ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ของเสียง Doppler Effect of Sound ปรากฎการณ์ดอปเพลอร์ของเสียง เป็นปรากฎการณ์ที่ความถี่หรือระดับเสียงที่ผู้สังเกตหรือผู้ฟังได้ยินนั้นเปลี่ยนไปเมื่อ แหล่งกำเนิดเสียง หรือผู้สังเกตอย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งสองอย่างมีการเคลื่อนที่ “ถ้าแหล่งกำเนิดเสียงและ(หรือ)ตัวเราเคลื่อนที่เข้าหากันเราจะได้ยินเสียงที่มีความถี่สูงขึ้น นั่นคือ เสียงแหลมขึ้น แต่ถ้าเคลื่อนที่ออกจากกัน เสียงที่ได้ยินนั้นจะมีความถี่ต่ำลง นั่นคือ เสียงทุ้มขึ้น” หรือ เป็นปรากฎการณ์ที่ผู้ฟังได้ยินเสียงที่มีความถี่เปลี่ยนไปจากของแหล่งกำเนิดเสียงอันหนึ่งมาจากการเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนิดเสียงหรือ การเคลื่อนที่ของผู้ฟัง โดยที่การเคลื่อนที่นั้นจะต้องมีความเร็วน้อยกว่าความเร็วเสียง
กำหนดให้ Vs แทนอัตราเร็วของแหล่งกำเนิดเสียง Vo แทนอัตราเร็วของผู้ฟัง ความถี่ที่ปรากฎต่อผู้ฟังเนื่องจากปรากฎการณ์ดอปเพลอร์ของเสียงสามารถหาได้จากสมการดังนี้ เมื่อ f0 แทนความถี่ที่ผู้ฟังได้ยิน หน่วยเป็น(Hz) fs แทนความถี่เสียงจากแหล่งกำเนิดเสียง หน่วยเป็น(Hz) V แทนอัตราเร็วเสียง หน่วยเป็น(m/s) V0 แทนอัตราเร็วของผู้ฟังเสียง หน่วยเป็น(m/s) Vs แทนอัตราเร็วของแหล่งกำเนิดเสียง หน่วยเป็น(m/s)
กรณีที่ 1 แหล่งกำเนิดเสียงและผู้ฟังไม่เคลื่อนที่ กรณีนี้ ผู้ฟังจะได้ยินความถี่เสียงด้วยความถี่ที่เท่ากับความถี่ของแหล่งกำเนิดคลื่นที่แผ่ออกมา กรณีที่ 2 แหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่แต่ผู้ฟังอยู่จุดเดิม แบ่งเป็น 2 อย่าง 1.แหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่เข้าหาผู้ฟัง 2.แหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่ออกจากผู้ฟัง กรณีที่ 3 ผู้ฟังเคลื่อนที่แต่แหล่งกำเนิดเสียงอยู่จุดเดิม 1.ผู้ฟังเคลื่อนที่เข้าหาแหล่งกำเนิดเสียง 2.ผู้ฟังเคลื่อนที่ออกจากแหล่งกำเนิดเสียง
กรณีที่ 2 แหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่แต่ผู้ฟังอยู่จุดเดิม แบ่งเป็น 2 อย่าง 1.แหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่เข้าหาผู้ฟัง ความยาวคลื่นจะน้อยลง แต่ความถี่ที่ปรากฎต่อผู้ฟังจะเพิ่มขึ้น 2.แหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่ออกจากผู้ฟัง ความยาวคลื่นจะเพิ่มขึ้น แต่ความถี่ที่ปรากฏต่อผู้ฟังจะน้อยลง กรณีที่ 3 ผู้ฟังเคลื่อนที่แต่แหล่งกำเนิดเสียงอยู่จุดเดิม กรณีนี้ความถี่ที่แหล่งกำเนิดเสียงแผ่ออกไปเท่าเดิม 1.ผู้ฟังเคลื่อนที่เข้าหาแหล่งกำเนิดเสียง ความถี่ที่ปรากฎต่อผู้ฟังจะเพิ่มขึ้น 2.ผู้ฟังเคลื่อนที่ออกจากแหล่งกำเนิดเสียง ความถี่ที่ปรากฎต่อผู้ฟังจะน้อยลง
หลักการพิจารณาสมการปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ของเสียง กรณีที่ผู้ฟังเคลื่อนที่แต่แหล่งกำเนิดเสียงอยู่นิ่ง 1.ถ้าผู้ฟังเคลื่อนที่เข้าหาแหล่งกำเนิดเสียง แล้ว V0 มีเครื่องหมายเป็นบวก 2.ถ้าผู้ฟังเคลื่อนที่ออกจากแหล่งกำเนิดเสียง แล้ว V0 มีเครื่องหมายเป็นลบ กรณีที่แหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่แต่ผู้ฟังอยู่นิ่ง 1.ถ้าแหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่ออกจากผู้ฟังแล้ว Vs มีเครื่องหมายเป็นบวก 2.ถ้าแหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่เข้าหาผู้ฟังแล้ว Vs มีเครื่องหมายเป็นลบ
ตัวอย่าง รถไฟขบวนหนึ่ง กำลังเคลื่อนที่เข้าสู่ชานชาลาสถานีสามเสน ดัวยอัตราเร็ว 10 เมตรต่อวินาที พร้อมทั้งเปิดหวูดซึ่งมีความถี่ 100 Hz รถเมล์สาย 9 กำลังวิ่งสวนทางกับรถไฟบนถนนขนานกับรางรถไฟด้วยอัตราเร็ว 30 เมตรต่อวินาที จงหาความถี่ปรากฏของเสียงหวูดต่อคนขับรถเมล์คันนั้นว่าเป็นเท่าใด(กำหนดอัตราเร็วเสียงในอากาศ 330 เมตรต่อวินาที)
ตัวอย่าง รถไฟขบวนหนึ่ง กำลังเคลื่อนที่เข้าสู่ชานชาลาสถานีสามเสน ดัวยอัตราเร็ว 10 เมตรต่อวินาที พร้อมทั้งเปิดหวูดซึ่งมีความถี่ 100 Hz รถเมล์สาย 9 กำลังวิ่งสวนทางกับรถไฟบนถนนขนานกับรางรถไฟด้วยอัตราเร็ว 30 เมตรต่อวินาที จงหาความถี่ปรากฏของเสียงหวูดต่อคนขับรถเมล์คันนั้นว่าเป็นเท่าใด(กำหนดอัตราเร็วเสียงในอากาศ 330 เมตรต่อวินาที) วิธีทำ
คลื่นกระแทก (Shock Wave) กล่าวคือ ในกรณีที่แหล่งกำเนิดคลื่นเคลื่อนที่เร็วกว่าคลื่นที่เกิดขึ้น เช่น เครื่องบินที่บินเร็วกว่าเสียง ตัวอย่าง เช่น ถ้าอัตราเร็วของเครื่องบินมากกว่าอัตราเร็วเสียงในอากาศมากๆ จนกระทั่งทำให้รูปกรวยยิ่งเล็กลงมากๆแล้วจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความดันอย่างมากและรวดเร็วเป็นผลทำให้เกิดเสียงดังคล้ายระเบิดในบริเวณที่คลื่นกระแทกนี้เคลื่อนที่ผ่าน ซึ่งอาจทำให้กระจกแตกร้าว เสียงที่เกิดขึ้นนี้จะถูกเรียกว่า Sonic Boom เลขมัค นัมเบอร์ คือ ตัวเลขที่จะบอกให้เราทราบว่า อัตราเร็วของแหล่งกำเนิดคลื่นมีค่าเป็นกี่เท่าของอัตราเร็วของคลื่นในตัวกลาง(Vs/V) เช่น บอกว่า เครื่องบินไอพ่นลำหนึ่งกำลังเคลื่อนที่ ณ ที่เลขนัมเบอร์เท่ากับ 2 นั่นหมายความว่า อัตราเร็วของเครื่องบินนั้นบินเป็น 2 เท่าของอัตราเร็วเสียง