ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ โรคที่เกิดจาก ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine disease) Free Powerpoint Templates
โรคเบาหวาน (Diabetes) สาเหตุ เบาหวาน เกิดจากการผลิตฮอร์โมนอินซูลินซึ่งมีหน้าที่จับน้ำตาลเพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆของไม่เพียงพอ อันส่งผลให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งปกติน้ำตาลถูกใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน แต่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ซึ่งเบาหวานแบ่งเป็น 2 ชนิด
ภาพ Islet of Langerhans
ประเภทของโรคเบาหวาน ชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ ซึ่งสร้างอินซูลินในส่วนของตับอ่อนทำให้ร่างกายหยุดสร้างอินซูลิน ชนิดที่ 2 เป็น เบาหวาน ที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวกับ พันธุกรรม
อาการเบาหวาน 1.ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากไตกรองน้ำตาลออกมามาก ปัสสาวะจึงหวาน 2.กระหายน้ำ และดื่มน้ำในปริมาณมากๆต่อครั้ง 4.อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง 5.เบื่ออาหาร 6.สายตาพร่ามองไม่ชัดเจน 7.ติดเชื้อบ่อยกว่าปรกติ สังเกตได้จากแผลหายยาก 8.น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อันเนื่องมาจากร่างกาย ต้องนำไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้ทดแทนน้ำตาล 9.อาการชาไม่ค่อยมีความรู้สึก เนื่องมาจากเบาหวานจะทำลายเส้นประสาทให้เสื่อมสมรรถภาพลงความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกจึงถดถอยลง 10.อาจจะมีอาการของโรคหัวใจ และโรคไต
การป้องกันการเป็นเบาหวาน 1.ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ :แก้ไขปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวาน 2.ควบคุมโภชนาการ ให้มีความสมดุลทั้งในด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย รวมไปจนถึงการใช้ยารักษาโรค 3.ควรตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือด สม่ำเสมอ โดยปรึกษาแพทย์ว่าควรตรวจเช็คเมื่อใด และ ระยะเวลาห่างในการตรวจที่เหมาะสม 4. ปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยา
การรักษา 1.)เลือกบริโภคอาหารให้ครบ 5หมู่ โดยคำนึงถึงพลังงานที่ได้จากอาหารโดยประมาณจากคาร์โบไฮเดรต(แป้ง) ประมาณ 55-60%โปรตีน (เนื้อสัตว์) ประมาณ 15-20%ไขมัน ประมาณ 25% 2.)ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากควรจะต้องลดปริมาณการรับประทานลง โดยอาจจะค่อยๆลดลงให้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่เคย3.รับประทานปรกติ และพยายามงด อาหารมันๆ ทอดๆ รับประทานอาหารที่มีกากใยมากเพื่อช่วยในการขับถ่าย
การรักษา 4.หลีกเลี่ยงการรับประทานจุกจิกและรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา 5.พยายามรับประทานอาหารในปริมาณที่สม่ำเสมอกันในทุกมื้อ 6.หากมีอาการเกี่ยวกับโรคไตหรือความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม 7.แม้ระดับน้ำตาลในเลือดจะปรกติดีแล้วก็ควรจะต้องควบคุมอาหารตลอดไป
โรคแอดดิสัน (addison’s disease) สาเหตุ เกิดจากต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนสเตอรอยด์ได้น้อยกว่าปกติเกิดจากต่อมหมวกไตชั้นนอกถูกทำลาย อาการ เบื่ออาหารน้ำหนักลด (ผอมลง) อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และซีด อาจมีอาการท้องเสียหรือท้องผูกบ่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ผิวหนังจะมีสีดำที่บริเวณที่มีรอยถูไถ ผู้ป่วยมักมีความดันโลหิตต่ำ ทำให้มีอาการหน้ามืด
ภาพต่อมหมวกไต
อาการของโรคแอดดิสัน
การรักษา ให้กินสเตอรอยด์ เช่น ไฮโดรคอร์ดิโซน (Hydrocortisone) วันละ 15-25 มิลลิกรัม แบ่งให้วันละ 2-3 ครั้ง ซึ่งควรกินเป็นประจำทุกวันไปจนตลอดชีวิต ข้อแนะนำ 1. ผู้ป่วยควรกินอาหารให้เค็มจัด เพราะต้องการเกลือโซเดียมมากขึ้น 2. โรคนี้มีทางรักษาเช่นคนปกติ แต่ต้องกินยาทุกวัน 3. ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคติดเชื้อหรือมีอาการไม่สบายอื่นๆ ควรรีบหา หมอ เพื่อป้องกัน ภาวะต่อมหมวกไตไม่ทำงาน
โรคคุชชิง (Cushing’s syndrome) สาเหตุ เกิดจากการมีฮอร์โมนสเตอรอยด์จากต่อมหมวกไตในเลือดสูงกว่าปกติ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการใช้ยาสเตอรอยด์ นาน ๆ อาการ มักจะค่อย ๆเกิดขึ้นช้า ๆ ในระยะแรกหน้าอูมขึ้น จนหน้ากลมเป็นวงพระจันทร์และออกสีแดง มีก้อนไขมันเกิดขึ้นที่ต้นคอด้านหลัง เรียว่า อาการหนอกควาย รูปร่างอ้วน โดยจะอ้วนมากตรงเอว แต่แขนขาลีบเล็กลง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และซึมเศร้า ผิวหนังจะออกเป็นลายสีคล้ำ ๆ ที่บริเวณ มักมีสิวขึ้น และมีขนอ่อนขึ้นที่หน้า กระดูกอาจพุกร่อน อาจมีความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์แปรปรวน
อาการของโรคคุชชิง
การรักษา วินิจฉัยโดยการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ ตรวจคลื่นหัวใจหรือทำการตรวจพิเศษอื่น ๆ ในรายที่มีสาเหตุจากการกินสเตอรอยด์ ควรค่อย ๆ ลดขนาดของยาลง ห้ามหยุดยาลงทันที อาจทำให้เกิดภาวะต่อมหมวกไตไม่ทำงานเฉียบพลัน ซึ่งเป็นอันตรายถึงตายได้ ถ้ามีสาเหตุจากการเป็นเนื้องอกของต่อมหมวกไตหรือต่อมใต้สมอง มักจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แล้วให้กินยาสเตอรอยด์ทดแทนไปชั่วชีวิต
ข้อแนะนำ 1. โรคนี้มักเกิดจากการใช้สเตอรอยด์มากเกินไปเป็นเวลานาน ๆ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ยานี้พร่ำเพรื่อ ยกเว้นโรคบางโรคอาจต้องใช้ยานี้รักษา ซึ่งก็ควรจะอยู่ในการดูแลของแพทย์ 2. โรคนี้ถ้าไม่รักษา อาจมีภาวะแทรกซ้อน อันตรายถึงตาย
โรคHyperparathyroidism สาเหตุ Hyperparathyroidism เป็นความผิดปกติเนื่องจากฮอร์โมนพาราธอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์มากเกินไป อาการ - Ca2+ และ PO43- ในเลือดสูง - Ca2+ สะสมมากที่หัวใจ ปอด ทำให้แข็ง - เลือดแข็งตัวเนื่องจากเกิดบาดแผล - กระดูกบาง ฟันหัก และผุง่าย การรักษา การรักษาฉีด Calcitonin เพื่อต้านการทำงานของ Parathormone
ภาพต่อมพาราไทรอยด์
ภาพอาการของโรคHyperparathyroidism
ภาพกลไกลพาราธอร์โมนที่ไปมีผลต่อกระดูก
คอพอก (goiter) เป็นกลุ่มโรคที่มี ต่อมไทรอยด์โตผิดปกติ คอพอกมี2แบบ 1.คอพอกแบบเป็นพิษ 2.คอพอกแบบไม่เป็นพิษ ภาพต่อมไทรอยด์
คอพอกแบบเป็นพิษ (Thyrotoxicosis) สาเหตุ เกิดจากฮอร์โมนไทรอกซีนมากเกินความต้องการของร่างกายแต่ก็ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงได้อาจเกิดจากต่อมไทรอยด์ผิดปกติเอง อาการ ต่อมไทรอยด์อาจจะโตหรือไม่ก็ได้ ใจสั่น ทำให้เหนื่อยง่าย ผู้ป่วยจึงมักอยู่ไม่สุข ต้องทำโน่นทำนี่ ดูลุกลี้ลุกลน พูดเร็ว มักเป็นคนขี้ร้อน ชุ่ม หิวบ่อย กินจุ แต่ไม่อ้วน น้ำหนักลดลง ตาโปน การรักษา รับประทานยา ,การผ่าตัด ,ทานไอโอดีน-131
ภาพอาการคอพอกแบบเป็นพิษ
อาการ คอพอกแบบไม่เป็นพิษ(Non-thyrotoxicotic Goiter) สาเหตุ การรักษา ขาดไอโอดีน ร่างกายมีความต้องการฮอร์โมนมากขึ้น เนื้องอกของต่อม อาการ เชื่องช้า เซื่องซึม ขี้หนาว พูดช้า เสียงแหบ ผิวแห้ง ผมแห้งหยาบและร่วงง่าย ท้องผูก น้ำหนักเพิ่ม คอพอกออกมา การรักษา ผ่าตัดกับใช้ยาร่วมด้วย
ภาพอาการคอพอกแบบไม่เป็นพิษ
บรรณานุกรม www.netterimages.com www.thaidiabetes.blogspot.com www.clinic.worldmedic.com www.ncp-nursingcareplans.blogspot.com
สมาชิกกลุ่ม 1.นายจิรพนธ์ เจียรจรูญศรี เลขที่ 1ก ม.5/1 1.นายจิรพนธ์ เจียรจรูญศรี เลขที่ 1ก ม.5/1 2.นายณัฐพันธ์ สิริจันทรดิลก เลขที่ 6ก ม.5/1 3.นายพงศธร กรรมสิทธิ์ เลขที่ 4ข ม.5/1