ยานอวกาศ ยานอวกาศ หมายถึงยานที่ออกไปนอกโลกโดยมีมนุษย์ขึ้นไปด้วยพร้อมเครื่องมือและ อุปกรณ์สำหรับสำรวจ หรืออาจจะไม่มีมนุษย์ขึ้นไป แต่มีอุปกรณ์และเครื่องมือวิทยาศาสตร์เท่านั้น อวกาศ หมายถึง ที่ว่างนอกโลก นอกดวงดาวดังนั้นจึงมีอวกาศระหว่างโลกกับดวงจันทร์
ยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ควบคุม 1. โครงการเรนเจอร์ ออกแบบให้สำรวจดวงจันทร์ถ่ายรูปผิวดวงจันทร์เป็นทางฟากฝั่งสหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ.2504-2508 เป้าหมายของโครงการถูก ออกแบบให้ยานไปพุ่งชนดวงจันทร์และทำการส่งภาพมายังโลกตั้งเเต่ก่อนพุงชน และขณะที่อยู่ห่างดวงจันทร์ตั้งแต่ระดับหนึ่งพันกว่าไมล์ และสุดท้ายเมื่อยานเข้าประชิดดวงจันทร์ในระยะเพียงไม่กี่ไมล์
โครงการเรนเจอร์
ยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ควบคุม 2. โครงการลูน่าออบิเตอร์ กำหนดให้ยานไปวนถ่ายภาพรอบดวงจันทร์ สหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ.2509-2510 มีเป้าหมายเพื่อถ่ายโดยรอบดวงจันทร์ในขณะที่ยานอวกาศวนรอบดวงจันทร์ จะต่างจากโครงการเรนเจอร์ที่กำหนดให้ไปพุ่งชน ครั้งนี้ประสบความสำเร็จมากจนทำให้แผนที่ดวงจันทร์ทั้งดวงเกือบ นับเป็นการบุกเบิกให้กับโครงการ “เซอร์เวเยอร์” และ “อพอลโล” ในอนาคต
โครงการลูน่าออบิเตอร์
ยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ควบคุม 3. โครงการเซอเวเยอร์ สหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ. 2509-2511 นี่คือครั้งแรกมนุษย์ได้ควบคุมการลงจอดของยานอวกกาศลงบนดวงจันทร์จากโลก ได้อย่างนุมนวลและปลอดภัย ความสำเร็จของโครงการนี้เป็นจุดสำคัญที่สหรัฐฯ ได้นำไปพัฒนาต่อในโครงการอพอลโล
โครงการเซอเวเยอร์
ยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ควบคุม 4. โครงการมารีเนอร์ 2 ไปสำรวจดาวศุกร์ โดยสำรวจอุณหภูมิ สนามแม่เหล็ก และบรรยากาศ 5. โครงการมารีเนอร์ 4 ไปสำรวจดาวอังคาร ถ่ายภาพ สำรวจอุณหภูมิ และบรรยากาศ 6. โครงการกาลิเลโอ ไปสำรวจดาวพฤหัส
ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม 1. โครงการเมอคิวรี่ มีจุดประสงค์ที่จะส่งมนุษย์ขึ้นไปโคจรในอวกาศ สำหรับให้มนุษย์อวกาศขึ้นไปครั้งละ 1 คน เพื่อทดลองการปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมอวกาศ ที่มีความโน้มถ่วงต่ำโครงการได้ยุติลงไปแล้วในปัจจุบัน
ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม 2. โครงการเจมินี ทดสอบการดำรงชีวิตในอวกาศ ด้วยการนำมนุษย์ 2 คน พร้อมด้วยอุปกรณ์สนับสนุนการดำรงชีวิตขึ้นไปโคจรในอวกาศ ให้สามารถดำรงชีพในอวกาศให้นานที่สุด พร้อมทั้งฝึกวิธีนัดพบและต่อเชื่อมกับยานลำอื่นในวงโคจรรอบโลก และนับว่าประสบความสำเร็จในการพัฒนาการใช้เทคนิคการนำยานลงจอดในพื้นที่เป้า หมายได้อย่างเเม่นยำ
ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม 3. โครงการอพอลโล มีจุดประสงค์คือ นำมนุษย์ไปสำรวจดวงจันทร์ ใช้มนุษย์อวกาศครั้งละ 3 คน เป็นโครงการต่อจากเมอคิวรี่และเจมินี มนุษย์อวกาศชุดแรกที่หยุดบนพื้นดวงจันทร์เป็นชุดอวกาศที่เดินทางไปกับยานอพอลโล 11 โครงการอพอลโลเรียกว่าประสบความสำเร็จตามเป้าหมายมาตลอด มีเพียงอพอลโล 13 ลำเดียวที่เกิดอุบัติเหตุขณะมุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ อพอลโล 17 ถือเป็นยานลำสุดท้ายที่เกิดในโครงการนี้
ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม 3. โครงการอพอลโล นีล เอ. อาร์มสตรอง (Neil A. Armstrong) ออกจากยานดวงจันทร์ โดยใช้เท้าซ้ายเหยียบลงบนพื้นดินดวงจันทร์ พร้อมกับกล่าวว่า "ก้าวเล็ก ๆ ของมนุษย์คนหนึ่ง เป็นก้าวกระโดดไกลของมนุษยชาติ" และนี่คือรอยเท้าแรกของมนุษย์บนดวงจันทร์
ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม 3. โครงการอพอลโล จากนั้นมนุษย์อวกาศทั้ง 2 คนจึงทำการนำธงชาติสหรัฐปักลงไปบนพื้นดินดวงจันทร์ และทำการเก็บตัวอย่างดินหิน ดวงจันทร์กลับมายังโลกรวม 22.5 กิโลกรัม พร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ และสำรวจดวงจันทร์ภายในรัศมีที่กำหนดไว้
โครงการอพอลโล
ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม 4. โครงการสกายแล็บ จุดประสงค์คือให้มนุษย์ขึ้นไปบนสถานีลอยฟ้าเพื่อค้นคว้าทดลองให้ได้นานที่สุด เป็นโครงการที่ศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ การแพทย์ ฟิสิกส์ ผลกระทบของสภาพไร้แรงดึงดูด โครงการนี้มี 3 ชุด
ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม 5. โครงการอพอลโล - โซยูส มีจุดประสงค์คือ เพื่อขึ้นไป ทดสอบระบบนัดพบและเชื่อมยานอวกาศ เป็นโครงการระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต
ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม 6. โครงการยานขนส่งอวกาศ เพื่อใช้เป็นพาหนะสำหรับบรรทุกสิ่งของและมนุษย์ที่ไปบนอวกาศ และเพื่อลดค่าใช้จ่าย ในการใช้ประโยชน์จากอวกาศ ถูกแบบสำหรับคนได้มากถึง 7 คน ในกรณีฉุกเฉินอาจเพิ่มได้เป็น 10 คน ปฏิบัติงานนานครั้งละ 7 วัน พร้อมที่จะใช้งานได้อีกภายใน 14 วัน ถ้าจำเป็นอาจโคจรอวกาศได้นานถึง 1 เดือน ยานลำแรกของโครงการชื่อ เอ็นเตอร์ไพรส์ ต่อจากนั้นแบ่งเป็นโคลัมเบีย 7 เที่ยว แชลเลเจอร์ 10 เที่ยว ดิสคัฟเวอรี่ 6 เที่ยว แอตแลนติส 6 เที่ยว
สถานีทดลองอวกาศนานาชาติ โครงการสถานีอวกาศนานาชาติ(ISS - International Space Station) สถานีอวกาศนานาชาติ เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างชาติ16 ประเทศ โดยประเทศสหรัฐอเมริกา คานาดา ญี่ปุ่น รัสเซีย 11 ประเทศยุโรป และบราซิล โดยใช้เที่ยวบินทั้งสิ้น 44 เที่ยวบิน เพื่อที่จะนา ชิ้นส่วนแต่ละชิ้น ของ สถานีอวกาศไปประกอบกันเป็น สถานีอวกาศนานาชาติซึ่งประกอบด้วยห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่ ใหญ่ที่สุดในอวกาศเท่าที่มนุษย์เคยมีมา
ส่วนประกอบของยานขนส่งอวกาศ 1. ตัวยานโคจร (ยานขนส่งอวกาศ) มีลักษณะรูปร่างเหมือนเครื่องบินมีเครื่องยนต์จรวด 3 เครื่องติดอยู่จรวดส่วนท้ายและมีจรวดขนาดเล็กๆ ซึ่งมีเชื้อเพลิงอยู่ภายในติดอยู่รอบๆตัวยานอีก 44 เครื่องสาหรับทำหน้าที่ปรับทิศทางการโคจรและการบินของยาน
ส่วนประกอบของยานขนส่งอวกาศ ตัวยานโคจรแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้ -ห้องนักบิน เป็นห้องทางานของนักบินอวกาศจำนวน 2 คน -ห้องค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เป็นห้องทดลองค้นคว้าๆ -ห้องบรรทุกสัมภาระ ใช้บรรจุดาวเทียมและสัมภาระต่างๆ และมีแขนกลไว้คอยเก็บหรือปล่อยดาวเทียม
ส่วนประกอบของยานขนส่งอวกาศ 2. ถังเชื้อเพลิงภายนอก คือส่วนที่ยานขนส่งอวกาศเกาะอยู่ ซึ่งจะมีท่ออะลูมิเนียมและเหล็กกล้าสาหรับป้อนเชื้อเพลิงเข้าไปในเครื่องยนต์หลัก 3 เครื่องของยานโคจร
ส่วนประกอบของยานขนส่งอวกาศ 3.จรวดขันดันเชื้อเพลิงแข็ง คือส่วนที่ติดขนาบกับถังเชื้อเพลิงภายนอกมี 2 ลำโดยจรวดส่วนนี้สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีก
ส่วนประกอบของยานขนส่งอวกาศ
ขั้นตอนการบินของยานขนส่งอากาศมีดังนี้ 1. ใช้จรวดขับดันเชื้อเพลิงแข็ง 2 ลำเป็นพลังงานในการส่งยานขนส่งอากาศขึ้นจากฐาน 2. เมื่อจรวดขับดันใช้เชื้อเพลิงหมดแล้วจะแยกตัวออกและตกลงสู่พื้นน้ำ และใช้ร่มชูชีพเพื่อนำจรวดขับดันนี้ นำกลับไปยังฐานส่งจรวด เพื่อซ่อมแซมแก้ไขใช้ในโอกาสต่อไป
ขั้นตอนการบินของยานขนส่งอากาศมีดังนี้ 3. ยานขนส่งอากาศคงเคลื่อนที่สูงขึ้นต่อไป โดยเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวบรรจุในถังเชื้อเพลิงภายนอกให้กับเครื่องยนต์จรวด 3 เครื่อง 4. ถังเชื้อเพลิงภายนอกจะหลุดออกก่อนที่ยานขนส่งอวกาศจะไปถึงวงโคจรรอบโลก และถูกเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ ไม่มีการนำกลับมาใช้งานอีกต่อไป
ขั้นตอนการบินของยานขนส่งอากาศมีดังนี้