสัมภาษณ์ที่ต้องการล้วงเอาความจริง (Fact finding) จากผู้ให้สัมภาษณ์ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ต้องการจะรู้ถึงส่วนลึกของจิตใจผู้ให้สัมภาษณ์ ดังนั้น จึงต้องใช้เทคนิคต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องใช้วาทศิลป์ต่างๆ เพื่อโน้มน้าวจิตใจของผู้ให้สัมภาษณ์ให้คล้อยตาม การสัมภาษณ์โดยไม่ใช้แบบสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์แบบไม่ชี้นำ (Nondirective Interview) เป็นการสัมภาษณ์ที่ปล่อยให้ผู้ให้สัมภาษณ์พูดไปตามความพอใจ ความรู้สึก หรือตามอารมณ์ โดยผู้สัมภาษณ์มีหน้าที่ฟังและจดบันทึกเท่านั้น ซึ่งวิธีการนี้ผู้สัมภาษณ์จะต้องใช้วิธีสังเกตเข้ามาร่วมด้วย จะพบว่าวิธีการนี้มักใช้กันในกลุ่มของจิตแพทย์ และนักจิตวิทยา การสัมภาษณ์โดยไม่ใช้แบบสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์แบบจับภาพนิ่ง หรือตรงจุด (Focused Interview) เป็นการสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์ต้องมุ่งความสนใจหรือตะล่อมความสนใจของผู้ให้สัมภาษณ์ให้เข้าสู่จุดหมายที่กำหนดไว้ โดยผู้สัมภาษณ์จะต้องทราบและเข้าใจเป็นอย่างดีว่า ข้อมูลหรือข่าวสารที่ต้องการนั้นคืออะไร มีอะไรบ้าง และจะต้องถามเฉพาะเรื่องนั้นเท่านั้น ไม่ควรถามนอกเรื่อง ถ้าหากออกไปนอกเรื่องเมื่อไร ผู้สัมภาษณ์ต้องพยายามดึงกลับเข้ามาสู่ปัญหาที่ต้องการให้ได้ ดังนั้น ผู้สัมภาษณ์จึงควรเป็นผู้ที่มีความรู้ และประสบการณ์ที่ดี การสัมภาษณ์โดยไม่ใช้แบบสัมภาษณ์
การสร้างบรรยากาศ หลักการสัมภาษณ์ที่ดี ผู้สัมภาษณ์ควรสร้างบรรยากาศให้เป็นกันเอง โดยวางตัวให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์ผู้ที่เด็กกว่าหรือผู้ที่อาวุโสกว่า ซึ่งตามธรรมเนียมไทยควรไหว้ผู้ที่มีอายุมากกว่า รวมทั้งต้องอ่อนน้อม ทำตัวให้เขารู้สึกเมตตา และโดยทั่วไปจะต้องสุภาพ ไม่พูดมากเกินไป ในขั้นต้นนี้ ควรแนะนำตนเองและวัตถุประสงค์การสัมภาษณ์ จากนั้น ให้ซักถามด้วยประโยคสั้นๆ และตรงประเด็น ข้อสำคัญก็คือ ในการสัมภาษณ์ไม่ควรแสดงความคิดเห็นของตนเองเป็นอันขาด ผู้สัมภาษณ์จะต้องสนใจเฉพาะคำตอบในลักษณะของนักข่าวหรือนักรายงานที่ดี โดยไม่เอาความเห็นส่วนตัวไปเกี่ยวข้อง (แม้จะถูกถามกลับมาก็ควรเพียงแต่ยิ้มๆ และไม่ตอบ) ห้ามอภิปรายว่าเห็นด้วยไม่เห็นด้วยอย่างไรทั้งสิ้น หลักการสัมภาษณ์ที่ดี
วิธีการถาม หลักการสัมภาษณ์ที่ดี ในกรณีที่ใช้แบบสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์จะต้องถามข้อคำถามให้เหมือนกับที่เขียนไว้ในแบบสัมภาษณ์ อย่าได้ขยายความเพิ่มเติมหรือตัดทอน ข้อคำถามเป็นอันขาด เพราะว่าในแต่ละข้อคำถามนั้น ได้ทำการทดสอบล่วงหน้า (Pretest)มาแล้ว ในกรณีที่เป็นคำถามแบบเปิด ผู้สัมภาษณ์ต้องแน่ใจว่าได้รับคำตอบที่สมบูรณ์ และครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการ ถ้าคำตอบไม่ครอบคลุมก็จะต้องย้อนกลับไปถามเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ อีก ห้ามกระโดดข้ามข้อคำถามใดๆ ทั้งสิ้น เขียนคำตอบจริงๆ ที่ผู้ให้สัมภาษณ์ตอบมา ไม่ควรจะสรุปหรือเขียนแบบตีความเอง หลักการสัมภาษณ์ที่ดี
อคติ หลักการสัมภาษณ์ที่ดี อคติจากผู้ให้สัมภาษณ์ เช่น ในกรณีการถามเกี่ยวกับรายได้ ผู้ให้สัมภาษณ์อาจคิดว่าผู้สัมภาษณ์ทำงานเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษี เมื่อเป็นเช่นนี้ คำตอบที่ได้อาจคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับความจริง ผู้สัมภาษณ์จึงต้องพยายามให้ผู้ให้สัมภาษณ์เข้าใจชัดเจนว่า ผู้สัมภาษณ์ไม่สามารถให้คุณให้โทษใดๆ แก่ผู้ให้สัมภาษณ์ได้ และต้องไม่ทำให้เขาเกิดความรู้สึกว่าถูกจับผิด หรือเกิดความหวาดหวั่นไม่มั่นใจใดๆ ขึ้น อคติจากผู้สัมภาษณ์ การคิดหรือวาดภาพพจน์ล่วงหน้าว่าผู้ให้สัมภาษณ์จะเป็นอย่างไรนั้น เมื่อไปทำการสัมภาษณ์จริงๆ ก็อาจมีอคติเกิดขึ้นได้ เช่น เกิดการดูถูกเมื่อไปสัมภาษณ์ผู้ใช้แรงงานหรือชาวสลัม เป็นต้น อคติเช่นนี้มีผลต่อการตีความซึ่งทำให้ข้อมูลเบี่ยงเบนไปได้ หลักการสัมภาษณ์ที่ดี